ASTVผู้จัดการรายวัน- "ยิ่งลักษณ์" กลัวเสียการเมือง รีบบินลงใต้ หลังฝ่ายค้านอัดยับ ใจดำ ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ด้านฝ่ายความมั่นคงยกขบวนลงใต้ ปรับแผนรับมือ "ประยุทธ์"วอนอย่าดึงไฟใต้โยงการเมือง เตือน "ปู" อย่าเจรจาโจรใต้มั่ว หวั่นผิดกลุ่มยิ่งทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น ด้าน "ยุทธศักดิ์"ปูดสายเหยี่ยว "บีอาร์เอ็น" กลุ่มใหม่ก่อเหตุ "มาร์ค" เตือนคนในรัฐบาลระวังคำพูด
เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (2 เม.ย.) ที่กองบัญชาการกองบินที่ 6 กองทัพอากาศ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง รักษาการเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางด้วยเครื่องบินกองทัพอากาศ ไป อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเยี่ยมผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ จากเหตุการณ์ระเบิดที่โรงแรม ลี การ์เด้นส์ และให้กำลังเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า จริงๆ แล้วไม่อยากให้เป็นภาระ แต่ใจยังเป็นห่วงจึงไม่บอกกำหนดการล่วงหน้า และตนยังมีกำหนดการต้องเดินทางไปราชการที่กัมพูชาหลายวัน เลยขอลงไปสักนิดหนึ่ง ส่วนเรื่องการสืบสวนในรูปคดี คงให้ทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่สืบสวนดำเนินการ
นอกจากนี้จะมีการเรียกประชุมเตรียมความพร้อมของทุกพื้นที่ภายในสัปดาห์นี้ ก่อนเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ เพื่อดูภาพรวมทั้งประเทศ ในทุกจุด รวมถึงในกรุงเทพด้วย ดูแลความปลอดภัยให้ละเอียดมากขึ้น
นายกฯ กล่าวว่า จากที่รับรายงาน ช่วงเมษาฯ เป็นช่วงครบรอบ ได้เร่งรัดเจ้าหน้าที่ทุกส่วน ในการสอบสวนดำเนินคดีอย่างรัดกุม
ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การข่าวได้มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าแล้ว แต่ทำไมยังเกิดเหตุอยู่ นายกฯ กล่าวว่าจริงๆ แล้วมีการเตือนเป็นระยะอยู่แล้ว ซึ่งต้องกลับไปประเมินการเตือน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ทาง สมช. กำลังดำเนินการอยู่
** ฝ่ายความมั่นคงยกทีมลงใต้
ด้านพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหารบก พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (เลขาสมช.) พล.ท.ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้เดินทางลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อติดตามสถานการณ์ระเบิดคาร์บอมบ์ ที่ จ.ยะลา จ.ปัตตานี และที่โรงแรมลีการ์เด้น จ.สงขลา โดยมีกำหนดการไปประชุมร่วมกับ ผบ.หน่วยที่ค่ายสิรินธร อ.ยะรัง จ.ปัตตานี จากนั้นจะเดินทางไปเยี่ยมผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ รพ.ศูนย์ยะลา และรพ.สงขลานครินทร์
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ ไปครบทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่ายนโยบาย และฝ่ายความมั่นคง โดยตนได้สั่งการเพิ่มเติมไปยังกองทัพภาคที่ 4 ว่าให้ติดตามผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้
ทั้งนี้ ตนยังสั่งการให้แม่ทัพภาคที่ 1 เดินทางไปหารือกับผบ.ตร. เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น สิ่งสำคัญในเดือนเม.ย. จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นทุกปี เช่น กรือเซะ สะบ้าย้อย ซึ่งหน่วยข่าวมีการแจ้งเตือนมาโดยตลอด โดยวันนี้ตนจะลงไปดูว่าที่ผ่านมามีการปรับแผนอย่างไรบ้าง โดยจะไปสั่งการในพื้นที่ในนามกองทัพบก เรื่องการปรับกำลังในเขตเมือง ซี่งความรับผิดชอบคงต้องเป็นของตำรวจเช่นเดิม เพราะเราไม่สามารถนำทหารไปดูแลพื้นที่นี้ได้ โดยต้องมีการปรับกำลังตำรวจว่าจะทำอย่างไร และจะมีส่วนอื่นไปเสริมหรือไม่
**วอนฝ่ายค้าน-รัฐบาลอย่าเล่นการเมือง
"ได้มีโอกาสพูดคุยกับนายกรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้าน โดยขอร้องว่า สถานการณ์ภาคใต้วันนี้ ทุกคนต้องช่วยกันแก้ปัญหา ไม่อยากให้นำเรื่องนี้ไปเป็นเรื่องการเมือง ซึ่งปัญหาประกอบด้วยหลายส่วน คือ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม รวมถึงมีภัยแทรกซ้อนเข้ามาประกอบ สิทธิมนุษยชน ทำให้ทุกอย่างมารวมกันเป็นปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งเราต้องค่อยๆ คลี่คลาย จริงๆแล้วขบวนการพวกนี้เป็นคนไทย เป็นการจับกลุ่มกันขึ้นมา และพวกนี้ก็เป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนเดิม บีอาร์เอ็นเดิม และแยกออกมาเป็นบีอาร์เอ็น โคออร์ดีเนต คนพวกนี้ก็เป็นลูกหลานของคนสมัยก่อนทั้งสิ้น โดยผู้ก่อความไม่สงบแต่เดิม มีหัวหน้าประมาณ 300 คน เมื่อรวมกับแนวร่วมเบ็ดเสร็จมีทั้งหมดประมาณ 1 หมื่นคน แต่จากการจับกุมดำเนินคดีเหลือทั้งหมด 4-5 พันคน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เขาพยายามทำให้เราใช้ความรุนแรง โดยให้เราเอากำลังเข้าไปมากๆ แล้วสู้กัน ถ้าเราทำอย่างนั้นจะเกิดปัญหา ผู้ก่อการร้ายมีอย่างเดียวคือใช้ความรุนแรงยกระดับเพื่อเรียกความสนใจจากคนในประเทศ และนอกประเทศให้ตระหนก ดังนั้นเราต้องเข้มงวดในทุกมาตรการที่เคยทำมา ถ้าทำเช่นนี้เหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดหรือเกิดน้อย ส่วนเจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดตลอด 24 ชม.ไม่ใช่สถานการณ์เงียบสงบ แล้วผ่อนคลาย โดยเฉพาะโรงแรมต้องมีการตรวจใต้ท้องรถ แต่ปัจจุบันบางทีไม่ตรวจค้น และเหตุที่เกิดขึ้นก็เกิดที่โรงแรม
ขณะนี้เรามีมาตรการในการตรวจรถเก๋ง มอเตอร์ไซต์ คือ การขึ้นทะเบียน 1 แสนคัน โดย กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นผู้ดำเนินการ โดยการติดสติกเกอร์ และใช้เครื่องยิงตรวจเวลาผ่านด่าน ในเส้นทางหลักๆและเส้นทางอ้อม
** เตือน "ปู" อย่าเจรจามั่ว
เมื่อถามว่า ทางฝ่ายรัฐเข้าไปพูดคุยกับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เราคงคุยไม่ได้อยู่แล้ว ส่วนที่มีข่าวออกมา ต้องตรวจสอบกัน ตนพูดอยู่เสมอ และได้เรียนนายกฯ และทุกคน รองนายกฯท่านก็รู้ดีว่า มันไม่ได้มีแค่เพียงกลุ่มเดียว แต่มีหลายพวกด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นพวกแบ่งแยกดินแดน พวกธุรกิจผิดกฏหมาย ยาเสพติด แม้กระทั่งกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ก็เป็นกลุ่มเล็กๆ มารวมกัน แต่ละกลุ่มความคิดของมันเอง มีบางกลุ่มอยากเลิก
บางกลุ่มอยากทำอยู่ มันก็แย่งชิงแกนนำกันในพวกเขาเอง
ทั้งนี้การพูดคุยไม่ได้เป็นเรื่องผิดกฏหมาย แต่หากคุยแล้วไม่ครบกลุ่ม จะเกิดเหตุการณ์ขึ้น เพราะพวกนี้ต้องการสร้างสถานการณ์แย่งชิงการนำกันในกลุ่ม โดยใช้ความรุนแรงเข้าต่อสู้ แสดงฤทธิ์ เพื่อให้คนในกลุ่มเล็กเข้ามารวมในกลุ่มของตนเอง
" ปัญหาคือทำอย่างไรจะจับกุมคนพวกนี้ได้ โดยใช้กฏหมายที่เรามีอยู่ ดังนั้นสากลจะเข้ามายุ่งอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น มันเป็นเรื่องภายในประเทศ ส่วนผู้ที่ก่อเหตุระเบิดขึ้น ก็กลุ่มนี้แหละที่ทำงานอยู่ เพราะมันมีไม่กี่กลุ่ม มันใช้คนน้อย และไม่ใช่กำลังขนาดใหญ่ไม่มีไม่มีไปวางกำลังที่ไหนก็ไม่ได้ ถ้าวางตรงไหนทหารเราก็เข้าไปจับ ไปยึด เพราะฉะนั้นพวกนี้ก็ลักลอบทำที่ละ 5 คน 10 คน เท่านั้น และก็เคลื่อนไหวไปมา ทางเจ้าหน้าที่เราก็มีหมายจับ มีชื่อคราวที่แล้วเจ้าหน้าที่ก็จับไปแล้ว 30 คน พวกนี้ถือว่า ทำผิดกฏหมายประเทศไทยแล้วเป็นคนไทยมุสลิมทั้งสิ้น แต่เขาอาจเข้าใจผิด วันนี้เขาใช้ความรุนแรง เราต้องประณามพวกนี้ ถ้าจะแยกดินแดนแล้วใช้ความรุนแรงอย่างนี้จะสำเร็จหรือไม่ บอกได้เลยว่า ไม่สำเร็จ เพราะทำให้คนบริสุทธิ์ทั้ง 2 ฝ่าย เสียชีวิต ทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิม คนมุสลิมไม่ต้องให้ความร่วมมือกับคนพวกนี้ ต้องรังเกียจ เพราะพวกนี้ทำผิดศาสนา เพราะสอนให้ฆ่าคน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ไปพูดคุยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ ตนไม่ได้ข่าว และตนเรียนท่านนายกฯไปแล้วว่า จะให้ไปพูดคุยอะไร กับใครเขาไม่ได้ ต้องเป็นเรื่องของหน่วยงานในพื้นที่ เพราะมีมาตรา 21 อยู่ คือ การให้เข้ามามอบตัว โดยเป็นการแจ้งข่าวออกไป ให้ญาติพี่น้องนำมามอบตัว วันนี้ก็มีการเพิ่มขึ้นมาเป็น 7 ราย แล้วก็กำลังเข้าสู่ขบวนการอยู่ ตนว่าที่เหลือจะออกมา ซึ่งตนเคยพบกับกลุ่มคนพวกนี้ที่กลับใจมาร่วมกับเรา เขาบอกว่า ไม่ไหวแล้ว ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย
**ชี้ฝีมือ บีอาร์เอ็นกลุ่มใหม่ หัวรุนแรง
ด้านพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนกองทัพจะไปปรับแผนให้มีความรัดกุมมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดกำลังให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยพื้นที่เกิดเหตุในเทศบาลเมืองยะลา มีการมอบพื้นที่ให้ตำรวจไปดูแล ซึ่งในช่วงแรกมีความรัดกุมพอสมควร แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปอาจจะมีช่องว่างอยู่บ้าง คงต้องมีการปรับให้เหมาะสมมากขึ้น
" กลุ่มที่ก่อเหตุเป็น กลุ่มใหม่ หัวรุนแรง ที่เป็นสายเหยี่ยวอยู่ใน บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนตที่ไม่เห็นด้วยกับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นกลุ่มเก่า ที่เข้าเจรจากับคนของ ศอ.บต. ที่ส่งไปคุย ซึ่งเราไม่เรียกว่าเป็นการเจรจา เพราะที่ไปคุย ไม่ใช่เรื่องทางการ ซึ่งกลุ่มใหม่เขาไม่เห็นด้วยกับการเจรจา และไม่พอใจ มีการไปยิงเอ็ม 79 ที่บ้าน นายนัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส.นราธิวาส ( เคยอยู่ในบัญชีรายชื่อกลุ่มบีอาร์เอ็น ) เพราะ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. แต่งตั้ง นายนัจมุดดีน เป็นที่ปรึกษา ซึ่งการแสดงตัวเช่นนี้ ทำให้เห็นว่า กลุ่มใหม่ต้องการเคลื่อนไหวสร้างความรุนแรงต่อไป ในขณะที่กลุ่มเก่า ที่เราเข้าไปคุยต้องการเจรจาแต่ไม่ได้มีบทบาทมากนัก" รองนายกฯ กล่าว
** "เหลิม"โยน"ยุทธศักดิ์"รับผิดชอบ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีเหตุระเบิดที่ภาคใต้ว่า ตนไมได้รับผิดชอบโดยตรง เป็นหน้าที่ของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี โดยเบื้องต้นได้ทราบข้อมูลจาก พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 9 ว่ามีหลักฐานภาพคนร้ายจากกล้องวงจรปิด ซึ่งจะดำเนินการออกหมายจับในเร็วๆนี้
อีกทั้งการเกิดเหตุในโรงแรมลีการ์เดนส์ ไม่ได้บอกนัยยะอะไร แต่เพราะเป็นโรงแรมใหญ่เท่านั้น
** เตือนอย่าตกหลุมพรางความรุนแรง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวเตือน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง ให้ระวังคำพูดด้วยที่บอกว่า เหตุการณ์จะดีขึ้นภายใน 3 เดือน เพราะปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ เป็นเรื่องใหญ่ ที่มีความละเอียดอ่อน ซึ่งรัฐต้องทบทวนนโยบายที่ดำเนินการมา พร้อมแนะนำให้ส่งรมต.เกาะติดพื้นที่ และอย่าตกหลุมพราง เข้าสู่วงจรความรุนแรง
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่น.ส.ยิ่งลักษณ์เปลี่ยนใจจากเดิม ที่จะไม่ลงพื้นที่ โดยอ้างว่าจะมีปัญหาเรื่องการจัดเจ้าหน้าที่มาคุ้มกันนั้น เป็นเพราะนายอภิสิทธิ์ ได้ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง หากไม่ทำเป็นตัวอย่างนายกฯ คงทำงานไม่เป็น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียใจ ที่รัฐบาลเอาความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งเศรษฐกิจประเทศ มาเล่นเกมการเมือง ชิงคะแนนเสียงเอาหน้ากับประชาชน
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า อยากให้รัฐบาลประกาศเยียวยาการสูญเสียครั้งนี้ ให้เท่ากับที่นายกฯ เคยนำเงินเยียวยาไปมอบให้กับครอบครัวผู้สื่อข่าวชาวญี่ป่น ถึงที่ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 7.75 ล้านบาทด้วย
** ส.ว.ตั้งกระทู้กรอบการเยียวยา
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ ได้มีการพิจารณากระทู้ถามด่วน เรื่อง ปัญหาหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง และจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม นายกรัฐมนตรี โดยนายกฯ ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เป็นผู้ชี้แจงแทน โดย นายสมชาย กล่าวว่า จากเหตุการณ์ระเบิดที่ อ.หาดใหญ่ เป็นผลพวงมาจากการแก้ปัญหาไฟใต้ของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องเร่งแก้ไขเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะมาตรการการเยียวยา ที่ต้องจ่ายเงินถึง 7.5 ล้านบาท ตนอยากถามว่า มาตรการดังกล่าวได้ให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นธรรมหรือไม่ ตนไม่อยากเห็นความสูญเสียในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นผลของการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐโดยตรง และอยากถามว่า มาตรการเยียวยาที่รัฐบาลดำเนินการ มีความเป็นธรรมหรือไม่ และจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้อย่างไร
พล.ต.อ.ประชา ชี้แจงว่า จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเยียวยา ออกเป็น 4 กลุ่ม ด้วยกัน เพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม. ในสัปดาห์หน้า ประกอบด้วย 1. กลุ่มประชาชนทั่วไป 2. กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ 3.กลุ่มผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำ เช่น ตากใบ กรือเซะ เป็นต้น และ 4. กลุ่มที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ที่ถูกจับผิดตัว โดยไม่มีความผิด ซึ่งทั้ง 4 กลุ่ม จะต้องได้รับความเป็นธรรม ทั้งนี้ยืนยันว่า รัฐบาลจะใช้หลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินเยียวยาภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (2 เม.ย.) ที่กองบัญชาการกองบินที่ 6 กองทัพอากาศ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง รักษาการเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางด้วยเครื่องบินกองทัพอากาศ ไป อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเยี่ยมผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ จากเหตุการณ์ระเบิดที่โรงแรม ลี การ์เด้นส์ และให้กำลังเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า จริงๆ แล้วไม่อยากให้เป็นภาระ แต่ใจยังเป็นห่วงจึงไม่บอกกำหนดการล่วงหน้า และตนยังมีกำหนดการต้องเดินทางไปราชการที่กัมพูชาหลายวัน เลยขอลงไปสักนิดหนึ่ง ส่วนเรื่องการสืบสวนในรูปคดี คงให้ทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่สืบสวนดำเนินการ
นอกจากนี้จะมีการเรียกประชุมเตรียมความพร้อมของทุกพื้นที่ภายในสัปดาห์นี้ ก่อนเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ เพื่อดูภาพรวมทั้งประเทศ ในทุกจุด รวมถึงในกรุงเทพด้วย ดูแลความปลอดภัยให้ละเอียดมากขึ้น
นายกฯ กล่าวว่า จากที่รับรายงาน ช่วงเมษาฯ เป็นช่วงครบรอบ ได้เร่งรัดเจ้าหน้าที่ทุกส่วน ในการสอบสวนดำเนินคดีอย่างรัดกุม
ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การข่าวได้มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าแล้ว แต่ทำไมยังเกิดเหตุอยู่ นายกฯ กล่าวว่าจริงๆ แล้วมีการเตือนเป็นระยะอยู่แล้ว ซึ่งต้องกลับไปประเมินการเตือน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ทาง สมช. กำลังดำเนินการอยู่
** ฝ่ายความมั่นคงยกทีมลงใต้
ด้านพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหารบก พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (เลขาสมช.) พล.ท.ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้เดินทางลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อติดตามสถานการณ์ระเบิดคาร์บอมบ์ ที่ จ.ยะลา จ.ปัตตานี และที่โรงแรมลีการ์เด้น จ.สงขลา โดยมีกำหนดการไปประชุมร่วมกับ ผบ.หน่วยที่ค่ายสิรินธร อ.ยะรัง จ.ปัตตานี จากนั้นจะเดินทางไปเยี่ยมผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ รพ.ศูนย์ยะลา และรพ.สงขลานครินทร์
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ ไปครบทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่ายนโยบาย และฝ่ายความมั่นคง โดยตนได้สั่งการเพิ่มเติมไปยังกองทัพภาคที่ 4 ว่าให้ติดตามผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้
ทั้งนี้ ตนยังสั่งการให้แม่ทัพภาคที่ 1 เดินทางไปหารือกับผบ.ตร. เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น สิ่งสำคัญในเดือนเม.ย. จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นทุกปี เช่น กรือเซะ สะบ้าย้อย ซึ่งหน่วยข่าวมีการแจ้งเตือนมาโดยตลอด โดยวันนี้ตนจะลงไปดูว่าที่ผ่านมามีการปรับแผนอย่างไรบ้าง โดยจะไปสั่งการในพื้นที่ในนามกองทัพบก เรื่องการปรับกำลังในเขตเมือง ซี่งความรับผิดชอบคงต้องเป็นของตำรวจเช่นเดิม เพราะเราไม่สามารถนำทหารไปดูแลพื้นที่นี้ได้ โดยต้องมีการปรับกำลังตำรวจว่าจะทำอย่างไร และจะมีส่วนอื่นไปเสริมหรือไม่
**วอนฝ่ายค้าน-รัฐบาลอย่าเล่นการเมือง
"ได้มีโอกาสพูดคุยกับนายกรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้าน โดยขอร้องว่า สถานการณ์ภาคใต้วันนี้ ทุกคนต้องช่วยกันแก้ปัญหา ไม่อยากให้นำเรื่องนี้ไปเป็นเรื่องการเมือง ซึ่งปัญหาประกอบด้วยหลายส่วน คือ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม รวมถึงมีภัยแทรกซ้อนเข้ามาประกอบ สิทธิมนุษยชน ทำให้ทุกอย่างมารวมกันเป็นปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งเราต้องค่อยๆ คลี่คลาย จริงๆแล้วขบวนการพวกนี้เป็นคนไทย เป็นการจับกลุ่มกันขึ้นมา และพวกนี้ก็เป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนเดิม บีอาร์เอ็นเดิม และแยกออกมาเป็นบีอาร์เอ็น โคออร์ดีเนต คนพวกนี้ก็เป็นลูกหลานของคนสมัยก่อนทั้งสิ้น โดยผู้ก่อความไม่สงบแต่เดิม มีหัวหน้าประมาณ 300 คน เมื่อรวมกับแนวร่วมเบ็ดเสร็จมีทั้งหมดประมาณ 1 หมื่นคน แต่จากการจับกุมดำเนินคดีเหลือทั้งหมด 4-5 พันคน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เขาพยายามทำให้เราใช้ความรุนแรง โดยให้เราเอากำลังเข้าไปมากๆ แล้วสู้กัน ถ้าเราทำอย่างนั้นจะเกิดปัญหา ผู้ก่อการร้ายมีอย่างเดียวคือใช้ความรุนแรงยกระดับเพื่อเรียกความสนใจจากคนในประเทศ และนอกประเทศให้ตระหนก ดังนั้นเราต้องเข้มงวดในทุกมาตรการที่เคยทำมา ถ้าทำเช่นนี้เหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดหรือเกิดน้อย ส่วนเจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดตลอด 24 ชม.ไม่ใช่สถานการณ์เงียบสงบ แล้วผ่อนคลาย โดยเฉพาะโรงแรมต้องมีการตรวจใต้ท้องรถ แต่ปัจจุบันบางทีไม่ตรวจค้น และเหตุที่เกิดขึ้นก็เกิดที่โรงแรม
ขณะนี้เรามีมาตรการในการตรวจรถเก๋ง มอเตอร์ไซต์ คือ การขึ้นทะเบียน 1 แสนคัน โดย กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นผู้ดำเนินการ โดยการติดสติกเกอร์ และใช้เครื่องยิงตรวจเวลาผ่านด่าน ในเส้นทางหลักๆและเส้นทางอ้อม
** เตือน "ปู" อย่าเจรจามั่ว
เมื่อถามว่า ทางฝ่ายรัฐเข้าไปพูดคุยกับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เราคงคุยไม่ได้อยู่แล้ว ส่วนที่มีข่าวออกมา ต้องตรวจสอบกัน ตนพูดอยู่เสมอ และได้เรียนนายกฯ และทุกคน รองนายกฯท่านก็รู้ดีว่า มันไม่ได้มีแค่เพียงกลุ่มเดียว แต่มีหลายพวกด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นพวกแบ่งแยกดินแดน พวกธุรกิจผิดกฏหมาย ยาเสพติด แม้กระทั่งกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ก็เป็นกลุ่มเล็กๆ มารวมกัน แต่ละกลุ่มความคิดของมันเอง มีบางกลุ่มอยากเลิก
บางกลุ่มอยากทำอยู่ มันก็แย่งชิงแกนนำกันในพวกเขาเอง
ทั้งนี้การพูดคุยไม่ได้เป็นเรื่องผิดกฏหมาย แต่หากคุยแล้วไม่ครบกลุ่ม จะเกิดเหตุการณ์ขึ้น เพราะพวกนี้ต้องการสร้างสถานการณ์แย่งชิงการนำกันในกลุ่ม โดยใช้ความรุนแรงเข้าต่อสู้ แสดงฤทธิ์ เพื่อให้คนในกลุ่มเล็กเข้ามารวมในกลุ่มของตนเอง
" ปัญหาคือทำอย่างไรจะจับกุมคนพวกนี้ได้ โดยใช้กฏหมายที่เรามีอยู่ ดังนั้นสากลจะเข้ามายุ่งอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น มันเป็นเรื่องภายในประเทศ ส่วนผู้ที่ก่อเหตุระเบิดขึ้น ก็กลุ่มนี้แหละที่ทำงานอยู่ เพราะมันมีไม่กี่กลุ่ม มันใช้คนน้อย และไม่ใช่กำลังขนาดใหญ่ไม่มีไม่มีไปวางกำลังที่ไหนก็ไม่ได้ ถ้าวางตรงไหนทหารเราก็เข้าไปจับ ไปยึด เพราะฉะนั้นพวกนี้ก็ลักลอบทำที่ละ 5 คน 10 คน เท่านั้น และก็เคลื่อนไหวไปมา ทางเจ้าหน้าที่เราก็มีหมายจับ มีชื่อคราวที่แล้วเจ้าหน้าที่ก็จับไปแล้ว 30 คน พวกนี้ถือว่า ทำผิดกฏหมายประเทศไทยแล้วเป็นคนไทยมุสลิมทั้งสิ้น แต่เขาอาจเข้าใจผิด วันนี้เขาใช้ความรุนแรง เราต้องประณามพวกนี้ ถ้าจะแยกดินแดนแล้วใช้ความรุนแรงอย่างนี้จะสำเร็จหรือไม่ บอกได้เลยว่า ไม่สำเร็จ เพราะทำให้คนบริสุทธิ์ทั้ง 2 ฝ่าย เสียชีวิต ทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิม คนมุสลิมไม่ต้องให้ความร่วมมือกับคนพวกนี้ ต้องรังเกียจ เพราะพวกนี้ทำผิดศาสนา เพราะสอนให้ฆ่าคน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ไปพูดคุยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ ตนไม่ได้ข่าว และตนเรียนท่านนายกฯไปแล้วว่า จะให้ไปพูดคุยอะไร กับใครเขาไม่ได้ ต้องเป็นเรื่องของหน่วยงานในพื้นที่ เพราะมีมาตรา 21 อยู่ คือ การให้เข้ามามอบตัว โดยเป็นการแจ้งข่าวออกไป ให้ญาติพี่น้องนำมามอบตัว วันนี้ก็มีการเพิ่มขึ้นมาเป็น 7 ราย แล้วก็กำลังเข้าสู่ขบวนการอยู่ ตนว่าที่เหลือจะออกมา ซึ่งตนเคยพบกับกลุ่มคนพวกนี้ที่กลับใจมาร่วมกับเรา เขาบอกว่า ไม่ไหวแล้ว ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย
**ชี้ฝีมือ บีอาร์เอ็นกลุ่มใหม่ หัวรุนแรง
ด้านพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนกองทัพจะไปปรับแผนให้มีความรัดกุมมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดกำลังให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยพื้นที่เกิดเหตุในเทศบาลเมืองยะลา มีการมอบพื้นที่ให้ตำรวจไปดูแล ซึ่งในช่วงแรกมีความรัดกุมพอสมควร แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปอาจจะมีช่องว่างอยู่บ้าง คงต้องมีการปรับให้เหมาะสมมากขึ้น
" กลุ่มที่ก่อเหตุเป็น กลุ่มใหม่ หัวรุนแรง ที่เป็นสายเหยี่ยวอยู่ใน บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนตที่ไม่เห็นด้วยกับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นกลุ่มเก่า ที่เข้าเจรจากับคนของ ศอ.บต. ที่ส่งไปคุย ซึ่งเราไม่เรียกว่าเป็นการเจรจา เพราะที่ไปคุย ไม่ใช่เรื่องทางการ ซึ่งกลุ่มใหม่เขาไม่เห็นด้วยกับการเจรจา และไม่พอใจ มีการไปยิงเอ็ม 79 ที่บ้าน นายนัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส.นราธิวาส ( เคยอยู่ในบัญชีรายชื่อกลุ่มบีอาร์เอ็น ) เพราะ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. แต่งตั้ง นายนัจมุดดีน เป็นที่ปรึกษา ซึ่งการแสดงตัวเช่นนี้ ทำให้เห็นว่า กลุ่มใหม่ต้องการเคลื่อนไหวสร้างความรุนแรงต่อไป ในขณะที่กลุ่มเก่า ที่เราเข้าไปคุยต้องการเจรจาแต่ไม่ได้มีบทบาทมากนัก" รองนายกฯ กล่าว
** "เหลิม"โยน"ยุทธศักดิ์"รับผิดชอบ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีเหตุระเบิดที่ภาคใต้ว่า ตนไมได้รับผิดชอบโดยตรง เป็นหน้าที่ของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี โดยเบื้องต้นได้ทราบข้อมูลจาก พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 9 ว่ามีหลักฐานภาพคนร้ายจากกล้องวงจรปิด ซึ่งจะดำเนินการออกหมายจับในเร็วๆนี้
อีกทั้งการเกิดเหตุในโรงแรมลีการ์เดนส์ ไม่ได้บอกนัยยะอะไร แต่เพราะเป็นโรงแรมใหญ่เท่านั้น
** เตือนอย่าตกหลุมพรางความรุนแรง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวเตือน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง ให้ระวังคำพูดด้วยที่บอกว่า เหตุการณ์จะดีขึ้นภายใน 3 เดือน เพราะปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ เป็นเรื่องใหญ่ ที่มีความละเอียดอ่อน ซึ่งรัฐต้องทบทวนนโยบายที่ดำเนินการมา พร้อมแนะนำให้ส่งรมต.เกาะติดพื้นที่ และอย่าตกหลุมพราง เข้าสู่วงจรความรุนแรง
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่น.ส.ยิ่งลักษณ์เปลี่ยนใจจากเดิม ที่จะไม่ลงพื้นที่ โดยอ้างว่าจะมีปัญหาเรื่องการจัดเจ้าหน้าที่มาคุ้มกันนั้น เป็นเพราะนายอภิสิทธิ์ ได้ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง หากไม่ทำเป็นตัวอย่างนายกฯ คงทำงานไม่เป็น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียใจ ที่รัฐบาลเอาความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งเศรษฐกิจประเทศ มาเล่นเกมการเมือง ชิงคะแนนเสียงเอาหน้ากับประชาชน
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า อยากให้รัฐบาลประกาศเยียวยาการสูญเสียครั้งนี้ ให้เท่ากับที่นายกฯ เคยนำเงินเยียวยาไปมอบให้กับครอบครัวผู้สื่อข่าวชาวญี่ป่น ถึงที่ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 7.75 ล้านบาทด้วย
** ส.ว.ตั้งกระทู้กรอบการเยียวยา
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ ได้มีการพิจารณากระทู้ถามด่วน เรื่อง ปัญหาหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง และจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม นายกรัฐมนตรี โดยนายกฯ ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เป็นผู้ชี้แจงแทน โดย นายสมชาย กล่าวว่า จากเหตุการณ์ระเบิดที่ อ.หาดใหญ่ เป็นผลพวงมาจากการแก้ปัญหาไฟใต้ของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องเร่งแก้ไขเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะมาตรการการเยียวยา ที่ต้องจ่ายเงินถึง 7.5 ล้านบาท ตนอยากถามว่า มาตรการดังกล่าวได้ให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นธรรมหรือไม่ ตนไม่อยากเห็นความสูญเสียในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นผลของการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐโดยตรง และอยากถามว่า มาตรการเยียวยาที่รัฐบาลดำเนินการ มีความเป็นธรรมหรือไม่ และจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้อย่างไร
พล.ต.อ.ประชา ชี้แจงว่า จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเยียวยา ออกเป็น 4 กลุ่ม ด้วยกัน เพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม. ในสัปดาห์หน้า ประกอบด้วย 1. กลุ่มประชาชนทั่วไป 2. กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ 3.กลุ่มผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำ เช่น ตากใบ กรือเซะ เป็นต้น และ 4. กลุ่มที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ที่ถูกจับผิดตัว โดยไม่มีความผิด ซึ่งทั้ง 4 กลุ่ม จะต้องได้รับความเป็นธรรม ทั้งนี้ยืนยันว่า รัฐบาลจะใช้หลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินเยียวยาภายใต้มาตรฐานเดียวกัน