ASTVผู้จัดการรายวัน-"พาณิชย์"ติดเบรก ห้ามปาล์มขึ้นราคา ต้องขายขวดลิตรละ 42 บาทตามเดิม ยันไม่กลัวเกิดวิกฤตแพงรอบสอง เหตุปีนี้ผลผลิตมาก วอนชาวบ้านอย่าตื่นกักตุน มั่นใจ เม.ย ราคาลด
นายพงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะประชุมร่วมกับผู้ประกอบการปาล์มน้ำมัน เพื่อแก้ปัญหาราคาปาล์มน้ำมันทั้งระบบ โดยกระทรวงพาณิชย์จะยังไม่ให้ปรับเพดานราคาควบคุม น้ำมันปาล์มบรรจุขวดขึ้นเกินลิตรละ 42 บาท แม้กลุ่มผู้ประกอบการโรงกลั่นจะเสนอเข้ามา โดยอ้างว่ามีต้นทุนสูงขึ้นจากราคาผลปาล์มดิบที่ขยับขึ้นไปเกินกิโลกรัม (กก.) ละ 6.20-6.30 บาท และราคาน้ำมันปาล์มดิบเกินกก.ละ 34-35 บาทก็ตาม
ส่วนแนวทางแก้ปัญหา จะขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการร่วมกันตรึงราคาเดิมไปก่อน เพราะหลังจากเดือนเม.ย.เป็นต้นไป จะเริ่มเข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยวผลปาล์ม ทำให้มีผลผลิตออกมาสู่ตลาดเพิ่ม และทำให้ราคาในตลาดถูกลง ซึ่งเห็นได้จากตอนนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกเริ่มปรับลงมาต่อเนื่องแล้ว เหลือกก.ละ 34-35 บาท หลังจากเคยปรับขึ้นไปสูงมาก ช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.ที่ผ่านมา แต่หากผู้ประกอบการทำไม่ได้ รัฐบาลอาจเลือกด้วยการชดเชยส่วนต่างของต้นทุนให้ เพื่อให้มีการผลิตน้ำมันปาล์มออกมาอย่างปกติ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคทั้งราคาและปริมาณ
“การกำหนดเพดานราคาขายปลีกที่ 42 บาท มาจากการคำนวณต้นทุนน้ำมันปาล์มดิบที่ กก.ละ 29 บาท บวกกับค่าบริหารจัดการอื่นๆ เพิ่มเติม แต่ขณะนี้ต้นทุนน้ำมันปาล์มสูงเกินที่กำหนดไว้อยู่ที่ กก.ละ 34.50 บาท ซึ่งกระทรวงพาณิชย์พร้อมเข้าไปดูแลให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่เชื่อว่าปัญหานี้จะเป็นปัญหาระยะสั้น เพราะถึงเดือนหน้าราคาปาล์มน่าจะอ่อนตัวลง และต้นทุนผู้ประกอบการต่างๆ น่าจะปรับลดลงตาม”
นายพงศ์พันธ์กล่าวว่า ขอเตือนผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนกตกใจว่าจะเกิดวิกฤตน้ำมันปาล์มขาดแคลนและราคาแพงเหมือนกับปีที่แล้ว รวมถึงพ่อค้าก็อย่าฉวยโอกาสกักตุนเก็งกำไร เพราะปีนี้ผลผลิตปาล์มไม่ได้ขาดแคลน อีกทั้งน่าจะมีผลผลิตออกมามากกว่าปีก่อนๆ อีกด้วย และที่สำคัญขณะนี้ในประเทศยังมีสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบเหลือทั้งระบบอยู่เกิน 2 แสนตัน เพียงพอต่อการใช้บริโภคภายในประเทศและนำไปใช้ผลิตพลังงานทดแทน
“จากสต๊อกที่มีอยู่ สามารถใช้สำหรับบริโภคและพลังงานทดแทนได้ไม่ต่ำกว่า 1-2 เดือน ซึ่งกว่าจะถึงตอนนั้นผลปาล์มฤดูกาลใหม่ก็ออกมาแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องพึ่งการนำเข้าแต่อย่างใด ขณะที่แนวโน้มราคาคงจะอ่อนตัวลงบ้าง แต่ก็เชื่อว่าอยู่ในระดับที่เกษตรกรมีกำไรพอเลี้ยงชีพได้ เพราะราคาผลปาล์มที่เพิ่มในช่วงที่ผ่านมา มาจากสถานการณ์ไม่ปกติของภัยธรรมชาติ น้ำท่วมจนทำให้ผลผลิตเสียหายลดลง”นายพงศ์พันธ์กล่าว
ก่อนหน้านี้ สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มแห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึงนายบุญทรง ให้พิจารณาดูแลราคาน้ำมันปาล์มทั้งระบบให้สอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากขณะนี้ราคาผลปาล์มดิบภายในประเทศได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากก่อนหน้านี้ที่กก.ละ 4 บาท เป็นกก.ละ 6.20-6.30 บาท และราคาน้ำมันปาล์มดิบโลกและในประเทศก็ปรับตัวขึ้นมากเกินกก.ละ 38 บาท จึงต้องการให้กระทรวงพาณิชย์มีการปรับแนวทางการดูแลราคาน้ำมันปาล์มใหม่ โดยยื่นข้อเสนอ 2 แนวทาง คือ ขอให้ปรับราคาเพิ่มขึ้นขวดลิตรละ 5 บาทจาก 42 บาทเป็น 47 บาท หรือไม่ก็ชดเชยส่วนต่างระหว่างต้นทุนขายกับราคาขายให้กับผู้ผลิต
นายพงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะประชุมร่วมกับผู้ประกอบการปาล์มน้ำมัน เพื่อแก้ปัญหาราคาปาล์มน้ำมันทั้งระบบ โดยกระทรวงพาณิชย์จะยังไม่ให้ปรับเพดานราคาควบคุม น้ำมันปาล์มบรรจุขวดขึ้นเกินลิตรละ 42 บาท แม้กลุ่มผู้ประกอบการโรงกลั่นจะเสนอเข้ามา โดยอ้างว่ามีต้นทุนสูงขึ้นจากราคาผลปาล์มดิบที่ขยับขึ้นไปเกินกิโลกรัม (กก.) ละ 6.20-6.30 บาท และราคาน้ำมันปาล์มดิบเกินกก.ละ 34-35 บาทก็ตาม
ส่วนแนวทางแก้ปัญหา จะขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการร่วมกันตรึงราคาเดิมไปก่อน เพราะหลังจากเดือนเม.ย.เป็นต้นไป จะเริ่มเข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยวผลปาล์ม ทำให้มีผลผลิตออกมาสู่ตลาดเพิ่ม และทำให้ราคาในตลาดถูกลง ซึ่งเห็นได้จากตอนนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกเริ่มปรับลงมาต่อเนื่องแล้ว เหลือกก.ละ 34-35 บาท หลังจากเคยปรับขึ้นไปสูงมาก ช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.ที่ผ่านมา แต่หากผู้ประกอบการทำไม่ได้ รัฐบาลอาจเลือกด้วยการชดเชยส่วนต่างของต้นทุนให้ เพื่อให้มีการผลิตน้ำมันปาล์มออกมาอย่างปกติ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคทั้งราคาและปริมาณ
“การกำหนดเพดานราคาขายปลีกที่ 42 บาท มาจากการคำนวณต้นทุนน้ำมันปาล์มดิบที่ กก.ละ 29 บาท บวกกับค่าบริหารจัดการอื่นๆ เพิ่มเติม แต่ขณะนี้ต้นทุนน้ำมันปาล์มสูงเกินที่กำหนดไว้อยู่ที่ กก.ละ 34.50 บาท ซึ่งกระทรวงพาณิชย์พร้อมเข้าไปดูแลให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่เชื่อว่าปัญหานี้จะเป็นปัญหาระยะสั้น เพราะถึงเดือนหน้าราคาปาล์มน่าจะอ่อนตัวลง และต้นทุนผู้ประกอบการต่างๆ น่าจะปรับลดลงตาม”
นายพงศ์พันธ์กล่าวว่า ขอเตือนผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนกตกใจว่าจะเกิดวิกฤตน้ำมันปาล์มขาดแคลนและราคาแพงเหมือนกับปีที่แล้ว รวมถึงพ่อค้าก็อย่าฉวยโอกาสกักตุนเก็งกำไร เพราะปีนี้ผลผลิตปาล์มไม่ได้ขาดแคลน อีกทั้งน่าจะมีผลผลิตออกมามากกว่าปีก่อนๆ อีกด้วย และที่สำคัญขณะนี้ในประเทศยังมีสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบเหลือทั้งระบบอยู่เกิน 2 แสนตัน เพียงพอต่อการใช้บริโภคภายในประเทศและนำไปใช้ผลิตพลังงานทดแทน
“จากสต๊อกที่มีอยู่ สามารถใช้สำหรับบริโภคและพลังงานทดแทนได้ไม่ต่ำกว่า 1-2 เดือน ซึ่งกว่าจะถึงตอนนั้นผลปาล์มฤดูกาลใหม่ก็ออกมาแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องพึ่งการนำเข้าแต่อย่างใด ขณะที่แนวโน้มราคาคงจะอ่อนตัวลงบ้าง แต่ก็เชื่อว่าอยู่ในระดับที่เกษตรกรมีกำไรพอเลี้ยงชีพได้ เพราะราคาผลปาล์มที่เพิ่มในช่วงที่ผ่านมา มาจากสถานการณ์ไม่ปกติของภัยธรรมชาติ น้ำท่วมจนทำให้ผลผลิตเสียหายลดลง”นายพงศ์พันธ์กล่าว
ก่อนหน้านี้ สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มแห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึงนายบุญทรง ให้พิจารณาดูแลราคาน้ำมันปาล์มทั้งระบบให้สอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากขณะนี้ราคาผลปาล์มดิบภายในประเทศได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากก่อนหน้านี้ที่กก.ละ 4 บาท เป็นกก.ละ 6.20-6.30 บาท และราคาน้ำมันปาล์มดิบโลกและในประเทศก็ปรับตัวขึ้นมากเกินกก.ละ 38 บาท จึงต้องการให้กระทรวงพาณิชย์มีการปรับแนวทางการดูแลราคาน้ำมันปาล์มใหม่ โดยยื่นข้อเสนอ 2 แนวทาง คือ ขอให้ปรับราคาเพิ่มขึ้นขวดลิตรละ 5 บาทจาก 42 บาทเป็น 47 บาท หรือไม่ก็ชดเชยส่วนต่างระหว่างต้นทุนขายกับราคาขายให้กับผู้ผลิต