วานนี้ ( 22 มี.ค.) นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยทีมทนายความได้เข้ายื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพการเป็นส.ส.สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 ( 4 ) ประกอบมาตรา 101 (3) หรือไม่
นายจตุพร กล่าวว่า ที่ต้องมายื่นเอกสารด้วยตนเอง เพราะต้องการขออนุญาตศาลรัฐธรรมนูญให้ตนเองได้แถลงเปิดคดีด้วยวาจา เพื่อให้ประชาชนรับทราบในการพิจารณาคดีทุกขั้นตอน และจะได้อธิบายความต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ทราบว่า ที่ผ่านมาได้มีการกระทำต่อตนอย่างไรบ้าง รวมทั้งอยากให้มีการถ่ายทอดสดผ่านสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ และเร่งพิจารณาคดีนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายใน 15 วัน หรือ 1 เดือน ซึ่งนอกจากคำชี้แจงแล้ว ก็ได้ยื่นบัญชีรายชื่อพยานบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ประกอบการแก้ข้อกล่าวหา จำนวน 7–9 คน
ส่วนคำชี้แจงคดีนั้นก็ได้ยืนยันชัดเจนว่า ตนเองมีคุณสมบัติการเป็นส.ส.ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยกกต.ได้มีการตรวจสอบหลักฐานประกอบการสมัคร คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของตน ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว ก่อนที่จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งให้ตนเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ที่กกต.มีมติให้ตนขาดคุณสมบัติในการเป็นส.ส. ถือว่าเลือกปฏิบัติ ไม่เป็นธรรม 2 มาตรฐาน เพราะก่อนหน้านี้มีหลายกรณีที่มีรายละเอียดเช่นเดียวกับตน แต่กกต. ก็ไม่ดำเนินการ
" วันเลือกตั้งที่ผมไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และกกต.เห็นว่าเป็นเหตุให้ผมขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยนั้น ผมไม่สามารถออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เพราะศาลไม่อนุญาต ทั้งที่ได้แสดงเจตนาที่จะมาใช้สิทธิ และไม่ได้จงใจไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งหากได้รับอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ผมก็ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งแน่นอน
ที่สำคัญ การจะพิจารณาว่าสมาชิกภาพการเป็นส.ส.ของผมสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 หรือไม่ จะนำเหตุแห่งการถูกคุมขังโดยหมายศาลมาใช้บังคับไม่ได้ ดูได้จากรัฐธรรมนูญ มาตรา 131 ที่ระบุว่า หากอยู่ในสมัยประชุม ประธานสภาผู้แทนราษฎร สามารถสั่งให้มีการปล่อยตัวส.ส.ที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ได้ ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ ส.ส.ที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาต้องพ้นจากการเป็นส.ส. ดังนั้นจึงถือว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้มีเจตนาว่า ถ้าถูกคุมขังแล้วต้องพ้นจากการเป็นส.ส. เช่นเดียวกับจะนำเรื่องการสิ้นสมาชิกภาพ ของสมาชิกพรรคการเมือง ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 มาเป็นเหตุให้ความเป็นส.ส.สิ้นสุดลง ก็ไม่อาจกระทำได้ เพราะพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นกฎหมายที่ต่ำกว่า และมีบทบัญญัติขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ"
ทั้งนี้การเดินทางมายื่นคำชี้แจงของนายจตุพร ก็ได้มีกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 20 คนนำโดยนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เดินทางมาให้กำลังใจด้วย
-----------
นายจตุพร กล่าวว่า ที่ต้องมายื่นเอกสารด้วยตนเอง เพราะต้องการขออนุญาตศาลรัฐธรรมนูญให้ตนเองได้แถลงเปิดคดีด้วยวาจา เพื่อให้ประชาชนรับทราบในการพิจารณาคดีทุกขั้นตอน และจะได้อธิบายความต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ทราบว่า ที่ผ่านมาได้มีการกระทำต่อตนอย่างไรบ้าง รวมทั้งอยากให้มีการถ่ายทอดสดผ่านสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ และเร่งพิจารณาคดีนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายใน 15 วัน หรือ 1 เดือน ซึ่งนอกจากคำชี้แจงแล้ว ก็ได้ยื่นบัญชีรายชื่อพยานบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ประกอบการแก้ข้อกล่าวหา จำนวน 7–9 คน
ส่วนคำชี้แจงคดีนั้นก็ได้ยืนยันชัดเจนว่า ตนเองมีคุณสมบัติการเป็นส.ส.ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยกกต.ได้มีการตรวจสอบหลักฐานประกอบการสมัคร คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของตน ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว ก่อนที่จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งให้ตนเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ที่กกต.มีมติให้ตนขาดคุณสมบัติในการเป็นส.ส. ถือว่าเลือกปฏิบัติ ไม่เป็นธรรม 2 มาตรฐาน เพราะก่อนหน้านี้มีหลายกรณีที่มีรายละเอียดเช่นเดียวกับตน แต่กกต. ก็ไม่ดำเนินการ
" วันเลือกตั้งที่ผมไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และกกต.เห็นว่าเป็นเหตุให้ผมขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยนั้น ผมไม่สามารถออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เพราะศาลไม่อนุญาต ทั้งที่ได้แสดงเจตนาที่จะมาใช้สิทธิ และไม่ได้จงใจไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งหากได้รับอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ผมก็ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งแน่นอน
ที่สำคัญ การจะพิจารณาว่าสมาชิกภาพการเป็นส.ส.ของผมสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 หรือไม่ จะนำเหตุแห่งการถูกคุมขังโดยหมายศาลมาใช้บังคับไม่ได้ ดูได้จากรัฐธรรมนูญ มาตรา 131 ที่ระบุว่า หากอยู่ในสมัยประชุม ประธานสภาผู้แทนราษฎร สามารถสั่งให้มีการปล่อยตัวส.ส.ที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ได้ ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ ส.ส.ที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาต้องพ้นจากการเป็นส.ส. ดังนั้นจึงถือว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้มีเจตนาว่า ถ้าถูกคุมขังแล้วต้องพ้นจากการเป็นส.ส. เช่นเดียวกับจะนำเรื่องการสิ้นสมาชิกภาพ ของสมาชิกพรรคการเมือง ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 มาเป็นเหตุให้ความเป็นส.ส.สิ้นสุดลง ก็ไม่อาจกระทำได้ เพราะพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นกฎหมายที่ต่ำกว่า และมีบทบัญญัติขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ"
ทั้งนี้การเดินทางมายื่นคำชี้แจงของนายจตุพร ก็ได้มีกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 20 คนนำโดยนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เดินทางมาให้กำลังใจด้วย
-----------