วานนี้ ( 30 มี.ค.) ในการอบรมนักศึกษาหลักสูตรพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง สำนักงาน กกต. ซึ่งมีการจัดสัมมนาเรื่อง “กลไกการตรวจสอบและควบคุมการใช้อำนาจรัฐ” โดยนายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวตอนหนึ่งว่า องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการใช้อำนาจของรัฐที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ มีอยู่ด้วยกัน 7 องค์กร แต่ละองค์กรมีหน้าที่แตกต่างกัน โดยผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นองค์กรที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารเป็นหลัก ซึ่งในการพิจารณาคำร้องต่างๆ ทางผู้ตรวจการ ต้องตรวจสอบก่อนว่า มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ เพื่อป้องกันการซ้ำซ้อน ยกตัวอย่าง บางกรณีในเรื่องที่เกี่ยวกับจริยธรรม หากทางผู้ตรวจการพิจารณาแล้วเห็นว่า บุคคลที่ถูกร้องเรียนในเรื่องจริยธรรม มีความผิดร้ายแรง ทางผู้ตรวจการ ก็ต้องส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช เพื่อพิจารณาหากป.ป.ช เห็นด้วย ก็ต้องส่งไปยังวุฒิสภา เพื่อทำการถอดถอน โดยเสียงที่จะสามารถถอดถอนได้ต้องอยู่ที่ 3 ใน 5 แต่ถ้า ป.ป.ช.ไม่เห็นว่าเป็นความผิดร้ายแรง เรื่องก็ตกไป
ส่วนกรณีที่ผู้ตรวจการฯให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ชี้แจงกรณี แต่งตั้งนางนลินี ทวีสิน มาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ มาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่ใช่เป็นการล้ำเส้นเกินไปอย่างที่มีการกล่าวหา แต่เพราะผู้ตรวจการ มองว่าการแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ ผู้ที่จะใช้อำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดต่อจากนี้ต้องคำนึง และหยิบยกเรื่องจริยธรรมขึ้นมาประกอบด้วย เพื่อตอบสนองเรื่องธรรมาภิบาลภาครัฐ ในการแต่งตั้งบุคคลที่จะมาบริหารบ้านเมือง ที่ต้องได้คนดีมาบริหารประเทศ ให้บ้านเมืองเดินหน้าไปในทางที่ดี
ด้านนายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า สำหรับ ป.ป.ช. เท่าที่ทราบกันดี หน้าที่หลักๆ ของเราคือ การถอนถอนบุคคลจากตำแหน่งของข้าราชการการเมือง องค์กรอิสระ การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ส่วนกระแสข่าวที่ว่า มีการจ้องจะยุบองค์กรอิสระ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ป.ป.ช. ก็เป็นองค์กรหนึ่งในนั้นด้วย ซึ่งตนยืนยันว่า ไม่ท้อแน่นอน จะท้อได้อย่างไร เพราะกรรมการฯ อีก 8 คน ก็ยังไม่ท้อเลย ทุกคนยังอยู่ปฏิบัติหน้าที่กันครบ เพราะเมื่อตั้งใจเข้ามาทำหน้าที่แล้ว ก็ต้องทำให้เต็มที่เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน
ส่วนกรณีที่ผู้ตรวจการฯให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ชี้แจงกรณี แต่งตั้งนางนลินี ทวีสิน มาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ มาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่ใช่เป็นการล้ำเส้นเกินไปอย่างที่มีการกล่าวหา แต่เพราะผู้ตรวจการ มองว่าการแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ ผู้ที่จะใช้อำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดต่อจากนี้ต้องคำนึง และหยิบยกเรื่องจริยธรรมขึ้นมาประกอบด้วย เพื่อตอบสนองเรื่องธรรมาภิบาลภาครัฐ ในการแต่งตั้งบุคคลที่จะมาบริหารบ้านเมือง ที่ต้องได้คนดีมาบริหารประเทศ ให้บ้านเมืองเดินหน้าไปในทางที่ดี
ด้านนายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า สำหรับ ป.ป.ช. เท่าที่ทราบกันดี หน้าที่หลักๆ ของเราคือ การถอนถอนบุคคลจากตำแหน่งของข้าราชการการเมือง องค์กรอิสระ การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ส่วนกระแสข่าวที่ว่า มีการจ้องจะยุบองค์กรอิสระ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ป.ป.ช. ก็เป็นองค์กรหนึ่งในนั้นด้วย ซึ่งตนยืนยันว่า ไม่ท้อแน่นอน จะท้อได้อย่างไร เพราะกรรมการฯ อีก 8 คน ก็ยังไม่ท้อเลย ทุกคนยังอยู่ปฏิบัติหน้าที่กันครบ เพราะเมื่อตั้งใจเข้ามาทำหน้าที่แล้ว ก็ต้องทำให้เต็มที่เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน