ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้เดินทางมาบรรยายพิเศษให้นักเรียนนายร้อย จปร.ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 950 นาย ที่หอประชุม โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเขาชะโงก จังหวัดนครนายก ความตอนหนึ่งว่า:
“มีเรื่องสำคัญอีกเรื่องที่อยากให้พวกเราได้ยิน และเข้าใจว่าเราเป็นทหาร ก็ต้องพูดต่อว่าเป็นทหารของชาติ เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวที่ไปพูดที่อื่นก็พูดทำนองนี้ว่าเราเป็นทหารของชาติ เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็มีคนเถียงว่าถ้าอย่างนั้นรัฐบาลก็สั่งทหารไม่ได้ คนที่เถียงนั้นเขาอาจจะไม่เข้าใจเรื่องทหารเลย หรือเขาไม่ชอบหน้าพวกเราก็ได้ อยากจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ว่าทำไมเราถึงพูดว่าเป็นทหารของชาติ เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นักเรียนสมัยใหม่คงเล่นม้าไม่เป็น อาจจะเป็นการพนันอย่างอื่นที่ใช้คอมพิวเตอร์ใช้เครื่องไม้เครื่องมือทันสมัย อยากจะเล่าให้ฟังตรงนี้ เปรียบเทียบให้ฟัง คนนี้เป็นทหารม้าถึงรู้เรื่องม้าดี รู้เรื่องการแข่งม้า ถ้าจะแข่งม้าเจ้าของม้าจะเริ่มมีคอกม้าก่อน คอกก็มีม้าหลายตัว 5 ตัว 10 ตัว 20 ตัวก็ได้ เจ้าของคอกก็เป็นเจ้าของม้า เวลาจะไปแข่ง เขาก็ไปเอาเด็กที่เราเรียกว่า jockey คือเด็กขี่ม้าไปจ้างให้เขามาขี่ม้า เขาจะขี่ม้า พอเสร็จจากการขี่ม้าเขาก็กลับไปทำงานอย่างอื่น วันนี้เขาขี่ม้าคอกนี้ วันพรุ่งนี้เขาก็ไปขี่ม้าอีกคอกหนึ่ง เขาไม่ได้เป็นเจ้าของม้าหรอก เขาเป็นคนขี่
รัฐบาลก็เหมือนกับ jockey คือเข้ามาดูแลทหาร ไม่ใช่เจ้าของทหาร เจ้าของทหารคือชาติ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลเข้ามาดูแล แต่กำหนดใช้พวกเราตามที่ประกาศนโยบายไว้ต่อรัฐสภา เด็กขี่ม้าบางคนก็ขี่ดี ขี่เก่ง บางคนก็ขี่ไม่ดี ขี่ไม่เก่ง รัฐบาลก็เหมือนกัน บางรัฐบาลก็ทำงานดี ทำงานเก่ง บางรัฐบาลทำงานไม่ดี ไม่เก่งก็มี นี่เป็นเรื่องจริง ที่พูดนี่เพื่อให้นักเรียนเข้าใจว่า เราเป็นทหารของชาติ เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่รัฐบาลเข้ามาดูแลในเรื่องอื่นๆ ของพวกเรา เรื่องใหญ่ๆ ที่ทหารกำลังทำอยู่ เช่น นโยบายป้องกันประเทศก็ตาม นโยบายความมั่นคงก็ตาม มันเป็นเรื่องใหญ่มาก ต้องวางนโยบายกันเป็นเวลา 10 ปี 20 ปี ฉะนั้นรัฐบาลที่จะเข้ามาอยู่ 4 ปีนี้ก็ต้องดำเนินการตามที่นโยบายของกระทรวงกลาโหม หรือสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดขึ้น ยากที่จะมาเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้น เพราะฉะนั้น เรื่องนี้จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกันอย่างถ่องแท้ว่า ทหารอยู่ตรงไหน รัฐบาลอยู่ตรงไหน เจ้าของทหารอยู่ตรงไหน”
ที่จริงคำบรรยายของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ คราวนั้นก็กล่าวไม่ผิดนัก เพราะความจริงแล้วรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติเอาไว้ในมาตราที่ 77 ว่า:
“รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อประโยชน์ของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อการพัฒนาประเทศ”
ซึ่งคำว่า “รัฐ” ตามรัฐธรรมนูญนั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “ประเทศ” หรือ “บ้านเมือง” แต่ไม่ได้แปลว่า “รัฐบาล” ดังนั้นหากเราใช้ความหมายตามพจนานุกรม แทนคำว่า “ประเทศ” แทนคำว่า “รัฐ” เราก็อาจจะทำให้ความหมายเข้าใจได้ง่ายขึ้นตามประสาชาวบ้านในรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ว่า:
“ประเทศต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของประเทศ สถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อประโยชน์ของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อพัฒนาประเทศ”
โจทย์ใหญ่ที่ต้องตั้งคำถามก็คือหากรัฐบาลเป็นปัญหากับความมั่นคงของรัฐเสียเอง จะทำให้ประเทศไทยเสียอธิปไตยเสียเอง เป็นภัยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เสียเอง หรือทำลายผลประโยชน์ของชาติเสียเอง กองทัพควรจะยืนอย่างไร?
ระหว่างจะยินยอมให้ทหารเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการทำลายชาติ หรือจะยอมเป็นเครื่องมือของชาติในการทำลายหยุดยั้งรัฐบาลที่ทำลายชาติบ้านเมือง?
เราควรจะยินดีหรือไม่ หากมีทหารในระดับสูงคนหนึ่งที่วันหนึ่งมีนักข่าวถามเรื่องการแก้ไขยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แล้วออกมาบอกว่าเป็นหน้าที่ของตำรวจไม่เกี่ยวข้องกับทหาร แต่พอหลังจากที่นักการเมืองส่งสัญญาณออกมาว่าไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง ทหารระดับสูงคนนั้นจึงค่อยออกมาโจมตีด้วยถ้อยคำที่รุนแรงอย่างต่อเนื่องโดยทันที?
เราควรจะยินดีหรือไม่ หากวันหนึ่งมีทหารระดับสูงคนหนึ่งบอกว่าทหารจะไม่ยอมเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว แต่เอาเข้าจริงทหารก็ยอมถอยหรือปรับลดกำลัง โดยปล่อยให้ทหารต่างชาติยึดครองดินแดนไทยไปต่อหน้าต่อตา โดยบอกว่าต้องปฏิบัติไปเพราะเป็นการทำตามคำสั่งของรัฐบาล?
และเราควรจะยินดีหรือไม่ หากวันหนึ่งทหารระดับสูงคนหนึ่งออกมาบอกว่าคนที่จะออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยพูดว่าอย่าทำผิดกฎหมายเพราะมีคดีเยอะอยู่แล้ว และถ้ารัฐบาลมีคำสั่งใดๆ ทหารก็พร้อมปฏิบัติตามจัดการกับผู้ชุมนุมทันที โดยที่ทหารคนนั้นกลับไม่สนใจว่าประชาชนที่เขาออกมาเคลื่อนไหวที่ผ่านมาในเรื่องการปกป้องรักษาดินแดน การหยุดยั้งขบวนการทำลายหลักนิติรัฐ หยุดยั้งขบวนการทำลายระบบตุลาการ และหยุดยั้งการทุจริตโกงกินของนักการเมืองเหล่านั้น ทำไปเพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตย ความมั่นคงของประเทศ สถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อประโยชน์ของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อพัฒนาประเทศ อันเป็นสิ่งที่ทหารควรต้องทำเสียเองตามรัฐธรรมนูญ ?
บางทีทหารระดับสูงคนนั้นอาจกำลังสับสนคิดว่าใครเป็นเจ้าของคอก และใครเป็นจ๊อกกี้ หรือทหารยุคนี้อาจจะคิดว่าจ๊อกกี้กำลังยึดกิจการจากเจ้าของคอกม้า หรือคิดว่าจ๊อกกี้ให้อาหารมามากมายจนม้าอิ่มหนำสำราญ จึงยอมสยบจนหมดสิ้นแล้วก็ได้
ความจริงแล้วอาจจะกล่าวได้ว่ามีการต่อรองกันระหว่างทหารกับรัฐบาลมาโดยตลอด เพื่อแลกกับเสถียรภาพของรัฐบาล โดยยอมเจรจาถอยกันในบางเรื่องที่ทหารไม่สามารถจะยอมได้ และทหารก็ต้องถอยในบางเรื่องที่รัฐบาลยอมไม่ได้ ต่างถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน อันเป็นสถานการณ์ที่คาดเดาได้อยู่แล้วในฐานะคู่กรณีที่เคยอยู่ตรงกันข้ามกันจะต้องบริหารความขัดแย้งทางการเมืองอย่างไร
เหมือนดังเช่นกรณีที่ทหารจะไม่ยอมถอยออกจากดินแดนไทยในวันนี้ แต่ต้องตั้งคำถามว่าการต่อรองดังกล่าวทหารไทยจะยอมถอย หลังจากปล่อยให้รัฐบาลไทยจะไปแพ้เวทีการตีความในศาลโลก หรือไม่?
หรือตั้งคำถามว่าวันนี้รัฐบาลยอมถอยไม่แก้ไขพระราชบัญญัติ จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 แต่ทหารจะต้องยินยอมให้มีการโยกย้ายในตำแหน่งสำคัญกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือไม่?
ทุกอย่างจึงเจรจาอยู่ร่วมกันได้ระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และทหารไทย แม้แต่กรณีการสอบสวนคดีวิสามัญฆาตกรรมการชุมนุมของคนเสื้อแดงปี 2553 จำนวน 16 ศพ นั้นก็ยังเจรจากันได้
แต่ดูเหมือนคดี 16 ศพ จะเป็นเรื่องที่เจรจากันยากที่สุด!!!
เพราะคดี 16 ศพ นั้น ถือเป็นปัจจัยทางการเมืองที่ยินยอมกันไม่ได้ เพราะฝ่ายรัฐบาลมีมวลชนคนเสื้อแดงเป็นผู้หนุนหลัง หากคดีความเอาผิดทหารไม่มีความคืบหน้านอกจากจะเสียหายในทางการเมืองในฐานะผู้ผลิตวาทกรรมลวงโลกแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อทันทีในมาตรการเยียวยาคนเสื้อแดงด้วยเม็ดเงินอย่างมหาศาล
ในขณะที่ฝ่ายทหาร ก็ไม่น่าจะยินยอมให้ทหารซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาต้องตกอยู่ในความเสี่ยงคดีความเพิ่มเติม ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นต้องเสี่ยงภัยและเสี่ยงชีวิตในภารกิจสลายมวลชนคนเสื้อแดงในปี 2553 หากปล่อยให้มีความเสี่ยงในคดีความแล้วก็ย่อมไม่สามารถปกครองหรือสั่งการทหารในภารกิจที่มีความเสี่ยงต่อไปได้
แต่เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าอัยการสูงสุด ได้ยื่นเรื่องคำร้อง 1 กรณีจาก 16 กรณีเพื่อให้ศาลอาญาไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรค 5 ที่ว่า:
“เมื่อได้รับสำนวนชันสูตรพลิกศพแล้ว ให้พนักงานอัยการทำคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทำการไต่สวนและทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใครตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ถ้าตายโดยคนทำร้ายให้กล่าวว่าใครเป็นผู้ทำร้ายเท่าที่จะทราบได้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับสำนวน ถ้ามีความจำเป็น ให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจำเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวนชันสูตรพลิกศพ”
ทันทีที่อัยการสูงสุดได้ร้องขอต่อศาลชั้นต้นแล้ว ปรากฏว่า “ข่าวรั่ว” เป็นผลทำให้มีอัยการระดับสูงท่านหนึ่งที่ไปพร้อมกับนักการเมืองคนหนึ่งที่ชอบรู้ไปทุกเรื่อง รีบรุดเข้าเจรจากับทหารระดับบิ๊กเพื่อปลอบขวัญโดยทันทีเมื่อประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา
ผลการเจรจาครั้งนั้นอัยการระดับสูงคนนั้นและนักการเมืองคนนั้น ให้ความหวังปลอบประโลมกับทหารในระดับบิ๊กว่า “จะทำให้เรื่องนี้จบเพียงแค่ว่าผู้ที่เสียชีวิตถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่จะไม่ระบุว่าเสียชีวิตจากทหารหรือไม่” เพื่อให้สมประโยชน์ต่อฝ่ายการเมืองและไม่เป็นโทษกับฝ่ายทหารมากเกินไป
แต่ในคดีความดังกล่าวนั้นกลับระบุอย่างชัดเจนตั้งแต่การชันสูตรพลิกศพ ว่าการเสียชีวิต 1 ศพที่สวนสัตว์ดุสิตนั้น เป็นฝีมือจาก “ทหาร”
ส่วนทหารจะหลงเชื่ออัยการและนักการเมืองที่อวดรู้ไปทุกเรื่องหรือไม่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในคดีนี้ให้ดี
เพราะที่หนักกว่าคือยังมีอีก 15 คดี ที่รออยู่ให้อัยการสูงสุดจะต้องตัดสินใจที่จะยื่นต่อศาลอาญา ซึ่งมีกำหนดไม่เกินวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งอัยการสูงสุดมีทางเลือกแค่ 2 ทางคือ หนึ่งไม่ส่งเรื่องต่อศาลอาญาย่อมกระทบต่อคนเสื้อแดงที่แกนนำปลุกระดมมาตลอดว่าทหารฆ่าประชาชนและกำลังรอรับเงินเยียวยา หรือสองส่งเรื่องต่อศาลอาญาเพื่อไต่สวนซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อทหาร
และถ้านับหนึ่งในการเริ่มดำเนินคดีความเมื่อไหร่ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 เหล่าทหารที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ก็จะต้องไปมีความเสี่ยงคดีความอาญาที่ต่อเนื่องจากคดีนี้อย่างแน่นอน และหากมีคดีความต่อเนื่องเมื่อไหร่ คนที่เกี่ยวข้องหลายคนแม้เกษียณอายุไปแล้วคดีอาญาทั้งหลายก็ยังติดตัวต่อไปจนถึงที่สุดแห่งคดีความ
ถึงวันนี้เราอาจยังไม่สามารถคาดหวังอะไรมากจากวิสัยทัศน์ของทหารที่จะคิดเข้าร่วมกับประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศไทยเสียใหม่ แต่สำหรับผู้ใต้บังคับบัญชาคงจะได้เห็นว่าผู้บังคับบัญชาของตัวเองนั้นสามารถปกป้องในเวลาที่ได้เอาชีวิตเข้าแลกเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาได้หรือไม่?
และเราจะได้พิสูจน์ว่าในยุค จ๊อกกี้หญิงขี่ทหาร นักการเมืองจะเลือกเอาใจทหารและทิ้งคนเสื้อแดง หรือจะอุ้มชูคนเสื้อแดงและเข้ากวาดล้างทหารที่รัฐบาลหวาดระแวง หลังวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 เราคงจะได้รู้กันเสียที !!!
“มีเรื่องสำคัญอีกเรื่องที่อยากให้พวกเราได้ยิน และเข้าใจว่าเราเป็นทหาร ก็ต้องพูดต่อว่าเป็นทหารของชาติ เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวที่ไปพูดที่อื่นก็พูดทำนองนี้ว่าเราเป็นทหารของชาติ เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็มีคนเถียงว่าถ้าอย่างนั้นรัฐบาลก็สั่งทหารไม่ได้ คนที่เถียงนั้นเขาอาจจะไม่เข้าใจเรื่องทหารเลย หรือเขาไม่ชอบหน้าพวกเราก็ได้ อยากจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ว่าทำไมเราถึงพูดว่าเป็นทหารของชาติ เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นักเรียนสมัยใหม่คงเล่นม้าไม่เป็น อาจจะเป็นการพนันอย่างอื่นที่ใช้คอมพิวเตอร์ใช้เครื่องไม้เครื่องมือทันสมัย อยากจะเล่าให้ฟังตรงนี้ เปรียบเทียบให้ฟัง คนนี้เป็นทหารม้าถึงรู้เรื่องม้าดี รู้เรื่องการแข่งม้า ถ้าจะแข่งม้าเจ้าของม้าจะเริ่มมีคอกม้าก่อน คอกก็มีม้าหลายตัว 5 ตัว 10 ตัว 20 ตัวก็ได้ เจ้าของคอกก็เป็นเจ้าของม้า เวลาจะไปแข่ง เขาก็ไปเอาเด็กที่เราเรียกว่า jockey คือเด็กขี่ม้าไปจ้างให้เขามาขี่ม้า เขาจะขี่ม้า พอเสร็จจากการขี่ม้าเขาก็กลับไปทำงานอย่างอื่น วันนี้เขาขี่ม้าคอกนี้ วันพรุ่งนี้เขาก็ไปขี่ม้าอีกคอกหนึ่ง เขาไม่ได้เป็นเจ้าของม้าหรอก เขาเป็นคนขี่
รัฐบาลก็เหมือนกับ jockey คือเข้ามาดูแลทหาร ไม่ใช่เจ้าของทหาร เจ้าของทหารคือชาติ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลเข้ามาดูแล แต่กำหนดใช้พวกเราตามที่ประกาศนโยบายไว้ต่อรัฐสภา เด็กขี่ม้าบางคนก็ขี่ดี ขี่เก่ง บางคนก็ขี่ไม่ดี ขี่ไม่เก่ง รัฐบาลก็เหมือนกัน บางรัฐบาลก็ทำงานดี ทำงานเก่ง บางรัฐบาลทำงานไม่ดี ไม่เก่งก็มี นี่เป็นเรื่องจริง ที่พูดนี่เพื่อให้นักเรียนเข้าใจว่า เราเป็นทหารของชาติ เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่รัฐบาลเข้ามาดูแลในเรื่องอื่นๆ ของพวกเรา เรื่องใหญ่ๆ ที่ทหารกำลังทำอยู่ เช่น นโยบายป้องกันประเทศก็ตาม นโยบายความมั่นคงก็ตาม มันเป็นเรื่องใหญ่มาก ต้องวางนโยบายกันเป็นเวลา 10 ปี 20 ปี ฉะนั้นรัฐบาลที่จะเข้ามาอยู่ 4 ปีนี้ก็ต้องดำเนินการตามที่นโยบายของกระทรวงกลาโหม หรือสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดขึ้น ยากที่จะมาเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้น เพราะฉะนั้น เรื่องนี้จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกันอย่างถ่องแท้ว่า ทหารอยู่ตรงไหน รัฐบาลอยู่ตรงไหน เจ้าของทหารอยู่ตรงไหน”
ที่จริงคำบรรยายของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ คราวนั้นก็กล่าวไม่ผิดนัก เพราะความจริงแล้วรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติเอาไว้ในมาตราที่ 77 ว่า:
“รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อประโยชน์ของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อการพัฒนาประเทศ”
ซึ่งคำว่า “รัฐ” ตามรัฐธรรมนูญนั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “ประเทศ” หรือ “บ้านเมือง” แต่ไม่ได้แปลว่า “รัฐบาล” ดังนั้นหากเราใช้ความหมายตามพจนานุกรม แทนคำว่า “ประเทศ” แทนคำว่า “รัฐ” เราก็อาจจะทำให้ความหมายเข้าใจได้ง่ายขึ้นตามประสาชาวบ้านในรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ว่า:
“ประเทศต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของประเทศ สถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อประโยชน์ของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อพัฒนาประเทศ”
โจทย์ใหญ่ที่ต้องตั้งคำถามก็คือหากรัฐบาลเป็นปัญหากับความมั่นคงของรัฐเสียเอง จะทำให้ประเทศไทยเสียอธิปไตยเสียเอง เป็นภัยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เสียเอง หรือทำลายผลประโยชน์ของชาติเสียเอง กองทัพควรจะยืนอย่างไร?
ระหว่างจะยินยอมให้ทหารเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการทำลายชาติ หรือจะยอมเป็นเครื่องมือของชาติในการทำลายหยุดยั้งรัฐบาลที่ทำลายชาติบ้านเมือง?
เราควรจะยินดีหรือไม่ หากมีทหารในระดับสูงคนหนึ่งที่วันหนึ่งมีนักข่าวถามเรื่องการแก้ไขยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แล้วออกมาบอกว่าเป็นหน้าที่ของตำรวจไม่เกี่ยวข้องกับทหาร แต่พอหลังจากที่นักการเมืองส่งสัญญาณออกมาว่าไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง ทหารระดับสูงคนนั้นจึงค่อยออกมาโจมตีด้วยถ้อยคำที่รุนแรงอย่างต่อเนื่องโดยทันที?
เราควรจะยินดีหรือไม่ หากวันหนึ่งมีทหารระดับสูงคนหนึ่งบอกว่าทหารจะไม่ยอมเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว แต่เอาเข้าจริงทหารก็ยอมถอยหรือปรับลดกำลัง โดยปล่อยให้ทหารต่างชาติยึดครองดินแดนไทยไปต่อหน้าต่อตา โดยบอกว่าต้องปฏิบัติไปเพราะเป็นการทำตามคำสั่งของรัฐบาล?
และเราควรจะยินดีหรือไม่ หากวันหนึ่งทหารระดับสูงคนหนึ่งออกมาบอกว่าคนที่จะออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยพูดว่าอย่าทำผิดกฎหมายเพราะมีคดีเยอะอยู่แล้ว และถ้ารัฐบาลมีคำสั่งใดๆ ทหารก็พร้อมปฏิบัติตามจัดการกับผู้ชุมนุมทันที โดยที่ทหารคนนั้นกลับไม่สนใจว่าประชาชนที่เขาออกมาเคลื่อนไหวที่ผ่านมาในเรื่องการปกป้องรักษาดินแดน การหยุดยั้งขบวนการทำลายหลักนิติรัฐ หยุดยั้งขบวนการทำลายระบบตุลาการ และหยุดยั้งการทุจริตโกงกินของนักการเมืองเหล่านั้น ทำไปเพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตย ความมั่นคงของประเทศ สถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อประโยชน์ของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อพัฒนาประเทศ อันเป็นสิ่งที่ทหารควรต้องทำเสียเองตามรัฐธรรมนูญ ?
บางทีทหารระดับสูงคนนั้นอาจกำลังสับสนคิดว่าใครเป็นเจ้าของคอก และใครเป็นจ๊อกกี้ หรือทหารยุคนี้อาจจะคิดว่าจ๊อกกี้กำลังยึดกิจการจากเจ้าของคอกม้า หรือคิดว่าจ๊อกกี้ให้อาหารมามากมายจนม้าอิ่มหนำสำราญ จึงยอมสยบจนหมดสิ้นแล้วก็ได้
ความจริงแล้วอาจจะกล่าวได้ว่ามีการต่อรองกันระหว่างทหารกับรัฐบาลมาโดยตลอด เพื่อแลกกับเสถียรภาพของรัฐบาล โดยยอมเจรจาถอยกันในบางเรื่องที่ทหารไม่สามารถจะยอมได้ และทหารก็ต้องถอยในบางเรื่องที่รัฐบาลยอมไม่ได้ ต่างถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน อันเป็นสถานการณ์ที่คาดเดาได้อยู่แล้วในฐานะคู่กรณีที่เคยอยู่ตรงกันข้ามกันจะต้องบริหารความขัดแย้งทางการเมืองอย่างไร
เหมือนดังเช่นกรณีที่ทหารจะไม่ยอมถอยออกจากดินแดนไทยในวันนี้ แต่ต้องตั้งคำถามว่าการต่อรองดังกล่าวทหารไทยจะยอมถอย หลังจากปล่อยให้รัฐบาลไทยจะไปแพ้เวทีการตีความในศาลโลก หรือไม่?
หรือตั้งคำถามว่าวันนี้รัฐบาลยอมถอยไม่แก้ไขพระราชบัญญัติ จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 แต่ทหารจะต้องยินยอมให้มีการโยกย้ายในตำแหน่งสำคัญกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือไม่?
ทุกอย่างจึงเจรจาอยู่ร่วมกันได้ระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และทหารไทย แม้แต่กรณีการสอบสวนคดีวิสามัญฆาตกรรมการชุมนุมของคนเสื้อแดงปี 2553 จำนวน 16 ศพ นั้นก็ยังเจรจากันได้
แต่ดูเหมือนคดี 16 ศพ จะเป็นเรื่องที่เจรจากันยากที่สุด!!!
เพราะคดี 16 ศพ นั้น ถือเป็นปัจจัยทางการเมืองที่ยินยอมกันไม่ได้ เพราะฝ่ายรัฐบาลมีมวลชนคนเสื้อแดงเป็นผู้หนุนหลัง หากคดีความเอาผิดทหารไม่มีความคืบหน้านอกจากจะเสียหายในทางการเมืองในฐานะผู้ผลิตวาทกรรมลวงโลกแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อทันทีในมาตรการเยียวยาคนเสื้อแดงด้วยเม็ดเงินอย่างมหาศาล
ในขณะที่ฝ่ายทหาร ก็ไม่น่าจะยินยอมให้ทหารซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาต้องตกอยู่ในความเสี่ยงคดีความเพิ่มเติม ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นต้องเสี่ยงภัยและเสี่ยงชีวิตในภารกิจสลายมวลชนคนเสื้อแดงในปี 2553 หากปล่อยให้มีความเสี่ยงในคดีความแล้วก็ย่อมไม่สามารถปกครองหรือสั่งการทหารในภารกิจที่มีความเสี่ยงต่อไปได้
แต่เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าอัยการสูงสุด ได้ยื่นเรื่องคำร้อง 1 กรณีจาก 16 กรณีเพื่อให้ศาลอาญาไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรค 5 ที่ว่า:
“เมื่อได้รับสำนวนชันสูตรพลิกศพแล้ว ให้พนักงานอัยการทำคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทำการไต่สวนและทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใครตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ถ้าตายโดยคนทำร้ายให้กล่าวว่าใครเป็นผู้ทำร้ายเท่าที่จะทราบได้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับสำนวน ถ้ามีความจำเป็น ให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจำเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวนชันสูตรพลิกศพ”
ทันทีที่อัยการสูงสุดได้ร้องขอต่อศาลชั้นต้นแล้ว ปรากฏว่า “ข่าวรั่ว” เป็นผลทำให้มีอัยการระดับสูงท่านหนึ่งที่ไปพร้อมกับนักการเมืองคนหนึ่งที่ชอบรู้ไปทุกเรื่อง รีบรุดเข้าเจรจากับทหารระดับบิ๊กเพื่อปลอบขวัญโดยทันทีเมื่อประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา
ผลการเจรจาครั้งนั้นอัยการระดับสูงคนนั้นและนักการเมืองคนนั้น ให้ความหวังปลอบประโลมกับทหารในระดับบิ๊กว่า “จะทำให้เรื่องนี้จบเพียงแค่ว่าผู้ที่เสียชีวิตถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่จะไม่ระบุว่าเสียชีวิตจากทหารหรือไม่” เพื่อให้สมประโยชน์ต่อฝ่ายการเมืองและไม่เป็นโทษกับฝ่ายทหารมากเกินไป
แต่ในคดีความดังกล่าวนั้นกลับระบุอย่างชัดเจนตั้งแต่การชันสูตรพลิกศพ ว่าการเสียชีวิต 1 ศพที่สวนสัตว์ดุสิตนั้น เป็นฝีมือจาก “ทหาร”
ส่วนทหารจะหลงเชื่ออัยการและนักการเมืองที่อวดรู้ไปทุกเรื่องหรือไม่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในคดีนี้ให้ดี
เพราะที่หนักกว่าคือยังมีอีก 15 คดี ที่รออยู่ให้อัยการสูงสุดจะต้องตัดสินใจที่จะยื่นต่อศาลอาญา ซึ่งมีกำหนดไม่เกินวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งอัยการสูงสุดมีทางเลือกแค่ 2 ทางคือ หนึ่งไม่ส่งเรื่องต่อศาลอาญาย่อมกระทบต่อคนเสื้อแดงที่แกนนำปลุกระดมมาตลอดว่าทหารฆ่าประชาชนและกำลังรอรับเงินเยียวยา หรือสองส่งเรื่องต่อศาลอาญาเพื่อไต่สวนซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อทหาร
และถ้านับหนึ่งในการเริ่มดำเนินคดีความเมื่อไหร่ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 เหล่าทหารที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ก็จะต้องไปมีความเสี่ยงคดีความอาญาที่ต่อเนื่องจากคดีนี้อย่างแน่นอน และหากมีคดีความต่อเนื่องเมื่อไหร่ คนที่เกี่ยวข้องหลายคนแม้เกษียณอายุไปแล้วคดีอาญาทั้งหลายก็ยังติดตัวต่อไปจนถึงที่สุดแห่งคดีความ
ถึงวันนี้เราอาจยังไม่สามารถคาดหวังอะไรมากจากวิสัยทัศน์ของทหารที่จะคิดเข้าร่วมกับประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศไทยเสียใหม่ แต่สำหรับผู้ใต้บังคับบัญชาคงจะได้เห็นว่าผู้บังคับบัญชาของตัวเองนั้นสามารถปกป้องในเวลาที่ได้เอาชีวิตเข้าแลกเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาได้หรือไม่?
และเราจะได้พิสูจน์ว่าในยุค จ๊อกกี้หญิงขี่ทหาร นักการเมืองจะเลือกเอาใจทหารและทิ้งคนเสื้อแดง หรือจะอุ้มชูคนเสื้อแดงและเข้ากวาดล้างทหารที่รัฐบาลหวาดระแวง หลังวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 เราคงจะได้รู้กันเสียที !!!