วานนี้ ( 9 มี.ค.) นายธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการด้านกิจการพรรคการเมือง กกต. กล่าวว่า ในการประชุม กกต.เมื่อวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้เพิกถอนสิทธิการสรรหาของ นายสัก กอแสงเรือง ส.ว.สรรหา ตามที่สภาทนายความ ได้เสนอชื่อเข้ารับการสรรหา และ กกต.มีมติเสียงข้างมาก ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี พร้อมดำเนินคดีอาญากับนายสัก และสภาทนายความ โดย กกต.จะจัดทำคำวินิจฉัยส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายสัก ต่อไป
โดยกระบวนการจัดทำคำวินิจฉัย คาดว่า กกต.จะส่งให้ศาลฎีกาฯ ได้ภายในต้นเดือนเม.ย.นี้ ทั้งนี้เมื่อศาลฎีกาฯ รับคำร้องของกกต.แล้ว ก็จะมีผลให้นายสัก ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ว.จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
นายธนิศร์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าว กกต.ได้พิจารณาตามคำร้องคัดค้านการสรรหาส.ว.ของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้เข้ารับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา ส.ว. ที่ร้องคัดค้านว่า นายสัก มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 115 (9) เนื่องจากนายสัก ยังพ้นจากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยังไม่เกิน 5 ปี โดยกรณีของนายสักนั้น เคยได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ว.ครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 เมื่อวันที่ 4 มี.ค.43 โดยบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 315 วรรคหน้า กำหนดให้ ส.ว. ที่ได้รับการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 4 มี.ค.43 จะต้องเข้าดำรงตำแหน่งส.ว. เมื่อส.ว.ชุดเดิม ชุดตามรัฐธรรมนูญปี 2534 อยู่ครบวาระก่อน ซึ่ง ส.ว.ชุดเดิมที่มาจากการแต่งตั้ง เมื่อปี 2534 จะครบวาระ ในวันที่ 21 มี.ค.43 ดังนั้น ส.ว.เลือกตั้ง ปี 2543 จึงเข้ารับตำแหน่ง ในวันที่ 22 มี.ค.43 เป็นต้นมา โดย ส.ว.จะมีวาระอยู่ 6 ปี ซึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค.43 - 21 มี.ค.49 แต่สภาทนายความ ซึ่งเป็นองค์กรที่เสนอชื่อนายสัก เข้ารับการสรรหาส.ว. เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 54 ดังนั้น คุณสมบัติของนายสัก จึงพ้นจากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือพ้นจาก ส.ว.ชุดเลือกตั้งปี 2543 มายังไม่ถึง 5 ปี จนถึงวันได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา
นายธนิศร์ กล่าวว่า ในการประชุมเพื่อพิจารณาคุณสมบัติของนายสักนั้น นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย เพราะมีส่วนได้เสีย ในฐานะเป็นกรรมการสรรหา ส.ว. ทั้งนี้ สำนักงานกกต. มีหน้าที่ทางธุรการในการเปิดรับให้มีการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา ตามรัฐธรรมนูญ ส่วนการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติการการสรรหา เป็นหน้าที่ของกรรมการสรรหาส.ว.ทั้งหมด และยังไปไม่ถึงขั้นที่จะพูดว่า กรรมการสรรหาส.ว. จะมีความผิดหรือไม่
ทั้งนี้ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายสัก ก็เหมือนกับการให้ใบแดง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งส.ส. ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้แล้ว
ด้านนายสัก กอแสงเรือง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ในเรื่องการต่อสู้ทางคดีนั้น ยังไม่ขอแสดงความคิดเห็น แต่เรื่องข้อเท็จจริง ได้พูดมาหลายครั้งแล้ว ซึ่งตนมั่นใจว่าทำสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งในส่วนของการพิจารณาคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม ยืนยันไม่มีปัญหาใดๆ เพราะกว่าจะได้รับเลือก ผ่านการพิจารณามาแล้วหลายขั้นตอน หากประเด็นนี้มีการพิจารณา เชื่อว่าจะเป็นไปโดยยึดข้อเท็จจริง
โดยกระบวนการจัดทำคำวินิจฉัย คาดว่า กกต.จะส่งให้ศาลฎีกาฯ ได้ภายในต้นเดือนเม.ย.นี้ ทั้งนี้เมื่อศาลฎีกาฯ รับคำร้องของกกต.แล้ว ก็จะมีผลให้นายสัก ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ว.จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
นายธนิศร์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าว กกต.ได้พิจารณาตามคำร้องคัดค้านการสรรหาส.ว.ของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้เข้ารับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา ส.ว. ที่ร้องคัดค้านว่า นายสัก มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 115 (9) เนื่องจากนายสัก ยังพ้นจากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยังไม่เกิน 5 ปี โดยกรณีของนายสักนั้น เคยได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ว.ครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 เมื่อวันที่ 4 มี.ค.43 โดยบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 315 วรรคหน้า กำหนดให้ ส.ว. ที่ได้รับการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 4 มี.ค.43 จะต้องเข้าดำรงตำแหน่งส.ว. เมื่อส.ว.ชุดเดิม ชุดตามรัฐธรรมนูญปี 2534 อยู่ครบวาระก่อน ซึ่ง ส.ว.ชุดเดิมที่มาจากการแต่งตั้ง เมื่อปี 2534 จะครบวาระ ในวันที่ 21 มี.ค.43 ดังนั้น ส.ว.เลือกตั้ง ปี 2543 จึงเข้ารับตำแหน่ง ในวันที่ 22 มี.ค.43 เป็นต้นมา โดย ส.ว.จะมีวาระอยู่ 6 ปี ซึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค.43 - 21 มี.ค.49 แต่สภาทนายความ ซึ่งเป็นองค์กรที่เสนอชื่อนายสัก เข้ารับการสรรหาส.ว. เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 54 ดังนั้น คุณสมบัติของนายสัก จึงพ้นจากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือพ้นจาก ส.ว.ชุดเลือกตั้งปี 2543 มายังไม่ถึง 5 ปี จนถึงวันได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา
นายธนิศร์ กล่าวว่า ในการประชุมเพื่อพิจารณาคุณสมบัติของนายสักนั้น นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย เพราะมีส่วนได้เสีย ในฐานะเป็นกรรมการสรรหา ส.ว. ทั้งนี้ สำนักงานกกต. มีหน้าที่ทางธุรการในการเปิดรับให้มีการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา ตามรัฐธรรมนูญ ส่วนการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติการการสรรหา เป็นหน้าที่ของกรรมการสรรหาส.ว.ทั้งหมด และยังไปไม่ถึงขั้นที่จะพูดว่า กรรมการสรรหาส.ว. จะมีความผิดหรือไม่
ทั้งนี้ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายสัก ก็เหมือนกับการให้ใบแดง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งส.ส. ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้แล้ว
ด้านนายสัก กอแสงเรือง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ในเรื่องการต่อสู้ทางคดีนั้น ยังไม่ขอแสดงความคิดเห็น แต่เรื่องข้อเท็จจริง ได้พูดมาหลายครั้งแล้ว ซึ่งตนมั่นใจว่าทำสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งในส่วนของการพิจารณาคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม ยืนยันไม่มีปัญหาใดๆ เพราะกว่าจะได้รับเลือก ผ่านการพิจารณามาแล้วหลายขั้นตอน หากประเด็นนี้มีการพิจารณา เชื่อว่าจะเป็นไปโดยยึดข้อเท็จจริง