ASTV ผู้จัดการรายวัน- กสทช.คาดร่างแผนแม่บท 3ฉบับผ่านฉลุย เตรียมประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในเดือนมี.ค.นี้แน่ เตรียมนำเรื่องเข้าบอร์ดกสทช.ลงมติ 14 มี.ค. นี้ ภายหลังประชาพิจารณไม่ต้องแก้ไขประเด็นสำคัญ
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวถึงความคืบหน้าล่าสุดในการประกาศร่างแผนแม่บททั้ง 3 ฉบับว่า ภายหลังเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ร่างแผนแม่บททั้ง 3 ฉบับนั้นไม่ต้องแก้ไขในประเด็นสำคัญ เพียงแต่ต้องปรับแต่งเฉพาะถ้อยคำให้เหมาะสมเท่านั้น โดยจะนำข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ นักวิชาการและภาคประชาชนไปปรับปรุงแก้ไข โดยคาดว่าจะรวบรวม และเสนอยังคณะกรรมการ (บอร์ด) กทค.ในวันที่ 13 มี.ค.จากนั้นจะเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดกสทช.ในวันที่ 14 มี.ค.ต่อไป ซึ่งหากบอร์ดอนุมัติตามที่เสนอพร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในเดือนมีนาคมนี้
"หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างแผนแม่บท 3 ฉบับหลักสรุปไม่มีประเด็น หรือเนื้อหาอะไรที่สำคัญต้องแก้ไข ดังนั้นคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะนำเรื่่องเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช. หากบอร์ดอนุมัติตามที่เสนอพร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาทันที”
แต่ในร่างแผนแม่บทบริหารคลื่น ยังมีประเด็นที่ต้องถกเถียงกันเล็กน้อย คือ กรอบระยะเวลาในการส่งคืนคลื่นความถี่ 5 10 15 ปี แต่หากยังไม่สามารถตกลงในประเด็นดังกล่าวได้ ก็จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาหรือ ก่อนที่จะเสนอเข้าบอร์ดอีกครั้งหนึ่ง
ขณะเดียวกัน หลังจากแผนแม่บทฯประกาศในราชกิจจานุเบกษาเสร็จแล้ว กสทช.จะเดินหน้าเร่งด่วนจัดทำแผนปฎิบัติการ 3 เรื่องหลัก คือ 1.จัดสรรคลื่น ความถี่ใหม่ เพื่อประกอบกิจการ 3Gบนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ 2.จัดทำแผนเรียกคืนคลื่นความถี่เพื่อมาจัดสรรใหม่ และ 3.จัดทำแผนการโอนย้ายคลื่น ความถี่จากระบบสัญญาสัมปทานไปสู่ใบอนุญาตใหม่
พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า แนวทางการดำเนินงาน (โรดแมป) ต่อไป คือการจัดทำร่างแผนปฏิบัตการโอนย้ายลูกค้าจากระบบสัมปทานไปสู่ใบอนุญาใหม่ ซึ่งถือเป็น1ในแผนปฏิบัติการเร่งด่วน ซึ่งมั่นใจว่าจะมีแนวทางที่ชัดเจนแล้วเสร็จ ก่อนเดือนกันยายน.2555 จะต้องแล้วเสร็จ เพราะกฎหมายกำหนดให้ทิศทางการดูแลลูกค้าก่อนสัญญาสัมปทานหมดต้องเสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งสัมปทานของดีพีซี และบริษัท ทรูมูฟ จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน2556
อย่างไรก็ตาม กสทช.ได้เปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ร่างแผนแม่บททั้ง 3 ฉบับของกสทช.คือ ร่างแผนแม่บทตางรางบริหารคลื่นความถี่ ร่างแผนแม่บทกิจการวิทยุกระจายเสียง และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวถึงความคืบหน้าล่าสุดในการประกาศร่างแผนแม่บททั้ง 3 ฉบับว่า ภายหลังเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ร่างแผนแม่บททั้ง 3 ฉบับนั้นไม่ต้องแก้ไขในประเด็นสำคัญ เพียงแต่ต้องปรับแต่งเฉพาะถ้อยคำให้เหมาะสมเท่านั้น โดยจะนำข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ นักวิชาการและภาคประชาชนไปปรับปรุงแก้ไข โดยคาดว่าจะรวบรวม และเสนอยังคณะกรรมการ (บอร์ด) กทค.ในวันที่ 13 มี.ค.จากนั้นจะเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดกสทช.ในวันที่ 14 มี.ค.ต่อไป ซึ่งหากบอร์ดอนุมัติตามที่เสนอพร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในเดือนมีนาคมนี้
"หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างแผนแม่บท 3 ฉบับหลักสรุปไม่มีประเด็น หรือเนื้อหาอะไรที่สำคัญต้องแก้ไข ดังนั้นคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะนำเรื่่องเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช. หากบอร์ดอนุมัติตามที่เสนอพร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาทันที”
แต่ในร่างแผนแม่บทบริหารคลื่น ยังมีประเด็นที่ต้องถกเถียงกันเล็กน้อย คือ กรอบระยะเวลาในการส่งคืนคลื่นความถี่ 5 10 15 ปี แต่หากยังไม่สามารถตกลงในประเด็นดังกล่าวได้ ก็จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาหรือ ก่อนที่จะเสนอเข้าบอร์ดอีกครั้งหนึ่ง
ขณะเดียวกัน หลังจากแผนแม่บทฯประกาศในราชกิจจานุเบกษาเสร็จแล้ว กสทช.จะเดินหน้าเร่งด่วนจัดทำแผนปฎิบัติการ 3 เรื่องหลัก คือ 1.จัดสรรคลื่น ความถี่ใหม่ เพื่อประกอบกิจการ 3Gบนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ 2.จัดทำแผนเรียกคืนคลื่นความถี่เพื่อมาจัดสรรใหม่ และ 3.จัดทำแผนการโอนย้ายคลื่น ความถี่จากระบบสัญญาสัมปทานไปสู่ใบอนุญาตใหม่
พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า แนวทางการดำเนินงาน (โรดแมป) ต่อไป คือการจัดทำร่างแผนปฏิบัตการโอนย้ายลูกค้าจากระบบสัมปทานไปสู่ใบอนุญาใหม่ ซึ่งถือเป็น1ในแผนปฏิบัติการเร่งด่วน ซึ่งมั่นใจว่าจะมีแนวทางที่ชัดเจนแล้วเสร็จ ก่อนเดือนกันยายน.2555 จะต้องแล้วเสร็จ เพราะกฎหมายกำหนดให้ทิศทางการดูแลลูกค้าก่อนสัญญาสัมปทานหมดต้องเสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งสัมปทานของดีพีซี และบริษัท ทรูมูฟ จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน2556
อย่างไรก็ตาม กสทช.ได้เปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ร่างแผนแม่บททั้ง 3 ฉบับของกสทช.คือ ร่างแผนแม่บทตางรางบริหารคลื่นความถี่ ร่างแผนแม่บทกิจการวิทยุกระจายเสียง และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา