วานนี้(27 มี.ค. ) นายสมชาย หอมละออ หนึ่งในคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) พร้อมด้วย น.ส.ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการองค์การนิรโทษกรรมสากล(แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล) ประเทศไทย ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านทางพล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รักษาการเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ยุติโทษประหารชีวิตในประเทศไทยทันที
โดย น.ส.ปริญญา กล่าวว่า แม้ 141 ประเทศทั่วโลกหรือกว่า 2 ใน 3 ของทุกประเทศได้ยกเลิกโทษประหารทั้งในกฎหมายและในทางปฏิบัติแล้ว แต่ระบบยุติธรรมทางอาญาของไทยยังคงกำหนดให้ใช้โทษประหารรับความผิดต่างๆ รวมทั้งความผิดด้านยาเสพติด ซึ่งในรายงานการลงโทษประหารและการประหารชีวิตในปี 2554 ขององค์กรนิรโทษกรรมฯที่เผยแพร่ในวันนี้ พบว่ามีเพียง 20 ประะเทศที่ทำการประหารชีวิตในปี 2554 หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 10 ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ซึ่งโทษดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ซึ่งไทยได้เข้าเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2552-2556 ที่รัฐบาลได้ประกาสอย่างเป็นทางการ หนึ่งในตัวชี้วัดต่อควยามสำเร็จในการดำเนินการตามแผนนี้ คือตัวชี้วัดกลยุทธที่ 3.1 ว่ามีการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยเปลี่ยนให้เป็นดทษจำคุกตลอดชีวิต ถือว่าเป็นพันธสัญญาของรัฐบาลที่จะให้ยกเลิกโทษประหารชีสิตในที่สุด
ทางองค์การฯขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรักษาพันธสัญญา และเห็นคุณค่าขอบทุกชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน เพราะไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าโทษประหารชีวิตมีส่วนช่วยป้องกันอาชญากรรม รัฐบาลไทยควรพิจารณายุติการประหารชีวิตในทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการทันที เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติแม่บทว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยมีเจตจำนงที่จะออกกฎหมายให้ยกเลิกการประหารชีวิตในท้ายที่สุด และให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้วให้ใช้โทษจำคุกตลอดชีวิตแทนภายในปี 2556 และประเทศไทยควรให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่ 2 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
โดย น.ส.ปริญญา กล่าวว่า แม้ 141 ประเทศทั่วโลกหรือกว่า 2 ใน 3 ของทุกประเทศได้ยกเลิกโทษประหารทั้งในกฎหมายและในทางปฏิบัติแล้ว แต่ระบบยุติธรรมทางอาญาของไทยยังคงกำหนดให้ใช้โทษประหารรับความผิดต่างๆ รวมทั้งความผิดด้านยาเสพติด ซึ่งในรายงานการลงโทษประหารและการประหารชีวิตในปี 2554 ขององค์กรนิรโทษกรรมฯที่เผยแพร่ในวันนี้ พบว่ามีเพียง 20 ประะเทศที่ทำการประหารชีวิตในปี 2554 หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 10 ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ซึ่งโทษดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ซึ่งไทยได้เข้าเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2552-2556 ที่รัฐบาลได้ประกาสอย่างเป็นทางการ หนึ่งในตัวชี้วัดต่อควยามสำเร็จในการดำเนินการตามแผนนี้ คือตัวชี้วัดกลยุทธที่ 3.1 ว่ามีการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยเปลี่ยนให้เป็นดทษจำคุกตลอดชีวิต ถือว่าเป็นพันธสัญญาของรัฐบาลที่จะให้ยกเลิกโทษประหารชีสิตในที่สุด
ทางองค์การฯขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรักษาพันธสัญญา และเห็นคุณค่าขอบทุกชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน เพราะไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าโทษประหารชีวิตมีส่วนช่วยป้องกันอาชญากรรม รัฐบาลไทยควรพิจารณายุติการประหารชีวิตในทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการทันที เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติแม่บทว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยมีเจตจำนงที่จะออกกฎหมายให้ยกเลิกการประหารชีวิตในท้ายที่สุด และให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้วให้ใช้โทษจำคุกตลอดชีวิตแทนภายในปี 2556 และประเทศไทยควรให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่ 2 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง