อย.จับอีก ยาฟิลเลอร์ ลดริ้วรอยเถื่อน แอบปลอมยี่ห้อดังจาก สวิตซ์ฯ เตือนสุภาพสตรีที่หลองเชื่อหลงเชื่อ หลงฉีดครั้งละ 1 หมื่นบาท อาจติดเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลหน้าเละ
วันนี้ ( 17 ส.ค.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) พร้อมด้วย พล.ต.ต.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผู้บังคับการปราบปราบการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ผบก.ปคบ.) แถลงข่าวเรื่องการจับยาฟิลลเลอร์ (Filler) ยาฉีดลดริ้วรอยผิดกฎหมายพร้อมด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวมูลค่าของกลางกว่า 7 แสนบาท
โดย นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า จากการที่ อย.และ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ ตรวจค้น “ทองหล่อ คลินิก” เลขที่ 158/1 อาคารอเนกวานิช สุขุมวิท 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม.เมื่อวันที่ 10 ส.ค.นั้น พบผลิตภัณฑ์ยาฉีดฟิลเลอร์ ยี่ห้อ ทีโอไซอัล(TEOSYAL) ซึ่งเป็นยาฉีดรักษาริ้วรอยบนใบหน้า พร้อมยาฉีดอื่นๆที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับอย.อีกหลายรายการ โดยผลการตรวจอบเป็นยาฉีดดังกล่าว นั้นพบว่า ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาดังนั้นถือเป็นยาเถื่อนที่ผิดกฎหมาย เสี่ยงที่จะเป็นยาปลอม เนื่องจากไม่มีผู้รับรองและตรวจสอบว่ายาที่มีการแอบอ้างและบรรจุอยู่ในกล่อง ของยี่ห้อนี้นั้นเป็นยาจริงหรือไม่ เพราะยาฉีดฟิลเลอร์ยี่ห้อนี้ไม่มีการขึ้นทะเบียนกับอย. นอกจากนี้ ยังพบเครื่องสำอางบำรุงผิวที่ไม่มีฉลากภาษาไทย มีความผิดในข้อหา ขายเครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย อาทิ ยาฉีดกลูตาไธโอน ยาฉีดรกแกะ ยาฉีดโบท็อกซ์ ฯลฯ
นพ.พิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า ยาฟิลเลอร์ยี่ห้อดังกล่าวนั้นของจริงผลิตในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งนิยมใช้มากในประเทศไทย ดังนั้นจึงมักพบแอบนำเข้มาบ่อยๆ แต่กรณีของยาเถื่อนที่ผิดกฎหมายนั้นยังไม่ทราบว่า มีแหล่งผลิตที่ใด และพิสูจน์ยังไม่ได้ว่า เป็นตัวยาเป็นจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตามสำหรับอัตราค่าบริการฉีดแต่ละครั้งนั้นตกราคากล่องละ 1 กล่องละ 1 หมื่นบาท ซึ่งกรณียาปลอมนั้นเป็นอันตรายมาก อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย แล้วส่งผลต่อการอักเสบ ผิวหน้าผิดปกติ ทั้งนี้สำหรับยาฟิลเลอร์ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องกับอย.ปัจจุบันมี 12 ยี่ห้อ จาก 3 บริษัทผู้นำเข้าโดยตรงจากสวิตซ์เซอร์แลนด์ อย่าง ไรก็ตาม สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทย์ผิวหนัง แพทย์ศัลยกรรม แพทย์ด้านความงาม จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด หากมีการลักลอบนำเข้าหรือจำหน่ายยาฉีดที่ไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับยา ตามกฎหมาย จะถูกดำเนินคดี มีโทษทั้งจำและปรับ กรณีแพทย์เป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย จะถูกร้องเรียนไปยังแพทยสภาให้ดำเนินการเอาผิด ทางจรรยาบรรณแพทย์ต่อไป
“ทั้ง นี้หากจำเป็นต้องการที่จะใช้ยาฉีด โดยเฉพาะการรักษาริ้วรอยร่องลึกบนใบหน้า การเสริมปากให้แลดูอวบอิ่ม การเสริมจมูก การทำให้หน้าขาว ใส เด้ง ควร คำนึงถึงความปลอดภัยให้มากที่สุดโดยควรเลือกฉีดในคลินิกที่มีแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญประจำอยู่ สอบถามและขอดูตัวยาด้วยว่าได้รับอนุญาตจาก อย.หรือไม่” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
ขณะที่ พล.ต.ต. พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผบก.ปคบ. กล่าวว่า สำหรับการตั้งข้อหาแก่ผู้กระทำผิดนั้น ดำเนินคดีใน 2 ข้อหา คือ 1. ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ2.ขายเครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ