ASTVผู้จัดการรายวัน- เอกชนค้านรัฐบาลปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศ 15% หวั่นปัญหาลักลอบนำเข้าสินค้าหนีภาษีกลับมา เชื่อรัฐไม่สามารถเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้( 26 มี.ค. 55 ) กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) จะเปิดแถลงข่าวเรื่อง"ค้านการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแอร์" จากกรณีที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างทบทวนที่จะกลับมาเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศในอัตรา 15% เท่าเดิมอีกครั้งหลังจากก่อนหน้านี้ได้ลดลง 0% โดยให้เหตุผลสำคัญคือไม่ได้มีการลดราคาให้กับผู้บริโภคแต่อย่างใด
นายศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย นายกสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ที่ผ่านมาเอกชนได้มีการปรับราคาสินค้าไปแล้วเฉลี่ยประมาณ 10% ในช่วงลดภาษีฯแรกๆ และสินค้าก็ได้มีการปรับลดต่อเนื่องจากภาวะการแข่งขันที่รุนแรงแต่ยอมรับว่า 2-3 ปีที่ผ่านมาต้นทุนการผลิตต่างๆ สูงมากตั้งแต่วัตถุดิบ เช่นทองแดงราคาปรับขึ้นจาก 3,000 เหรียญสหรัฐต่อตันมาเป็น 8,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน ราคาเหล็ก และล่าสุดยังมีเรื่องของค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน
“จะไปหวังให้ราคาสินค้าลดลงมากได้อย่างไร เมื่อราคาวัตถุดิบปรับขึ้นต่อเนื่องและปรับขึ้นในระดับสูง รวมถึงค่าแรงที่ขึ้นอยู่ทุกปี” นายศุภชัย กล่าว
ทั้งนี้หากรัฐบาลจะปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตกลับมาคงเดิม เพื่อต้องการเพิ่มรายได้จากการจัดเก็บภาษีมากขึ้นนั้น ซึ่งจะส่งผลให้ปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้นกลับเข้ามาอีก คือ การลักลอบนำสินค้าหนีภาษีจากต่างประเทศเข้ามาในเมืองไทยเพิ่มขึ้น หลังจากที่ปัจจุบันการลักลอบเริ่มลดลงน้อยไปมากแล้ว ประกอบกับเอกชนอาจลดการผลิตลงหรือตัดสินใจปรับขึ้นราคาสินค้าก็จะส่งผลให้ความต้องการน้อยลงแล้วที่สุดรัฐบาลก็จะได้ภาษีฯน้อยลงตามไปด้วย
นอกจากนี้ รัฐบาลยังกำหนดค่าประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเครื่องปรับอากาศก็เป็นหนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกบังคับใช้ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และมีการปรับเพิ่มความเข้มข้นของมาตรฐานทุก 3 ปี ซึ่งการปรับเพิ่มประสิทธิภาพเป็นต้นทุนที่เสียไปแพงกว่าการประหยัดพลังงาน
สำหรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ส่วนใหญ่ฟื้นกลับมาแล้วประมาณ 70-80% เพราะได้รับผลกระทบไม่มาก มีเพียงบริษัทโตชิบา และโซนี่ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยคาดว่าในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าจะฟื้นตัวกลับมาได้เต็มที่ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ขณะที่การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะอยู่ในระดับทรงตัว หรือบวกลบเล็กน้อยจากปีก่อน
นางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดีกรมสรรพสามิต ให้เหตุผลในเรื่องดังกล่าว ว่า กรมสรรพสามิตจะเดินหน้านโยบายปรับขึ้นภาษีแอร์ต่อไป แม้ผู้ประกอบการจะคัดค้านและยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่ในมือชี้ให้เห็นว่าราคาซื้อขายแอร์ในตลาดไม่ได้ปรับลดลงจริง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ได้มอบหมายให้สำนักแผนภาษีสำรวจและรวบรวมข้อมูลสถิติราคาขายแอร์ในท้องตลาดอีกครั้งหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้( 26 มี.ค. 55 ) กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) จะเปิดแถลงข่าวเรื่อง"ค้านการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแอร์" จากกรณีที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างทบทวนที่จะกลับมาเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศในอัตรา 15% เท่าเดิมอีกครั้งหลังจากก่อนหน้านี้ได้ลดลง 0% โดยให้เหตุผลสำคัญคือไม่ได้มีการลดราคาให้กับผู้บริโภคแต่อย่างใด
นายศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย นายกสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ที่ผ่านมาเอกชนได้มีการปรับราคาสินค้าไปแล้วเฉลี่ยประมาณ 10% ในช่วงลดภาษีฯแรกๆ และสินค้าก็ได้มีการปรับลดต่อเนื่องจากภาวะการแข่งขันที่รุนแรงแต่ยอมรับว่า 2-3 ปีที่ผ่านมาต้นทุนการผลิตต่างๆ สูงมากตั้งแต่วัตถุดิบ เช่นทองแดงราคาปรับขึ้นจาก 3,000 เหรียญสหรัฐต่อตันมาเป็น 8,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน ราคาเหล็ก และล่าสุดยังมีเรื่องของค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน
“จะไปหวังให้ราคาสินค้าลดลงมากได้อย่างไร เมื่อราคาวัตถุดิบปรับขึ้นต่อเนื่องและปรับขึ้นในระดับสูง รวมถึงค่าแรงที่ขึ้นอยู่ทุกปี” นายศุภชัย กล่าว
ทั้งนี้หากรัฐบาลจะปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตกลับมาคงเดิม เพื่อต้องการเพิ่มรายได้จากการจัดเก็บภาษีมากขึ้นนั้น ซึ่งจะส่งผลให้ปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้นกลับเข้ามาอีก คือ การลักลอบนำสินค้าหนีภาษีจากต่างประเทศเข้ามาในเมืองไทยเพิ่มขึ้น หลังจากที่ปัจจุบันการลักลอบเริ่มลดลงน้อยไปมากแล้ว ประกอบกับเอกชนอาจลดการผลิตลงหรือตัดสินใจปรับขึ้นราคาสินค้าก็จะส่งผลให้ความต้องการน้อยลงแล้วที่สุดรัฐบาลก็จะได้ภาษีฯน้อยลงตามไปด้วย
นอกจากนี้ รัฐบาลยังกำหนดค่าประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเครื่องปรับอากาศก็เป็นหนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกบังคับใช้ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และมีการปรับเพิ่มความเข้มข้นของมาตรฐานทุก 3 ปี ซึ่งการปรับเพิ่มประสิทธิภาพเป็นต้นทุนที่เสียไปแพงกว่าการประหยัดพลังงาน
สำหรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ส่วนใหญ่ฟื้นกลับมาแล้วประมาณ 70-80% เพราะได้รับผลกระทบไม่มาก มีเพียงบริษัทโตชิบา และโซนี่ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยคาดว่าในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าจะฟื้นตัวกลับมาได้เต็มที่ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ขณะที่การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะอยู่ในระดับทรงตัว หรือบวกลบเล็กน้อยจากปีก่อน
นางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดีกรมสรรพสามิต ให้เหตุผลในเรื่องดังกล่าว ว่า กรมสรรพสามิตจะเดินหน้านโยบายปรับขึ้นภาษีแอร์ต่อไป แม้ผู้ประกอบการจะคัดค้านและยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่ในมือชี้ให้เห็นว่าราคาซื้อขายแอร์ในตลาดไม่ได้ปรับลดลงจริง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ได้มอบหมายให้สำนักแผนภาษีสำรวจและรวบรวมข้อมูลสถิติราคาขายแอร์ในท้องตลาดอีกครั้งหนึ่ง