ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-การประชุม กมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. ...ที่มีนายสามารถ แก้วมีชัย เป็นประธานการประชุมเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น
กมธ.ฝ่ายรัฐบาล โหวตแพ้กมธ.ซีกประชาธิปัตย์ ไป 2 เสียง
เรื่องที่โหวตคือ มาตรา 291/1 ว่าด้วยเรื่องที่มาของ ส.ส.ร. ซึ่งในร่างแก้ไขรธน.ของครม.นั้น ระบุให้มี ส.ส.ร. 99 คน มาจากการเลือกตั้ง 77 คน และมาจากการคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญ 22 คน
ขณะที่กมธ.ในซีกของพรรคประชาธิปัตย์ มีการเสนอหลายรูปแบบ อาทิ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ เสนอให้มี ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด นายอลงกรณ์ พลบุตร เสนอให้ ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยแบ่งเป็น เขตการเลือกตั้ง 200 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 20 คน ส่วน นพ.เจตน์ ศิรธนานนท์ ส.ว.สรรหา เสนอให้มี ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และไม่มีผู้เชี่ยวชาญ แต่สามารถตั้งที่ปรึกษาในภายหลังได้
หลังจากมีผู้เสนอและอภิปรายกันพอสมควร นายสามารถ ซึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ก็ให้สมาชิกลงมติ โดยลืมสำรวจจำนวนสมาชิกในซีกรัฐบาล ซึ่งขณะนั้นมีหลายคนไม่อยู่ในห้องประชุม แต่ไปอยู่ในห้องกาแฟ ห้องรับประทานอาหาร
ผลก็คือ มติที่ออกมา ไม่เห็นด้วยกับร่างของครม.ด้วยคะแนนเสียง 12 ต่อ 10 เสียง นั่นคือจะต้องมี ส.ส.ร. 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
หลังแพ้การลงมติ กมธ.ในส่วนของพรรคเพื่อไทย ก็พยายามจะทักท้วง โดยจะขอให้เอาร่างของพรรคเพื่อไทย และร่างของพรรคชาติไทยพัฒนา เข้ามาพิจารณาด้วย และขอให้ลงมติใหม่ แต่กมธ.จากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอม เพราะถือว่าการลงมติได้ผ่านไปแล้ว
สุดท้ายประธานในที่ประชุม ตัดปัญหาด้วยการสั่งปิดประชุม
วันรุ่งขึ้น มีการประชุมต่อ นายสามารถ ประธานกมธ. เริ่มต้นด้วยการบอกว่า จะพิจารณาเรื่องที่มาของส.ส.ร.ต่อ โดยจะนำร่างของพรรคเพื่อไทย และร่างของพรรคชาติไทยพัฒนาเข้ามาลงมติด้วย แต่กมธ.ซีกประชาธิปัตย์ ก็ยังคงไม่ยอม เพราะถือว่าได้ลงมติไปแล้ว ไม่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีก และถือว่า ร่างของ ครม. คือตัวหลักของรัฐบาล เมื่อโหวตแพ้ไปแล้ว จะเอาร่างอื่นเข้ามาโหวตใหม่ ย่อมเป็นไปไม่ได้
แต่กมธ.ฝ่ายรัฐบาล ก็ยังคงยืนกราน โดยอ้างว่า ร่างที่ได้รับหลักการ จากที่ประชุมสภามาแล้ว ถือว่าสามารถนำมาร่วมพิจารณาได้ เพราะเนื้อหา รายละเอียด ไม่เหมือนกับร่างของครม.
สุดท้าย กมธ.ซีกประชาธิปัตย์ ก็ วอล์กเอาต์ เพราะเห็นว่าประธานกำลังจะทำผิดข้อบังคับ และประกาศจะไม่ร่วมพิจารณาในมาตรา 291/1 อีก
กมธ.ฝ่ายรัฐบาล โหวตแพ้กมธ.ซีกประชาธิปัตย์ ไป 2 เสียง
เรื่องที่โหวตคือ มาตรา 291/1 ว่าด้วยเรื่องที่มาของ ส.ส.ร. ซึ่งในร่างแก้ไขรธน.ของครม.นั้น ระบุให้มี ส.ส.ร. 99 คน มาจากการเลือกตั้ง 77 คน และมาจากการคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญ 22 คน
ขณะที่กมธ.ในซีกของพรรคประชาธิปัตย์ มีการเสนอหลายรูปแบบ อาทิ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ เสนอให้มี ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด นายอลงกรณ์ พลบุตร เสนอให้ ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยแบ่งเป็น เขตการเลือกตั้ง 200 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 20 คน ส่วน นพ.เจตน์ ศิรธนานนท์ ส.ว.สรรหา เสนอให้มี ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และไม่มีผู้เชี่ยวชาญ แต่สามารถตั้งที่ปรึกษาในภายหลังได้
หลังจากมีผู้เสนอและอภิปรายกันพอสมควร นายสามารถ ซึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ก็ให้สมาชิกลงมติ โดยลืมสำรวจจำนวนสมาชิกในซีกรัฐบาล ซึ่งขณะนั้นมีหลายคนไม่อยู่ในห้องประชุม แต่ไปอยู่ในห้องกาแฟ ห้องรับประทานอาหาร
ผลก็คือ มติที่ออกมา ไม่เห็นด้วยกับร่างของครม.ด้วยคะแนนเสียง 12 ต่อ 10 เสียง นั่นคือจะต้องมี ส.ส.ร. 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
หลังแพ้การลงมติ กมธ.ในส่วนของพรรคเพื่อไทย ก็พยายามจะทักท้วง โดยจะขอให้เอาร่างของพรรคเพื่อไทย และร่างของพรรคชาติไทยพัฒนา เข้ามาพิจารณาด้วย และขอให้ลงมติใหม่ แต่กมธ.จากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอม เพราะถือว่าการลงมติได้ผ่านไปแล้ว
สุดท้ายประธานในที่ประชุม ตัดปัญหาด้วยการสั่งปิดประชุม
วันรุ่งขึ้น มีการประชุมต่อ นายสามารถ ประธานกมธ. เริ่มต้นด้วยการบอกว่า จะพิจารณาเรื่องที่มาของส.ส.ร.ต่อ โดยจะนำร่างของพรรคเพื่อไทย และร่างของพรรคชาติไทยพัฒนาเข้ามาลงมติด้วย แต่กมธ.ซีกประชาธิปัตย์ ก็ยังคงไม่ยอม เพราะถือว่าได้ลงมติไปแล้ว ไม่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีก และถือว่า ร่างของ ครม. คือตัวหลักของรัฐบาล เมื่อโหวตแพ้ไปแล้ว จะเอาร่างอื่นเข้ามาโหวตใหม่ ย่อมเป็นไปไม่ได้
แต่กมธ.ฝ่ายรัฐบาล ก็ยังคงยืนกราน โดยอ้างว่า ร่างที่ได้รับหลักการ จากที่ประชุมสภามาแล้ว ถือว่าสามารถนำมาร่วมพิจารณาได้ เพราะเนื้อหา รายละเอียด ไม่เหมือนกับร่างของครม.
สุดท้าย กมธ.ซีกประชาธิปัตย์ ก็ วอล์กเอาต์ เพราะเห็นว่าประธานกำลังจะทำผิดข้อบังคับ และประกาศจะไม่ร่วมพิจารณาในมาตรา 291/1 อีก