นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าหรืออย่างช้าสัปดาห์ถัดไปกระทรวงการคลังจะนำเสนอร่างกฎหมายที่กำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาประเทศชาติ 0.47% เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากการนำเงินส่งเข้ากองทุนแทนที่จะนำส่งเข้าเป็นรายได้ของรัฐตามปกตินั้นต้องมีกฎหมายรองรับชัดเจน
เบื้องต้นกระทรวงการคลังจะเก็บค่าธรรมเนียมจากสถาบันการเงิน 4 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน 8,400 ล้านบาท ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 3,000 ล้านบาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)3,600 ล้านบาท และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 400 ล้านบาท ทำให้จะมีเงินเข้ากองทุนต่อปีประมาณ 15,000 ล้านบาท
กระทรวงการคลังเห็นว่าควรออกเป็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เพื่อให้เป็นกฎหมายที่ชัดเจนในการกำหนดการนำส่งเงินเข้ากองทุนว่าจะคิดจากเงินฝากส่วนใด บทบาทการใช้เงินของกองทุน ซึ่งจะระบุเป้าหมายการนำเงินไปใช้ให้ชัดเจน เช่น ภาระการชดเชยของภาครัฐที่อุดหนุนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล หรือที่แยกบัญชีพีเอสเอรวมถึงการเพิ่มทุนแบงก์รัฐเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งเพื่อลดภาระการใช้เงินงบประมาณเป็นต้น
ในส่วนของบทบาทหน้าที่ของกองทุนนั้นอาจจะไปพิจารณาอีกครั้งในที่ประชุม ครม.หรือในขั้นตอนของรัฐสภาอีกครั้ง ซึ่งหากกฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้ก็ไม่จำเป็นต้องเร่งให้แบงก์รัฐที่มีเงินฝากต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนเดือนกรกฎาคมนี้พร้อมกับแบงก์เอกชน
"การนำส่งเงินเข้ากองทุนของแบงก์รัฐนอกจากทำเพื่อแก้ไขปัญหาความได้เปรียบทางด้านต้นทุนกับแบงก์พาณิชย์แล้วยังเป็นการเตรียมเงินไว้ดูแลแบงก์รัฐเองด้วย แม้ว่าขณะนี้ความจำเป็นในการใช้เงินยังมีไม่มาก อย่างการเพิ่มทุนก็มีเพียง เอสเอ็มอีแบงก์เท่านั้นที่เสนอมาในปีงบประมาณ 2556 แต่ได้ขอให้ปรับปรุงองค์กรก่อนส่วน ธ.ก.ส.นั้น ขณะนี้ยังมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ 10.3% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 8.5% แต่ในอนาคตถ้ามีปัญหากองทุนก็จะเข้าไปดูแล" นายอารีพงศ์กล่าว.
เบื้องต้นกระทรวงการคลังจะเก็บค่าธรรมเนียมจากสถาบันการเงิน 4 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน 8,400 ล้านบาท ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 3,000 ล้านบาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)3,600 ล้านบาท และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 400 ล้านบาท ทำให้จะมีเงินเข้ากองทุนต่อปีประมาณ 15,000 ล้านบาท
กระทรวงการคลังเห็นว่าควรออกเป็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เพื่อให้เป็นกฎหมายที่ชัดเจนในการกำหนดการนำส่งเงินเข้ากองทุนว่าจะคิดจากเงินฝากส่วนใด บทบาทการใช้เงินของกองทุน ซึ่งจะระบุเป้าหมายการนำเงินไปใช้ให้ชัดเจน เช่น ภาระการชดเชยของภาครัฐที่อุดหนุนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล หรือที่แยกบัญชีพีเอสเอรวมถึงการเพิ่มทุนแบงก์รัฐเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งเพื่อลดภาระการใช้เงินงบประมาณเป็นต้น
ในส่วนของบทบาทหน้าที่ของกองทุนนั้นอาจจะไปพิจารณาอีกครั้งในที่ประชุม ครม.หรือในขั้นตอนของรัฐสภาอีกครั้ง ซึ่งหากกฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้ก็ไม่จำเป็นต้องเร่งให้แบงก์รัฐที่มีเงินฝากต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนเดือนกรกฎาคมนี้พร้อมกับแบงก์เอกชน
"การนำส่งเงินเข้ากองทุนของแบงก์รัฐนอกจากทำเพื่อแก้ไขปัญหาความได้เปรียบทางด้านต้นทุนกับแบงก์พาณิชย์แล้วยังเป็นการเตรียมเงินไว้ดูแลแบงก์รัฐเองด้วย แม้ว่าขณะนี้ความจำเป็นในการใช้เงินยังมีไม่มาก อย่างการเพิ่มทุนก็มีเพียง เอสเอ็มอีแบงก์เท่านั้นที่เสนอมาในปีงบประมาณ 2556 แต่ได้ขอให้ปรับปรุงองค์กรก่อนส่วน ธ.ก.ส.นั้น ขณะนี้ยังมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ 10.3% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 8.5% แต่ในอนาคตถ้ามีปัญหากองทุนก็จะเข้าไปดูแล" นายอารีพงศ์กล่าว.