“หัวเว่ย” รับสนใจ “แท็บเล็ต ป.1” แต่ที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ประเดิมโชว์เทคโนโลยีโมบายบรอดแบนด์ให้โอเปอเรเตอร์ไทยได้สัมผัส 10 วัน ระบุ สเปกที่กำหนดอยู่ที่ราคาไม่ต่ำกว่า 4,000 บาท แต่ราคาที่ให้มา 1,800 บาทต่ำเกินไป ชี้ การส่งให้ทันเปิดเทอม พ.ค.เป็นเรื่องยาก ขณะที่ที่ประชุม คกก.แท็บเล็ต นัดแรกแค่เตรียมการเสนอ ครม.เห็นชอบเรื่องที่ต้องดำเนินการ “อนุดิษฐ์” ชี้ ยังไม่สรุปราคาแท็บเล็ต อยู่ระหว่างต่อรองราคา ซึ่งพยายามให้ได้ราคาต่ำที่สุด และเจารจาการส่งมอบระบุต้องให้เคลียร์ภายใน ก.พ.นี้
วันนี้ (14 ก.พ.) นายไมเคิล แมคโดนัลด์ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท หัวเว่ย เปิดเผยต่อข้อถามที่ว่ามีกระแสข่าวว่า หัวเว่ยได้ทำโครงการแท็บเล็ตเด็กป.1 ซึ่งรับผิดชอบโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และกระทรวงศึกษาธิการ ว่า หัวเว่ยสนใจโครงการแท็บเล็ตเด็ก ป.1 เนื่องจากหัวเว่ยก็ได้ผลิตแท็บเล็ตเพื่อจำหน่ายอยู่แล้ว แต่สุดท้ายแล้วเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ ในการร่วมเสนอตัวทำโครงการแท็บเล็ตเด็ก ป.1 หัวเว่ยใช้ทีมงานในส่วนที่ดูแลองค์กร (เอ็นเตอร์ไพร์ส) เข้าไปดูเรื่องนี้ ซึ่งจากการวิเคราะห์ของทีมงาน พบว่า คุณสมบัติของแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ที่กำหนดขึ้นถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ดี โดยซีพียูสามารถรองรับการใช้งานได้ 1-2 ปี แต่ราคาที่ให้ถือว่าต่ำเกินไปซึ่งให้ราคาที่ 60 เหรียญ หรือประมาณ 1,800 บาท ด้วยคุณสมบัติขนาดนี้ควรอยู่ที่ราคาเครื่องละ 4,000 บาท ขณะที่กำหนดการส่งมอบแท็บเล็ตจำนวน 9 แสนเครื่องในเดือน พ.ค.นี้ เพื่อให้ทันกับเปิดเทอมนั้นทีมงานหัวเว่ยมองว่าเป็นเรื่องยาก เนื่องจากความสามารถในการผลิตแท็บเล็ตของหัวเว่ยอยู่ที่ 5,000-10,000 เครื่องในระยะเวลา 50 วัน
สำหรับสเปกของเครื่องที่กำหนดไว้ คือ ขนาดจอแสดงผลขั้นต่ำ 7 นิ้ว ความละเอียดขั้นต่ำ 1024x768 Pixel หน่วยบันทึกข้อมูลนั้นขนาดไม่น้อยกว่า 16GB หน่วยประมวลผลกลางไม่ต่ำกว่า 1GHz และเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Dual Core และหน่วยความจำหลักไม่น้อยกว่า 512MB ระบบปฏิบัติการนั้นต้องออกแบบมาเฉพาะแท็บเล็ต หรือเป็นระบบ Android 3.2 (Honeycomb ) Linux Kernel 2.6.36 ขึ้นไป และรองรับ Android 4.0 (Ice Cream Sandwich) Linux Kernel 3.0.1 ได้ โดยบริษัทมองว่าราคาเครื่องน่าจะอยู่ที่ไม่ต่ำ 4,000 บาทต่อเครื่อง
นายไมเคิล กล่าวว่า ขณะนี้หัวเว่ยมีแท็บเล็ตจำหน่ายในตลาดประเทศไทยแล้ว คือ รุ่น Huawei MediaPad เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยซ์ 3.2 ฮันนี่คอมพ์ ขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 13,900 บาท ซึ่งขายในตลาดผู้ใช้งานทั่วไป คาดหวังที่จะครองอันดับ 3 ของตลาดแท็บเล็ตโดยรวมได้ภายใน 2-3 ปี นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 14-17 ก.พ.นี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หัวเว่ยได้นำโซลูชันเทคโนโลยีโมบาย บรอดแบนด์มาจัดแสดงในงาน “Welcome Broadband World : Huawei Solution 2012” ซึ่งเป็นการจัดนิทรรศการเทคโนโลยีสื่อสารในรถบรรทุกคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ให้กับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทยได้สัมผัส และระหว่างวันที่ 18-23 ก.พ.จะย้ายไปจัดแสดงที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งนิทรรศการในรถบรรทุกนี้ได้ไปจัดแสดงมาแล้วที่ พม่า กัมพูชา และเวียดนาม
สำหรับเทคโนโลยีที่นำมาจัดแสดง ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ทำงานบนเครือข่าย 3จี คลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์, วิวัฒนาการของเทคโนโลยีโมบายบรอดแบนด์, โซลูชันควบคุมคุณภาพการให้บริการซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและความยืดหยุดของระบบได้เป็นอย่างดี, อุปกรณ์สื่อสารทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แอร์การ์ด และโมเด็มไร้สาย โซลูชันคลาวด์คอมพิวติ้งรูปแบบใหม่ โซลูชันสถานีฐานที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วันเดียวกัน ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ต่อ 1 นักเรียน โดยมี ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และ นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมคณะกรรมการครั้งแรก หลังจากมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯชุดนี้ขึ้นมาแทนกรรมการชุดเก่า ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ โดยสารสำคัญที่หารือวันนี้ คือ การเตรียมรายละเอียดของโครงการเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อการดำเนินการต่างๆ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ โดยเฉพาะการจัดซื้อที่จะทำเป็นรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือ G to G รวมทั้งการของบประมาณเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนโครงการนี้ เนื่องจากข้อกำหนดครั้งแรกวางแผนที่จะจัดซื้อแค่ 560,000 เครื่อง แต่ปรับเพิ่มเป็น 900,000 เครื่อง เพื่อให้แจกนักเรียนชั้น ป.1 ให้ครบทุกคน อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียดของ G to G นั้น อยู่ระหว่างการเจรจากับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่าจะจ่ายเป็นสินค้าหรือเงินสด เพราะโครงการดังกล่าวมีการตั้งงบประมาณรองรับไว้แล้ว แต่ถ้าจ่ายเป็นสินค้าจริงก็ต้องเดินอยู่บนความยุติธรรม และได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ไม่ได้เป็นไปตามข่าวว่า ใครจะใช้ข้าวแลกแท็บเล็ต ในราคาที่เสียเปรียบกว่า
นอกจากนั้น ผลการเจรจายังไม่สรุปแน่นอนว่า เครื่องแท็บเล็ตของจีนอยู่ที่ราคาเท่าไหร่ ฝ่ายไทยพยายามที่จะเจรจาให้ได้ราคาถูกสุด เพราะถ้าได้ราคาต่ำเท่าไหร่งบประมาณที่จะต้องจัดสรรเพิ่มเติมก้จะน้อยลงตามไปด้วย รวมถึงต้องมีการเจราจาเรื่องระยะเวลาการส่งมอบสินค้าด้วย แต่การเจรจาทั้งหมดจะต้องสิ้นสุดภายในสินเดือนกุมภาพันธ์นี้ เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการผลิต เพราะหากล่าช้าจะส่งมอบเครื่องไม่ทันเปิดเทอมปีการศึกษา 2555
ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการ กต.กล่าวว่า การจัดซื้อแท็บเล็ตแบบ G to G กับ รัฐบาลจีนเป็นผลสืบเนื่องมาจากบันทึกความเข้าใจที่ไทยทำกับจีนในครั้งที่รองประธานาธิบดีจีนมาเยือนไทย ในบันทึกนั้นได้กำหนดความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น การสร้างทางรถไป จากจีนตอนใต้สู่ประเทศไทย ซึ่งทางรัฐบาลจีนจะให้เงินกู้ รวมทั้งเรื่องการจัดซื้อแท็บเล็ตด้วย เพราะประเทศจีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกและได้ราคาที่ต่ำ อย่างไรก็ตาม ในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้จ่ายค่าสินค้าส่วนหนึ่งเป็นเงินสด และส่วนหนึ่งเป็นสินค้าเกษตร เพราะรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้เกษตรกร เมื่อมีการกำหนดล่วงหน้าว่าไทยจะชำระค้าสินค้าด้วยสินค้าเกษตรประเภทใด เกษตรกรก็จะได้วางแผนการผลิตได้ถูกต้อง
วันนี้ (14 ก.พ.) นายไมเคิล แมคโดนัลด์ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท หัวเว่ย เปิดเผยต่อข้อถามที่ว่ามีกระแสข่าวว่า หัวเว่ยได้ทำโครงการแท็บเล็ตเด็กป.1 ซึ่งรับผิดชอบโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และกระทรวงศึกษาธิการ ว่า หัวเว่ยสนใจโครงการแท็บเล็ตเด็ก ป.1 เนื่องจากหัวเว่ยก็ได้ผลิตแท็บเล็ตเพื่อจำหน่ายอยู่แล้ว แต่สุดท้ายแล้วเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ ในการร่วมเสนอตัวทำโครงการแท็บเล็ตเด็ก ป.1 หัวเว่ยใช้ทีมงานในส่วนที่ดูแลองค์กร (เอ็นเตอร์ไพร์ส) เข้าไปดูเรื่องนี้ ซึ่งจากการวิเคราะห์ของทีมงาน พบว่า คุณสมบัติของแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ที่กำหนดขึ้นถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ดี โดยซีพียูสามารถรองรับการใช้งานได้ 1-2 ปี แต่ราคาที่ให้ถือว่าต่ำเกินไปซึ่งให้ราคาที่ 60 เหรียญ หรือประมาณ 1,800 บาท ด้วยคุณสมบัติขนาดนี้ควรอยู่ที่ราคาเครื่องละ 4,000 บาท ขณะที่กำหนดการส่งมอบแท็บเล็ตจำนวน 9 แสนเครื่องในเดือน พ.ค.นี้ เพื่อให้ทันกับเปิดเทอมนั้นทีมงานหัวเว่ยมองว่าเป็นเรื่องยาก เนื่องจากความสามารถในการผลิตแท็บเล็ตของหัวเว่ยอยู่ที่ 5,000-10,000 เครื่องในระยะเวลา 50 วัน
สำหรับสเปกของเครื่องที่กำหนดไว้ คือ ขนาดจอแสดงผลขั้นต่ำ 7 นิ้ว ความละเอียดขั้นต่ำ 1024x768 Pixel หน่วยบันทึกข้อมูลนั้นขนาดไม่น้อยกว่า 16GB หน่วยประมวลผลกลางไม่ต่ำกว่า 1GHz และเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Dual Core และหน่วยความจำหลักไม่น้อยกว่า 512MB ระบบปฏิบัติการนั้นต้องออกแบบมาเฉพาะแท็บเล็ต หรือเป็นระบบ Android 3.2 (Honeycomb ) Linux Kernel 2.6.36 ขึ้นไป และรองรับ Android 4.0 (Ice Cream Sandwich) Linux Kernel 3.0.1 ได้ โดยบริษัทมองว่าราคาเครื่องน่าจะอยู่ที่ไม่ต่ำ 4,000 บาทต่อเครื่อง
นายไมเคิล กล่าวว่า ขณะนี้หัวเว่ยมีแท็บเล็ตจำหน่ายในตลาดประเทศไทยแล้ว คือ รุ่น Huawei MediaPad เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยซ์ 3.2 ฮันนี่คอมพ์ ขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 13,900 บาท ซึ่งขายในตลาดผู้ใช้งานทั่วไป คาดหวังที่จะครองอันดับ 3 ของตลาดแท็บเล็ตโดยรวมได้ภายใน 2-3 ปี นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 14-17 ก.พ.นี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หัวเว่ยได้นำโซลูชันเทคโนโลยีโมบาย บรอดแบนด์มาจัดแสดงในงาน “Welcome Broadband World : Huawei Solution 2012” ซึ่งเป็นการจัดนิทรรศการเทคโนโลยีสื่อสารในรถบรรทุกคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ให้กับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทยได้สัมผัส และระหว่างวันที่ 18-23 ก.พ.จะย้ายไปจัดแสดงที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งนิทรรศการในรถบรรทุกนี้ได้ไปจัดแสดงมาแล้วที่ พม่า กัมพูชา และเวียดนาม
สำหรับเทคโนโลยีที่นำมาจัดแสดง ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ทำงานบนเครือข่าย 3จี คลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์, วิวัฒนาการของเทคโนโลยีโมบายบรอดแบนด์, โซลูชันควบคุมคุณภาพการให้บริการซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและความยืดหยุดของระบบได้เป็นอย่างดี, อุปกรณ์สื่อสารทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แอร์การ์ด และโมเด็มไร้สาย โซลูชันคลาวด์คอมพิวติ้งรูปแบบใหม่ โซลูชันสถานีฐานที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วันเดียวกัน ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ต่อ 1 นักเรียน โดยมี ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และ นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมคณะกรรมการครั้งแรก หลังจากมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯชุดนี้ขึ้นมาแทนกรรมการชุดเก่า ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ โดยสารสำคัญที่หารือวันนี้ คือ การเตรียมรายละเอียดของโครงการเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อการดำเนินการต่างๆ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ โดยเฉพาะการจัดซื้อที่จะทำเป็นรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือ G to G รวมทั้งการของบประมาณเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนโครงการนี้ เนื่องจากข้อกำหนดครั้งแรกวางแผนที่จะจัดซื้อแค่ 560,000 เครื่อง แต่ปรับเพิ่มเป็น 900,000 เครื่อง เพื่อให้แจกนักเรียนชั้น ป.1 ให้ครบทุกคน อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียดของ G to G นั้น อยู่ระหว่างการเจรจากับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่าจะจ่ายเป็นสินค้าหรือเงินสด เพราะโครงการดังกล่าวมีการตั้งงบประมาณรองรับไว้แล้ว แต่ถ้าจ่ายเป็นสินค้าจริงก็ต้องเดินอยู่บนความยุติธรรม และได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ไม่ได้เป็นไปตามข่าวว่า ใครจะใช้ข้าวแลกแท็บเล็ต ในราคาที่เสียเปรียบกว่า
นอกจากนั้น ผลการเจรจายังไม่สรุปแน่นอนว่า เครื่องแท็บเล็ตของจีนอยู่ที่ราคาเท่าไหร่ ฝ่ายไทยพยายามที่จะเจรจาให้ได้ราคาถูกสุด เพราะถ้าได้ราคาต่ำเท่าไหร่งบประมาณที่จะต้องจัดสรรเพิ่มเติมก้จะน้อยลงตามไปด้วย รวมถึงต้องมีการเจราจาเรื่องระยะเวลาการส่งมอบสินค้าด้วย แต่การเจรจาทั้งหมดจะต้องสิ้นสุดภายในสินเดือนกุมภาพันธ์นี้ เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการผลิต เพราะหากล่าช้าจะส่งมอบเครื่องไม่ทันเปิดเทอมปีการศึกษา 2555
ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการ กต.กล่าวว่า การจัดซื้อแท็บเล็ตแบบ G to G กับ รัฐบาลจีนเป็นผลสืบเนื่องมาจากบันทึกความเข้าใจที่ไทยทำกับจีนในครั้งที่รองประธานาธิบดีจีนมาเยือนไทย ในบันทึกนั้นได้กำหนดความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น การสร้างทางรถไป จากจีนตอนใต้สู่ประเทศไทย ซึ่งทางรัฐบาลจีนจะให้เงินกู้ รวมทั้งเรื่องการจัดซื้อแท็บเล็ตด้วย เพราะประเทศจีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกและได้ราคาที่ต่ำ อย่างไรก็ตาม ในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้จ่ายค่าสินค้าส่วนหนึ่งเป็นเงินสด และส่วนหนึ่งเป็นสินค้าเกษตร เพราะรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้เกษตรกร เมื่อมีการกำหนดล่วงหน้าว่าไทยจะชำระค้าสินค้าด้วยสินค้าเกษตรประเภทใด เกษตรกรก็จะได้วางแผนการผลิตได้ถูกต้อง