ASTVผู้จัดการรายวัน-"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เฟซบุ๊คจดหมายเปิดผนึก ถึงคณะผู้วิจัยปรองดองสถาบันพระปกเกล้า ข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน ไม่มีรายงายเหตุการณ์แทรกแซงตุลาการจนเกิดการละเมิดหลักนิติธรรมในคดีซุกหุ้นไม่อธิบายช่วงสาเหตุรัฐประหารช่วงรบ.สมัคร-สมชาย
วานนี้(18 มี.ค.55)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ออกเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงคณะผู้วิจัยสถานบันพระปกเกล้า เกี่ยวกับรายงานผลการวิจัยเรื่องการปรองดอง ดังนี้
"ผมจำเป็นต้องเขียนจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้หลังจากได้มีโอกาสอ่าน (ร่าง) รายงานวิจัยฉบับย่อ การสร้างความปรองดองแห่งชาติที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร (รายงานฉบับสุดท้ายที่สมบูรณ์ยังไม่ได้มีการจัดพิมพ์) ด้วยความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในฐานะที่เป็น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยตรงกับผลงานวิจัย เพราะเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์และผู้ถูกพาดพิง รวมทั้งในฐานะที่ผมเป็น กรรมการสภา สถาบันของสถาบันพระปกเกล้าโดยตำแหน่ง
ที่จริงแล้ว ผมมีประเด็นข้อสังเกตที่สำคัญหลายประการเกี่ยวกับวิธีวิจัยและการจัดทำรายงาน ฉบับนี้ รวมไปถึงข้อเสนอแนะในรายงาน แต่ในจดหมายฉบับนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะบทที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน เพราะผู้ที่ติดตามเหตุการณ์ของบ้านเมืองในช่วง ดังกล่าว หากมีโอกาสอ่านรายงานในส่วนนี้จะต้องตกใจว่า มีความคลาดเคลื่อนและการข้ามข้อเท็จจริง และเหตุการณ์สำคัญๆ หลายส่วนอย่างไม่น่าเชื่อการบันทึกข้อเท็จจริงให้แม่นยำ ครบถ้วน เท่าที่จะทำได้ มีความสำคัญมาก เพราะอาจมีการนำ รายงานนี้ไปอ้างอิงต่อไปในอนาคต ดังนั้นความบกพร่องในการประมวลข้อเท็จจริงย่อมส่งผลกระทบ ต่อการจัดทำข้อเสนอแนะ ซึ่งแม้แต่ข้อสรุปสำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ก็ยังกล่าวถึงความสำคัญ และความจำเป็น เร่งด่วนที่จะต้องมีการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ โดยเสนอให้ คอป. ดำเนินการในระยะเวลา 6 เดือน จึงไม่ควรมีความผิดพลาดในการนำเสนอข้อเท็จจริงผ่านงานวิจัยฉบับนี้ เพราะจะเป็นการทำลายหัวใจ ที่เป็นต้นทางในการร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศ
ผมจึงขอเสนอประเด็นปัญหาการประมวลข้อเท็จจริงในรายงานบางส่วนดังนี้ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับรัฐบาลทักษิณ รายงานฉบับนี้ไม่มีการกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญ ที่ คอป.ระบุว่า เป็นต้นตอของปัญหา วิกฤติที่เกิดขึ้นจากการแทรกแซงตุลาการจนเกิดการละเมิดหลักนิติธรรมในคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี พ.ศ.2544 ซึ่งมีปัญหาความไม่ชอบมาพากล การปฏิบัติผิดหลักกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่มีบทพิสูจน์ว่า เกิดขึ้นจริง จากการไต่สวนที่ปรากฏในชั้นศาล สะท้อนว่า มีตุลาการบางคนวินิจฉัยคดีซุกหุ้นเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชนะคดี ซึ่ง คอป.เห็นว่าหาก พ.ต.ท.ทักษิณพ้นจากตำแหน่งจากการพิจารณาคดี ด้วยความเที่ยงธรรมแล้ว ประเทศไทยก็จะไม่เกิด ความขัดแย้งรุนแรงมาจนถึงปัจจุบัน ประเด็นข้างต้น ถือว่าสำคัญมาก เพราะเท่ากับเป็นการตั้งโจทย์ถึงปัญหา ของบ้านเมือง แต่งานวิจัยนี้กลับไม่เอ่ยถึงเลย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตั้งโจทย์ผิดจนนำไปสู่การหาคำตอบ ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาได้
นอกจากนั้น ปัญหาการทำลายระบบนิติรัฐ ก็มีการระบุเพียงผ่านๆ เท่านั้น ทั้งที่ปัญหาการแทรกแซงองค์กรอิสระ และการทุจริตเชิงนโยบาย มีรายละเอียด ที่อ้างอิงได้จากคำวินิจฉัยของตุลาการ รัฐธรรมนูญและศาล ปรากฏการณ์ที่ระบบตรวจสอบถูกทำลาย การถ่วงดุลย์ตามระบบทำไม่ได้ จนเกิดการเรียกร้องบนท้องถนนตามมา
ปัญหาการฆ่าตัดตอนซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 2,500 ศพ จากนโยบายสงครามกับยาเสพติด ที่มีผลสรุปของคณะกรรมการอิสระแล้วว่า เป็นความผิดพลาดจากนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติด และอาจเข้าข่ายการเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ พ.ต.ท. ทักษิณยังเคยยอมรับข้อผิดพลาดดังกล่าว รวมถึงปัญหาเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ เช่น กรณีกรือเซะ ตากใบ โดยที่รัฐบาลในขณะนั้น มิได้พยายามที่จะแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบเหตุการณ์ข้างต้นล้วนมีนัยสำคัญที่สะท้อนความความรุนแรง ความขัดแย้ง การละเมิดสิทธิ มนุษยชน การละเมิด หลักนิติรัฐ นิติธรรม ว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่ในรายงานนี้ แทบไม่มีการเอ่ยถึงเลย ทั้งที่ส่งผลโดยตรงต่อปัญหาการปรองดอง แต่รายงานกลับมุ่งเน้นไปที่ มิติความ แข็งแกร่งของรัฐบาลทักษิณ จนกระทั่งมีความคลาดเคลื่อนง่ายๆในข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น กับงานวิจัยที่มีการแสวงหาข้อมูลอย่างรอบด้าน เช่น การอ้างว่าพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งท่วมท้น จนเป็นรัฐบาล พรรคเดียวสองสมัย ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริงในปี 2544 ที่ผลการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาล มิได้เป็นเช่นนั้น
**ช่วงปว.และรัฐบาลสมัคร - สมชาย
รายงานกล่าวถึงเหตุผลที่มีการอ้างในการรัฐประหารเพียงข้อเดียว คือ ความขัดแย้งในบ้านเมือง ทั้งที่เหตุผลมี 4 ข้อ ซึ่งสมควรได้รับการวิเคราะห์ให้ครบถ้วน เพราะแม้วิธีการรัฐประหารจะไม่ถูกต้อง แต่เหตุผลอีก 3 ข้อ ไม่ว่าจะเป็นการทุจริต การทำลายการตรวจสอบอำนาจรัฐ หรือการล่วงละเมิดสถาบัน พระมหากษัตริย์ เป็นบทสะท้อนให้เห็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งซึ่งยังมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ รายงานในช่วงนี้ไม่ได้อธิบายถึงปมปัญหาที่เป็นเหตุผลของการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ในช่วงรัฐบาลทักษิณ - สมัคร - สมชาย ในลักษณะเดียวกับที่รายงานวิเคราะห์เหตุผล / มุมมองของการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงในเวลาต่อมา (อธิบายแม้กระทั่งเหตุผลและความหมาย ของการเทเลือด)
การเลือกที่จะเสนอเหตุผลการเคลื่อนไหวของมวลชนบางกลุ่มแต่ละเลยที่จะกล่าวถึงเหตุผลในการเคลื่อนไหวของมวลชนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งทางความคิด ย่อมทำให้ผู้วิจัยขาดข้อมูลที่จะ นำไปประกอบการเสนอทางออกที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย เนื่องจากการให้ข้อมูลเน้นหนักในด้านใดด้านหนึ่ง ย่อมถูกมองได้ว่า มีความโน้มเอียงในการที่จะตอบสนองกับคนบางกลุ่มที่เรียกกันว่า "ความยุติธรรมของผู้ชนะ" มากกว่าที่จะแสวงจุดร่วมเพื่อนำไปสู่การหาทางออกร่วมกันของคนในชาติ
ที่สำคัญรายงานในช่วงนี้กล่าวถึงกระบวนการยุติธรรมและคดีสำคัญๆ เฉพาะในประเด็นที่ว่า ไม่สามารถยุติความขัดแย้งได้ แต่ไม่อธิบายถึงการพิจารณาคดีของศาลว่าเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมปกติ แม้ว่าสภาพบ้านเมืองในขณะนั้นจะมีความขัดแย้ง แต่การตัดสินในทุกคดีมีกฎหมายรองรับทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น คดียุบพรรค คดีที่ดินรัชดาฯ และคดียึดทรัพย์ ซึ่งการทำงานของ คตส.ก็เป็นไปตามกฎหมาย ปปช.ไม่ได้ใช้ กฎหมายพิเศษ อีกทั้งยังไม่ใช่ข้อยุติในคดีด้วย โดยจะเห็นได้จากที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้เดินทางกลับมาต่อสู้คดี พร้อมกับประกาศว่ามีความมั่นใจในกระบวนการยุติธรรม ในช่วงรัฐบาลสมัคร เกิดปรากฏการณ์ถุงขนม สองล้านหล่นที่ศาลฎีกาจนทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกตัดสินจำคุก 6 เดือน แต่กระบวนการต่อสู้ในคดีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้สิทธิตามกฎหมายอย่างเต็มที่ โดยต่อสู้ทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ บทบาทของ คตส. แต่เมื่อการพิจารณาเสร็จสิ้น และคาดว่าตนจะแพ้คดี จึงหนีการฟังคำพิพากษา ออกนอกประเทศจนถึงปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น พ.ต.ท.ทักษิณและผู้เกี่ยวข้องยังนำบางแง่มุมของคำพิพากษา ไปใช้ประโยชน์ในการไม่เสียภาษีอีกด้วย
การอธิบายข้อเท็จจริงเหล่านี้ จะเป็นธรรมต่อกระบวนการยุติธรรม และจะทำให้การหาทางออก เกี่ยวกับปัญหา คตส.เป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่โน้มเอียงไปตามความต้องการของคน ที่ได้รับผลกระทบจาก คตส.แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่พิจารณาถึงหลักการทำงานของ คตส. อย่างแท้จริงว่ามีปัญหาตามที่หยิบยกมากล่าวอ้างหรือไม่
**ช่วงรบ.ปชป. และเหตุการณ์ปี 52-53
รายงานไม่ได้กล่าวถึงว่า พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นรัฐบาลได้จากการลงคะแนนใน สภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ โดยแข่งขันกับพรรคเพื่อไทยซึ่งเสนอชื่อหัวหน้าพรรคการเมืองขนาดกลาง เป็นนายกรัฐมนตรีแต่แพ้เสียงในสภา แต่กลับมีการบิดเบือนประเด็นว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์มีที่มาที่ไม่เป็นไป ตามระบอบประชาธิปไตย จนประชาชนหลงเชื่อและเป็นเหตุผลหนึ่งที่เข้าร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง
รายงานในช่วงนี้ไม่มีการกล่าวถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งบางครั้งก็มีการใช้ความรุนแรง ในขณะที่รัฐบาลพยายามหลีกเลี่ยงเงื่อนไข ที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้า เช่น การยกเลิกเดินทางไปร่วมประชุมหอการค้าทั่วประเทศที่เชียงใหม่
ที่สำคัญคือแม้แต่การกล่าวถึงเหตุการณ์ปี 2552 ในรายงานก็ยังไม่มีการกล่าวถึง การล้มการประชุมสุดยอด อาเซียนที่พัทยา การปิดอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิส่งผลให้การจราจรเป็นอัมพาต สร้างความเดือดร้อนให้กับ ประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อคืนชีวิตปกติ ให้กับประชาชน แต่ในรายงานเลือกที่จะตัดตอนเสนอถึงผลจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยใช้คำว่า "เป็นการประกาศสงครามกับประชาชน" ชี้นำให้เกิดความรู้สึกว่ารัฐบาลมีเจตนาที่จะใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม ตรงกันข้ามกับข้อมูลที่ปรากฏต่อสาธารณะโดยสิ้นเชิง อีกทั้งเหตุการณ์หลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีการทุบรถที่กระทรวงมหาดไทย การนำรถก๊าซมาใช้ขู่ประชาชน แม้แต่การเสียชีวิตของประชาชนในชุมชน นางเลิ้ง รวมทั้งบทบาทการปลุกระดมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ผ่านวีดีโอลิงค์อย่างต่อเนื่อง กลับไม่มีการกล่าวถึงเลย
นอกจากนั้น ยังมีการก้าวข้ามความจริงที่รัฐบาลขณะนั้นนำปัญหาเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เพื่อร่วมกันหาทางออกจนนำไปสู่การตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายได้บทสรุปร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นทำประชามติ แต่พรรคเพื่อไทยก็ปฏิเสธในภายหลังทั้งที่ตกลงกันแล้ว ที่สำคัญ ไม่มีการบันทึก ให้ถูกต้องว่า การเจรจาระหว่างรัฐบาลและแกนนำคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 28-29 มี.ค.2553 นั้น ฝ่ายเสื้อแดง เป็นฝ่ายล้มโต๊ะการเจรจา
สำหรับเหตุการณ์ชุมนุมในปี 2553 นั้น ก็ไม่กล่าวถึงการก่อวินาศกรรม การวางระเบิด ตามสถานที่ต่าง ๆ หลังคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ 46,000 ล้านบาท ไม่มีการกล่าวถึงเหตุการณ์ การบุกรัฐสภา จนเป็นที่มาของการประกาศภาวะฉุกเฉิน รวมถึงการที่ศาลวินิจฉัยว่า การชุมนุมดังกล่าว เป็นการชุมนุมที่เกินเลยขอบเขตตามรัฐธรรมนูญ
ในส่วนของเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย.2553 นั้นไม่มีการกล่าวถึงกลุ่มชายชุดดำที่ติดอาวุธ ซึ่งปะปนอยู่กับผู้ชุมนุม ที่เป็นต้นเหตุของการสูญเสียชีวิต และนำไปสู่การบาดเจ็บ/ล้มตายของเจ้าหน้าที่รัฐ มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งต่อมาก็มีการดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก
นอกจากนั้น รายงานยังไม่กล่าวถึงการเสนอแผนปรองดองและข้อเสนอให้มีการเลือกตั้ง ในวันที่ 14 พ.ย.2553 ที่ถูกปฏิเสธโดยฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุม ควบคู่กับเหตุการณ์ที่กดดัน ให้รัฐบาลจำเป็น ต้องกระชับวงล้อมเพื่อรักษากฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการยิงระเบิดเอ็ม 79 ทำให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต การบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ ฯลฯ
กรณีเหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค.2553 นั้น ยังมีความคลาดเคลื่อนโดยอ้างว่าในวันนั้น มีผู้เสียชีวิต 91 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขความสูญเสียของทุกฝ่ายรวมกันในห้วงเวลา 2 เดือน และไม่น่าเชื่อว่าไม่มีการกล่าวถึง เหตุการณ์ ที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุดในวันนั้น คือ การเผาสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นเตอร์วัน สยามสแควร์ ตลาดหลักทรัพย์ ช่อง 3 ศาลากลางในหลายจังหวัด ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกแล้ว หลายกรณี เช่นเดียวกับกรณีการพยายามยิงกระทรวงกลาโหมก่อนหน้านั้นที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกผู้กระทำ 38 ปี และเหตุการณ์การเสียชีวิตของประชาชนในวัดปทุมฯ ที่ยังเป็นปมค้างคาใจมาจนถึงปัจจุบัน
นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ผมหวังว่าหากสถาบันฯ และกรรมาธิการใจกว้างพอ ก็จะเปิดรับฟัง ความคิดเห็นและข้อทักท้วงเหล่านี้เพื่อนำไปสู่การประชุมแก้ไขรายงานในส่วนนี้และส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ต่อไป เพราะหากคุณภาพของงานวิจัยนี้ยังไม่สามารถแม้กระทั่งสะท้อนความจริงที่ครบถ้วนได้ ย่อมกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรายงานและผู้เกี่ยวข้องอย่างแน่นอน
ผมไม่อยากจะเชื่อว่าจะ มีงานวิจัยใดที่มุ่งเสนอข้อเท็จจริงเหตุการณ์ในช่วงปี 2544 เป็นต้นมาจะไม่กล่าวถึงคดีซุกหุ้น ปัญหาการฆ่าตัดตอน เหตุการณ์กรือเซะ- ตากใบ การล้มการประชุมอาเซียน การชุมนุมที่มีผู้ติดอาวุธแฝงอยู่ การเผาสถานที่ต่างๆ ทั่วกรุงและศาลากลาง และการเสียชีวิตในวัดปทุมฯ ฯลฯ
หากข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน ย่อมนำมาซึ่งการโต้แย้งและการไม่ยอมรับต่อผลการศึกษาที่เกิดขึ้น จากข้อมูล ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งไม่เพียงแต่จะเสื่อมเสียถึงชื่อเสียงของสถาบันพระปกเกล้าที่จะถูกตั้งคำถาม ถึงความเป็นอิสระทางวิชาการเท่านั้น แต่จะส่งผลเสียต่อการแสวงหาทางออกให้สังคม เพราะจะถูกมองว่า เป็นการเสนอทางออกตามความต้องการของคนกลุ่มเดียว ซึ่งผมเชื่อว่าคงไม่ใช่เจตนาของผู้วิจัย
จึงขอให้คณะผู้วิจัยได้ทำการทบทวนรายงานดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง" ลงชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
**ยันกม.ปรองดองไม่ควรลงคะแนน
ก่อนหน้านั้นนายอภิสิทธิ์ กล่าวย้ำว่า อย่าใช้เสียงข้างมากมาทำเรื่องปรองดอง และยินดีจะหารือกับพล.อ.สนธิ บุญรัตนกลิน ประธานกรรมาธิการปรองเดอง ดังนั้นขอให้พรรคเพื่อไทยทำตามนี้ บ้านเมืองก็จะได้ปรองดองได้
โดยเฉพาะที่สถาบันพระปกเกล้าได้แถลงไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เป็นข้อเสนอทางเลือก และทางสถาบันก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการลงมติ หรือเสียงข้างมาก ดังนั้นก็เอาข้อเสนอเหล่านี้มาพูดคุยกัน เพื่อนำไปสู่กระบวนการหาข้อยุติที่จะเป็นการปรองดองอย่างแท้จริง ดังนั้นก็ควรที่จะลงรายละเอียด แต่ไม่ใช่ด้วยวิธีการที่บอกว่ามาลงคะแนนกัน
**ปชป.จับตากมธ.ชงแก้ม.136 เพิ่ม
คุณหญิงกัลยา โสภณพานิชย์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า มีความไม่ชอบมาพากล แม้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยจะรับปากไม่แก้ไขในหมวดที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ กระบวนการศาลและองค์กรอิสระ แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่า จะแก้ไขเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงผู้เดียวหรือไม่ "มีข้อสังเกตว่าอาจมีการแก้ไขมาตรา 136 โดยการเพิ่ม (17) และ (18) เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแก้ไขทั้งฉบับ เพราะในการแก้มาตรา 291 ไม่สามารถที่จะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้"คุณหญิงกัลยากล่าว
วานนี้(18 มี.ค.55)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ออกเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงคณะผู้วิจัยสถานบันพระปกเกล้า เกี่ยวกับรายงานผลการวิจัยเรื่องการปรองดอง ดังนี้
"ผมจำเป็นต้องเขียนจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้หลังจากได้มีโอกาสอ่าน (ร่าง) รายงานวิจัยฉบับย่อ การสร้างความปรองดองแห่งชาติที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร (รายงานฉบับสุดท้ายที่สมบูรณ์ยังไม่ได้มีการจัดพิมพ์) ด้วยความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในฐานะที่เป็น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยตรงกับผลงานวิจัย เพราะเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์และผู้ถูกพาดพิง รวมทั้งในฐานะที่ผมเป็น กรรมการสภา สถาบันของสถาบันพระปกเกล้าโดยตำแหน่ง
ที่จริงแล้ว ผมมีประเด็นข้อสังเกตที่สำคัญหลายประการเกี่ยวกับวิธีวิจัยและการจัดทำรายงาน ฉบับนี้ รวมไปถึงข้อเสนอแนะในรายงาน แต่ในจดหมายฉบับนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะบทที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน เพราะผู้ที่ติดตามเหตุการณ์ของบ้านเมืองในช่วง ดังกล่าว หากมีโอกาสอ่านรายงานในส่วนนี้จะต้องตกใจว่า มีความคลาดเคลื่อนและการข้ามข้อเท็จจริง และเหตุการณ์สำคัญๆ หลายส่วนอย่างไม่น่าเชื่อการบันทึกข้อเท็จจริงให้แม่นยำ ครบถ้วน เท่าที่จะทำได้ มีความสำคัญมาก เพราะอาจมีการนำ รายงานนี้ไปอ้างอิงต่อไปในอนาคต ดังนั้นความบกพร่องในการประมวลข้อเท็จจริงย่อมส่งผลกระทบ ต่อการจัดทำข้อเสนอแนะ ซึ่งแม้แต่ข้อสรุปสำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ก็ยังกล่าวถึงความสำคัญ และความจำเป็น เร่งด่วนที่จะต้องมีการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ โดยเสนอให้ คอป. ดำเนินการในระยะเวลา 6 เดือน จึงไม่ควรมีความผิดพลาดในการนำเสนอข้อเท็จจริงผ่านงานวิจัยฉบับนี้ เพราะจะเป็นการทำลายหัวใจ ที่เป็นต้นทางในการร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศ
ผมจึงขอเสนอประเด็นปัญหาการประมวลข้อเท็จจริงในรายงานบางส่วนดังนี้ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับรัฐบาลทักษิณ รายงานฉบับนี้ไม่มีการกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญ ที่ คอป.ระบุว่า เป็นต้นตอของปัญหา วิกฤติที่เกิดขึ้นจากการแทรกแซงตุลาการจนเกิดการละเมิดหลักนิติธรรมในคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี พ.ศ.2544 ซึ่งมีปัญหาความไม่ชอบมาพากล การปฏิบัติผิดหลักกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่มีบทพิสูจน์ว่า เกิดขึ้นจริง จากการไต่สวนที่ปรากฏในชั้นศาล สะท้อนว่า มีตุลาการบางคนวินิจฉัยคดีซุกหุ้นเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชนะคดี ซึ่ง คอป.เห็นว่าหาก พ.ต.ท.ทักษิณพ้นจากตำแหน่งจากการพิจารณาคดี ด้วยความเที่ยงธรรมแล้ว ประเทศไทยก็จะไม่เกิด ความขัดแย้งรุนแรงมาจนถึงปัจจุบัน ประเด็นข้างต้น ถือว่าสำคัญมาก เพราะเท่ากับเป็นการตั้งโจทย์ถึงปัญหา ของบ้านเมือง แต่งานวิจัยนี้กลับไม่เอ่ยถึงเลย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตั้งโจทย์ผิดจนนำไปสู่การหาคำตอบ ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาได้
นอกจากนั้น ปัญหาการทำลายระบบนิติรัฐ ก็มีการระบุเพียงผ่านๆ เท่านั้น ทั้งที่ปัญหาการแทรกแซงองค์กรอิสระ และการทุจริตเชิงนโยบาย มีรายละเอียด ที่อ้างอิงได้จากคำวินิจฉัยของตุลาการ รัฐธรรมนูญและศาล ปรากฏการณ์ที่ระบบตรวจสอบถูกทำลาย การถ่วงดุลย์ตามระบบทำไม่ได้ จนเกิดการเรียกร้องบนท้องถนนตามมา
ปัญหาการฆ่าตัดตอนซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 2,500 ศพ จากนโยบายสงครามกับยาเสพติด ที่มีผลสรุปของคณะกรรมการอิสระแล้วว่า เป็นความผิดพลาดจากนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติด และอาจเข้าข่ายการเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ พ.ต.ท. ทักษิณยังเคยยอมรับข้อผิดพลาดดังกล่าว รวมถึงปัญหาเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ เช่น กรณีกรือเซะ ตากใบ โดยที่รัฐบาลในขณะนั้น มิได้พยายามที่จะแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบเหตุการณ์ข้างต้นล้วนมีนัยสำคัญที่สะท้อนความความรุนแรง ความขัดแย้ง การละเมิดสิทธิ มนุษยชน การละเมิด หลักนิติรัฐ นิติธรรม ว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่ในรายงานนี้ แทบไม่มีการเอ่ยถึงเลย ทั้งที่ส่งผลโดยตรงต่อปัญหาการปรองดอง แต่รายงานกลับมุ่งเน้นไปที่ มิติความ แข็งแกร่งของรัฐบาลทักษิณ จนกระทั่งมีความคลาดเคลื่อนง่ายๆในข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น กับงานวิจัยที่มีการแสวงหาข้อมูลอย่างรอบด้าน เช่น การอ้างว่าพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งท่วมท้น จนเป็นรัฐบาล พรรคเดียวสองสมัย ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริงในปี 2544 ที่ผลการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาล มิได้เป็นเช่นนั้น
**ช่วงปว.และรัฐบาลสมัคร - สมชาย
รายงานกล่าวถึงเหตุผลที่มีการอ้างในการรัฐประหารเพียงข้อเดียว คือ ความขัดแย้งในบ้านเมือง ทั้งที่เหตุผลมี 4 ข้อ ซึ่งสมควรได้รับการวิเคราะห์ให้ครบถ้วน เพราะแม้วิธีการรัฐประหารจะไม่ถูกต้อง แต่เหตุผลอีก 3 ข้อ ไม่ว่าจะเป็นการทุจริต การทำลายการตรวจสอบอำนาจรัฐ หรือการล่วงละเมิดสถาบัน พระมหากษัตริย์ เป็นบทสะท้อนให้เห็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งซึ่งยังมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ รายงานในช่วงนี้ไม่ได้อธิบายถึงปมปัญหาที่เป็นเหตุผลของการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ในช่วงรัฐบาลทักษิณ - สมัคร - สมชาย ในลักษณะเดียวกับที่รายงานวิเคราะห์เหตุผล / มุมมองของการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงในเวลาต่อมา (อธิบายแม้กระทั่งเหตุผลและความหมาย ของการเทเลือด)
การเลือกที่จะเสนอเหตุผลการเคลื่อนไหวของมวลชนบางกลุ่มแต่ละเลยที่จะกล่าวถึงเหตุผลในการเคลื่อนไหวของมวลชนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งทางความคิด ย่อมทำให้ผู้วิจัยขาดข้อมูลที่จะ นำไปประกอบการเสนอทางออกที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย เนื่องจากการให้ข้อมูลเน้นหนักในด้านใดด้านหนึ่ง ย่อมถูกมองได้ว่า มีความโน้มเอียงในการที่จะตอบสนองกับคนบางกลุ่มที่เรียกกันว่า "ความยุติธรรมของผู้ชนะ" มากกว่าที่จะแสวงจุดร่วมเพื่อนำไปสู่การหาทางออกร่วมกันของคนในชาติ
ที่สำคัญรายงานในช่วงนี้กล่าวถึงกระบวนการยุติธรรมและคดีสำคัญๆ เฉพาะในประเด็นที่ว่า ไม่สามารถยุติความขัดแย้งได้ แต่ไม่อธิบายถึงการพิจารณาคดีของศาลว่าเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมปกติ แม้ว่าสภาพบ้านเมืองในขณะนั้นจะมีความขัดแย้ง แต่การตัดสินในทุกคดีมีกฎหมายรองรับทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น คดียุบพรรค คดีที่ดินรัชดาฯ และคดียึดทรัพย์ ซึ่งการทำงานของ คตส.ก็เป็นไปตามกฎหมาย ปปช.ไม่ได้ใช้ กฎหมายพิเศษ อีกทั้งยังไม่ใช่ข้อยุติในคดีด้วย โดยจะเห็นได้จากที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้เดินทางกลับมาต่อสู้คดี พร้อมกับประกาศว่ามีความมั่นใจในกระบวนการยุติธรรม ในช่วงรัฐบาลสมัคร เกิดปรากฏการณ์ถุงขนม สองล้านหล่นที่ศาลฎีกาจนทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกตัดสินจำคุก 6 เดือน แต่กระบวนการต่อสู้ในคดีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้สิทธิตามกฎหมายอย่างเต็มที่ โดยต่อสู้ทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ บทบาทของ คตส. แต่เมื่อการพิจารณาเสร็จสิ้น และคาดว่าตนจะแพ้คดี จึงหนีการฟังคำพิพากษา ออกนอกประเทศจนถึงปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น พ.ต.ท.ทักษิณและผู้เกี่ยวข้องยังนำบางแง่มุมของคำพิพากษา ไปใช้ประโยชน์ในการไม่เสียภาษีอีกด้วย
การอธิบายข้อเท็จจริงเหล่านี้ จะเป็นธรรมต่อกระบวนการยุติธรรม และจะทำให้การหาทางออก เกี่ยวกับปัญหา คตส.เป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่โน้มเอียงไปตามความต้องการของคน ที่ได้รับผลกระทบจาก คตส.แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่พิจารณาถึงหลักการทำงานของ คตส. อย่างแท้จริงว่ามีปัญหาตามที่หยิบยกมากล่าวอ้างหรือไม่
**ช่วงรบ.ปชป. และเหตุการณ์ปี 52-53
รายงานไม่ได้กล่าวถึงว่า พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นรัฐบาลได้จากการลงคะแนนใน สภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ โดยแข่งขันกับพรรคเพื่อไทยซึ่งเสนอชื่อหัวหน้าพรรคการเมืองขนาดกลาง เป็นนายกรัฐมนตรีแต่แพ้เสียงในสภา แต่กลับมีการบิดเบือนประเด็นว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์มีที่มาที่ไม่เป็นไป ตามระบอบประชาธิปไตย จนประชาชนหลงเชื่อและเป็นเหตุผลหนึ่งที่เข้าร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง
รายงานในช่วงนี้ไม่มีการกล่าวถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งบางครั้งก็มีการใช้ความรุนแรง ในขณะที่รัฐบาลพยายามหลีกเลี่ยงเงื่อนไข ที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้า เช่น การยกเลิกเดินทางไปร่วมประชุมหอการค้าทั่วประเทศที่เชียงใหม่
ที่สำคัญคือแม้แต่การกล่าวถึงเหตุการณ์ปี 2552 ในรายงานก็ยังไม่มีการกล่าวถึง การล้มการประชุมสุดยอด อาเซียนที่พัทยา การปิดอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิส่งผลให้การจราจรเป็นอัมพาต สร้างความเดือดร้อนให้กับ ประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อคืนชีวิตปกติ ให้กับประชาชน แต่ในรายงานเลือกที่จะตัดตอนเสนอถึงผลจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยใช้คำว่า "เป็นการประกาศสงครามกับประชาชน" ชี้นำให้เกิดความรู้สึกว่ารัฐบาลมีเจตนาที่จะใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม ตรงกันข้ามกับข้อมูลที่ปรากฏต่อสาธารณะโดยสิ้นเชิง อีกทั้งเหตุการณ์หลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีการทุบรถที่กระทรวงมหาดไทย การนำรถก๊าซมาใช้ขู่ประชาชน แม้แต่การเสียชีวิตของประชาชนในชุมชน นางเลิ้ง รวมทั้งบทบาทการปลุกระดมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ผ่านวีดีโอลิงค์อย่างต่อเนื่อง กลับไม่มีการกล่าวถึงเลย
นอกจากนั้น ยังมีการก้าวข้ามความจริงที่รัฐบาลขณะนั้นนำปัญหาเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เพื่อร่วมกันหาทางออกจนนำไปสู่การตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายได้บทสรุปร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นทำประชามติ แต่พรรคเพื่อไทยก็ปฏิเสธในภายหลังทั้งที่ตกลงกันแล้ว ที่สำคัญ ไม่มีการบันทึก ให้ถูกต้องว่า การเจรจาระหว่างรัฐบาลและแกนนำคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 28-29 มี.ค.2553 นั้น ฝ่ายเสื้อแดง เป็นฝ่ายล้มโต๊ะการเจรจา
สำหรับเหตุการณ์ชุมนุมในปี 2553 นั้น ก็ไม่กล่าวถึงการก่อวินาศกรรม การวางระเบิด ตามสถานที่ต่าง ๆ หลังคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ 46,000 ล้านบาท ไม่มีการกล่าวถึงเหตุการณ์ การบุกรัฐสภา จนเป็นที่มาของการประกาศภาวะฉุกเฉิน รวมถึงการที่ศาลวินิจฉัยว่า การชุมนุมดังกล่าว เป็นการชุมนุมที่เกินเลยขอบเขตตามรัฐธรรมนูญ
ในส่วนของเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย.2553 นั้นไม่มีการกล่าวถึงกลุ่มชายชุดดำที่ติดอาวุธ ซึ่งปะปนอยู่กับผู้ชุมนุม ที่เป็นต้นเหตุของการสูญเสียชีวิต และนำไปสู่การบาดเจ็บ/ล้มตายของเจ้าหน้าที่รัฐ มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งต่อมาก็มีการดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก
นอกจากนั้น รายงานยังไม่กล่าวถึงการเสนอแผนปรองดองและข้อเสนอให้มีการเลือกตั้ง ในวันที่ 14 พ.ย.2553 ที่ถูกปฏิเสธโดยฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุม ควบคู่กับเหตุการณ์ที่กดดัน ให้รัฐบาลจำเป็น ต้องกระชับวงล้อมเพื่อรักษากฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการยิงระเบิดเอ็ม 79 ทำให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต การบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ ฯลฯ
กรณีเหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค.2553 นั้น ยังมีความคลาดเคลื่อนโดยอ้างว่าในวันนั้น มีผู้เสียชีวิต 91 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขความสูญเสียของทุกฝ่ายรวมกันในห้วงเวลา 2 เดือน และไม่น่าเชื่อว่าไม่มีการกล่าวถึง เหตุการณ์ ที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุดในวันนั้น คือ การเผาสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นเตอร์วัน สยามสแควร์ ตลาดหลักทรัพย์ ช่อง 3 ศาลากลางในหลายจังหวัด ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกแล้ว หลายกรณี เช่นเดียวกับกรณีการพยายามยิงกระทรวงกลาโหมก่อนหน้านั้นที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกผู้กระทำ 38 ปี และเหตุการณ์การเสียชีวิตของประชาชนในวัดปทุมฯ ที่ยังเป็นปมค้างคาใจมาจนถึงปัจจุบัน
นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ผมหวังว่าหากสถาบันฯ และกรรมาธิการใจกว้างพอ ก็จะเปิดรับฟัง ความคิดเห็นและข้อทักท้วงเหล่านี้เพื่อนำไปสู่การประชุมแก้ไขรายงานในส่วนนี้และส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ต่อไป เพราะหากคุณภาพของงานวิจัยนี้ยังไม่สามารถแม้กระทั่งสะท้อนความจริงที่ครบถ้วนได้ ย่อมกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรายงานและผู้เกี่ยวข้องอย่างแน่นอน
ผมไม่อยากจะเชื่อว่าจะ มีงานวิจัยใดที่มุ่งเสนอข้อเท็จจริงเหตุการณ์ในช่วงปี 2544 เป็นต้นมาจะไม่กล่าวถึงคดีซุกหุ้น ปัญหาการฆ่าตัดตอน เหตุการณ์กรือเซะ- ตากใบ การล้มการประชุมอาเซียน การชุมนุมที่มีผู้ติดอาวุธแฝงอยู่ การเผาสถานที่ต่างๆ ทั่วกรุงและศาลากลาง และการเสียชีวิตในวัดปทุมฯ ฯลฯ
หากข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน ย่อมนำมาซึ่งการโต้แย้งและการไม่ยอมรับต่อผลการศึกษาที่เกิดขึ้น จากข้อมูล ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งไม่เพียงแต่จะเสื่อมเสียถึงชื่อเสียงของสถาบันพระปกเกล้าที่จะถูกตั้งคำถาม ถึงความเป็นอิสระทางวิชาการเท่านั้น แต่จะส่งผลเสียต่อการแสวงหาทางออกให้สังคม เพราะจะถูกมองว่า เป็นการเสนอทางออกตามความต้องการของคนกลุ่มเดียว ซึ่งผมเชื่อว่าคงไม่ใช่เจตนาของผู้วิจัย
จึงขอให้คณะผู้วิจัยได้ทำการทบทวนรายงานดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง" ลงชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
**ยันกม.ปรองดองไม่ควรลงคะแนน
ก่อนหน้านั้นนายอภิสิทธิ์ กล่าวย้ำว่า อย่าใช้เสียงข้างมากมาทำเรื่องปรองดอง และยินดีจะหารือกับพล.อ.สนธิ บุญรัตนกลิน ประธานกรรมาธิการปรองเดอง ดังนั้นขอให้พรรคเพื่อไทยทำตามนี้ บ้านเมืองก็จะได้ปรองดองได้
โดยเฉพาะที่สถาบันพระปกเกล้าได้แถลงไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เป็นข้อเสนอทางเลือก และทางสถาบันก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการลงมติ หรือเสียงข้างมาก ดังนั้นก็เอาข้อเสนอเหล่านี้มาพูดคุยกัน เพื่อนำไปสู่กระบวนการหาข้อยุติที่จะเป็นการปรองดองอย่างแท้จริง ดังนั้นก็ควรที่จะลงรายละเอียด แต่ไม่ใช่ด้วยวิธีการที่บอกว่ามาลงคะแนนกัน
**ปชป.จับตากมธ.ชงแก้ม.136 เพิ่ม
คุณหญิงกัลยา โสภณพานิชย์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า มีความไม่ชอบมาพากล แม้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยจะรับปากไม่แก้ไขในหมวดที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ กระบวนการศาลและองค์กรอิสระ แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่า จะแก้ไขเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงผู้เดียวหรือไม่ "มีข้อสังเกตว่าอาจมีการแก้ไขมาตรา 136 โดยการเพิ่ม (17) และ (18) เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแก้ไขทั้งฉบับ เพราะในการแก้มาตรา 291 ไม่สามารถที่จะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้"คุณหญิงกัลยากล่าว