โดย ทองคำขาว
เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีข่าวใหญ่อึกกระทึกครึกโครม เมื่อโจร 6 คนวางแผนปล้นบ้านปลัดคมนาคม กวาดเงินสดไปจำนวนหนึ่งซึ่งไม่รู้ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดกันแน่ เพราะฝ่ายโจรรับสารภาพว่า ปล้นเงินไปประมาณ 200 ล้านบาท แต่เจ้าทุกข์กลับให้การว่า โจรปล้นเงินไปเพียง 5 ล้านบาทเท่านั้น ต่อมาตำรวจจับโจรได้และสามารถยึดของกลางซึ่งเป็นเงินสดกลับคืนมาอีกจำนวน 17 ล้านบาท โจรยังสารภาพอีกว่า ยังมีเงินสดเหลืออยู่ในบ้านปลัดคนดังอีกประมาณ 700-1,000 ล้านบาท ข่าวนี้เป็นเหตุทำให้ ป.ป.ช. ต้องทำการเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยตั้งข้อสงสัยว่า ปลัดคนดังเข้าข่ายร่ำรวยผิดปกติ
ข้อเท็จจริงทั้งหลายเหล่านี้ สังคมไม่ทราบว่า โจรกับปลัดใครพูดจริงใครพูดเท็จ แต่เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ย่อมเป็นปัญหาของสังคมว่า ท่านปลัดคนดังกับโจรคนกล้าเหล่านี้ และหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบ ใครทำผิดใครทำถูก ถึงแม้ว่า เรื่องราวเหล่านี้ไม่มีใครรู้ว่า วันข้างหน้า มันจะจบลงในรูปแบบใด แต่สังคมเริ่มตั้งข้อคิดเห็นเป็นสองแนวทาง โดยสังคมกลุ่มที่หนึ่งเห็นว่า เรื่องนี้ปลัดไม่มีความผิด เพราะตามหลักแห่งความเป็นจริง ปลัดเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจในการเก็บรักษาทรัพย์ ไม่น่าจะเก็บทรัพย์สินเงินทองซึ่งมีจำนวนถึงหลายร้อยล้านเอาไว้ที่บ้าน ควรเก็บเอาไว้ที่ธนาคาร เรื่องที่เกิดขึ้นอาจเป็นเรื่องให้ร้ายป้ายสีในตำแหน่งทางราชการมากกว่า ส่วนสังคมกลุ่มที่สองเห็นว่า เรื่องนี้เป็นการปล้นประจาน โดยมีการทรยศหักหลังภายในกลุ่ม ในเรื่องของผลประโยชน์ค่านายหน้าจากโครงการก่อสร้างถนนซึ่งมีมูลค่านับพันล้านบาท สังเกตได้จากหัวหน้าโจรสั่งลูกน้องเข้าปล้นเพื่อเอาเงินส่วนที่เป็นของตัวเองเท่านั้น ส่วนอื่นๆไม่ยุ่งเกี่ยว หากมีการแจ้งความก็ต้องมีการแฉ เพื่อเป็นการสั่งสอนปลัดจอมทรยศ ซึ่งปลัดเองก็ไม่ยอมแฉ เว้นแต่บอกกับทนายที่ใกล้ชิดเท่านั้น ความจริงเรื่องนี้ปลัดน่าจะเป็นคนที่รู้เรื่องได้ดีที่สุด
เรื่องราวทั้งหลายเหล่านี้เข้าใจว่า น่าจะเป็นเรื่องยุ่งยากปวดหัว และไม่น่าจะจบลงในระยะเวลาที่สั้นๆ คาดว่า น่าจะใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี ส่วนทนายความของปลัดคนดังต้องทำงานอย่างหนักเกี่ยวกับคดีนี้เป็นพิเศษ เพราะงานนี้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินค่อนข้างสูง และต้องใช้กลยุทธทางกฎหมายที่แยบยลหลายชั้น เพื่อให้ลูกความพ้นข้อกล่าวหาดังกล่าว แต่เรื่องเหล่านี้ กฎหมายบ้านเมืองอาจนำพาให้ผู้ต้องหาพ้นผิดได้ แต่กฎแห่งกรรมนั้นเป็นเรื่องยากที่จะพ้นผิด สมดังพุทธภาษิตที่ว่า ใครทำกรรมใดไว้ก็ต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้น ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
หน่วยงานตรวจสอบข้าราชการที่ทุจริตก็เป็นประเด็นหนึ่งที่สังคมตั้งข้อสังเกต เพราะว่า เรื่องนี้ผู้รักษากฎหมายของบ้านเมืองจะออกมาดำเนินการตามหน้าที่ แต่สังคมเข้าใจว่าเป็นการดำเนินการที่ล่าช้าเกินไป ควรทำการตรวจสอบให้เร็วกว่านี้ ก่อนเกิดเรื่องเสียด้วยซ้ำ เพราะเมื่อตนมีหน้าที่ป้องกันการทุจริตแห่งชาติ อำนาจโดยตรงคือการตรวจสอบข้าราชการที่ร่ำรวยผิดปกติและตนก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ หากพบว่าข้าราชการท่านนั้นเข้าข่ายร่ำรวยผิดปกติ แต่ ณ.วันนี้เมื่อโจรเข้าปล้นแล้วจึงค่อยเข้าไปตรวจสอบภายหลัง หากเป็นกรณีเช่นนี้ ข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่น ต้องรอให้โจรเข้าไปปล้นเสียก่อนแล้วจึงเข้าไปตรวจสอบใช่หรือไม่ ทั้งที่รู้ว่าปัจจุบันนี้ ข้าราชการที่ร่ำรวยผิดปกติมีอยู่เกือบทุกกระทรวง
ดังนั้น เรื่องการปล้นบ้านปลัดคมนาคมนี้ จึงมีประเด็นให้สังคมต้องสงสัยและสร้างความคิดเห็นในกลุ่มของประชาชน เพื่อให้สังคมได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง ถึงแม้ว่าเรื่องราวเหล่านี้ ประชาชนไม่สามารถเข้าตรวจสอบถึงการทำงานในกระบวนการยุติธรรมก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่ประชาชนมีสิทธิที่จะคิดเห็นและตั้งประเด็นที่จะวิเคราะห์วิจารณ์ และสามารถวินิจฉัยในเรื่องเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเอง โดยมีประเด็นที่อยากให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นดังต่อไปนี้
1.ทำไมโจรทั้งหกคนจึงกล้าปล้นปลัดคมนาคม ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นสูง ทั้งที่รู้ว่าเมื่อปล้นไปแล้ว กลุ่มตนต้องไปไม่รอด เพราะท่านสามารถร้องขอให้ตำรวจติดตาม อีกทั้งท่านมีทั้งบารมีและเงินจำนวนมหาศาล
2.เมื่อโจรรับสารภาพว่า ปล้นเงินสดไปเป็นจำนวน 200 ล้านบาท แต่เจ้าทุกข์แจ้งว่า ปล้นเงินไปแค่ 5ล้านบาท หากตำรวจยึดเงินคืนเกินกว่าจำนวนที่เจ้าทุกข์แจ้ง เงินส่วนต่างที่เหลือจำเป็นต้องคืนให้กับโจรหรือไม่
3.ใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปล้นประจานคราวนี้ ตำรวจไม่เคยตั้งประเด็นสอบสวนเลย เพราะปกติงานใหญ่ขนาดนี้ โจรไม่กล้าอาจเอื้อมอยู่แล้ว
4.จริงหรือไม่ หัวหน้าโจรคราวนี้คือ บิ๊กการเมืองระดับขุนพลภาคอีสาน ซึ่งครั้งอดีตเคยโยนงานก่อสร้างถนนสายหนึ่ง แต่ท่านปลัดเบี้ยวค่านายหน้า ให้คนเข้าไปทวงทีไร บอกว่ายังไม่ได้รับ ทั้งๆที่บริษัทผู้รับเหมาบอกว่า จ่ายเป็นเงินสดให้แล้ว เรื่องนี้ปลัดไม่กล้าแฉ
5.จริงหรือไม่ รัฐมนตรีเชียงชุน ขันอาสาแก้ไขปัญหาให้ปลัดพ้นผิด แต่ขอค่าประสานงาน เคลีย์ทุกภาคส่วน แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายถึง 300 ล้านบาท โดยการดึงระยะเวลาจนปลดเกษียณ เมื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแล้วก็วินิจฉัยว่า ไม่มีความผิด
6.ทำไมจึงมีคำสั่งเพียงแค่อายัดอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ทั้งที่รู้ว่า การอายัดในลักษณะนี้ ทำให้เจ้าของบ้านไม่สามารถทำนิติกรรมอื่นได้เท่านั้น สิทธิในส่วนอื่นๆยังมีตามปกติ ความจริงน่าจะอายัดทรัพย์สินเงินทองและสมบัติอื่นๆ ที่แอบเอาไว้กับคนใกล้ชิด เหมือนอดีตนายกทิ้งแผ่นดิน
ข้อคิดเห็นเหล่านี้ ประชาชนคิดอย่างไร
ด้วยจิตคารวะ
เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีข่าวใหญ่อึกกระทึกครึกโครม เมื่อโจร 6 คนวางแผนปล้นบ้านปลัดคมนาคม กวาดเงินสดไปจำนวนหนึ่งซึ่งไม่รู้ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดกันแน่ เพราะฝ่ายโจรรับสารภาพว่า ปล้นเงินไปประมาณ 200 ล้านบาท แต่เจ้าทุกข์กลับให้การว่า โจรปล้นเงินไปเพียง 5 ล้านบาทเท่านั้น ต่อมาตำรวจจับโจรได้และสามารถยึดของกลางซึ่งเป็นเงินสดกลับคืนมาอีกจำนวน 17 ล้านบาท โจรยังสารภาพอีกว่า ยังมีเงินสดเหลืออยู่ในบ้านปลัดคนดังอีกประมาณ 700-1,000 ล้านบาท ข่าวนี้เป็นเหตุทำให้ ป.ป.ช. ต้องทำการเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยตั้งข้อสงสัยว่า ปลัดคนดังเข้าข่ายร่ำรวยผิดปกติ
ข้อเท็จจริงทั้งหลายเหล่านี้ สังคมไม่ทราบว่า โจรกับปลัดใครพูดจริงใครพูดเท็จ แต่เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ย่อมเป็นปัญหาของสังคมว่า ท่านปลัดคนดังกับโจรคนกล้าเหล่านี้ และหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบ ใครทำผิดใครทำถูก ถึงแม้ว่า เรื่องราวเหล่านี้ไม่มีใครรู้ว่า วันข้างหน้า มันจะจบลงในรูปแบบใด แต่สังคมเริ่มตั้งข้อคิดเห็นเป็นสองแนวทาง โดยสังคมกลุ่มที่หนึ่งเห็นว่า เรื่องนี้ปลัดไม่มีความผิด เพราะตามหลักแห่งความเป็นจริง ปลัดเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจในการเก็บรักษาทรัพย์ ไม่น่าจะเก็บทรัพย์สินเงินทองซึ่งมีจำนวนถึงหลายร้อยล้านเอาไว้ที่บ้าน ควรเก็บเอาไว้ที่ธนาคาร เรื่องที่เกิดขึ้นอาจเป็นเรื่องให้ร้ายป้ายสีในตำแหน่งทางราชการมากกว่า ส่วนสังคมกลุ่มที่สองเห็นว่า เรื่องนี้เป็นการปล้นประจาน โดยมีการทรยศหักหลังภายในกลุ่ม ในเรื่องของผลประโยชน์ค่านายหน้าจากโครงการก่อสร้างถนนซึ่งมีมูลค่านับพันล้านบาท สังเกตได้จากหัวหน้าโจรสั่งลูกน้องเข้าปล้นเพื่อเอาเงินส่วนที่เป็นของตัวเองเท่านั้น ส่วนอื่นๆไม่ยุ่งเกี่ยว หากมีการแจ้งความก็ต้องมีการแฉ เพื่อเป็นการสั่งสอนปลัดจอมทรยศ ซึ่งปลัดเองก็ไม่ยอมแฉ เว้นแต่บอกกับทนายที่ใกล้ชิดเท่านั้น ความจริงเรื่องนี้ปลัดน่าจะเป็นคนที่รู้เรื่องได้ดีที่สุด
เรื่องราวทั้งหลายเหล่านี้เข้าใจว่า น่าจะเป็นเรื่องยุ่งยากปวดหัว และไม่น่าจะจบลงในระยะเวลาที่สั้นๆ คาดว่า น่าจะใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี ส่วนทนายความของปลัดคนดังต้องทำงานอย่างหนักเกี่ยวกับคดีนี้เป็นพิเศษ เพราะงานนี้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินค่อนข้างสูง และต้องใช้กลยุทธทางกฎหมายที่แยบยลหลายชั้น เพื่อให้ลูกความพ้นข้อกล่าวหาดังกล่าว แต่เรื่องเหล่านี้ กฎหมายบ้านเมืองอาจนำพาให้ผู้ต้องหาพ้นผิดได้ แต่กฎแห่งกรรมนั้นเป็นเรื่องยากที่จะพ้นผิด สมดังพุทธภาษิตที่ว่า ใครทำกรรมใดไว้ก็ต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้น ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
หน่วยงานตรวจสอบข้าราชการที่ทุจริตก็เป็นประเด็นหนึ่งที่สังคมตั้งข้อสังเกต เพราะว่า เรื่องนี้ผู้รักษากฎหมายของบ้านเมืองจะออกมาดำเนินการตามหน้าที่ แต่สังคมเข้าใจว่าเป็นการดำเนินการที่ล่าช้าเกินไป ควรทำการตรวจสอบให้เร็วกว่านี้ ก่อนเกิดเรื่องเสียด้วยซ้ำ เพราะเมื่อตนมีหน้าที่ป้องกันการทุจริตแห่งชาติ อำนาจโดยตรงคือการตรวจสอบข้าราชการที่ร่ำรวยผิดปกติและตนก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ หากพบว่าข้าราชการท่านนั้นเข้าข่ายร่ำรวยผิดปกติ แต่ ณ.วันนี้เมื่อโจรเข้าปล้นแล้วจึงค่อยเข้าไปตรวจสอบภายหลัง หากเป็นกรณีเช่นนี้ ข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่น ต้องรอให้โจรเข้าไปปล้นเสียก่อนแล้วจึงเข้าไปตรวจสอบใช่หรือไม่ ทั้งที่รู้ว่าปัจจุบันนี้ ข้าราชการที่ร่ำรวยผิดปกติมีอยู่เกือบทุกกระทรวง
ดังนั้น เรื่องการปล้นบ้านปลัดคมนาคมนี้ จึงมีประเด็นให้สังคมต้องสงสัยและสร้างความคิดเห็นในกลุ่มของประชาชน เพื่อให้สังคมได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง ถึงแม้ว่าเรื่องราวเหล่านี้ ประชาชนไม่สามารถเข้าตรวจสอบถึงการทำงานในกระบวนการยุติธรรมก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่ประชาชนมีสิทธิที่จะคิดเห็นและตั้งประเด็นที่จะวิเคราะห์วิจารณ์ และสามารถวินิจฉัยในเรื่องเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเอง โดยมีประเด็นที่อยากให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นดังต่อไปนี้
1.ทำไมโจรทั้งหกคนจึงกล้าปล้นปลัดคมนาคม ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นสูง ทั้งที่รู้ว่าเมื่อปล้นไปแล้ว กลุ่มตนต้องไปไม่รอด เพราะท่านสามารถร้องขอให้ตำรวจติดตาม อีกทั้งท่านมีทั้งบารมีและเงินจำนวนมหาศาล
2.เมื่อโจรรับสารภาพว่า ปล้นเงินสดไปเป็นจำนวน 200 ล้านบาท แต่เจ้าทุกข์แจ้งว่า ปล้นเงินไปแค่ 5ล้านบาท หากตำรวจยึดเงินคืนเกินกว่าจำนวนที่เจ้าทุกข์แจ้ง เงินส่วนต่างที่เหลือจำเป็นต้องคืนให้กับโจรหรือไม่
3.ใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปล้นประจานคราวนี้ ตำรวจไม่เคยตั้งประเด็นสอบสวนเลย เพราะปกติงานใหญ่ขนาดนี้ โจรไม่กล้าอาจเอื้อมอยู่แล้ว
4.จริงหรือไม่ หัวหน้าโจรคราวนี้คือ บิ๊กการเมืองระดับขุนพลภาคอีสาน ซึ่งครั้งอดีตเคยโยนงานก่อสร้างถนนสายหนึ่ง แต่ท่านปลัดเบี้ยวค่านายหน้า ให้คนเข้าไปทวงทีไร บอกว่ายังไม่ได้รับ ทั้งๆที่บริษัทผู้รับเหมาบอกว่า จ่ายเป็นเงินสดให้แล้ว เรื่องนี้ปลัดไม่กล้าแฉ
5.จริงหรือไม่ รัฐมนตรีเชียงชุน ขันอาสาแก้ไขปัญหาให้ปลัดพ้นผิด แต่ขอค่าประสานงาน เคลีย์ทุกภาคส่วน แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายถึง 300 ล้านบาท โดยการดึงระยะเวลาจนปลดเกษียณ เมื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแล้วก็วินิจฉัยว่า ไม่มีความผิด
6.ทำไมจึงมีคำสั่งเพียงแค่อายัดอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ทั้งที่รู้ว่า การอายัดในลักษณะนี้ ทำให้เจ้าของบ้านไม่สามารถทำนิติกรรมอื่นได้เท่านั้น สิทธิในส่วนอื่นๆยังมีตามปกติ ความจริงน่าจะอายัดทรัพย์สินเงินทองและสมบัติอื่นๆ ที่แอบเอาไว้กับคนใกล้ชิด เหมือนอดีตนายกทิ้งแผ่นดิน
ข้อคิดเห็นเหล่านี้ ประชาชนคิดอย่างไร
ด้วยจิตคารวะ