นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในส่วนของการเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำเสนอ โดยให้ส่งคณะกรรมการประสานงาน (วิป) สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาก่อนนำเข้าสู่วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ยางพาราถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศลำดับต้นๆ สามารถทำรายได้ขณะนี้ราว 6.8 แสนล้านต่อปี ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะผลักดันให้เป็นปีละ 1 ล้านล้านบาทในเวลาอันใกล้นี้
สำหรับร่าง พ.ร.บ.การยางฯนี้ จะถือเป็นการตอบโจทย์ในเรื่องการบริหารจัดการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ เพื่อรวมศูนย์ข้อมูล และนำข้อมาจัดหมวดหมู่เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการนโยบายยางพาราอย่างมีเอกภาพ และส่งผลดีกับอุตสาหกรรมยางทั้งระบบ รวมทั้งส่งผลต่อความเชื่อมั่นสะท้อนผ่านราคายางในตลาดทั้งใน และต่างประเทศ ถือเป็นเรื่องที่ชาวสวนยาง และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางพารา รอคอยมาเกือบ 30 ปีแล้ว
ส่วนสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.การยางฯนั้น นายอนุสรณ์ กล่าวว่า กำหนดให้จัดตั้งองค์กรที่ชื่อ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดยให้มีรูปแบบเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นองค์กรกลาง รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการยางพาราของประเทศอย่างเป็นระบบ ครบวงจร รวมทั้งการบริหารจัดการองทุนพัฒนายางพารา ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตยางพาราต่อไป
ทั้งนี้ รัฐมนตรีที่กำกับดูแลเรื่องยางพารา คือ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ
นอกจากนี้ ครม. ยังได้รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ในเรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์ เป็นวาระแห่งชาติ ในโอกาสทศวรรษครบ 100 ปีของการสหกรณ์ไทย โดยนายอนุสรณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้มีแนวทางใน 4 ประเด็นหลัก คือ
1. การพัฒนาและขับเคลื่อนการรวมกลุ่มในชนบท ให้เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมีองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน และมีหน่วยงานระดับตำบลเป็นศูนย์กลางบูรณาการจัดระบบด้านการผลิตด้านการเกษตร เน้นการร่วมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์
2.ผลักดันให้กำหนดหลักสูตรว่าด้วยสหกรณ์ไว้ในหลักสูตรการเรียกการสอน และการอบรมผู้นำผู้บริหารทุกระดับ โดยจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติยกร่างหลักสูตร
3.ปฏิรูปโครงสร้างและหน่วยงานภาครัฐให้เป็นเอกภาพ และมีส่วนร่วมกับกระบวนการสหกรณ์
4.รัฐต้องให้การสนับสนุนงบประมาณและการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ยางพาราถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศลำดับต้นๆ สามารถทำรายได้ขณะนี้ราว 6.8 แสนล้านต่อปี ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะผลักดันให้เป็นปีละ 1 ล้านล้านบาทในเวลาอันใกล้นี้
สำหรับร่าง พ.ร.บ.การยางฯนี้ จะถือเป็นการตอบโจทย์ในเรื่องการบริหารจัดการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ เพื่อรวมศูนย์ข้อมูล และนำข้อมาจัดหมวดหมู่เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการนโยบายยางพาราอย่างมีเอกภาพ และส่งผลดีกับอุตสาหกรรมยางทั้งระบบ รวมทั้งส่งผลต่อความเชื่อมั่นสะท้อนผ่านราคายางในตลาดทั้งใน และต่างประเทศ ถือเป็นเรื่องที่ชาวสวนยาง และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางพารา รอคอยมาเกือบ 30 ปีแล้ว
ส่วนสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.การยางฯนั้น นายอนุสรณ์ กล่าวว่า กำหนดให้จัดตั้งองค์กรที่ชื่อ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดยให้มีรูปแบบเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นองค์กรกลาง รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการยางพาราของประเทศอย่างเป็นระบบ ครบวงจร รวมทั้งการบริหารจัดการองทุนพัฒนายางพารา ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตยางพาราต่อไป
ทั้งนี้ รัฐมนตรีที่กำกับดูแลเรื่องยางพารา คือ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ
นอกจากนี้ ครม. ยังได้รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ในเรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์ เป็นวาระแห่งชาติ ในโอกาสทศวรรษครบ 100 ปีของการสหกรณ์ไทย โดยนายอนุสรณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้มีแนวทางใน 4 ประเด็นหลัก คือ
1. การพัฒนาและขับเคลื่อนการรวมกลุ่มในชนบท ให้เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมีองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน และมีหน่วยงานระดับตำบลเป็นศูนย์กลางบูรณาการจัดระบบด้านการผลิตด้านการเกษตร เน้นการร่วมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์
2.ผลักดันให้กำหนดหลักสูตรว่าด้วยสหกรณ์ไว้ในหลักสูตรการเรียกการสอน และการอบรมผู้นำผู้บริหารทุกระดับ โดยจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติยกร่างหลักสูตร
3.ปฏิรูปโครงสร้างและหน่วยงานภาครัฐให้เป็นเอกภาพ และมีส่วนร่วมกับกระบวนการสหกรณ์
4.รัฐต้องให้การสนับสนุนงบประมาณและการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง