ASTVผู้จัดการรายวัน - ชง ครม.เห็นชอบจัดซื้อแท็บเล็ตกับบริษัท “เสิ่นเจิ้น สโคป” วันนี้ “อนุดิษฐ์” เผย คกก.จัดซื้อให้คะแนนบริษัทนี้เป็นอันดับ 1 ระบุเสนอราคาอยู่ที่ 81 เหรียญหรือ 2,400 บาทโดยไม่รวมค่าขนส่ง และรับประกันเครื่อง 2 ปี กสม.ค้าน หวั่นไม่ได้คุณภาพ ด้านสภา กทม.เอาด้วย เล็งแจกแท็บเล็ตให้ ส.ก. รับเรื่องร้องเรียนผ่านเฟซบุ๊ก-อีเมลล์
วานนี้ (5 มี.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิมเตอร์แท็บเล็ต ต่อ 1 นักเรียน ว่า ภายหลังที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้นำคุณลักษณะ (สเปค) ของแท็บเล็ตที่ประเทศไทยต้องการไปเจรจากับสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศจีนได้ส่งรายชื่อ 4 บริษัทที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตที่เหมาะสมกับตรงตามคุณลักษณะที่ไทยต้องการมาให้ ได้แก่ บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ (Shenzhen Scope Scientific Development Co,Ltd) บริษัท ทีซีแอล TCL Corporation บริษัท ไฮเออร์ (Hier Information Technology (Shenzhen ) Co,Ltd) และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (Huawei Technology Co,Ltd) ซึ่งกระทรวงไอซีที ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดซื้อเครื่องแท็บเล็ต ได้ตั้งคณะกรรมการจัดซื้อขึ้นมา และคณะกรรมการฯ ได้เดินทางไปดูการผลิตของทั้ง 4 บริษัทที่เมืองเสิ่นเจิ้น ประเทศจีนเมื่อเร็ว ๆ นี้ และได้ให้คะแนนแต่ละบริษัทไว้ ก่อนจะเสนอให้คณะกรรมการบริหารฯพิจารณาเลือกบริษัทที่จะทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างด้วยวันนี้
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมการบริหารฯ เห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นจัดซื้อกับบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ซึ่งได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ตามด้วยบริษัท ทีซีแอล , บ.ไฮเออร์ และ บ.หัวเว่ย เทคโนโลยี ตามลำดับ ทั้งนี้ บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ได้เสนอราคาเครื่องมาที่ 81 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,400 บาท (เป็นราคาที่ยังไม่ร่วมค่าขนส่ง) ส่วน บริษัท ทีซีแอล เสนอที่ 89 เหรียญ และบริษัทไฮเออร์ เสนอ 103 เหรียญ และบริษัท หัวเว่ย เสนอ 135 เหรียญ ทั้งนี้ เกือบทุกบริษัท สามารถผลิตเครื่องแท็บเล็ตได้ตามสเปคที่ไทยระบุไว้ แต่สเปคบางส่วนอาจจะมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ เวอร์ชั่น 4.0 เพราะเครื่องที่ใช้อยู่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นเวอร์ชั่น 2.3 และบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ยังรับประกันเครื่องเป็นเวลา 2 ปี และโรงงานมีความพร้อมในการผลิตสูง สามารถผลิตได้ 24,000 เครื่องต่อวัน ซึ่งโดยทั่วไปบริษัทต่าง ๆ จะมีการผลิตใกล้เคียงกันอยู่ที่ 3 หมื่นต่อวัน
“ในวันที่ 6 มีนาคม ซึ่งประชุม ครม.ผมจะนำเรื่องนี้ขอความเห็นชอบ ให้จัดซื้อกับบริษัทสโคป เมื่อครม.เห็นชอบแล้ว จะมีการร่างสัญญาและเสนอให้อัยการสูงสุดตรวจทานสัญญา ก่อนจะมีการเซ็นต์สัญญาร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ส่วนการส่งมอบเครื่อง โดยปกติจะให้ส่งมอบภายใน 90 วัน ซึ่งน่าจะมีการทยอยส่งมอบที่ละล็อต”
***กสม.ค้าน หวั่นไม่ได้คุณภาพ
นายปริญญา ศิริสารการ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่ดี แต่ตนไม่เห็นด้วยที่ครม.อนุมัติซื้อแท็บเล็ตจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพราะสินค้าที่ผลิตจากสาธารณรัฐประชาชนจีนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีคุณภาพ และไม่ได้มาตรฐาน รัฐบาลสามารถรับประกันได้หรือไม่ว่าแท็บเล็ตดังกล่าวมีคุณภาพและจะไม่เกิดเหตุอันตรายต่อเด็กนักเรียนได้ รวมทั้งตนขอถามว่านอกจากตัวเครื่องแท็บเล็ตแล้ว รัฐบาลได้เตรียมแบตเตอรี่และจุดเสียบปลั๊กไฟไว้รองรับด้วยหรือไม่ เพราะถ้าหนึ่งห้องเรียนมีนักเรียน 50 คน มีแท็บเล็ต 50 เครื่องก็จะต้องมีจุดเสียบปลั๊กไว้สำหรับชาร์ตไฟฟ้า 50 ที่
**สภา กทม.เอาด้วย เล็งแจก ส.ก.
วันเดียวกัน นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตจอมทอง ในฐานะประธานสภากรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเตรียมแจกแท็บเล็ตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ว่า เรื่องนี้ตนเห็นด้วยเพราะ ส.ส.ควรจะใช้ทำงานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่า เนื่องจากกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่มีเทคโนโลยีที่ดี ซึ่งในส่วนสภา กทม.จะใช้งบประมาณของตัวเองดำเนินการตามสภาผู้แทนราษฎร และคาดว่าโครงการนี้เกิดขึ้นแน่นอนเช่นกัน เพื่อแจกให้ ส.ก. ทุกคน อีกทั้งราคาแทบเลตก็ไม่สูงมาก จุดประสงค์เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผ่านทางเฟสบุคและอีเมลล์ เพื่อให้ ส.ก. ทำงานได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ตนจะให้เป็นนโยบายกับทาง ส.ก.ต่อไป.
วานนี้ (5 มี.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิมเตอร์แท็บเล็ต ต่อ 1 นักเรียน ว่า ภายหลังที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้นำคุณลักษณะ (สเปค) ของแท็บเล็ตที่ประเทศไทยต้องการไปเจรจากับสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศจีนได้ส่งรายชื่อ 4 บริษัทที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตที่เหมาะสมกับตรงตามคุณลักษณะที่ไทยต้องการมาให้ ได้แก่ บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ (Shenzhen Scope Scientific Development Co,Ltd) บริษัท ทีซีแอล TCL Corporation บริษัท ไฮเออร์ (Hier Information Technology (Shenzhen ) Co,Ltd) และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (Huawei Technology Co,Ltd) ซึ่งกระทรวงไอซีที ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดซื้อเครื่องแท็บเล็ต ได้ตั้งคณะกรรมการจัดซื้อขึ้นมา และคณะกรรมการฯ ได้เดินทางไปดูการผลิตของทั้ง 4 บริษัทที่เมืองเสิ่นเจิ้น ประเทศจีนเมื่อเร็ว ๆ นี้ และได้ให้คะแนนแต่ละบริษัทไว้ ก่อนจะเสนอให้คณะกรรมการบริหารฯพิจารณาเลือกบริษัทที่จะทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างด้วยวันนี้
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมการบริหารฯ เห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นจัดซื้อกับบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ซึ่งได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ตามด้วยบริษัท ทีซีแอล , บ.ไฮเออร์ และ บ.หัวเว่ย เทคโนโลยี ตามลำดับ ทั้งนี้ บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ได้เสนอราคาเครื่องมาที่ 81 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,400 บาท (เป็นราคาที่ยังไม่ร่วมค่าขนส่ง) ส่วน บริษัท ทีซีแอล เสนอที่ 89 เหรียญ และบริษัทไฮเออร์ เสนอ 103 เหรียญ และบริษัท หัวเว่ย เสนอ 135 เหรียญ ทั้งนี้ เกือบทุกบริษัท สามารถผลิตเครื่องแท็บเล็ตได้ตามสเปคที่ไทยระบุไว้ แต่สเปคบางส่วนอาจจะมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ เวอร์ชั่น 4.0 เพราะเครื่องที่ใช้อยู่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นเวอร์ชั่น 2.3 และบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ยังรับประกันเครื่องเป็นเวลา 2 ปี และโรงงานมีความพร้อมในการผลิตสูง สามารถผลิตได้ 24,000 เครื่องต่อวัน ซึ่งโดยทั่วไปบริษัทต่าง ๆ จะมีการผลิตใกล้เคียงกันอยู่ที่ 3 หมื่นต่อวัน
“ในวันที่ 6 มีนาคม ซึ่งประชุม ครม.ผมจะนำเรื่องนี้ขอความเห็นชอบ ให้จัดซื้อกับบริษัทสโคป เมื่อครม.เห็นชอบแล้ว จะมีการร่างสัญญาและเสนอให้อัยการสูงสุดตรวจทานสัญญา ก่อนจะมีการเซ็นต์สัญญาร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ส่วนการส่งมอบเครื่อง โดยปกติจะให้ส่งมอบภายใน 90 วัน ซึ่งน่าจะมีการทยอยส่งมอบที่ละล็อต”
***กสม.ค้าน หวั่นไม่ได้คุณภาพ
นายปริญญา ศิริสารการ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่ดี แต่ตนไม่เห็นด้วยที่ครม.อนุมัติซื้อแท็บเล็ตจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพราะสินค้าที่ผลิตจากสาธารณรัฐประชาชนจีนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีคุณภาพ และไม่ได้มาตรฐาน รัฐบาลสามารถรับประกันได้หรือไม่ว่าแท็บเล็ตดังกล่าวมีคุณภาพและจะไม่เกิดเหตุอันตรายต่อเด็กนักเรียนได้ รวมทั้งตนขอถามว่านอกจากตัวเครื่องแท็บเล็ตแล้ว รัฐบาลได้เตรียมแบตเตอรี่และจุดเสียบปลั๊กไฟไว้รองรับด้วยหรือไม่ เพราะถ้าหนึ่งห้องเรียนมีนักเรียน 50 คน มีแท็บเล็ต 50 เครื่องก็จะต้องมีจุดเสียบปลั๊กไว้สำหรับชาร์ตไฟฟ้า 50 ที่
**สภา กทม.เอาด้วย เล็งแจก ส.ก.
วันเดียวกัน นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตจอมทอง ในฐานะประธานสภากรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเตรียมแจกแท็บเล็ตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ว่า เรื่องนี้ตนเห็นด้วยเพราะ ส.ส.ควรจะใช้ทำงานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่า เนื่องจากกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่มีเทคโนโลยีที่ดี ซึ่งในส่วนสภา กทม.จะใช้งบประมาณของตัวเองดำเนินการตามสภาผู้แทนราษฎร และคาดว่าโครงการนี้เกิดขึ้นแน่นอนเช่นกัน เพื่อแจกให้ ส.ก. ทุกคน อีกทั้งราคาแทบเลตก็ไม่สูงมาก จุดประสงค์เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผ่านทางเฟสบุคและอีเมลล์ เพื่อให้ ส.ก. ทำงานได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ตนจะให้เป็นนโยบายกับทาง ส.ก.ต่อไป.