ASTVผู้จัดการรายวัน - ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อตั้งเป้าลุยปล่อยกู้ปีนี้เพิ่ม 45-50% พอร์ตสินเชื่อแตะ 6 พันล้าน พร้อมขยายสาขาเพิ่มอีก 40 สาขา-ปล่อยกู้ผ่านสาขาแบงก์กรุงศรีฯกว่า 600 สาขา ระบุหนี้เน่าน้ำท่วมลดสู่ระดับปกติแล้ว
นายธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัด เจ้าของแบรนด์ ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทตั้งเป้าสินเชื่อเติบโตที่ระดับ 45-50% จากปีก่อนที่มียอดสินเชื่อเติบโต 4,200 ล้านบาท หรือคิดเป็น 45% จากปีก่อนหน้า โดยจะมียอดสินเชื่อคงค้างที่ระดับ 6,000 ล้านบาท และมีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 ราย จากปีก่อนที่มียอดลูกค้า 100,000 ราย
ทั้งนี้ ลูกค้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่ในต่างจังหวัดถึง 70% และ ในกรุงเทพฯอีก 30% ด้านสัดส่วนลูกค้าสินเชื่อรถจักรยานยนต์ยังเป็นสินเชื่อหลักของบริษัทฯที่ 70% ส่วนที่เหลืออีก 30% เป็นลูกค้าประเภทรถยนต์และรถเพื่อการพาณิชย์ เช่น รถบรรทุก รถบัส และรถแทรกเตอร์
นอกจากนี้ ยังตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ในอีก 3 ปีข้างหน้า จะมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% พร้อมทั้งขยายสาขาในปีนี้เพิ่มขึ้นอีก 40 สาขา จากเดิมที่มีอยู่ 200 สาขา และได้เพิ่มช่องทางการขายผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นธนาคารที่ถือหุ้นในบริษัท 100% ผ่านช่องทางสาขาธนาคารกว่าอีก 600 สาขา
ด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) จากในช่วงเกิดอุทักภัยเมื่อปลายปีก่อน ทำให้ NPLของบริษัทเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 2.2% แต่ในปัจจุบันจากมาตรการช่วยเหลือของบริษัทส่งผลให้ NPL ลดลงสู่ภาวะปกติก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวที่ระดับ 1.2%
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธุรกิจรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มองว่าน่าจะค่อนข้างทรงตัว จากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยรถกระบะอยู่ที่ 5% ต่อปี และรถสิบล้ออยู่ที่ 9% ต่อปี
"แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา บริษัทไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลง แต่จะเห็นว่าในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น บริษัทก็ไม่ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้นเช่นกัน"
นายธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัด เจ้าของแบรนด์ ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทตั้งเป้าสินเชื่อเติบโตที่ระดับ 45-50% จากปีก่อนที่มียอดสินเชื่อเติบโต 4,200 ล้านบาท หรือคิดเป็น 45% จากปีก่อนหน้า โดยจะมียอดสินเชื่อคงค้างที่ระดับ 6,000 ล้านบาท และมีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 ราย จากปีก่อนที่มียอดลูกค้า 100,000 ราย
ทั้งนี้ ลูกค้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่ในต่างจังหวัดถึง 70% และ ในกรุงเทพฯอีก 30% ด้านสัดส่วนลูกค้าสินเชื่อรถจักรยานยนต์ยังเป็นสินเชื่อหลักของบริษัทฯที่ 70% ส่วนที่เหลืออีก 30% เป็นลูกค้าประเภทรถยนต์และรถเพื่อการพาณิชย์ เช่น รถบรรทุก รถบัส และรถแทรกเตอร์
นอกจากนี้ ยังตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ในอีก 3 ปีข้างหน้า จะมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% พร้อมทั้งขยายสาขาในปีนี้เพิ่มขึ้นอีก 40 สาขา จากเดิมที่มีอยู่ 200 สาขา และได้เพิ่มช่องทางการขายผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นธนาคารที่ถือหุ้นในบริษัท 100% ผ่านช่องทางสาขาธนาคารกว่าอีก 600 สาขา
ด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) จากในช่วงเกิดอุทักภัยเมื่อปลายปีก่อน ทำให้ NPLของบริษัทเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 2.2% แต่ในปัจจุบันจากมาตรการช่วยเหลือของบริษัทส่งผลให้ NPL ลดลงสู่ภาวะปกติก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวที่ระดับ 1.2%
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธุรกิจรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มองว่าน่าจะค่อนข้างทรงตัว จากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยรถกระบะอยู่ที่ 5% ต่อปี และรถสิบล้ออยู่ที่ 9% ต่อปี
"แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา บริษัทไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลง แต่จะเห็นว่าในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น บริษัทก็ไม่ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้นเช่นกัน"