ASTVผู้จัดการรายวัน-"พาณิชย์"คาดปีนี้ USTR จะยังคงให้ไทยอยู่ในบัญชี PWL ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 หลังกฎหมายป้องกันการแอบถ่าย ป้องกันละเมิดทางเน็ต และเอาผิดเจ้าของสถานที่ ยังไม่คลอด "ปัจฉิมา"คาดปีหน้าหลุดแน่ เหตุกฎหมายที่ว่าจะออกบังคับใช้ภายในปีนี้ ขณะที่สหรัฐฯ แฉไทยการละเมิดในไทยยังรุนแรง สถานที่ขายขยายวง แถมการละเมิดก็ยังขยายขอบเขตมากขึ้น
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) อยู่ระหว่างทบทวนสถานะประเทศไทยด้านทรัพย์สินทางปัญญา ประจำปี 2555 ตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ที่จะประกาศผลวันที่ 30 เม.ย.2555ว่า สหรัฐฯ จะคงอันดับไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 นับตั้งแต่ปี 2550 แม้ไทยพยายามอย่างหนักในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา-v'สหรัฐฯในไทย โดยเฉพาะความพยายามที่จะออกกฎหมายป้องกันการแอบถ่ายในโรงภาพยนตร์ การแก้ไขพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ให้ครอบคลุมการละเมิดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการเอาผิดเจ้าของสถานที่ที่ปล่อยให้มีการขายสินค้าละเมิด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ
“คาดว่าปีนี้คงต้องอยู่ในบัญชี PWL ต่อ เพราะสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการมากที่สุด ก็คือ การออกกฎหมายป้องกันการแอบถ่าย การป้องกันการละเมิดทางอินเทอร์เน็ต และเอาผิดเจ้าของสถานที่ ซึ่งกฎหมายทั้งหมดยังไม่สำเร็จ แต่น่าจะออกเป็นกฎหมายได้ทันปีนี้ ซึ่งจะทำให้ในปีหน้า ไทยจะเลื่อนสถานะดีขึ้นมาอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (WL) ได้อย่างแน่นอน”นางปัจฉิมากล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า เมื่อต้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา USTR ได้ทำประชาพิจารณ์ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาด้านต่างๆ ของสหรัฐฯ โดยอุตสาหกรรมใหญ่ๆ เช่น สมาพันธ์ทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (IIPA) ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบันเทิง อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ยังคงยืนยันให้ไทยอยู่ในบัญชี PWLต่อไป ร่วมกับอาร์เจนตินา แคนาดา ชิลี จีน คอสตาริกา อินเดีย อินโดนีเซีย รัสเซีย และยูเครน เพราะยังพบว่า มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสหรัฐฯ ในไทยอย่างรุนแรง
ทั้งนี้ USTR ยังได้เผยแพร่รายชื่อสถานที่ที่มีการขายสินค้าละเมิดในไทย (Notorious Markets) ทั้งพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า คลองถม สะพานเหล็ก บ้านหม้อ พัฒน์พงศ์ สีลม มาบุญครอง และถนนสุขุมวิท โดยมีการวางขายสินค้าละเมิดทั้งลิขสิทธิ์เพลง ภาพยนตร์ ซอฟต์แวร์ ในรูปแผ่นซีดี ดีวีดี บลูเลย์ดิสก์ อีกทั้งยังมีการละเมิดผ่านเคเบิลทีวี และสัญญาณดาวเทียม รวมถึงทำเลียนแบบสินค้าแบรนด์เนมดังๆ
นอกจากนี้ ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ เพลง หนังสือ ทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น เพราะไทยมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น อย่างการใช้บรอดแบรนด์ และ 3G ที่ทำให้การโหลดทำได้เร็วขึ้น ที่สำคัญ คนไทยกว่า 18.3 ล้านคน เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้แล้ว ขณะเดียวกัน ยังมีการละเมิดโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์มากขึ้นถึง 100% คิดเป็นมูลค่าเสียหายสูงถึง 72 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2554 อีกทั้งยังมีการละเมิดใหม่ๆ คือ การซื้อขายฮาร์ดดิสก์ และเอ็กซ์เทอร์นอล ฮาร์ดดิสก์ ที่บรรจุภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์กว่า 200 เรื่อง
สำหรับการออกกฎหมายป้องกันการแอบถ่ายในโรงภาพยนตร์ การป้องกันการละเมิดบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการออกกฎหมายเอาผิดกับเจ้าของสถานที่นั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการปราบปรามการละเมิดอย่างจริงจัง ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ยังมีการยอมความเมื่อจับกุมผู้กระทำความผิดได้ จึงทำให้การละเมิดยังรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่สมาคมผู้ผลิตและวิจัยยาแห่งสหรัฐอเมริกา (PhaRMA) ยืนยันเช่นกันที่จะให้ไทยอยู่ในบัญชี PWL ต่อ เพราะยังกังวลเรื่องมาตรการบังคับใช้สิทธิ (CL) ด้วยการผลิต ซื้อ หรือเสนอขายผลิตภัณฑ์ยาที่ได้สิทธิบัตร โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิ์ อีกทั้งการปกป้องข้อมูลเกี่ยวกับยา และการปกป้องสิทธิบัตรยายังไม่ดีพอ การบังคับใช้กฎหมายยังไม่ดีพอเช่นกัน รวมถึงยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงตลาดยาของไทย โดยเฉพาะการกำหนดบัญชียาหลักทำอย่างไม่โปร่งใส ทำให้ยาที่จำเป็นหลายตัวไม่ถูกจัดอยู่ในบัญชีนี้ อีกทั้งยังมีองค์กรเภสัชกรรม ผู้ผลิตยาในประเทศ ที่ผูกขาดการขายยา ส่วนเรื่องการปราบปรามการละเมิดนั้น แม้ไทยจะมีความก้าวหน้าในด้านนี้ แต่ต้องการให้ไทยกวาดล้างโรงงานผลิตยาเถื่อน และการขายยาเถื่อนด้วย
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) อยู่ระหว่างทบทวนสถานะประเทศไทยด้านทรัพย์สินทางปัญญา ประจำปี 2555 ตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ที่จะประกาศผลวันที่ 30 เม.ย.2555ว่า สหรัฐฯ จะคงอันดับไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 นับตั้งแต่ปี 2550 แม้ไทยพยายามอย่างหนักในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา-v'สหรัฐฯในไทย โดยเฉพาะความพยายามที่จะออกกฎหมายป้องกันการแอบถ่ายในโรงภาพยนตร์ การแก้ไขพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ให้ครอบคลุมการละเมิดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการเอาผิดเจ้าของสถานที่ที่ปล่อยให้มีการขายสินค้าละเมิด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ
“คาดว่าปีนี้คงต้องอยู่ในบัญชี PWL ต่อ เพราะสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการมากที่สุด ก็คือ การออกกฎหมายป้องกันการแอบถ่าย การป้องกันการละเมิดทางอินเทอร์เน็ต และเอาผิดเจ้าของสถานที่ ซึ่งกฎหมายทั้งหมดยังไม่สำเร็จ แต่น่าจะออกเป็นกฎหมายได้ทันปีนี้ ซึ่งจะทำให้ในปีหน้า ไทยจะเลื่อนสถานะดีขึ้นมาอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (WL) ได้อย่างแน่นอน”นางปัจฉิมากล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า เมื่อต้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา USTR ได้ทำประชาพิจารณ์ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาด้านต่างๆ ของสหรัฐฯ โดยอุตสาหกรรมใหญ่ๆ เช่น สมาพันธ์ทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (IIPA) ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบันเทิง อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ยังคงยืนยันให้ไทยอยู่ในบัญชี PWLต่อไป ร่วมกับอาร์เจนตินา แคนาดา ชิลี จีน คอสตาริกา อินเดีย อินโดนีเซีย รัสเซีย และยูเครน เพราะยังพบว่า มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสหรัฐฯ ในไทยอย่างรุนแรง
ทั้งนี้ USTR ยังได้เผยแพร่รายชื่อสถานที่ที่มีการขายสินค้าละเมิดในไทย (Notorious Markets) ทั้งพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า คลองถม สะพานเหล็ก บ้านหม้อ พัฒน์พงศ์ สีลม มาบุญครอง และถนนสุขุมวิท โดยมีการวางขายสินค้าละเมิดทั้งลิขสิทธิ์เพลง ภาพยนตร์ ซอฟต์แวร์ ในรูปแผ่นซีดี ดีวีดี บลูเลย์ดิสก์ อีกทั้งยังมีการละเมิดผ่านเคเบิลทีวี และสัญญาณดาวเทียม รวมถึงทำเลียนแบบสินค้าแบรนด์เนมดังๆ
นอกจากนี้ ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ เพลง หนังสือ ทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น เพราะไทยมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น อย่างการใช้บรอดแบรนด์ และ 3G ที่ทำให้การโหลดทำได้เร็วขึ้น ที่สำคัญ คนไทยกว่า 18.3 ล้านคน เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้แล้ว ขณะเดียวกัน ยังมีการละเมิดโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์มากขึ้นถึง 100% คิดเป็นมูลค่าเสียหายสูงถึง 72 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2554 อีกทั้งยังมีการละเมิดใหม่ๆ คือ การซื้อขายฮาร์ดดิสก์ และเอ็กซ์เทอร์นอล ฮาร์ดดิสก์ ที่บรรจุภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์กว่า 200 เรื่อง
สำหรับการออกกฎหมายป้องกันการแอบถ่ายในโรงภาพยนตร์ การป้องกันการละเมิดบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการออกกฎหมายเอาผิดกับเจ้าของสถานที่นั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการปราบปรามการละเมิดอย่างจริงจัง ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ยังมีการยอมความเมื่อจับกุมผู้กระทำความผิดได้ จึงทำให้การละเมิดยังรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่สมาคมผู้ผลิตและวิจัยยาแห่งสหรัฐอเมริกา (PhaRMA) ยืนยันเช่นกันที่จะให้ไทยอยู่ในบัญชี PWL ต่อ เพราะยังกังวลเรื่องมาตรการบังคับใช้สิทธิ (CL) ด้วยการผลิต ซื้อ หรือเสนอขายผลิตภัณฑ์ยาที่ได้สิทธิบัตร โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิ์ อีกทั้งการปกป้องข้อมูลเกี่ยวกับยา และการปกป้องสิทธิบัตรยายังไม่ดีพอ การบังคับใช้กฎหมายยังไม่ดีพอเช่นกัน รวมถึงยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงตลาดยาของไทย โดยเฉพาะการกำหนดบัญชียาหลักทำอย่างไม่โปร่งใส ทำให้ยาที่จำเป็นหลายตัวไม่ถูกจัดอยู่ในบัญชีนี้ อีกทั้งยังมีองค์กรเภสัชกรรม ผู้ผลิตยาในประเทศ ที่ผูกขาดการขายยา ส่วนเรื่องการปราบปรามการละเมิดนั้น แม้ไทยจะมีความก้าวหน้าในด้านนี้ แต่ต้องการให้ไทยกวาดล้างโรงงานผลิตยาเถื่อน และการขายยาเถื่อนด้วย