แผนงาน บสย.อืด โครงการฟื้นฟูเอสเอ็มอีหลังน้ำท่วมวงเงิน 1 แสนล้านบาทคืบหน้าเพียง 4 พันล้านเท่านั้น เตรียมปรับตัวเชิงรุกขยายการค้ำประกันสินเชื่อเกษตรแปรรูป ประมง ลิสซิ่งและลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน
นายชวิศ ชัยกิตติศิลป์ ประธานกรรมการบริหาร บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เปิดเผยว่า หลังจากเข้ารับตำแหน่งได้รับมอบหมายนโยบายจากนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง ให้พิจารณาทบทวนการเพิ่มบทบาทการดำเนินงานของ บสย.ให้กว้างขวางและสนับสนุนการให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการขนาดเล็กมากขึ้น นอกจากการค้ำประกันสินเชื่อที่สถาบันการเงินจัดส่งลูกค้ามาให้อย่างที่ผ่านมา ซึ่งยอมรับว่ายังมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการน้อยมากเพราะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากค่าค้ำประกันอีก 1.75%
ทั้งนี้ จากการส่งให้ฝ่ายกฎหมายและอัยการพิจารณาตีความกฎหมายจัดตั้ง บสย.พบว่าสามารถค้ำประกันสินเชื่อกลุ่มลิสซิ่งได้ด้วย บสย.น่าจะเข้าไปรองรับลูกค้าในกลุ่มนี้ได้เพิ่ม นอกจากนี้อาจจะขยายไปจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นเกษตรกรที่ทำธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร หรือประมงเพิ่มเติมเพราะถือเป็นเอสเอ็มอีเช่นกัน รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการที่จะไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านก็ถือเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ โดยเตรียมเสนอแนวทางขยายบทบาทการดำเนินงานดังกล่าวให้รมว.คลังพิจารณาอนุมัติเพื่อเดินหน้าให้ได้โดยเร็วที่สุด
“ที่ผ่านมาบสย.ค้ำประกันสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์จัดส่งมาให้ โดยจะมีทหารไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่ ส่วนแบงก์รัฐด้วยกันเองแทบไม่มีลูกค้าเพราะแบงก์เองก็มีต้นทุนการดำเนินงานสูงอยู่แล้วจึงไม่อยากให้ลูกค้ามีต้นทุนค่าค้ำประกันเพิ่ม จึงต้องมานั่งคิดว่าต่อไปจะทำอย่างไรให้ลูกค้าวิ่งมาหาเราและให้แบงก์เข้ามาสนับสนุนสินเชื่อตามที่ลูกค้าต้องการ” นายชวิศ กล่าว
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าบทบาทของบสย.ในการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการยังมีค่อนข้างน้อย ดูได้จากโครงการค้ำประกันสินเชื่อฟื้นฟูเอสเอ็มอีหลังน้ำท่วมวงเงิน 1 แสนล้านบาท ก่อนหน้านี้ที่ผ่านมาสามารถค้ำประกันไปได้เพียง 4 พันล้านบาทเท่านั้น อาจเป็นเพราะผู้ประกอบการมีสภาพคล่องฟื้นฟูกิจการเอง และแบงก์ช่วยเหลือลูกค้าไประดับหนึ่งแล้วจึงไม่ต้องการเข้าโครงการก็ได้ หลังจากนี้จึงให้บสย.ทำแผนเร่งค้ำประกันสินเชื่อโครงการดังกล่าวให้มากขึ้นคาดสิ้นเดือนตุลาคมนี้หลังปิดโครงการน่าจะเร่งได้ถึง 3 หมื่นกว่าล้านบาท และบสย.อยู่ระหว่างขอซอฟโลนจากธนาคารแห่งประเทศ(ธปท.) ไทยอีก 2.2 หมื่นล้านบาทเพื่อบริหารต้นทุนให้ต่ำลง.
นายชวิศ ชัยกิตติศิลป์ ประธานกรรมการบริหาร บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เปิดเผยว่า หลังจากเข้ารับตำแหน่งได้รับมอบหมายนโยบายจากนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง ให้พิจารณาทบทวนการเพิ่มบทบาทการดำเนินงานของ บสย.ให้กว้างขวางและสนับสนุนการให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการขนาดเล็กมากขึ้น นอกจากการค้ำประกันสินเชื่อที่สถาบันการเงินจัดส่งลูกค้ามาให้อย่างที่ผ่านมา ซึ่งยอมรับว่ายังมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการน้อยมากเพราะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากค่าค้ำประกันอีก 1.75%
ทั้งนี้ จากการส่งให้ฝ่ายกฎหมายและอัยการพิจารณาตีความกฎหมายจัดตั้ง บสย.พบว่าสามารถค้ำประกันสินเชื่อกลุ่มลิสซิ่งได้ด้วย บสย.น่าจะเข้าไปรองรับลูกค้าในกลุ่มนี้ได้เพิ่ม นอกจากนี้อาจจะขยายไปจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นเกษตรกรที่ทำธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร หรือประมงเพิ่มเติมเพราะถือเป็นเอสเอ็มอีเช่นกัน รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการที่จะไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านก็ถือเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ โดยเตรียมเสนอแนวทางขยายบทบาทการดำเนินงานดังกล่าวให้รมว.คลังพิจารณาอนุมัติเพื่อเดินหน้าให้ได้โดยเร็วที่สุด
“ที่ผ่านมาบสย.ค้ำประกันสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์จัดส่งมาให้ โดยจะมีทหารไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่ ส่วนแบงก์รัฐด้วยกันเองแทบไม่มีลูกค้าเพราะแบงก์เองก็มีต้นทุนการดำเนินงานสูงอยู่แล้วจึงไม่อยากให้ลูกค้ามีต้นทุนค่าค้ำประกันเพิ่ม จึงต้องมานั่งคิดว่าต่อไปจะทำอย่างไรให้ลูกค้าวิ่งมาหาเราและให้แบงก์เข้ามาสนับสนุนสินเชื่อตามที่ลูกค้าต้องการ” นายชวิศ กล่าว
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าบทบาทของบสย.ในการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการยังมีค่อนข้างน้อย ดูได้จากโครงการค้ำประกันสินเชื่อฟื้นฟูเอสเอ็มอีหลังน้ำท่วมวงเงิน 1 แสนล้านบาท ก่อนหน้านี้ที่ผ่านมาสามารถค้ำประกันไปได้เพียง 4 พันล้านบาทเท่านั้น อาจเป็นเพราะผู้ประกอบการมีสภาพคล่องฟื้นฟูกิจการเอง และแบงก์ช่วยเหลือลูกค้าไประดับหนึ่งแล้วจึงไม่ต้องการเข้าโครงการก็ได้ หลังจากนี้จึงให้บสย.ทำแผนเร่งค้ำประกันสินเชื่อโครงการดังกล่าวให้มากขึ้นคาดสิ้นเดือนตุลาคมนี้หลังปิดโครงการน่าจะเร่งได้ถึง 3 หมื่นกว่าล้านบาท และบสย.อยู่ระหว่างขอซอฟโลนจากธนาคารแห่งประเทศ(ธปท.) ไทยอีก 2.2 หมื่นล้านบาทเพื่อบริหารต้นทุนให้ต่ำลง.