เอเอฟพี / รอยเตอร์ - เวิลด์แบงก์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกซึ่งรวมไทยจะเติบโตชะลอตัวลงในปีหน้า โดยที่ปัจจัยหนึ่งมาจากวิกฤตน้ำท่วมในไทยซึ่งกำลังส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก นอกจากนี้ยังพ่วงด้วยปัจจัยที่ประเทศในย่านนี้มีแนวโน้มส่งออกไปยังกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯและยุโรปได้ลดน้อยลง สืบเนื่องจากชาติร่ำรวยเหล่านี้กำลังติดหล่มปัญหาหนี้สาธารณะ และจำเป็นต้องดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดตัดลดรายจ่ายขนานใหญ่
ธนาคารโลกยังเตือนจีน ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคด้วยว่า กำลังเผชิญความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้ในยุโรป อย่างไรก็ตาม ก็เสนอแนะว่า ปักกิ่งมีหนทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด “ฮาร์ด แลนดิ้ง” ได้โดยการผ่อนปรนนโยบายการเงิน
ในรายงานครึ่งปีหลังฉบับปรับปรุงของธนาคารโลก ว่าด้วยภาพรวมเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวเตือนว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้มีแนวโน้มเติบโตชะลอตัวลงในปีหน้า ด้วยปัจจัยบั่นทอนในเรื่องอุปสงค์ที่ลดฮวบลงในตลาดส่งออกสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรปซึ่งต่างกำลังเผชิญกับวิกฤตหนี้สาธารณะ ทั้งนี้เวิลด์แบงก์ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออก ลดลงเป็น 8.2 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ และ 7.8 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2012 หลังจากที่เคยโตได้ถึง 9.7 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2010
“การขยายตัวลดต่ำลงในยุโรปอันสืบเนื่องจากนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาล ตลอดจนการที่ภาคธนาคารจำเป็นจะต้องสำรองเงินสดไว้มากขึ้นนั้น อาจส่งผลกระทบต่ออีสต์ เอเชีย” เบิร์ต โฮฟแมน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกของเวิลด์แบงก์ กล่าวระหว่างการเปิดตัวรายงานฉบับนี้
“การปล่อยสินเชื่อน้อยลงจากธนาคารและสถาบันการเงินในยุโรปยังอาจกระทบกระเทือนต่อการไหลของเงินทุนไปยังเอเชียตะวันออก ด้วย อย่างไรก็ตาม การที่ภูมิภาคแห่งนี้สะสมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไว้สูง ประกอบกับการได้เปรียบดุลบัญชีเดินสะพัด จึงน่าจะสามารถช่วยปกป้องประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคจากผลกระทบวิกฤตการเงินระลอกใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้”
ทั้งนี้ตามข้อมูลของเวิลด์แบงก์นั้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งในที่นี้หมายรวมทั้งจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย, เวียดนาม และกัมพูชา มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ยังไม่รวมทองคำ รวมกันมูลค่าทั้งสิ้น 4.9 ล้านล้านดอลลาร์ โดยที่จีนประเทศเดียวมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากถึง 3.2 ล้านล้านดอลลาร์
ธนาคารโลก ระบุว่า หลายประเทศในภูมิภาคแห่งนี้ซึ่งพึ่งพาการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤตในโลกตะวันตกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์นั้น ล้วนกำลังประสบกับภาวะดีมานด์อ่อนตัวลง
นอกจากนี้ เวิลด์แบงก์ กล่าวเสริมในรายงานด้วยว่า วิกฤตอุทกภัยรุนแรงในหลายประเทศ รวมถึง ประเทศไทย ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะฉุดรั้งให้เศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาคนี้เติบโตชะลอตัวลงตามที่ทำนายเอาไว้ เมื่อบริษัทหลายแห่งในภูมิภาคดังกล่าวยังคงถูกบีบให้ต้องระงับสายการผลิต สืบเนื่องจากห่วงโซ่อุปทานขาดช่วง ตลอดจนขาดแคลนชิ้นส่วนและอะไหล่ป้อนโรงงาน
รายงานระบุว่า หากไม่นับรวมจีนแล้ว อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกคาดว่าจะอยู่ที่ 4.7 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ นับเป็นการปรับลดจากที่ทำนายไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 5.3 เปอร์เซ็นต์
รายงานของเวิลด์แบงก์นี้ยังโฟกัสไปที่จีน โดยเสนอแนะว่า ด้วยสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐที่กำลังซวนเซ ขณะที่ยุโรปเองก็กำลังดิ้นรนต่อสู้กับปัญหาหนี้สิน ดังนั้น จีนซึ่งเวลานี้ผงาดขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ของโลก จึงอยู่ในฐานะที่พอจะเข้าไปอุดรอยโหว่ของอุปสงค์บางอย่างได้
“ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ในจีนที่กำลังเติบโตขึ้น แสดงให้เห็นถึงโอกาสใหม่ที่สำคัญสำหรับบรรดาประเทศผู้ส่งออกในเอเชียตะวันออก หากว่าจีนสามารถขยับขยายตลาดให้โตขึ้นต่อเนื่องจากระดับฐานต่ำสุดที่สัดส่วนเพียงแค่ 2 เปอร์เซ็นต์ของตลาดสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคของโลก” รายงานระบุ
เวิลด์แบงก์ชี้ว่า จีดีพีของพญามังกรจะโต 9.1 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่คาดการณ์ไว้คราวก่อนในเดือนมีนาคม ซึ่งอยู่ที่ระดับ 9.0 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในปี 2012 เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงมาเล็กน้อยเหลือ 8.4 เปอร์เซ็นต์
โฮฟแมน บอกว่า จีนยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตที่ระดับ 9-10 เปอร์เซ็นต์เช่นนี้ต่อไปได้ในอนาคต ทั้งนี้โดยอิงตามพื้นฐานประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ ซึ่งมีจีดีพีเฉลี่ยต่อหัว (per capita gross domestic product) อยู่ที่ระดับ 5,000 ดอลลาร์ อันเป็นระดับที่สูงกว่าของจีนเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม เวิลด์แบงก์เตือนว่า เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญความเสี่ยงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ตลอดจนจากตราสารหนี้ที่รัฐบาลท้องถิ่นจีนถือครองอยู่ กระนั้นก็ดี รัฐบาลจีนมีทางเลือกในการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อให้สามารถแลนดิ้งลงแบบนิ่มนวลได้ โดยการผ่อนปรนความเข้มงวดในนโยบายการเงิน
ธนาคารโลกยังเตือนจีน ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคด้วยว่า กำลังเผชิญความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้ในยุโรป อย่างไรก็ตาม ก็เสนอแนะว่า ปักกิ่งมีหนทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด “ฮาร์ด แลนดิ้ง” ได้โดยการผ่อนปรนนโยบายการเงิน
ในรายงานครึ่งปีหลังฉบับปรับปรุงของธนาคารโลก ว่าด้วยภาพรวมเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวเตือนว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้มีแนวโน้มเติบโตชะลอตัวลงในปีหน้า ด้วยปัจจัยบั่นทอนในเรื่องอุปสงค์ที่ลดฮวบลงในตลาดส่งออกสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรปซึ่งต่างกำลังเผชิญกับวิกฤตหนี้สาธารณะ ทั้งนี้เวิลด์แบงก์ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออก ลดลงเป็น 8.2 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ และ 7.8 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2012 หลังจากที่เคยโตได้ถึง 9.7 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2010
“การขยายตัวลดต่ำลงในยุโรปอันสืบเนื่องจากนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาล ตลอดจนการที่ภาคธนาคารจำเป็นจะต้องสำรองเงินสดไว้มากขึ้นนั้น อาจส่งผลกระทบต่ออีสต์ เอเชีย” เบิร์ต โฮฟแมน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกของเวิลด์แบงก์ กล่าวระหว่างการเปิดตัวรายงานฉบับนี้
“การปล่อยสินเชื่อน้อยลงจากธนาคารและสถาบันการเงินในยุโรปยังอาจกระทบกระเทือนต่อการไหลของเงินทุนไปยังเอเชียตะวันออก ด้วย อย่างไรก็ตาม การที่ภูมิภาคแห่งนี้สะสมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไว้สูง ประกอบกับการได้เปรียบดุลบัญชีเดินสะพัด จึงน่าจะสามารถช่วยปกป้องประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคจากผลกระทบวิกฤตการเงินระลอกใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้”
ทั้งนี้ตามข้อมูลของเวิลด์แบงก์นั้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งในที่นี้หมายรวมทั้งจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย, เวียดนาม และกัมพูชา มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ยังไม่รวมทองคำ รวมกันมูลค่าทั้งสิ้น 4.9 ล้านล้านดอลลาร์ โดยที่จีนประเทศเดียวมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากถึง 3.2 ล้านล้านดอลลาร์
ธนาคารโลก ระบุว่า หลายประเทศในภูมิภาคแห่งนี้ซึ่งพึ่งพาการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤตในโลกตะวันตกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์นั้น ล้วนกำลังประสบกับภาวะดีมานด์อ่อนตัวลง
นอกจากนี้ เวิลด์แบงก์ กล่าวเสริมในรายงานด้วยว่า วิกฤตอุทกภัยรุนแรงในหลายประเทศ รวมถึง ประเทศไทย ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะฉุดรั้งให้เศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาคนี้เติบโตชะลอตัวลงตามที่ทำนายเอาไว้ เมื่อบริษัทหลายแห่งในภูมิภาคดังกล่าวยังคงถูกบีบให้ต้องระงับสายการผลิต สืบเนื่องจากห่วงโซ่อุปทานขาดช่วง ตลอดจนขาดแคลนชิ้นส่วนและอะไหล่ป้อนโรงงาน
รายงานระบุว่า หากไม่นับรวมจีนแล้ว อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกคาดว่าจะอยู่ที่ 4.7 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ นับเป็นการปรับลดจากที่ทำนายไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 5.3 เปอร์เซ็นต์
รายงานของเวิลด์แบงก์นี้ยังโฟกัสไปที่จีน โดยเสนอแนะว่า ด้วยสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐที่กำลังซวนเซ ขณะที่ยุโรปเองก็กำลังดิ้นรนต่อสู้กับปัญหาหนี้สิน ดังนั้น จีนซึ่งเวลานี้ผงาดขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ของโลก จึงอยู่ในฐานะที่พอจะเข้าไปอุดรอยโหว่ของอุปสงค์บางอย่างได้
“ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ในจีนที่กำลังเติบโตขึ้น แสดงให้เห็นถึงโอกาสใหม่ที่สำคัญสำหรับบรรดาประเทศผู้ส่งออกในเอเชียตะวันออก หากว่าจีนสามารถขยับขยายตลาดให้โตขึ้นต่อเนื่องจากระดับฐานต่ำสุดที่สัดส่วนเพียงแค่ 2 เปอร์เซ็นต์ของตลาดสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคของโลก” รายงานระบุ
เวิลด์แบงก์ชี้ว่า จีดีพีของพญามังกรจะโต 9.1 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่คาดการณ์ไว้คราวก่อนในเดือนมีนาคม ซึ่งอยู่ที่ระดับ 9.0 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในปี 2012 เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงมาเล็กน้อยเหลือ 8.4 เปอร์เซ็นต์
โฮฟแมน บอกว่า จีนยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตที่ระดับ 9-10 เปอร์เซ็นต์เช่นนี้ต่อไปได้ในอนาคต ทั้งนี้โดยอิงตามพื้นฐานประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ ซึ่งมีจีดีพีเฉลี่ยต่อหัว (per capita gross domestic product) อยู่ที่ระดับ 5,000 ดอลลาร์ อันเป็นระดับที่สูงกว่าของจีนเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม เวิลด์แบงก์เตือนว่า เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญความเสี่ยงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ตลอดจนจากตราสารหนี้ที่รัฐบาลท้องถิ่นจีนถือครองอยู่ กระนั้นก็ดี รัฐบาลจีนมีทางเลือกในการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อให้สามารถแลนดิ้งลงแบบนิ่มนวลได้ โดยการผ่อนปรนความเข้มงวดในนโยบายการเงิน