ASTVผู้จัดการรายวัน-คาดอุ้ม“เหลิม-ตู่”ยาว “ขุนค้อน” อ้างประชุมกก.จริยธรรมนัดแรก แค่วางกรอบการทำงาน เล็งเชิญผู้ตรวจให้ข้อมูลหวั่นสอบซ้ำซ้อน โบ้ย!ไม่รู้ประชุมอังคารไหน
วานนี้(19 มี.ค.55) ที่รัฐสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะกรรมการจริยธรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมนัดแรก ว่า การประชุมไม่ได้มีการพิจารณาเรื่องข้อร้องเรียนของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเข้าร่วมการประชุมสภาฯ แต่เป็นการวางกรอบการทำงาน ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ระบุว่า สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนตรวจสอบจริยธรรมได้ 2ทาง ได้แก่ ประธานสภา และผู้ตรวจการแผ่นดิน
ทั้งนี้ ตนเห็นว่าอาจจะมีการร้องเรียนเข้ามาซ้ำซ้อน จึงอยากจะเชิญผู้ตรวจการแผ่นดินให้เข้าร่วมประชุม ในครั้งหน้า เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะให้เจ้าหน้าที่ติดต่อไป โดยคาดว่าจะเป็น วันอังคาร เวลา 10.00 น. แต่จะเป็นอังคารไหนต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ตรวจการแผ่นดิน
คณะกรรมการฯ ยังมีความเห็นร่วมกันให้ตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมาอีกหนึ่งชุด ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้จะเชิญบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมทำงาน เพื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่างๆ เพื่อนำเสนอเข้าสู่คณะกรรมการฯชุดใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
' นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ กล่าวว่า การไปร่วมประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรก หลังจากที่มีการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ในวาระก็ได้เขียนไว้กว้างๆว่า จะมีการพิจารณาเรื่องแนวทาง เพราะมีเรื่องที่มีการร้องเรียนในสภาฯชุดที่แล้วหลายเรื่องที่ยังค้างอยู่เนื่องจากผู้ตรวจการแผ่นดินฯ เขาส่งกลับมา ว่า มันมีหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมของสภาที่ต้องดูแลก่อน ซึ่งขณะนั้น เข้าใจว่ามันไม่มีคณะกรรมการฯ วันนี้คงเป็นเรื่องการหารือกับกรรมการท่านอื่นๆว่าจะมีวิธีการจัดการในเรื่องที่มีการร้องเรียนเรื่องต่างๆให้มันเป็นระบบอย่างไร
เมื่อถามว่าก่อนหน้าที่มีการเสนอเรื่องไปที่ประธานสภาฯคิดว่าจะมีการนำเอาเรื่องที่ร้องเรียนมาพิจารณาอย่างไรหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วันนี้ที่เห็นในวาระจะเป็นเรื่องเก่า แต่เรืองของสภาชุดนี้ยังไม่เห็นคงมีการสอบถาม ส่วนการกำหนดบทลงโทษ หรือมาตรการที่ใช้จัดการจะมีอย่างไรบ้างนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าเป็นกรณีร้ายแรง ก็จะมีกระบวนการของการถอดถอนผ่านทางผู้ตรวจการอยู่แล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้คณะกรรมการชุดนี้มีวาระพิจารณา คือ กรณีที่ ส.ส. ยื่นให้คณะกรรมการจริยธรรมฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี มีอาการคล้ายคนเมาสุราเมื่อคราวการประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา และวาระพิจารณาที่ค้างเก่ามาตั้งแต่สภาฯ ชุดที่ผ่านมา อาทิ กรณีที่ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย อดีตรองประธานสภาฯ คนที่ 2 ลงนามอนุมัติใบลาให้ นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จนทำให้เป็นสาเหตุที่ นายจตุพร ขาดการประชุมเกินกว่าที่ระเบียบระบุ หากพิจารณาตามข้อเท็จจริงจะเท่ากับนายจตุพร สิ้นความเป็นสมาชิกภาพแล้ว
วานนี้(19 มี.ค.55) ที่รัฐสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะกรรมการจริยธรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมนัดแรก ว่า การประชุมไม่ได้มีการพิจารณาเรื่องข้อร้องเรียนของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเข้าร่วมการประชุมสภาฯ แต่เป็นการวางกรอบการทำงาน ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ระบุว่า สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนตรวจสอบจริยธรรมได้ 2ทาง ได้แก่ ประธานสภา และผู้ตรวจการแผ่นดิน
ทั้งนี้ ตนเห็นว่าอาจจะมีการร้องเรียนเข้ามาซ้ำซ้อน จึงอยากจะเชิญผู้ตรวจการแผ่นดินให้เข้าร่วมประชุม ในครั้งหน้า เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะให้เจ้าหน้าที่ติดต่อไป โดยคาดว่าจะเป็น วันอังคาร เวลา 10.00 น. แต่จะเป็นอังคารไหนต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ตรวจการแผ่นดิน
คณะกรรมการฯ ยังมีความเห็นร่วมกันให้ตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมาอีกหนึ่งชุด ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้จะเชิญบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมทำงาน เพื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่างๆ เพื่อนำเสนอเข้าสู่คณะกรรมการฯชุดใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
' นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ กล่าวว่า การไปร่วมประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรก หลังจากที่มีการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ในวาระก็ได้เขียนไว้กว้างๆว่า จะมีการพิจารณาเรื่องแนวทาง เพราะมีเรื่องที่มีการร้องเรียนในสภาฯชุดที่แล้วหลายเรื่องที่ยังค้างอยู่เนื่องจากผู้ตรวจการแผ่นดินฯ เขาส่งกลับมา ว่า มันมีหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมของสภาที่ต้องดูแลก่อน ซึ่งขณะนั้น เข้าใจว่ามันไม่มีคณะกรรมการฯ วันนี้คงเป็นเรื่องการหารือกับกรรมการท่านอื่นๆว่าจะมีวิธีการจัดการในเรื่องที่มีการร้องเรียนเรื่องต่างๆให้มันเป็นระบบอย่างไร
เมื่อถามว่าก่อนหน้าที่มีการเสนอเรื่องไปที่ประธานสภาฯคิดว่าจะมีการนำเอาเรื่องที่ร้องเรียนมาพิจารณาอย่างไรหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วันนี้ที่เห็นในวาระจะเป็นเรื่องเก่า แต่เรืองของสภาชุดนี้ยังไม่เห็นคงมีการสอบถาม ส่วนการกำหนดบทลงโทษ หรือมาตรการที่ใช้จัดการจะมีอย่างไรบ้างนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าเป็นกรณีร้ายแรง ก็จะมีกระบวนการของการถอดถอนผ่านทางผู้ตรวจการอยู่แล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้คณะกรรมการชุดนี้มีวาระพิจารณา คือ กรณีที่ ส.ส. ยื่นให้คณะกรรมการจริยธรรมฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี มีอาการคล้ายคนเมาสุราเมื่อคราวการประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา และวาระพิจารณาที่ค้างเก่ามาตั้งแต่สภาฯ ชุดที่ผ่านมา อาทิ กรณีที่ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย อดีตรองประธานสภาฯ คนที่ 2 ลงนามอนุมัติใบลาให้ นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จนทำให้เป็นสาเหตุที่ นายจตุพร ขาดการประชุมเกินกว่าที่ระเบียบระบุ หากพิจารณาตามข้อเท็จจริงจะเท่ากับนายจตุพร สิ้นความเป็นสมาชิกภาพแล้ว