พัทลุง - เกษตรกรมั่นใจราคาปาล์มในระยะยาวดี ขยายพื้นที่ปลูกกว่า 20% ต่อปี ทำให้ต้นกล้าขาดแคลน ต้องมีการสั่งจองและซื้อกันข้ามจังหวัด
นายโอภาส หนูชิต ประธานสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า จังหวัดพัทลุงมีการปลูกปาล์มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 50,000 ไร่ จากพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกปาล์มริมทะเลสาบสงขลา พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช ประมาณ 400,000 ไร่ โดยตัวเลขการขยายตัวประมาณกว่า 20% ต่อปี โดยปัจจุบันสมาชิกของสหกรณ์มีจำนวน 1,026 ราย จากจังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช
"ปัจจุบันพัทลุงสามารถผลิตปาล์มได้ประมาณ วันละ 120 ตัน ประมาณ 540,000บาท กว่า 16 ล้านบาท/เดือน หากได้ปลูกเต็มพื้นที่รอบริมทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ไม่ต่ำกว่า 400 - 500 ตัน /วัน จะมีรายได้กว่า 2.2 ล้านบาท / วัน แต่อุปสรรคของพื้นที่ปลูกปาล์ม คือ เกษตรกรไม่มีกำลังลงทุนเพราะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม จะต้องยกคันดินจึงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก"
นายโอภาส กล่าวว่า ปาล์มราคาดีมาตลอดขณะนี้อยู่ที่ 4.50 บาท / กก. แต่สหกรณ์จะรับซื้อของสมาชิก 4.90 บาท สูงกว่าราคาตลาดทั่วไป แล้วส่งขายต่อไปยัง จ.ตรัง กระบี่ และสงขลา โดยปาล์มพัทลุงมีอุปสรรคคือจะต้องถูกหักค่าขนส่ง 0.30 บาท / กก.ดังนั้น สหกรณ์จึงได้ลงทุนสร้างโรงงานอุตสาหกรรมโรงหีบเอง โดยสามารถหีบได้ 20 ชั่วโมง จำนวน 100 ตัน ซึ่งขณะอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ
"ปัจจุบันลานเทรับซื้อปาล์มได้ขยายเป็น 12 ลานเทในจังหวัดพัทลุง และยังมีผู้มาลงทุนอีกหลายลานเท ในปี 2555 นี้ ปาล์มอนาคตยังดีมาก เพราะปาล์มเป็นปัจจัยมีความจำเป็นทางด้านพลังงาน บริโภค และอุปโภค พัทลุงเองผลผลิตปาล์มยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังมีความต้องการอีกมาก"
นายโอภาส ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้ต้นกล้าปาล์มในพัทลุงเพาะชำไม่ทันต่อความต้องการ จนผู้ลงทุนต้องเดินทางไปซื้อยังจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และกระบี่ ปัจจุบันราคาต้นกล้ายังอยู่ที่ 80 บาท และ 120 บาท ราคายังไม่เพิ่มอย่างพรวดพราดแต่อย่างใด แต่การซื้อต้นกล้าปาล์มจะต้องสั่งจองล่วงหน้าเป็นเวลาระยะพอสมควร"
นายเทียบจิตต์ ผลาจันทรภูติผลากร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ภาวะปาล์มน้ำมันอยู่ในระดับทรงตัว และราคายังนิ่งอยู่ที่ 4-5 บาท / กก. เพราะบรรดาผู้ประกอบการกำลังรอดูนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับพลังงาน อีกทั้งยังมีอยู่ในสต๊อกอีกจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อนโยบายของรัฐบาลประกาศเลิกใช้น้ำมัน 91 และ 95 จะต้องนำมาทดแทนพลังงานและผลิตไบโอดีเซล
"ผู้ประกอบการ เกษตรกรปาล์ม ยังมีอนาคตที่ดีและยาว และในปีนี้มั่นใจว่าราคาปาล์มจะไต่ขึ้นมาอยู่ที่ 7 บาท / กก. คาดว่าประมาณตั้งแต่ตุลาคมนี้ ตอนนี้ปาล์มอยู่ที่ 4 - 5 บาท ถือว่าพ้นขีดเสี่ยงไปแล้ว เพราะต้นทุนการผลิตปาล์มขณะนี้อยู่ประมาณ 2.60 บาท - 3 บาท จากเดิมที่อยู่ที่ 1.60 บาท / กก. ปัจจัยสำคัญ คือราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับ 100 เหรียญต้น ๆ"
นายเทียบจิตต์ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับผลผลิตน้ำมันปาล์มโดยภาพรวมประมาณ 800,000 ตัน / ปี และผลิตปาล์ม กว่า 9 ล้านตัน / ปี และพื้นที่ปลูกปาล์มกว่า 3.6 ล้านไร่ โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณกว่า 10 % /ปี
นายพฤธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ปี 2554 เป็นปีทองของเศรษฐกิจภาคใต้ ทั้งภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม มีการขยายตัวดีตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตปาล์มและยางพารา ขณะเดียวกันราคาสินค้าเกษตรก็เพิ่มขึ้นทุกชนิด ทำให้รายได้ในภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
"ผลผลิตพืชผลเกษตรเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 9.2โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32.1 เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูก และปาล์มน้ำมันในช่วงก่อนหน้าให้ผลผลิตเต็มที่ สัดส่วนต้นปาล์มพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นด้วยร้อยละ 2.5โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม"
นายโอภาส หนูชิต ประธานสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า จังหวัดพัทลุงมีการปลูกปาล์มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 50,000 ไร่ จากพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกปาล์มริมทะเลสาบสงขลา พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช ประมาณ 400,000 ไร่ โดยตัวเลขการขยายตัวประมาณกว่า 20% ต่อปี โดยปัจจุบันสมาชิกของสหกรณ์มีจำนวน 1,026 ราย จากจังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช
"ปัจจุบันพัทลุงสามารถผลิตปาล์มได้ประมาณ วันละ 120 ตัน ประมาณ 540,000บาท กว่า 16 ล้านบาท/เดือน หากได้ปลูกเต็มพื้นที่รอบริมทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ไม่ต่ำกว่า 400 - 500 ตัน /วัน จะมีรายได้กว่า 2.2 ล้านบาท / วัน แต่อุปสรรคของพื้นที่ปลูกปาล์ม คือ เกษตรกรไม่มีกำลังลงทุนเพราะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม จะต้องยกคันดินจึงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก"
นายโอภาส กล่าวว่า ปาล์มราคาดีมาตลอดขณะนี้อยู่ที่ 4.50 บาท / กก. แต่สหกรณ์จะรับซื้อของสมาชิก 4.90 บาท สูงกว่าราคาตลาดทั่วไป แล้วส่งขายต่อไปยัง จ.ตรัง กระบี่ และสงขลา โดยปาล์มพัทลุงมีอุปสรรคคือจะต้องถูกหักค่าขนส่ง 0.30 บาท / กก.ดังนั้น สหกรณ์จึงได้ลงทุนสร้างโรงงานอุตสาหกรรมโรงหีบเอง โดยสามารถหีบได้ 20 ชั่วโมง จำนวน 100 ตัน ซึ่งขณะอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ
"ปัจจุบันลานเทรับซื้อปาล์มได้ขยายเป็น 12 ลานเทในจังหวัดพัทลุง และยังมีผู้มาลงทุนอีกหลายลานเท ในปี 2555 นี้ ปาล์มอนาคตยังดีมาก เพราะปาล์มเป็นปัจจัยมีความจำเป็นทางด้านพลังงาน บริโภค และอุปโภค พัทลุงเองผลผลิตปาล์มยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังมีความต้องการอีกมาก"
นายโอภาส ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้ต้นกล้าปาล์มในพัทลุงเพาะชำไม่ทันต่อความต้องการ จนผู้ลงทุนต้องเดินทางไปซื้อยังจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และกระบี่ ปัจจุบันราคาต้นกล้ายังอยู่ที่ 80 บาท และ 120 บาท ราคายังไม่เพิ่มอย่างพรวดพราดแต่อย่างใด แต่การซื้อต้นกล้าปาล์มจะต้องสั่งจองล่วงหน้าเป็นเวลาระยะพอสมควร"
นายเทียบจิตต์ ผลาจันทรภูติผลากร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ภาวะปาล์มน้ำมันอยู่ในระดับทรงตัว และราคายังนิ่งอยู่ที่ 4-5 บาท / กก. เพราะบรรดาผู้ประกอบการกำลังรอดูนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับพลังงาน อีกทั้งยังมีอยู่ในสต๊อกอีกจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อนโยบายของรัฐบาลประกาศเลิกใช้น้ำมัน 91 และ 95 จะต้องนำมาทดแทนพลังงานและผลิตไบโอดีเซล
"ผู้ประกอบการ เกษตรกรปาล์ม ยังมีอนาคตที่ดีและยาว และในปีนี้มั่นใจว่าราคาปาล์มจะไต่ขึ้นมาอยู่ที่ 7 บาท / กก. คาดว่าประมาณตั้งแต่ตุลาคมนี้ ตอนนี้ปาล์มอยู่ที่ 4 - 5 บาท ถือว่าพ้นขีดเสี่ยงไปแล้ว เพราะต้นทุนการผลิตปาล์มขณะนี้อยู่ประมาณ 2.60 บาท - 3 บาท จากเดิมที่อยู่ที่ 1.60 บาท / กก. ปัจจัยสำคัญ คือราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับ 100 เหรียญต้น ๆ"
นายเทียบจิตต์ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับผลผลิตน้ำมันปาล์มโดยภาพรวมประมาณ 800,000 ตัน / ปี และผลิตปาล์ม กว่า 9 ล้านตัน / ปี และพื้นที่ปลูกปาล์มกว่า 3.6 ล้านไร่ โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณกว่า 10 % /ปี
นายพฤธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ปี 2554 เป็นปีทองของเศรษฐกิจภาคใต้ ทั้งภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม มีการขยายตัวดีตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตปาล์มและยางพารา ขณะเดียวกันราคาสินค้าเกษตรก็เพิ่มขึ้นทุกชนิด ทำให้รายได้ในภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
"ผลผลิตพืชผลเกษตรเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 9.2โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32.1 เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูก และปาล์มน้ำมันในช่วงก่อนหน้าให้ผลผลิตเต็มที่ สัดส่วนต้นปาล์มพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นด้วยร้อยละ 2.5โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม"