ASTVผู้จัดการรายวัน - อุ้มดีเซลพ่นพิษ สรรพสามิตหืดจับวิ่งวุ่นหารายได้ เล็งเก็บภาษีเครื่องปรับอากาศอีกครั้งหลังประกาศเลิกแต่ราคาขายปลีกยังไม่ลดตาม ส่วนภาษีรถยนต์เปลี่ยนจัดเก็บตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เตรียมหาข้อสรุปอีกครั้งก่อนเสนอ “กิตติรัตน์” ชงเข้าครม.ในเดือนมีนาคมนี้
นางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดี กรมสรรพสามิตเปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างพิจารณาปรับภาษีสรรพสามิตอื่นๆ เพื่อทดแทนกับรายได้ที่หายไปจากภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลและให้สอดคล้องกับเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2556 ที่ได้รับมอบหมายมาประมาณ 4 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับปี 2555 เพราะเป็นการประเมินภายใต้สมมุติฐานการจัดเก็บภาษีดีเซลในอัตรา 0.005 บาทต่อลิตร โดยที่กำลังพิจารณาขณะนี้คือ ภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศ จากเดิมที่จัดเก็บ 10% แต่ได้ยกเว้นไป เพื่อหวังผลว่า จะทำให้ราคาปรับลดลงได้ แต่ปรากฏว่า ราคาขายปลีกไม่ได้ปรับลดลงแต่ย่างใด
โดยกรมสรรพสามิตจะต้องเข้าไปตรวจสอบและวิเคราะห์ สาเหตุที่ราคาไม่ปรับลดลง ทั้งที่ไม่ได้จัดเก็บภาษีไปแล้วนั้นเกิดจากสาเหตุใด เช่น อาจจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากวัตถุดิบบางตัวที่เปลี่ยนแปลงใหม่หรือไม่ หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็ต้องทบทวนการปรับลดภาษีดังกล่าวอีกครั้ง เพราะในกฎหมายยังคงมีอัตราการจัดเก็บภาษีดังกล่าวอยู่ โดยจะเร่งพิจารณา เพราะขณะนี้เป็นช่วงฤดูร้อน ที่ประชาชนนิยมซื้อหาเครื่องปรับอากาศ กันมาก หากราคาปรับลดลงได้ ประชาชนก็จะได้รับประโยชน์ด้วย
นอกจากนี้ได้หารือร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพลังงานที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บภาษีรถยนต์ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยจะกำหนดอัตราการจัดเก็บภาษีจากระดับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์หรือขนาดของเครื่องยนต์ควบคู่กันไป และจะให้จัดเก็บในอัตราก้าวหน้าขั้นบันได้ คือปล่อยมากก็เสียภาษีในอัตราที่มากกว่า โดยจะสรุปภายในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อนำไปหารือกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังต่อไป
สำหรับภาษีบุหรี่นั้นกำลังพิจารณาที่จะนำการจัดเก็บภาษีตามอัตราบาทต่อมวนให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายที่ระบุเพดานสูงสุดไว้ไม่เกิน 3 บาทหลังจากที่ก่อนหน้ามีการปรับฐานการคิดบนราคาขายปลีกไป และร่างกฎหมายอยู่ระหว่างอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา จึงมองว่า ยังมีแนวทางที่สามารถทำควบคู่กันไปด้วย แต่ก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะจะกระทบกับบุหรี่ราคาถูก ที่จะให้ราคาเพิ่มขึ้นมาก
ขณะเดียวกันยังต้องปรับภาษีให้สอดคล้องกับการเปิดเสรีทางการค้าและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน(เออีซี)ในปี 2558 ด้วย เพราะการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตยังมีความแตกต่างของผู้ประกอบการในประเทศกับผู้นำเข้า ที่เป็นการคิดจากราคาหน้าโรงงานกับราคาน้ำเข้าที่บวกอัตราภาษีและค่าเสื่อม(ซีไอเอฟ) จึงอาจจะทำให้ผู้ประกอบการไทยมีข้อได้เปรียบเสียบเปรียบต่างกัน แต่ก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่า หากจะคิดบนฐานเดียวกัน เช่น ราคาขายปลีกนั้น ก็ต้องหาคำนิยามให้ชัดเจนว่า ขายปลีกของใคร เพื่อจะได้ไม่มีข้อเปรียบเทียบและโต้แย้งได้
นางเบญจากล่าวว่า ในส่วนของภาษีน้ำมันนั้นในเดือนเมษายน จะเสนอกระทรวงการคลังให้ปรับขึ้น ทั้งภาษีน้ำมันดีเซลและเบนซินควบคู่กัน เพราะยังมีเพดานเหลือที่จะปรับขึ้นได้และเพื่อรักษาระดับราคาไม่ให้ต่างกันมาก และมองว่ายังเป็นจังหวะเวลาเหมาะสมด้วย เพราะเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลง ขณะที่ประชาชนในประเทศเองจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งหากมีการทยอยปรับขึ้นจะช่วยให้การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในปี งบประมาณ 2555 เป็นไปตามเป้าหมายที่ 4.05 แสนล้านบาทได้
“แม้เดือนที่ผ่านมาจะยังจัดเก็บภาษีน้ำมันดีเซลที่ 0.005 บาทต่อลิตร แต่การจัดเก็บรายได้มีทิศทางดีขึ้น จากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับปริมาณการใช้ในประเทศไม่ลดลง จึงทำให้รายได้จากภาษีดีเซลหายไปเพียง 2 พันล้านบาท จากปกติที่รายได้จะหายไปถึง 9 พันล้านบาทต่อเดือน ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รวมในเดือนกุมภาพันธ์ต่ำกว่าเป้าหมายเพียง 400 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่ภาษีรถยนต์ที่เคยหายไปมาก หลังจากผู้ประกอบการประสบปัญหาน้ำท่วม ก็เริ่มกลับมา จากการนำเข้าทั้งชิ้นส่วนยานยนต์และรถยนต์ทั้งคัน ก็น่าจะทำให้รายได้ยังเป็นไปตามเป้าหมายได้” นางเบญจากล่าว
นางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดี กรมสรรพสามิตเปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างพิจารณาปรับภาษีสรรพสามิตอื่นๆ เพื่อทดแทนกับรายได้ที่หายไปจากภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลและให้สอดคล้องกับเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2556 ที่ได้รับมอบหมายมาประมาณ 4 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับปี 2555 เพราะเป็นการประเมินภายใต้สมมุติฐานการจัดเก็บภาษีดีเซลในอัตรา 0.005 บาทต่อลิตร โดยที่กำลังพิจารณาขณะนี้คือ ภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศ จากเดิมที่จัดเก็บ 10% แต่ได้ยกเว้นไป เพื่อหวังผลว่า จะทำให้ราคาปรับลดลงได้ แต่ปรากฏว่า ราคาขายปลีกไม่ได้ปรับลดลงแต่ย่างใด
โดยกรมสรรพสามิตจะต้องเข้าไปตรวจสอบและวิเคราะห์ สาเหตุที่ราคาไม่ปรับลดลง ทั้งที่ไม่ได้จัดเก็บภาษีไปแล้วนั้นเกิดจากสาเหตุใด เช่น อาจจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากวัตถุดิบบางตัวที่เปลี่ยนแปลงใหม่หรือไม่ หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็ต้องทบทวนการปรับลดภาษีดังกล่าวอีกครั้ง เพราะในกฎหมายยังคงมีอัตราการจัดเก็บภาษีดังกล่าวอยู่ โดยจะเร่งพิจารณา เพราะขณะนี้เป็นช่วงฤดูร้อน ที่ประชาชนนิยมซื้อหาเครื่องปรับอากาศ กันมาก หากราคาปรับลดลงได้ ประชาชนก็จะได้รับประโยชน์ด้วย
นอกจากนี้ได้หารือร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพลังงานที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บภาษีรถยนต์ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยจะกำหนดอัตราการจัดเก็บภาษีจากระดับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์หรือขนาดของเครื่องยนต์ควบคู่กันไป และจะให้จัดเก็บในอัตราก้าวหน้าขั้นบันได้ คือปล่อยมากก็เสียภาษีในอัตราที่มากกว่า โดยจะสรุปภายในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อนำไปหารือกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังต่อไป
สำหรับภาษีบุหรี่นั้นกำลังพิจารณาที่จะนำการจัดเก็บภาษีตามอัตราบาทต่อมวนให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายที่ระบุเพดานสูงสุดไว้ไม่เกิน 3 บาทหลังจากที่ก่อนหน้ามีการปรับฐานการคิดบนราคาขายปลีกไป และร่างกฎหมายอยู่ระหว่างอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา จึงมองว่า ยังมีแนวทางที่สามารถทำควบคู่กันไปด้วย แต่ก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะจะกระทบกับบุหรี่ราคาถูก ที่จะให้ราคาเพิ่มขึ้นมาก
ขณะเดียวกันยังต้องปรับภาษีให้สอดคล้องกับการเปิดเสรีทางการค้าและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน(เออีซี)ในปี 2558 ด้วย เพราะการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตยังมีความแตกต่างของผู้ประกอบการในประเทศกับผู้นำเข้า ที่เป็นการคิดจากราคาหน้าโรงงานกับราคาน้ำเข้าที่บวกอัตราภาษีและค่าเสื่อม(ซีไอเอฟ) จึงอาจจะทำให้ผู้ประกอบการไทยมีข้อได้เปรียบเสียบเปรียบต่างกัน แต่ก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่า หากจะคิดบนฐานเดียวกัน เช่น ราคาขายปลีกนั้น ก็ต้องหาคำนิยามให้ชัดเจนว่า ขายปลีกของใคร เพื่อจะได้ไม่มีข้อเปรียบเทียบและโต้แย้งได้
นางเบญจากล่าวว่า ในส่วนของภาษีน้ำมันนั้นในเดือนเมษายน จะเสนอกระทรวงการคลังให้ปรับขึ้น ทั้งภาษีน้ำมันดีเซลและเบนซินควบคู่กัน เพราะยังมีเพดานเหลือที่จะปรับขึ้นได้และเพื่อรักษาระดับราคาไม่ให้ต่างกันมาก และมองว่ายังเป็นจังหวะเวลาเหมาะสมด้วย เพราะเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลง ขณะที่ประชาชนในประเทศเองจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งหากมีการทยอยปรับขึ้นจะช่วยให้การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในปี งบประมาณ 2555 เป็นไปตามเป้าหมายที่ 4.05 แสนล้านบาทได้
“แม้เดือนที่ผ่านมาจะยังจัดเก็บภาษีน้ำมันดีเซลที่ 0.005 บาทต่อลิตร แต่การจัดเก็บรายได้มีทิศทางดีขึ้น จากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับปริมาณการใช้ในประเทศไม่ลดลง จึงทำให้รายได้จากภาษีดีเซลหายไปเพียง 2 พันล้านบาท จากปกติที่รายได้จะหายไปถึง 9 พันล้านบาทต่อเดือน ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รวมในเดือนกุมภาพันธ์ต่ำกว่าเป้าหมายเพียง 400 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่ภาษีรถยนต์ที่เคยหายไปมาก หลังจากผู้ประกอบการประสบปัญหาน้ำท่วม ก็เริ่มกลับมา จากการนำเข้าทั้งชิ้นส่วนยานยนต์และรถยนต์ทั้งคัน ก็น่าจะทำให้รายได้ยังเป็นไปตามเป้าหมายได้” นางเบญจากล่าว