ASTVผู้จัดการรรายวัน - อีสานโพลแห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น สำรวจเสียงสะท้อนชาวอีสานกับผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พบคะแนนนิยมลดลง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจเหลือ 50% ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาปากท้อง การขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่องและสินค้าอุปโภคบริโภค
นายสุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล เปิดเผยผลสำรวจของอีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเรื่อง “เสียงสะท้อนชาวอีสานกับผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ประจำเดือนกุมภาพันธ์ โดยประเมินผลงานรัฐบาลใน 6 ด้าน พบว่า ด้านภาพรวมการทำงานของรัฐบาลประเมินให้ผ่าน ร้อยละ 72.1 ไม่ผ่าน ร้อยละ 27.9 ด้านการเมืองและประชาธิปไตย ประเมินให้ผ่านร้อยละ 65.8 ไม่ผ่าน ร้อยละ 34.2 ด้านเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดี ประเมินให้ผ่านร้อยละ 50.9ไม่ผ่าน ร้อยละ 49.1 ด้านสังคม อาชญากรรม และยาเสพติด ประเมินให้ผ่านร้อยละ 65.8 ไม่ผ่าน ร้อยละ 34.2 ด้านสิ่งแวดล้อม มลภาวะ และภัยธรรมชาติ ประเมินให้ผ่านร้อยละ 53.8 ไม่ผ่าน ร้อยละ 46.2 ด้านการต่างประเทศ ประเมินให้ผ่านร้อยละ 79.7 ไม่ผ่าน ร้อยละ 20.3
เมื่อพิจารณาเทียบกับการสำรวจเดือนมกราคม 55 พบว่าแม้ครั้งนี้คนอีสานจะประเมินให้ผลงานแต่ละด้านผ่าน แต่ก็เป็นผลการประเมินที่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับลดลง กล่าวคือ คะแนนการทำงานในภาพรวม ลดลงจากเดิมเล็กน้อย จากที่เคยได้ร้อยละ 74.7 เหลือร้อยละ 72.1 ขณะที่ด้านการเมือง ลดลงจากเดิมเล็กน้อย จากที่ได้ร้อยละ 68.3 เหลือร้อยละ 65.8 ด้านเศรษฐกิจ ลดลงจากเดิมเล็กน้อย จากที่ได้ร้อยละ 56.8 เหลือร้อยละ 50.9 ด้านสังคม อาชญากรรม และยาเสพติด ดีขึ้นเล็กน้อย จากเดิมร้อยละ 61.2 เพิ่มเป็นร้อยละ 65.8 ด้านสิ่งแวดล้อม มลภาวะ และภัยธรรมชาติ ผลประเมินคงที่ จากเดิมร้อยละ 53.9 ครั้งนี้ร้อยละ 53.8 และด้านการต่างประเทศ ลดลงจากเดิมเล็กน้อย จากที่ได้ร้อยละ 81.2 เหลือร้อยละ 79.7
อย่างไรก็ตาม แม้คะแนนประเมินผลงานรัฐบาลจะเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวลดลง แต่เมื่อถามความคิดเห็นว่าหากมีการเลือกตั้งครั้งใหม่คนอีสานจะเลือกพรรคการเมืองใด พบว่าร้อยละ 47.0 จะเลือกพรรคเพื่อไทย และอีกกว่าร้อยละ 35.7 ที่ตอบว่าจะยังไม่ตัดสินใจในขณะนี้ โดยผลการสำรวจนักการเมืองที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดประจำเดือน ลำดับที่ 1 ถึง 4 ยังคงเดิม โดย น.ส.นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังคงนำมาเป็นอันดับหนึ่งร้อยละ 56.4 รองลงมา ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ร้อยละ 16.1 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ร้อยละ 9.9 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 7.6 นักการเมืองคนอื่นๆ ร้อยละ 8.7 และผู้ที่ตอบว่าไม่มีนักการเมืองคนใดมีผลงานโดดเด่นเลย ร้อยละ 1.3
"ประเด็นปัญหาที่คนอีสานเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขมากที่สุด คือ การขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่องและสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีผู้เรียกร้องให้แก้ไขอย่างเร่งด่วนคิดเป็นร้อยละ 62.6 รองลงมาต้องการปรามปรามยาเสพติดในชุมชนและบริเวณชายแดน ร้อยละ 12.6"
และเมื่อสำรวจต่อถึงความเห็นเกี่ยวกับแผนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งแรกในภาคอีสานกว่า 1,500-2,000 ไร่ ตามที่ภาคเอกชนพยายามผลักดันแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีฯ พบว่าคนอีสานส่วนใหญ่ร้อยละ 36.8 เห็นว่าควรจัดตั้งที่จังหวัดขอนแก่น รองลงมา จังหวัดนครราชสีมา ร้อยละ 24.2 จังหวัดอุดรธานี ร้อยละ 22.9 และจังหวัดมหาสารคาม ร้อยละ 16.2 ตามลำดับ (หมายเหตุ: ผู้ตอบแบบสอบถามไม่สามารถเลือกจังหวัดของตัวเอง)
“แม้คะแนนโดยภาพรวมรัฐบาลจะยังสอบผ่านในสายตาคนอีสานผลงานรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะเป็นผลพวงมาจากความชื่นชอบส่วนตัวที่คนอีสานมีต่อพรรคเพื่อไทย แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องตระหนักคือคะแนนประเมินยังคงมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษเพราะคะแนนดิ่งลงเหลือแค่ 50.9% ที่จริงอาจจะเรียกว่าสอบผ่านเพราะมีคะแนนจิตพิสัยช่วย ทุกวันนี้คนมีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายเพราะราคาสินค้าแพงขึ้น และยังถูกซ้ำเติมจากปัญหาราคาเชื้อเพลิงที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากรัฐบาลยังไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เห็นผลงานเป็นรูปธรรม อาจจะสอบตกด้านนี้ในไม่ช้า” นายสุทินกล่าว
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เพศหญิง ร้อยละ 53.4 เพศชาย ร้อยละ 46.6 ส่วนใหญ่อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 24.8 รองลงมาอายุ 46-55 ปี ร้อยละ 24.0 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 23.3 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 20.2 และอายุ 56 ปีขึ้นไป ร้อยละ 7.7 อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล (เขตเมือง) ร้อยละ 51.9 และอยู่นอกเขตเทศบาล (เขตชนบท) ร้อยละ 48.1
ส่วนระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบปริญญาตรี ร้อยละ 30.5 รองลงประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 25.3 มัธยมปลาย / ระดับปวช. ร้อยละ 18.0 อนุปริญญา / ปวส. ร้อยละ 11.6 มัธยมต้น ร้อยละ 9.7ปริญญาโทและเอก ร้อยละ 4.8 ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.9 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 16.9 รองลงรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.1 อาชีพรับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.6 นักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 14.9 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.5 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 6.6 และอาชีพอื่นๆ ร้อยละ 1.4 ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 29.4 รองลงรายได้ 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 28.9 รายได้ 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 14.9 รายได้ 20,001-40,000 บาท ร้อยละ 10.1 รายได้ 15.001-20,000 บาท ร้อยละ 12.0 มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 4.8
การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อการทำงานของรัฐบาลใน 6 ด้าน เพื่อเป็นเสียงสะท้อนให้รัฐบาลได้นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงมาตรการและนโยบายการทำงานได้อย่างเหมาะสม โดยการสำรวจจะมีขึ้นทุกๆ เดือน โดยครั้งนี้เป็นการสำรวจครั้งที่ 3 ตั้งแต่รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์เข้ารับตำแหน่ง ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2555 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,084 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ หนองคาย ชัยภูมิ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และบึงกาฬ.
นายสุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล เปิดเผยผลสำรวจของอีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเรื่อง “เสียงสะท้อนชาวอีสานกับผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ประจำเดือนกุมภาพันธ์ โดยประเมินผลงานรัฐบาลใน 6 ด้าน พบว่า ด้านภาพรวมการทำงานของรัฐบาลประเมินให้ผ่าน ร้อยละ 72.1 ไม่ผ่าน ร้อยละ 27.9 ด้านการเมืองและประชาธิปไตย ประเมินให้ผ่านร้อยละ 65.8 ไม่ผ่าน ร้อยละ 34.2 ด้านเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดี ประเมินให้ผ่านร้อยละ 50.9ไม่ผ่าน ร้อยละ 49.1 ด้านสังคม อาชญากรรม และยาเสพติด ประเมินให้ผ่านร้อยละ 65.8 ไม่ผ่าน ร้อยละ 34.2 ด้านสิ่งแวดล้อม มลภาวะ และภัยธรรมชาติ ประเมินให้ผ่านร้อยละ 53.8 ไม่ผ่าน ร้อยละ 46.2 ด้านการต่างประเทศ ประเมินให้ผ่านร้อยละ 79.7 ไม่ผ่าน ร้อยละ 20.3
เมื่อพิจารณาเทียบกับการสำรวจเดือนมกราคม 55 พบว่าแม้ครั้งนี้คนอีสานจะประเมินให้ผลงานแต่ละด้านผ่าน แต่ก็เป็นผลการประเมินที่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับลดลง กล่าวคือ คะแนนการทำงานในภาพรวม ลดลงจากเดิมเล็กน้อย จากที่เคยได้ร้อยละ 74.7 เหลือร้อยละ 72.1 ขณะที่ด้านการเมือง ลดลงจากเดิมเล็กน้อย จากที่ได้ร้อยละ 68.3 เหลือร้อยละ 65.8 ด้านเศรษฐกิจ ลดลงจากเดิมเล็กน้อย จากที่ได้ร้อยละ 56.8 เหลือร้อยละ 50.9 ด้านสังคม อาชญากรรม และยาเสพติด ดีขึ้นเล็กน้อย จากเดิมร้อยละ 61.2 เพิ่มเป็นร้อยละ 65.8 ด้านสิ่งแวดล้อม มลภาวะ และภัยธรรมชาติ ผลประเมินคงที่ จากเดิมร้อยละ 53.9 ครั้งนี้ร้อยละ 53.8 และด้านการต่างประเทศ ลดลงจากเดิมเล็กน้อย จากที่ได้ร้อยละ 81.2 เหลือร้อยละ 79.7
อย่างไรก็ตาม แม้คะแนนประเมินผลงานรัฐบาลจะเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวลดลง แต่เมื่อถามความคิดเห็นว่าหากมีการเลือกตั้งครั้งใหม่คนอีสานจะเลือกพรรคการเมืองใด พบว่าร้อยละ 47.0 จะเลือกพรรคเพื่อไทย และอีกกว่าร้อยละ 35.7 ที่ตอบว่าจะยังไม่ตัดสินใจในขณะนี้ โดยผลการสำรวจนักการเมืองที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดประจำเดือน ลำดับที่ 1 ถึง 4 ยังคงเดิม โดย น.ส.นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังคงนำมาเป็นอันดับหนึ่งร้อยละ 56.4 รองลงมา ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ร้อยละ 16.1 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ร้อยละ 9.9 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 7.6 นักการเมืองคนอื่นๆ ร้อยละ 8.7 และผู้ที่ตอบว่าไม่มีนักการเมืองคนใดมีผลงานโดดเด่นเลย ร้อยละ 1.3
"ประเด็นปัญหาที่คนอีสานเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขมากที่สุด คือ การขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่องและสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีผู้เรียกร้องให้แก้ไขอย่างเร่งด่วนคิดเป็นร้อยละ 62.6 รองลงมาต้องการปรามปรามยาเสพติดในชุมชนและบริเวณชายแดน ร้อยละ 12.6"
และเมื่อสำรวจต่อถึงความเห็นเกี่ยวกับแผนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งแรกในภาคอีสานกว่า 1,500-2,000 ไร่ ตามที่ภาคเอกชนพยายามผลักดันแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีฯ พบว่าคนอีสานส่วนใหญ่ร้อยละ 36.8 เห็นว่าควรจัดตั้งที่จังหวัดขอนแก่น รองลงมา จังหวัดนครราชสีมา ร้อยละ 24.2 จังหวัดอุดรธานี ร้อยละ 22.9 และจังหวัดมหาสารคาม ร้อยละ 16.2 ตามลำดับ (หมายเหตุ: ผู้ตอบแบบสอบถามไม่สามารถเลือกจังหวัดของตัวเอง)
“แม้คะแนนโดยภาพรวมรัฐบาลจะยังสอบผ่านในสายตาคนอีสานผลงานรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะเป็นผลพวงมาจากความชื่นชอบส่วนตัวที่คนอีสานมีต่อพรรคเพื่อไทย แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องตระหนักคือคะแนนประเมินยังคงมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษเพราะคะแนนดิ่งลงเหลือแค่ 50.9% ที่จริงอาจจะเรียกว่าสอบผ่านเพราะมีคะแนนจิตพิสัยช่วย ทุกวันนี้คนมีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายเพราะราคาสินค้าแพงขึ้น และยังถูกซ้ำเติมจากปัญหาราคาเชื้อเพลิงที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากรัฐบาลยังไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เห็นผลงานเป็นรูปธรรม อาจจะสอบตกด้านนี้ในไม่ช้า” นายสุทินกล่าว
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เพศหญิง ร้อยละ 53.4 เพศชาย ร้อยละ 46.6 ส่วนใหญ่อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 24.8 รองลงมาอายุ 46-55 ปี ร้อยละ 24.0 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 23.3 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 20.2 และอายุ 56 ปีขึ้นไป ร้อยละ 7.7 อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล (เขตเมือง) ร้อยละ 51.9 และอยู่นอกเขตเทศบาล (เขตชนบท) ร้อยละ 48.1
ส่วนระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบปริญญาตรี ร้อยละ 30.5 รองลงประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 25.3 มัธยมปลาย / ระดับปวช. ร้อยละ 18.0 อนุปริญญา / ปวส. ร้อยละ 11.6 มัธยมต้น ร้อยละ 9.7ปริญญาโทและเอก ร้อยละ 4.8 ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.9 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 16.9 รองลงรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.1 อาชีพรับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.6 นักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 14.9 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.5 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 6.6 และอาชีพอื่นๆ ร้อยละ 1.4 ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 29.4 รองลงรายได้ 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 28.9 รายได้ 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 14.9 รายได้ 20,001-40,000 บาท ร้อยละ 10.1 รายได้ 15.001-20,000 บาท ร้อยละ 12.0 มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 4.8
การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อการทำงานของรัฐบาลใน 6 ด้าน เพื่อเป็นเสียงสะท้อนให้รัฐบาลได้นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงมาตรการและนโยบายการทำงานได้อย่างเหมาะสม โดยการสำรวจจะมีขึ้นทุกๆ เดือน โดยครั้งนี้เป็นการสำรวจครั้งที่ 3 ตั้งแต่รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์เข้ารับตำแหน่ง ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2555 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,084 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ หนองคาย ชัยภูมิ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และบึงกาฬ.