xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

คดีร้อน!สำนวนไต่สวน 16 ศพ "เหลิม"สั่งล่ามโซ่"มาร์ค-เทือก-ทหาร"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-12 มีนาคม 2555....ถือเป็นวันที่ “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” รองนายกรัฐมนตรี ผู้ที่ยกตัวเองว่า เป็นผู้รู้ด้านตัวบทกฎหมาย และสำคัญผิดคิดว่ามีความเชี่ยวชาญในการเขียนสำนวนการสอบสวน ในฐานะอดีตเคยเป็นสารวัตรกองปราบปราม ได้ป่าวประกาศขอให้ประชาชนจับตามอง การไต่สวนสำนวนชันสูตรพลิกศพ 16 ศพ จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 53 โดยที่ “สารวัตรเหลิม” มั่นใจว่า ผลการไต่สวนต้องเป็นไปตามที่เขาวางเอาไว้

กล่าวคือ ผลของคดีจะออกมาดังนี้

-ผู้ถูกยิงเสียชีวิตถูกยิงด้วยกระสุน 5.56 มม.

-ผู้ที่ถูกยิงเสียชีวิตถูกยิงจากด้านหลัง ด้านข้าง

-ผู้ที่ถูกยิงเสียชีวิตไม่ได้มีอาวุธปืน หรือมีลักษณะที่จะเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่

-ผู้ที่ถูกยิงเสียชีวิต อยู่ในเขตที่ปิดล้อมโดยเจ้าหน้าที่ทหาร

ทั้งนี้ ผู้ที่ถูกดำเนินคดีข้อหาเข้าข่ายฆาตกรรม ประกอบด้วยฝ่ายการเมืองคือ “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ” ฐานใช้หรือสั่งให้เกิดการฆาตกรรม

ขณะที่ฝ่ายข้าราชการคือ “พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา” อดีต ผบ.ทบ.และ “พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ” ในฐานะ ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการ รวมทั้ง ผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับหมวด ทุกชั้นยศที่เกี่ยวข้อง ถูกดำเนินคดีฐานฆาตกรรม เช่นกัน

ส่วน ผบ.ทบ.คนปัจจุบัน อย่าง “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ที่อดีตเขาคือ รอง ผบ.ทบ.ว่ากันว่า...ในสำนวนระบุไว้ว่า ไม่ได้รับผิดชอบในเรื่องของการปฏิบัติการในขณะนั้น จึงลอยตัว ไม่ถูกดำเนินคดี

วันแรก สำนวนแรก ของการไต่สวน เริ่มที่ห้องพิจารณาคดี 809 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก โดยศาลนัดพร้อมคู่ความเพื่อกำหนดวันไต่สวนในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญายื่นคำร้องขอไต่สวนชันสูตรศพ นายชาญณรงค์ พลศรีลา อายุ 45 ปี โชเฟอร์แท็กซี่ที่ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณปั๊มเชลล์ ซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2553 ซึ่งคดีนี้ถือเป็นสำนวนแรกจากทั้งหมด 16 สำนวนที่ตำรวจนครบาลตั้งเรื่องขอให้อัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อไต่สวนหาสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.2553

นัดนี้นางสุริยันต์ พลศรีลา ภรรยา และ น.ส.นิพาดา พลศรีลาบุตรสาวผู้ตาย เข้าร่วมการไต่สวนและยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอเป็นผู้ร้องร่วมในคดี ศาลพิจารณาเอกสารหลักฐานแล้วเห็นว่าทั้งสองเป็นภรรยาและผู้สืบสันดานของผู้ตายโดยชอบด้วยกฎหมายจึงอนุญาตให้เป็นผู้ร้องร่วมในคดีได้และให้มีสิทธิในการซักค้านพยานและนำพยานหลักฐานเข้านำสืบ

จากนั้นพนักงานอัยการแถลงขอนำพยานสำคัญซึ่งเป็นผู้เห็นเหตุการณ์เข้านำสืบ จำนวน 41 ปาก ใช้เวลานำสืบ 7 นัด ส่วนทนายความฝ่ายผู้ร้องร่วมขอนำพยานเข้านำสืบพยานจำนวน 15 ปาก ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้อัยการผู้ร้องนำสืบพยานตามที่ร้องขอ โดยนัดไต่สวนพยานครั้งแรกในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ ส่วนพยานฝ่ายผู้ร้องร่วมนั้นเมื่อนำสืบพยานของอัยการผู้ร้องเสร็จสิ้นแล้ว ทนายความฝ่ายผู้ร้องร่วมติดใจนำสืบพยานบุคคลใดเพิ่มเติมอีกให้ส่งรายชื่อต่อศาลเพิ่มเติมได้

ในการพิจารณาคดีนัดนี้ถือว่าแปลกสุดๆ เมื่อมี นางธิดา ถาวรเศรษฐ แกนนำ นปช. พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม และกลุ่มคนเสื้อแดงเข้าติดตามให้กำลังใจแน่นห้องพิจารณา โดยระหว่างศาลกำหนดวันไต่สวนพยาน ได้เกิดเหตุการณ์ที่ส่อไปในทางละเมิดศาล เมื่อนางผุสดี งามขำ หรือที่รู้จักกันในนาม “เสื้อแดงคนสุดท้าย” ที่ออกจากราชประสงค์ ได้ลุกขึ้นขออนุญาตศาลแล้วพูดว่า “สัญลักษณ์ตราชั่งที่ติดหน้าบัลลังก์ศาลเอียงให้ช่วยติดให้ตรง” หลังพูดจบ ทำให้บรรดาคนเสื้อแดงที่นั่งอยู่ในห้องพิจารณาต่างฮือฮากับคำพูดที่นางผุสดีกล่าวกับศาล หลังจากนั้นศาลจึงเรียก รปภ.มาสอบถามว่าเอียงจริงหรือไม่ พร้อมกล่าวเตือนนางผุสดีว่าตราชั่งเป็นเพียงแค่สิ่งของเท่านั้น

สำนวนคดีไต่สวนที่ถือเป็นไม้เด็ดของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ทางด้าน นางวฤษณี มรรยาวุฒิ อัยการฝ่ายคดีอาญา 6 ผู้ที่ได้ชื่อว่า “ทนายแผ่นดิน” ได้สนองตอบรัฐบาล ด้วยการเตรียมนำพยานจำนวน 4 ปาก เข้าเบิกความในนัดแรกวันที่ 18 มิ.ย.นี้ อาทิ นางสุริยันต์ ภรรยาผู้ตายที่เดินทางไปร่วมชุมนุมด้วยกันในวันเกิดเหตุ และนายนิกซ์ นอสติทซ์ ช่างภาพอิสระ ชาวเยอรมัน ที่อยู่ในเหตุการณ์ตลอด จนสามารถถ่ายภาพนายชาญณรงค์ ขณะใช้หนังสติ๊กต่อสู้กับเจ้าหน้าที่บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ใกล้แยกราชปรารภก่อนจะถูกยิง และทหารนำตัวไปจึงเชื่อว่าพยานที่มีจะสามารถเชื่อมโยงไปถึงตัวผู้กระทำผิดได้

ขณะที่ ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา ได้อธิบายความว่าในส่วนของสำนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญาได้ยื่นคำร้องขอไต่สวนชันสูตรศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมชุมกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 ให้ศาลอาญาพิจารณาแล้ว 4 สำนวนประกอบด้วย

1.สำนวนของนายชาญณรงค์ พลศรีลา คนขับรถแท็กซี่ที่ถูกยิงเสียชีวิตเสียชีวิตบริเวณปั๊มเชลล์ ซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2553 ซึ่งศาลอาญานัดไต่สวนพยานครั้งแรกในวันที่ 18 มิ.ย.นี้

2.สำนวนของนายพัน คำกอง แนวร่วมคนเสื้อแดงที่ถูกยิงเสียชีวิตใกล้สถานีรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ ถนนราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2553 ซึ่งศาลอาญานัดพร้อมเพื่อกำหนดวันไต่สวนพยานในวันที่ 23 เม.ย.นี้

3.สำนวนการเสียชีวิตของพลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ ที่ถูกยิงเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ดูแลการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงบริเวณอนุสรณ์สถาน ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2553 โดยศาลอาญานัดพร้อมเพื่อกำหนดวันไต่สวนพยานในวันที่ 19 มี.ค.นี้

4.สำนวนของ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ ที่ถูกยิงเสียชีวิตภายในซอยโรงภาพยนตร์โอเอ ถนนราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2553 ศาลอาญานัดพร้อมในวันที่ 12 พ.ค.นี้

ส่วนที่เหลืออีกหนึ่งสำนวน คือกรณีของนายมานะ อาจราญ เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิตที่เสียชีวิตภายในสวนสัตว์ในคืนวันที่ 10 เม.ย.2553 นั้น อัยการได้ส่งสำนวนกลับไปให้พนักงานสอบสวน สน.ดุสิต เจ้าของสำนวนพิจารณาทำการชันสูตรพลิกศพเพิ่มเติมให้ครบถ้วน โดยเมื่อพนักงานสอบสวนส่งสำนวนกลับมาแล้วก็จะยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณาต่อไป

สำหรับสำนวนคดีชันสูตรศพคนเสื้อแดงอีก 11 สำนวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานอัยการคดีอาญากรุงเทพใต้นั้น มีรายงานข่าวแจ้งว่าพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้แล้ว 2 สำนวนด้วยกันคือกรณีของนายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล และนายประจวบ ประจวบสุข แนวร่วมคนเสื้อแดงที่ถูกยิงเสียชีวิต 2 ศพบริเวณใต้ทางด่วน ถนนพระราม 4 เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2553 ซึ่งศาลอาญากรุงเทพใต้นัดพร้อมเพื่อกำหนดวันไต่สวนพยานในวันที่ 28 พ.ค.นี้

ปมประเด็นคดีร้อน...สำนวนคดีชันสูตรศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมชุมกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 ที่ถูกปลุกขึ้นมาจากปี 2554 และค้างมาสู่ปี 2555 ปีที่ทั้งหมอดู และ ผู้สันทัดกรณีทางการเมือง ต่างฟันธงตรงกันว่า ยังคงเป็นปีที่การเมืองร้อนแรงอีกปีหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปดู สำนวนคดีของนายมานะ อาจราญ เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิตที่เสียชีวิตภายในสวนสัตว์ในคืนวันที่ 10 เม.ย.2553 ว่าทำไมอัยการได้ส่งสำนวนกลับไปให้พนักงานสอบสวน สน.ดุสิต เจ้าของสำนวนพิจารณาทำการชันสูตรพลิกศพเพิ่มเติมให้ครบถ้วน...สำนวนคดีนี้ มีอะไร น่าสนใจ และการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ภายใต้การบังคับบัญชาของ “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” มีอะไรไปเติมแต่งหรือตัดตอนสำนวน กล่าวหาใครหรือไม่

ทั้งนี้ สาระสำคัญอยู่ตรงบทสรุป “ผู้ตายถูกใครทำให้ตาย”

ท้ายสำนวนคดีนี้ สรุปว่า ระหว่างเกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ปิดทางทหาร มีเพียงกำลังทหารและเจ้าหน้าที่ของสวนสัตว์ดุสิตเท่านั้นที่อยู่ในบริเวณเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ทหารมีอาวุธปืนเอ็ม 16 ประจำกาย เจ้าหน้าที่ของสวนสัตว์ดุสิตไม่ได้รับอนุญาตให้พกพาอาวุธปืน สอบสวนพยาน 13 ปาก ให้การสอดคล้องกันว่าไม่มีชายชุดดำหรือบุคคลภายนอกอยู่ในบริเวณพื้นที่เกิดเหตุหรือผ่านเข้าออกได้อย่างเด็ดขาด สอบสวนแพทย์ผู้ตรวจศพ ยืนยันว่า บาดแผลที่ศีรษะผู้ตายถูกยิงด้วยกระสุนปืนลูกโดดความเร็วสูง โดยสอบสวนผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอาวุธปืนยืนยันว่า บาดแผลดังกล่าวเกิดจากการถูกยิงด้วยอาวุธปืนเอ็ม 16 ซึ่งเป็นอาวุธปืนความเร็วสูงที่ใช้กระสุนปืนขนาด .223(5.56 มม.) เหตุการณ์จึงเป็นไปได้ว่า ก่อนเกิดเหตุเล็กน้อยได้มีรถยนต์กระบะต้องสงสัย ขับผ่านไปกลับที่ถนนอู่ทองในบริเวณหน้าประตูทางเข้าสวนสัตว์ดุสิต ตรงข้ามรัฐสภา ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณนั้น เข้าใจว่าเป็นรถของกลุ่มผู้ชุมนุม คนร้ายหรือชายชุดดำที่จะมาทำร้าย เจ้าหน้าที่ทหารจึงวิ่งหลบหนีเข้าไปในสวนสัตว์ดุสิต และเตรียมการป้องกันพร้อมตอบโต้คนร้าย เป็นเวลาเดียวกันกับที่ผู้ตาย ซึ่งแต่งกายด้วยชุดสีเข้ม กำลังเดินออกจากบ่อเต่ามาทางกรงเก้งหม้อ ทั้งบริเวณเกิดเหตุค่อนข้างมืด มองเห็นไม่ชัด น่าเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ทหาร ไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด ที่นอนหมอบอยู่บริเวณปากทางเข้ากรงเก้งหม้อ เข้าใจว่าผู้ตายเป็นคนร้ายหรือชายชุดดำ จึงใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 ยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย จึงเห็นว่าการตายของผู้ตาย เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหาร แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด

สำหรับประเด็นการตาย เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือ ตายในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ตาม ป.วิอาญา ม.150 วรรคสาม หรือไม่นั้น ท้ายสำนวนได้ยกคำให้การของพยานที่ส่วนใหญ่เป็น ตำรวจมะเขือเทศ และทหารแตงโม มายืนยันว่าได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้นำกำลังมาปฏิบัติหน้าที่ในการขอคืนพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินและบริเวณใกล้เคียง โดยได้เข้ามาพักอยู่บริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นจุดรวมพล มาใช้ประกอบในการไต่สวนสั่งคดีของศาล

การเสียชีวิตของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น มีการพูดกันว่า สำนวนคดีนี้ เป็นต้นแบบหรือรูปแบบของสำนวนคดีอื่นๆ ที่เหลืออีก 15 สำนวน และสำนวนนี้ ถือว่า อ่อนกว่าสำนวนอื่นๆ ดังนั้น หากอัยการส่งไปยังศาล จากพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุและพยานเอกสาร ที่จัดทำโดยพนักงานสอบสวน ภายใต้การเขียนบทและกำกับดูแลโดยอดีตสารวัตรกองปราบ “เฉลิม อยู่บำรุง” ก็จะเป็นการยากที่จะทำให้ศาลมีดุลพินิจสั่งเป็นอย่างอื่นเสียมิได้ นอกเสียจากสั่งตามที่พนักงานสอบสวนและอัยการเสนอ คือ “ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่” ตามข้อกล่าวหาที่ตั้งไว้แต่ต้น

นี่คือ สิ่งที่เกิดจากใบสั่งทางการเมืองโดยผู้มีอำนาจยุคปัจจุบันที่ต้องการล่ามโซ่ผู้มีอำนาจในอดีต โดยมีเหล่าทหารหาญผู้ปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในเวลานั้น ต้องกลับกลายมาเป็นจำเลยร่วมในอนาคตอันใกล้ ภายใต้โจทย์ ..ไปต่อสู้คดีในชั้นศาล

คำถามจากโลกโซเชียล เน็ตเวิร์ค

**ตำรวจชุดปราบยาเสพติด เข้าจับกุมและ ยิงหนุ่มวิศวกรตายคาที่ ทั้งที่เขาพึ่งลาพักร้อนกลับบ้านพร้อมแฟนสาว พี่ชายก็นั่งอยู่ในรถ กำลังจะไปกินข้าวที่ร้านอาหาร

**ตำรวจ 3 คนใส่ชุดลำลองยืนอยู่มืดๆ "ไม่แสดงตัว" แต่เปิดฉากยิงใส่รถผู้ตาย 3 นัดซ้อนจากด้านหลังรถ ระยะห่างออกไปราว 50 เมตร

**ผู้ตายที่เป็นคนขับรถพยายามขับรถหนีเอาชีวิตรอด โดยหนีเข้าไปในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มตำรวจก็ขับรถกระบะไม่ติดเครื่องหมาย ไล่ตามเข้าไป ผ่าน รปภ มหาวิทยาลัย ที่บันทึกกล้องวงจรปิดของมหาวิทยาลัยไว้ทั้งขาเข้า ขาออก

**ตำรวจสกลนคร เขายิงกะ "ตัดตอน" ก่อน ถามที่หลังอีกหรือนี่ ยิงกระจกเข้าตัวรถ ไม่ยิงยางเสียด้วย

** น้องสาวโทรเข้า 191 ขอความช่วยเหลือ และได้รับคำแนะนำให้เข้าไปที่ป้อมตำรวจแถวนั้น แต่กลับโดนตำรวจกลุ่มเดิมดักรอสกัดอยู่ได้ และยิงซ้ำกระสุนเข้าด้านข้างคนขับและประตูจนคนขับเสียชีวิต

**ตำรวจกลุ่มที่ยิงรู้ได้ยังไงว่าเขาจะขับเข้าไปตรงป้อมนั้น

**รถเสียหลักชนข้างทาง ผู้ตายโดนยิงจนเลือดออกจากปาก ตำรวจล้อมรถให้คนในรถออกมา น้องสาวกลัวตายคลานออกมา ร้องดังบอกว่า ยิงผิดตัว เพราะพึ่งมาจากกรุงเทพฯ ...........ตำรวจกลุ่มนั้นจึงชะงักไป (ไม่งั้น เออ .......อาจจะไม่ใช่ศพเดียว)

**พ่อและญาติผู้ตาย และเพื่อนที่ทำงานรวมกลุ่มกันไปร้องเรียนกับรองผู้ว่า

เรื่องที่น่าสังเกต

**ตอนรถพยาบาลส่งผู้ตายไปโรงพยาบาล ตำรวจไม่ให้แฟนสาวนั่งไปข้างหลังแต่ ตัวตำรวจดันไปนั่งข้างหลังกับผู้ตาย...............โอกาสยัดยาช่วงนี้แหละ

**ตำรวจกล่าวหาว่าผู้ตายค้ายาบ้า แต่ผู้ตายเป็นวิศวกรซ่อมบำรุง ทำงานโรงงานระยองที่ทำงานเป็นกะ และพึ่งลาพักร้อนกลับมา โดยหัวหน้าผู้ตายที่ไปงานศพยืนยันว่าผู้ตายแทบไม่ได้ลามานานแล้ว เป็นปีๆ เพราะโรงงานทำงาน 24 ชม.

**ไม่เคยกลับบ้าน มันจะค้ายาบ้าที่สกลนคร เมื่อเร็วๆ นี้ได้ยังไง ?

**ยาบ้าที่ตำรวจให้ "พ่อ" เข้าไปดูศพที่โรงพยาบาล .....ต้องให้พ่อเข้าไปถึง 3 รอบ แล้วบอกให้ "ดูดีๆ" อีกจึงเห็นห่อดำๆที่กางเกงใน ....ตำรวจแจ้งว่ามียาบ้า 199 เม็ด

........น่าจะให้นิติเวชตรวจลายมือที่ห่อย้าบ้า ดูซิว่ามีลายมือตำรวจในชุดนั้นด้วยหรือเปล่า (นี่ถ้ารู้จำนวนก่อนจะตรวจ คงมีฮา)
**ผู้บังคับการจังหวัดยศ พลตำรวจตรี (หน้าบวมๆ) บอกมีหลักฐาน จากคนค้ายาบ้าที่จับได้ ซัดทอดมาว่าผู้ตายเป็นคนค้ายาบ้า และมีตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติดสกลนคร "ชุดนี้ 5 คน" ให้รองผู้บังคับการเป็นประธานสอบสวน และ"ต้องใช้เวลาหาพยานหลักฐานนาน" เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา (ที่เป็นตำรวจ)

...........แวว มันออกตรงคำพูดนี่แหละ สอบอีกเท่าไรก็สอบไปนั้นแหละ
สุเทพ เืทือกสุบรรณ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

กำลังโหลดความคิดเห็น