ASTV ผู้จัดการรายวัน – เม็ดเงินจากนอกประเทศยังทะลักเข้า ดันหุ้นไทยปิดเหนือ1,200 จุด สูดสุดในรอบเกือบ 16 ปี ต่างชาติซื้อสุทธิอีก 1.7 พันล้านบาท โบรกฯคาดวันนี้อาจมีพักฐานบ้างแต่ไม่ลงแรง แนะถือหุ้นแค่ 70%ของพอร์ต “จรัมพร”ชี้บจ.ไทยความสามารถในการปรับตัวแข็งแกร่งแม้จะเผชิญกับปัจจัยลบหลายด้าน ล่าสุดฟุ้ตซี่ กรุ๊ป (FTSE Group) ยกระดับตลาดทุนไทย เข้าไปในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ชั้นนำ ยิ่งช่วยดึงเงินไหลเข้า
ตลาดหุ้นไทย วานนี้(21มี.ค.) ดัชนีหลักทรัพย์ปรับตัวอยู่ในแดนบวกต่อเนื่องจากวันก่อน(20มี.ค.) โดยปิดที่ระดับ 1,207.67 จุด เพิ่มขึ้น 11.07 จุด หรือ0.93% มูลค่าการซื้อขาย 39,909.65 ล้านบาท สวนทางตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคที่แกว่งตัวทั้งในแดนบวกแลพะลบ อีกทั้งดัชนีฯสามารถทะลุผ่านแนวต้านสำคัญมาปิดเหนือ 1,200 จุดได้
ภาพรวม นักลงทุนต่างประเทศยังซื้อสุทธิอีก 1,773.24 ล้านบาท เช่นเดียวกับบัญชีบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ที่ซื้อสุทธิ 1,658.52 ล้านบาท ขณะที่สถาบันและนักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 1,669.46 ล้านบาท และ 1,762.30 ล้านบาทตามลำดับ
ระหว่างวันดัชนีแตะจุดสูงสุดที่ระดับ1,207.67 จุด และต่ำสุดที่ 1,193.31 จุด โดยหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 318 หลักทรัพย์ ลดลง 186 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 177 หลักทรัพย์
หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ DTAC มูลค่าการซื้อขาย 2,641.39 ล้านบาท ปิดที่ 80.25 บาท เพิ่มขึ้น 4.50 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 2,069.52 ล้านบาท ปิดที่ 354.00 บาท ลดลง 1.00 บาท SCB มูลค่าการซื้อขาย 1,756.36 ล้านบาท ปิดที่ 152.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท PTTGC มูลค่าการซื้อขาย 1,613.98 ล้านบาท ปิดที่ 72.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.25 บาท และTCAP มูลค่าการซื้อขาย 1,545.73 ล้านบาท ปิดที่ 33.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท
นายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่มีการแกว่งตัวทั้งในแดนบวกและลบ อีกทั้งดัชนีฯสามารถขึ้นทะลุผ่านแนวต้านสำคัญขึ้นมาปิดเหนือระดับ 1,200 จุดได้ คาดว่าจะเป็นผลจาก Fund Flow เข้ามามากเป็นปัจจัยหลัก นอกจากนี้ ตลาดในยุโรปมีการรีบาวด์ขึ้นด้วยหลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมาได้ปรับตัวลงแรง
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันนี้(22 มี.ค.) ประเมินว่าดัชนีจะแกว่งตัวและมีพักฐานบ้างในระหว่างเทรด แต่หากปรับตัวลงก็จะไม่ลงไปลึกมาก โดยมองแนวรับไว้ที่ 1,200 จุด ส่วนแนวต้านให้ไว้ที่ 1,230 จุด พร้อมแนะนำนักลงทุนถือหุ้น 70% และถือเงินสดไว้ 30% เน้นลงทุนหุ้นกลุ่มแบงก์ขนาดกลาง และเชื่อว่าหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีน่าจะเริ่มมีโมเมนตัมดีขึ้น เนื่องจากได้ Underperform มาประมาณ 1 เดือนแล้ว
** 1,200 จุด สูงสุดในรอบเกือบ 16 ปี
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า วานนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET Index) เพิ่มขึ้น 11.07 จุด หรือ 0.93% ปิดที่ระดับ 1,207.67 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี 8 เดือน นับจากวันที่ 11 ก.ค. 2539 ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของตลาดหลักทรัพย์ไทย เห็นได้จากความสามารถในการปรับตัวของบริษัทจดทะเบียนที่แม้จะเผชิญกับปัจจัยลบหลายด้าน แต่ก็ยังสามารถทำกำไรและมีอัตราเติบโตของกำไรสุทธิเฉลี่ยประมาณ 16% ต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2552 และความสามารถในการจ่ายเงินปันผลในอัตราเติบโตเฉลี่ยประมาณ 17% ต่อปี นับแต่ปี 2551 ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีอัตราเงินปันผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียที่ 3.73% (ณ สิ้นเดือนก.พ. 2555) แสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของตลาดหลักทรัพย์ไทย
นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ จากการที่ฟุ้ตซี่ กรุ๊ป (FTSE Group) ยกระดับตลาดทุนไทย เข้าไปในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ชั้นนำ (Advanced Emerging Market) โดยมีผลในเดือนนี้ ประกอบกับปัจจัยภายนอก อาทิ ความชัดเจนของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ฟื้นตัวขึ้น และการคลายความกังวลปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปีนี้มีการซื้อสุทธิจากผู้ลงทุนต่างประเทศแล้วคิดเป็นมูลค่า 73,635 ล้านบาท
ทั้งนี้ เพื่อให้การลงทุนมีการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม ผู้ลงทุนควรติดตามบทวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาแนวโน้มและปัจจัยต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด
ตลาดหุ้นไทย วานนี้(21มี.ค.) ดัชนีหลักทรัพย์ปรับตัวอยู่ในแดนบวกต่อเนื่องจากวันก่อน(20มี.ค.) โดยปิดที่ระดับ 1,207.67 จุด เพิ่มขึ้น 11.07 จุด หรือ0.93% มูลค่าการซื้อขาย 39,909.65 ล้านบาท สวนทางตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคที่แกว่งตัวทั้งในแดนบวกแลพะลบ อีกทั้งดัชนีฯสามารถทะลุผ่านแนวต้านสำคัญมาปิดเหนือ 1,200 จุดได้
ภาพรวม นักลงทุนต่างประเทศยังซื้อสุทธิอีก 1,773.24 ล้านบาท เช่นเดียวกับบัญชีบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ที่ซื้อสุทธิ 1,658.52 ล้านบาท ขณะที่สถาบันและนักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 1,669.46 ล้านบาท และ 1,762.30 ล้านบาทตามลำดับ
ระหว่างวันดัชนีแตะจุดสูงสุดที่ระดับ1,207.67 จุด และต่ำสุดที่ 1,193.31 จุด โดยหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 318 หลักทรัพย์ ลดลง 186 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 177 หลักทรัพย์
หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ DTAC มูลค่าการซื้อขาย 2,641.39 ล้านบาท ปิดที่ 80.25 บาท เพิ่มขึ้น 4.50 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 2,069.52 ล้านบาท ปิดที่ 354.00 บาท ลดลง 1.00 บาท SCB มูลค่าการซื้อขาย 1,756.36 ล้านบาท ปิดที่ 152.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท PTTGC มูลค่าการซื้อขาย 1,613.98 ล้านบาท ปิดที่ 72.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.25 บาท และTCAP มูลค่าการซื้อขาย 1,545.73 ล้านบาท ปิดที่ 33.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท
นายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่มีการแกว่งตัวทั้งในแดนบวกและลบ อีกทั้งดัชนีฯสามารถขึ้นทะลุผ่านแนวต้านสำคัญขึ้นมาปิดเหนือระดับ 1,200 จุดได้ คาดว่าจะเป็นผลจาก Fund Flow เข้ามามากเป็นปัจจัยหลัก นอกจากนี้ ตลาดในยุโรปมีการรีบาวด์ขึ้นด้วยหลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมาได้ปรับตัวลงแรง
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันนี้(22 มี.ค.) ประเมินว่าดัชนีจะแกว่งตัวและมีพักฐานบ้างในระหว่างเทรด แต่หากปรับตัวลงก็จะไม่ลงไปลึกมาก โดยมองแนวรับไว้ที่ 1,200 จุด ส่วนแนวต้านให้ไว้ที่ 1,230 จุด พร้อมแนะนำนักลงทุนถือหุ้น 70% และถือเงินสดไว้ 30% เน้นลงทุนหุ้นกลุ่มแบงก์ขนาดกลาง และเชื่อว่าหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีน่าจะเริ่มมีโมเมนตัมดีขึ้น เนื่องจากได้ Underperform มาประมาณ 1 เดือนแล้ว
** 1,200 จุด สูงสุดในรอบเกือบ 16 ปี
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า วานนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET Index) เพิ่มขึ้น 11.07 จุด หรือ 0.93% ปิดที่ระดับ 1,207.67 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี 8 เดือน นับจากวันที่ 11 ก.ค. 2539 ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของตลาดหลักทรัพย์ไทย เห็นได้จากความสามารถในการปรับตัวของบริษัทจดทะเบียนที่แม้จะเผชิญกับปัจจัยลบหลายด้าน แต่ก็ยังสามารถทำกำไรและมีอัตราเติบโตของกำไรสุทธิเฉลี่ยประมาณ 16% ต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2552 และความสามารถในการจ่ายเงินปันผลในอัตราเติบโตเฉลี่ยประมาณ 17% ต่อปี นับแต่ปี 2551 ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีอัตราเงินปันผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียที่ 3.73% (ณ สิ้นเดือนก.พ. 2555) แสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของตลาดหลักทรัพย์ไทย
นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ จากการที่ฟุ้ตซี่ กรุ๊ป (FTSE Group) ยกระดับตลาดทุนไทย เข้าไปในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ชั้นนำ (Advanced Emerging Market) โดยมีผลในเดือนนี้ ประกอบกับปัจจัยภายนอก อาทิ ความชัดเจนของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ฟื้นตัวขึ้น และการคลายความกังวลปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปีนี้มีการซื้อสุทธิจากผู้ลงทุนต่างประเทศแล้วคิดเป็นมูลค่า 73,635 ล้านบาท
ทั้งนี้ เพื่อให้การลงทุนมีการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม ผู้ลงทุนควรติดตามบทวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาแนวโน้มและปัจจัยต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด