รัฐบาลกำลังสร้างความสับสนให้กับสังคมไทยในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะมาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมือง และที่เป็นเรื่องวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักถึงความเหมาะสม คือ การที่รัฐบาลมีมติ ครม.อนุมัติเงินกว่า 2 พันล้านบาท เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมของคนเสื้อแดง และให้ครอบคลุมถึงประชาชนทุกกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ สื่อมวลชนและภาคเอกชนตลอดจนครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง ตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 จนกระทั่งเกิดหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 โดยมีหลักเกณฑ์การจ่ายเงินชดเชยลดหลั่นกันไปในแต่ละกรณี ดังนี้
● เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต อัตรา 4,500,000 บาทต่อราย โดยคำนวณตามฐานข้อมูลรายได้เฉลี่ยประจำต่อคนต่อเดือนตามสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทย (GDP per capita) ของปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 150,177 บาท ชดเชยค่าเสียโอกาสให้กับทุกครอบครัวในอัตราเดียวกันเป็นเวลา 30 ปี ประมาณว่าผู้เสียชีวิตอายุเฉลี่ยที่ 35 ปี จะมีโอกาสทำงานจนถึงอายุ 65 ปี จึงเท่ากับขาดโอกาสทำงานไป 30 ปี
● เงินช่วยเหลือค่าปลงศพ 250,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ 4,500,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะสำคัญ 3,600,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะไม่สำคัญ 1,800,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีได้รับบาดเจ็บแบบไม่สูญเสียอวัยวะแต่อาการสาหัส 1,125,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีได้รับบาดเจ็บไม่สาหัส 675,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีบาดเจ็บเล็กน้อย 225,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีบาดเจ็บเล็กน้อย 225,000 บาทต่อราย
● เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลจะได้รับเงินช่วยเหลือลดหลั่นกันไป แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยเยียวยาความสูญเสียทางด้านจิตใจกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ 3,000,000 บาทต่อราย
● กรณีศาลมีคำสั่ง/คำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง และได้ถูกควบคุมหรือคุมขังก่อนศาลมีคำสั่ง/คำพิพากษา จะได้รับเงินชดเชยตั้งแต่ 750,000 - 1,500,000 บาทต่อราย
● กรณีศาลมีคำสั่ง/คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แต่ถูกควบคุมหรือคุมขังเกินกว่าระยะเวลา จะได้รับเงินชดเชยตั้งแต่ 500,000 - 1,000,000 บาทต่อราย
ทั้งนี้รัฐบาลมักจะอ้างข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ซึ่งมี อ.คณิต ณ นคร เป็นประธาน ทำให้ผู้คนในสังคมจำนวนมากคลางแคลงใจต่อ อ.คณิต และคณะกรรมการชุดดังกล่าว แม้จะออกมาชี้แจงว่าข้อเสนอการเยียวยานั้น ไม่ได้ระบุถึงเรื่องจำนวนเงิน และยังมีการเยียวยาด้านอื่นๆ อีก แต่ก็ดูไม่มีน้ำหนักอะไร รัฐบาลก็ยังคงเดินหน้าทำตามคำบัญชาของทักษิณ ชินวัตร ที่สั่งให้จ่ายเงินให้เสร็จภายใน 3 เดือน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 30 บัญญัติไว้ว่า
บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและ เสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
การที่รัฐออกมาตรการพิเศษโดยใช้มติ ครม.และข้ออ้างตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญวรรคสี่ โดยไม่คำนึงถึงบทบัญญัติในวรรคที่หนึ่งตามมาตราเดียวกันนี้ ย่อมเป็นการละเว้นและไม่ใส่ใจต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญทั้งมาตรา
ข้ออ้างของรัฐบาลในการเยียวยาโดยมีมูลค่าของชีวิตสูงสุดเท่าที่เคยมีมาในสังคมไทย คือ ผู้เสียชีวิตจะได้รับเงินเยียวยารวมทั้งสิ้นราว 7.5 ล้านบาทต่อราย ซึ่งมากกว่ามูลค่าของลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 ซึ่งมีมูลค่าเพียงฉบับละ 2 ล้านบาท ผู้พิการทุพพลภาพและบาดเจ็บเล็กน้อยก็ได้ลดหลั่นกันลงมา พ่อของผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่ยิงจนเสียชีวิตหน้าบ้านมนังคศิลาสมควรได้รับเงินเยียวยาหรือไม่ เหตุการณ์ 7 ตุลา พฤษภาทมิฬ ตุลา 2519 และ 14 ตุลา 2516 แม้กระทั่ง 2 พันศพจากคดีฆ่าตัดตอน และ 4 พันศพจากเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้นั้น เป็นมนุษย์เสมอกันหรือไม่
เมื่อผู้ที่มาชุมนุมก่อเหตุจลาจลวุ่นวาย มีการเผาบ้านเผาเมืองจนวินาศสันตะโร ในต่างจังหวัดหลายแห่งมีผู้บุกเข้าไปเผาศาลากลางตามคำบัญชาของแกนนำซึ่งมีหลักฐานชัดเจน ทั้งภาพถ่าย วิดีโอ และคำพูด มีการยุยงให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมเอาน้ำมันใส่ขวดมาและการที่แกนนำผู้ชุมนุมประกาศว่า “เผาเลย ผมรับผิดชอบเอง” ซึ่งปัจจุบันแกนนำผู้นั้นกลายมาเป็นรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล
วันนี้ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายเผาบ้านชิงเมืองเข้ามามีอำนาจรัฐทั้งด้านบริหารและนิติบัญญัติ และกระทำการโดยไม่คำนึงถึงหลักการตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ตลอดจนกำลังจะก้าวล่วงเข้าไปล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อร่างใหม่ให้เป็นไปตามความต้องการของตนเองที่มีธงอยู่ในใจแล้ว จึงเป็นการท้าทายต่อประชาชนและสังคมไทยอย่างมาก
ผู้ก่อการร้ายกลายเป็นผู้ก่อการดีและได้รับปูนบำเหน็จ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ทั้งทหารและตำรวจเป็นผู้กระทำผิดและอาจตกเป็นผู้ต้องหาฆ่าคนตาย ทั้งที่ทหารบางนายยืนยันว่าเขายิงคนที่กำลังวางเพลิงและขว้างระเบิดเพลิงใส่พวกเขา แต่ที่ไม่กล้าให้ปากคำเพราะจะทำให้กลายเป็นผู้ต้องหา ในเมื่อคนวางเพลิงเผาบ้านเมืองกลายเป็นวีรบุรุษ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถหาหลักฐานในการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์จลาจลภายใต้การประกาศกฎหมาย พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้
ชายชุดดำที่มีปืนเอ็ม16 ยิงทหารและชาวบ้านบางรายจนเสียชีวิต บางคนถูกเจ้าหน้าที่ยิงบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ถูกถอดหมวก ถอดเสื้อออกให้ดูเป็นชาวบ้านธรรมดาที่เข้าร่วมชุมนุมและถูกเจ้าหน้าที่ทำร้าย ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการพิสูจน์หลักฐานทางคดีให้เป็นที่สิ้นสุด แต่รัฐบาลกลับทำตัวเป็นศาลยุติธรรม ชี้ถูกชี้ผิดเสียเองเช่นนี้ เท่ากับรวบอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และตุลาการเข้าไว้ในมือตน
ผมถูกละเมิดรัฐธรรมนูญโดยการกระทำของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แอบตรวจสอบบัญชีธนาคารของผมโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ยังต้องใช้เวลาฟ้องศาลปกครองเพื่อหาความเป็นธรรมเป็นเวลาถึง 8 ปีกว่าจะมีคำสั่งศาลให้ได้รับเงินชดเชยค่าเสียหายเพียงแค่ 1 หมื่นบาทเป็นค่าสูญเสียเกียรติยศชื่อเสียง จากการถูกกล่าวหาว่าขายชาติ รับเงินต่างชาติเพื่อบ่อนทำลายประเทศ ยามชนะคดีแทบไม่มีข่าวที่ไหนลงให้ แต่อย่างน้อยผมก็ได้รับความเป็นธรรมโดยศาลอ้างเจ้าหน้าที่รัฐ พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ กระทำการละเมิดรัฐธรรมนูญในมาตราว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ
อีกกรณีจากการคัดค้านการตั้งโรงงานแยกก๊าซธรรมชาติใน อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งมีการชุมชุมกันที่ อ.หาดใหญ่ ในขณะที่ทักษิณ ชินวัตร ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมทำให้มีผู้บาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งภายหลังประชาชนที่เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของตนเอง และยอมรับในกระบวนการยุติธรรมก็ได้รับเงินชดเชยจากรัฐรายละ 1 หมื่นบาทเศษโดยคำสั่งศาลปกครองเช่นเดียวกัน
หากเราไม่ยึดหลักนิติรัฐและนิติธรรมในการปกครองบ้านเมืองก็จะกลายเป็นว่า ใครมีอำนาจรัฐก็สามารถทำอะไรก็ได้ โดยอ้างแค่การชนะเลือกตั้ง มีเสียงข้างมากในสภา ไม่นำพาต่อความรู้สึกของผู้คนในสังคม เคยมีคดีภรรยาวางแผนฆ่าสามีเพื่อหวังเอาเงินประกันไม่กี่ล้านบาท
ต่อไปใครจะรับรองได้ว่าครั้งต่อไปหากมีการชุมนุมเกิดขึ้น จะมีพ่อ แม่ สามี ภรรยา ลูก หรือเพื่อนของใครจะไม่ตกเป็นเหยื่อจากการฆาตกรรมเพื่อสังเวยการเมืองหรือเพื่อผลประโยชน์อื่นๆ เมื่อชีวิตมีราคาเช่นนี้
● เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต อัตรา 4,500,000 บาทต่อราย โดยคำนวณตามฐานข้อมูลรายได้เฉลี่ยประจำต่อคนต่อเดือนตามสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทย (GDP per capita) ของปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 150,177 บาท ชดเชยค่าเสียโอกาสให้กับทุกครอบครัวในอัตราเดียวกันเป็นเวลา 30 ปี ประมาณว่าผู้เสียชีวิตอายุเฉลี่ยที่ 35 ปี จะมีโอกาสทำงานจนถึงอายุ 65 ปี จึงเท่ากับขาดโอกาสทำงานไป 30 ปี
● เงินช่วยเหลือค่าปลงศพ 250,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ 4,500,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะสำคัญ 3,600,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะไม่สำคัญ 1,800,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีได้รับบาดเจ็บแบบไม่สูญเสียอวัยวะแต่อาการสาหัส 1,125,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีได้รับบาดเจ็บไม่สาหัส 675,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีบาดเจ็บเล็กน้อย 225,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยกรณีบาดเจ็บเล็กน้อย 225,000 บาทต่อราย
● เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลจะได้รับเงินช่วยเหลือลดหลั่นกันไป แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย
● เงินชดเชยเยียวยาความสูญเสียทางด้านจิตใจกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ 3,000,000 บาทต่อราย
● กรณีศาลมีคำสั่ง/คำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง และได้ถูกควบคุมหรือคุมขังก่อนศาลมีคำสั่ง/คำพิพากษา จะได้รับเงินชดเชยตั้งแต่ 750,000 - 1,500,000 บาทต่อราย
● กรณีศาลมีคำสั่ง/คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แต่ถูกควบคุมหรือคุมขังเกินกว่าระยะเวลา จะได้รับเงินชดเชยตั้งแต่ 500,000 - 1,000,000 บาทต่อราย
ทั้งนี้รัฐบาลมักจะอ้างข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ซึ่งมี อ.คณิต ณ นคร เป็นประธาน ทำให้ผู้คนในสังคมจำนวนมากคลางแคลงใจต่อ อ.คณิต และคณะกรรมการชุดดังกล่าว แม้จะออกมาชี้แจงว่าข้อเสนอการเยียวยานั้น ไม่ได้ระบุถึงเรื่องจำนวนเงิน และยังมีการเยียวยาด้านอื่นๆ อีก แต่ก็ดูไม่มีน้ำหนักอะไร รัฐบาลก็ยังคงเดินหน้าทำตามคำบัญชาของทักษิณ ชินวัตร ที่สั่งให้จ่ายเงินให้เสร็จภายใน 3 เดือน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 30 บัญญัติไว้ว่า
บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและ เสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
การที่รัฐออกมาตรการพิเศษโดยใช้มติ ครม.และข้ออ้างตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญวรรคสี่ โดยไม่คำนึงถึงบทบัญญัติในวรรคที่หนึ่งตามมาตราเดียวกันนี้ ย่อมเป็นการละเว้นและไม่ใส่ใจต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญทั้งมาตรา
ข้ออ้างของรัฐบาลในการเยียวยาโดยมีมูลค่าของชีวิตสูงสุดเท่าที่เคยมีมาในสังคมไทย คือ ผู้เสียชีวิตจะได้รับเงินเยียวยารวมทั้งสิ้นราว 7.5 ล้านบาทต่อราย ซึ่งมากกว่ามูลค่าของลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 ซึ่งมีมูลค่าเพียงฉบับละ 2 ล้านบาท ผู้พิการทุพพลภาพและบาดเจ็บเล็กน้อยก็ได้ลดหลั่นกันลงมา พ่อของผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่ยิงจนเสียชีวิตหน้าบ้านมนังคศิลาสมควรได้รับเงินเยียวยาหรือไม่ เหตุการณ์ 7 ตุลา พฤษภาทมิฬ ตุลา 2519 และ 14 ตุลา 2516 แม้กระทั่ง 2 พันศพจากคดีฆ่าตัดตอน และ 4 พันศพจากเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้นั้น เป็นมนุษย์เสมอกันหรือไม่
เมื่อผู้ที่มาชุมนุมก่อเหตุจลาจลวุ่นวาย มีการเผาบ้านเผาเมืองจนวินาศสันตะโร ในต่างจังหวัดหลายแห่งมีผู้บุกเข้าไปเผาศาลากลางตามคำบัญชาของแกนนำซึ่งมีหลักฐานชัดเจน ทั้งภาพถ่าย วิดีโอ และคำพูด มีการยุยงให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมเอาน้ำมันใส่ขวดมาและการที่แกนนำผู้ชุมนุมประกาศว่า “เผาเลย ผมรับผิดชอบเอง” ซึ่งปัจจุบันแกนนำผู้นั้นกลายมาเป็นรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล
วันนี้ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายเผาบ้านชิงเมืองเข้ามามีอำนาจรัฐทั้งด้านบริหารและนิติบัญญัติ และกระทำการโดยไม่คำนึงถึงหลักการตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ตลอดจนกำลังจะก้าวล่วงเข้าไปล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อร่างใหม่ให้เป็นไปตามความต้องการของตนเองที่มีธงอยู่ในใจแล้ว จึงเป็นการท้าทายต่อประชาชนและสังคมไทยอย่างมาก
ผู้ก่อการร้ายกลายเป็นผู้ก่อการดีและได้รับปูนบำเหน็จ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ทั้งทหารและตำรวจเป็นผู้กระทำผิดและอาจตกเป็นผู้ต้องหาฆ่าคนตาย ทั้งที่ทหารบางนายยืนยันว่าเขายิงคนที่กำลังวางเพลิงและขว้างระเบิดเพลิงใส่พวกเขา แต่ที่ไม่กล้าให้ปากคำเพราะจะทำให้กลายเป็นผู้ต้องหา ในเมื่อคนวางเพลิงเผาบ้านเมืองกลายเป็นวีรบุรุษ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถหาหลักฐานในการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์จลาจลภายใต้การประกาศกฎหมาย พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้
ชายชุดดำที่มีปืนเอ็ม16 ยิงทหารและชาวบ้านบางรายจนเสียชีวิต บางคนถูกเจ้าหน้าที่ยิงบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ถูกถอดหมวก ถอดเสื้อออกให้ดูเป็นชาวบ้านธรรมดาที่เข้าร่วมชุมนุมและถูกเจ้าหน้าที่ทำร้าย ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการพิสูจน์หลักฐานทางคดีให้เป็นที่สิ้นสุด แต่รัฐบาลกลับทำตัวเป็นศาลยุติธรรม ชี้ถูกชี้ผิดเสียเองเช่นนี้ เท่ากับรวบอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และตุลาการเข้าไว้ในมือตน
ผมถูกละเมิดรัฐธรรมนูญโดยการกระทำของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แอบตรวจสอบบัญชีธนาคารของผมโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ยังต้องใช้เวลาฟ้องศาลปกครองเพื่อหาความเป็นธรรมเป็นเวลาถึง 8 ปีกว่าจะมีคำสั่งศาลให้ได้รับเงินชดเชยค่าเสียหายเพียงแค่ 1 หมื่นบาทเป็นค่าสูญเสียเกียรติยศชื่อเสียง จากการถูกกล่าวหาว่าขายชาติ รับเงินต่างชาติเพื่อบ่อนทำลายประเทศ ยามชนะคดีแทบไม่มีข่าวที่ไหนลงให้ แต่อย่างน้อยผมก็ได้รับความเป็นธรรมโดยศาลอ้างเจ้าหน้าที่รัฐ พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ กระทำการละเมิดรัฐธรรมนูญในมาตราว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ
อีกกรณีจากการคัดค้านการตั้งโรงงานแยกก๊าซธรรมชาติใน อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งมีการชุมชุมกันที่ อ.หาดใหญ่ ในขณะที่ทักษิณ ชินวัตร ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมทำให้มีผู้บาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งภายหลังประชาชนที่เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของตนเอง และยอมรับในกระบวนการยุติธรรมก็ได้รับเงินชดเชยจากรัฐรายละ 1 หมื่นบาทเศษโดยคำสั่งศาลปกครองเช่นเดียวกัน
หากเราไม่ยึดหลักนิติรัฐและนิติธรรมในการปกครองบ้านเมืองก็จะกลายเป็นว่า ใครมีอำนาจรัฐก็สามารถทำอะไรก็ได้ โดยอ้างแค่การชนะเลือกตั้ง มีเสียงข้างมากในสภา ไม่นำพาต่อความรู้สึกของผู้คนในสังคม เคยมีคดีภรรยาวางแผนฆ่าสามีเพื่อหวังเอาเงินประกันไม่กี่ล้านบาท
ต่อไปใครจะรับรองได้ว่าครั้งต่อไปหากมีการชุมนุมเกิดขึ้น จะมีพ่อ แม่ สามี ภรรยา ลูก หรือเพื่อนของใครจะไม่ตกเป็นเหยื่อจากการฆาตกรรมเพื่อสังเวยการเมืองหรือเพื่อผลประโยชน์อื่นๆ เมื่อชีวิตมีราคาเช่นนี้