นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) เข้าพบว่า ไจก้าได้สอบถามถึงความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) สัญญา 1 และสัญญา 3 เนื่องจากมีความล่าช้ากว่าแผนกว่า 1 ปีแล้ว รวมถึงระบบรางรถไฟฟ้าสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ (สัญญา6 ) ซึ่งรมว.คมนาคมได้เรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและเร่งรัดแล้ว ที่ผ่านมาถือว่าความล่าช้าที่เกิดขึ้นเป็นตัวชี้วัดการทำงานของผู้บริหารร.ฟ.ท.ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
ทั้งนี้ สัญญา 1 กลุ่มกิจการร่วมค้า SU ซึ่งประกอบด้วย บมจ.ซิโนไทย-เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เสนอราคา 3.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเกินกรอบวงเงินที่ครม.อนุมัติไว้ที่ 2.7หมื่นล้านบาท แม้ว่าครม.จะเปิดช่องให้มีการปรับเพิ่มวงเงินได้โดยเจรจากับกระทรวงการคลังก่อน แต่อาจเกิดข้อครหาเอื้อประโยชน์เอกชน เพราะอยู่ระหว่างการประมูล
ส่วนสัญญาที่ 3 (งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลรวมงานจัดซื้อตู้รถไฟฟ้า) มูลค่า2.6 หมื่นล้านบาท มีปัญหาผลประโยชน์ร่วม เนื่องจากมีกรรมการอิสระมีชื่ออยู่ในหลายบริษัท ซึ่งต้องดูข้อกฎหมายของไทยและเงื่อนไขไจก้าประกอบการพิจารณาว่าเข้าข่ายพ.ร.บฮั้วหรือไม่
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า จะมีการปรับกรอบวงเงินโครงการเพิ่มอีก 10 % จาก 7.5 หมื่นล้านบาท เป็น 8.25 หมื่นล้านบาท ตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างโดยจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.พิจารณา ในวันที่ 10 เม.ย.ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม โดยกรอบวงเงินสัญญา 1 จะเพิ่มขึ้น 10 %เป็น 2.9 หมื่นล้านบาทซึ่งใกล้เคียงกับราคาที่เอกชนเสนอล่าสุดและเห็นว่าการยกเลิกเปิดประมูลใหม่นอกจากยิ่งล่าช้าแล้วค่าก่อสร้างจะแพงขึ้นด้วย
ทั้งนี้ สัญญา 1 กลุ่มกิจการร่วมค้า SU ซึ่งประกอบด้วย บมจ.ซิโนไทย-เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เสนอราคา 3.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเกินกรอบวงเงินที่ครม.อนุมัติไว้ที่ 2.7หมื่นล้านบาท แม้ว่าครม.จะเปิดช่องให้มีการปรับเพิ่มวงเงินได้โดยเจรจากับกระทรวงการคลังก่อน แต่อาจเกิดข้อครหาเอื้อประโยชน์เอกชน เพราะอยู่ระหว่างการประมูล
ส่วนสัญญาที่ 3 (งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลรวมงานจัดซื้อตู้รถไฟฟ้า) มูลค่า2.6 หมื่นล้านบาท มีปัญหาผลประโยชน์ร่วม เนื่องจากมีกรรมการอิสระมีชื่ออยู่ในหลายบริษัท ซึ่งต้องดูข้อกฎหมายของไทยและเงื่อนไขไจก้าประกอบการพิจารณาว่าเข้าข่ายพ.ร.บฮั้วหรือไม่
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า จะมีการปรับกรอบวงเงินโครงการเพิ่มอีก 10 % จาก 7.5 หมื่นล้านบาท เป็น 8.25 หมื่นล้านบาท ตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างโดยจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.พิจารณา ในวันที่ 10 เม.ย.ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม โดยกรอบวงเงินสัญญา 1 จะเพิ่มขึ้น 10 %เป็น 2.9 หมื่นล้านบาทซึ่งใกล้เคียงกับราคาที่เอกชนเสนอล่าสุดและเห็นว่าการยกเลิกเปิดประมูลใหม่นอกจากยิ่งล่าช้าแล้วค่าก่อสร้างจะแพงขึ้นด้วย