ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 08.35 น.วานนี้(13 ก.ย.) นายกิตติพงษ์ กิติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรมและหนึ่งในคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.)ได้ทวิตข้อความผ่านทวิตเตอร์รายงานความคืบหน้าการทำงานของ คอป.ว่า “วันนี้มีความคืบหน้าการทำงานของ คอป.มารายงานครับ คอป.ใกล้จะสรุปข้อเสนอส่งถึงรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ภายในสัปดาห์นี้ หรือไม่เกินต้นสัปดาห์หน้า เป็นข้อเสนอแรกที่ส่งให้รัฐบาลชุดนี้ครับ ข้อเสนอของเราตามที่ท่านอาจารย์คณิต ณ นคร เพิ่งให้สัมภาษณ์สื่อไปก็คือ การปล่อยชั่วคราวผู้ที่ถูกคุมขังและไม่มีหลักฐานชัดว่าร่วมกระทำผิด นอกจากนั้นยังมีข้อเสนอเรื่องการไม่ดำเนินคดีผู้ต้องหาที่ถูกแจ้งข้อหาร่วมชุมนุมมั่วสุม หรือข้อหาขัด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งมองว่าเป็นข้อหาการเมือง”
“ตรงนี้ท่านอาจารย์คณิตอธิบายว่าจะเน้นบทบาทไปที่พนักงานอัยการซึ่งมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ อีกเรื่องที่น่าจะอยู่ในข้อเสนอของ คอป.ด้วยก็คือ การตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมารับผิดชอบการเยียวยา ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เรื่องการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงทางการเมือง เป็นประเด็นที่ คอป.ให้ความสำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งในการทำงานระยะนี้ เพราะการเยียวยาที่ดีคือจุดเริ่มต้นของความเป็นธรรม”
“อีกเรื่องที่เป็นข่าวสารจาก คอป.ก็คือ ภายในสิ้นเดือนนี้จะส่งรายงานฉบับที่ 2 ถึงรัฐบาล เป็นรายงานผลการทำงานที่เรากำหนดออกทุกๆ 6 เดือนครับ เอกสารจะมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ถ้ามีความคืบหน้าเพิ่มเติมผมจะนำมารายงานให้ทราบนะครับ รวมทั้งในเว็บไซต์ของผมด้วยซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำ”
รายงานข่าวแจ้งว่า นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้เตรียมจัดส่งรายงานฉบับที่ 2 ยื่นเสนอต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และแจ้งต่อประชาชนทราบภายในสัปดาห์หน้านี้ โดยสาระสำคัญเบื้องต้นยังอยู่ที่กลไกที่จะสร้างความปรองดองให้กับประเทศ โดยเฉพาะการเยียวยาผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองแก่ ครอบครัวผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต จากการสลายการชุมนุม โดยในเรื่องนี้ รายงานฉบับแรกคอป. เคยเสนอความเห็นไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับ จึงจำเป็นต้องย้ำให้เห็นความสำคัญอีกครั้ง
ทั้งนี้ ข้อมูลที่จะออกจากคอป.ในครั้งต่อๆ ไป จะจัดทำเป็น 2 ภาษาไทย และอังกฤษ โดยจะเปิดเผยให้ประชาชนและทั่วโลกรับทราบพร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกับที่รัฐบาลทราบ เพื่อความโปร่งใสและให้ข้อมูลได้รับการยอมรับจากสาธารณะ
รายงานแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ คอป. ได้จัดเวทีเสวนารับฟังความเห็นจากภาคนักวิชาการ ผู้แทนองค์กรด้านการต่างประเทศ เรื่อง การเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความนรุนแรงตามหลักสากล ก่อนนำข้อมูลไปจัดทำรายงาน คอป.ฉบับที่ 2 นำเสนอต่อรัฐบาล
โดยนายสมชาย หอมละออ ประธานอนุกรมการค้นหาข้อเท็จจริง ในงานด้านกฎหมาย อ้างว่าผู้ที่ถูกคุมขังนั้น ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาที่เกินเลยจากความเป็นจริง ซึ่งมีมากถึง 53 คน ที่ถูกตั้งข้อหาก่อการร้ายและวางเพลิง ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษถึงประหารชีวิต
“ตรงนี้ท่านอาจารย์คณิตอธิบายว่าจะเน้นบทบาทไปที่พนักงานอัยการซึ่งมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ อีกเรื่องที่น่าจะอยู่ในข้อเสนอของ คอป.ด้วยก็คือ การตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมารับผิดชอบการเยียวยา ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เรื่องการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงทางการเมือง เป็นประเด็นที่ คอป.ให้ความสำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งในการทำงานระยะนี้ เพราะการเยียวยาที่ดีคือจุดเริ่มต้นของความเป็นธรรม”
“อีกเรื่องที่เป็นข่าวสารจาก คอป.ก็คือ ภายในสิ้นเดือนนี้จะส่งรายงานฉบับที่ 2 ถึงรัฐบาล เป็นรายงานผลการทำงานที่เรากำหนดออกทุกๆ 6 เดือนครับ เอกสารจะมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ถ้ามีความคืบหน้าเพิ่มเติมผมจะนำมารายงานให้ทราบนะครับ รวมทั้งในเว็บไซต์ของผมด้วยซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำ”
รายงานข่าวแจ้งว่า นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้เตรียมจัดส่งรายงานฉบับที่ 2 ยื่นเสนอต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และแจ้งต่อประชาชนทราบภายในสัปดาห์หน้านี้ โดยสาระสำคัญเบื้องต้นยังอยู่ที่กลไกที่จะสร้างความปรองดองให้กับประเทศ โดยเฉพาะการเยียวยาผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองแก่ ครอบครัวผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต จากการสลายการชุมนุม โดยในเรื่องนี้ รายงานฉบับแรกคอป. เคยเสนอความเห็นไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับ จึงจำเป็นต้องย้ำให้เห็นความสำคัญอีกครั้ง
ทั้งนี้ ข้อมูลที่จะออกจากคอป.ในครั้งต่อๆ ไป จะจัดทำเป็น 2 ภาษาไทย และอังกฤษ โดยจะเปิดเผยให้ประชาชนและทั่วโลกรับทราบพร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกับที่รัฐบาลทราบ เพื่อความโปร่งใสและให้ข้อมูลได้รับการยอมรับจากสาธารณะ
รายงานแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ คอป. ได้จัดเวทีเสวนารับฟังความเห็นจากภาคนักวิชาการ ผู้แทนองค์กรด้านการต่างประเทศ เรื่อง การเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความนรุนแรงตามหลักสากล ก่อนนำข้อมูลไปจัดทำรายงาน คอป.ฉบับที่ 2 นำเสนอต่อรัฐบาล
โดยนายสมชาย หอมละออ ประธานอนุกรมการค้นหาข้อเท็จจริง ในงานด้านกฎหมาย อ้างว่าผู้ที่ถูกคุมขังนั้น ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาที่เกินเลยจากความเป็นจริง ซึ่งมีมากถึง 53 คน ที่ถูกตั้งข้อหาก่อการร้ายและวางเพลิง ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษถึงประหารชีวิต