ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.เผยผลการสำรวจปี 54 พบ ลูกจ้างไทยได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนยังไม่แตะหมื่นบาท อยู่ที่ 9,927 บาท ถือว่ายังต่ำกว่ารายได้ประชาชาติของประเทศ ที่ปีที่แล้วไทยเพิ่งขึ้นเป็นประเทศฐานะปานกลาง ธปท. ห่วงภาคการเกษตรช้ำหนักไม่พอกิน ต่อเดือนได้ค่าจ้างแค่ 4,812 บาท ขณะที่ภาคนอกภาคเกษตรได้ 10,689.4 บาทต่อเดือน ระบุหากค่าครองชีพปี 2555 สูงขึ้น ไม่ว่าลูกจ้างในหรือนอกภาคเกษตรเดือดร้อนแน่
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ทำรายงานภาวะการจ้างงาน และค่าจ้างแรงงาน สิ้นปี 2554 ที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณผู้มีงานทำทั้งสิ้น 39,493,700 คน แบ่งเป็นแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมทั้งสิ้น 16,798,000 คน และแรงงานที่อยู่นอกภาคเกษตร 22,695,700 คน ซึ่งส่วนนี้เป็นภาคอุตสาหกรรม 5,207,000 คน ภาคก่อสร้าง 1,821,100 คน ภาคการค้า 5,933,000 คน และภาคบริการ 9,657,000 คน
ขณะที่มียอดผู้ว่างงานเพียง 1,700,000 คน โดยมีผู้ใช้บริการผู้ประกัน กรณีว่างงานทั้งสิ้น 104,182 คน จากปี 2553 ที่มีผู้ใช้บริการกรณีว่างงานทั้งสิ้น 89,965 คน
ทั้งนี้ ธปท.ยังได้รายงานค่าจ้างเฉลี่ยของผู้มีงานทำที่เป็นลูกจ้าง ทั้งในภาคการเกษตร และนอกภาคการเกษตรด้วยว่า ในปี 2554 ลูกจ้างทั้งในภาคการแกษตร และนอกภาคการเกษตร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 9,927.2 บาทต่อเดือนเท่านั้น หรือคิดเป็นค่าจ้างเฉลี่ยต่อวัน 330.9 บาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ซึ่งลูกจ้างมีรายได้ 9,262.2 บาทต่อเดือน เพียง 665 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 7%
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า รายได้ของลูกจ้างในภาคการเกษตรของไทยในปี 2554 ยังคงมีรายได้ต่ำมาก แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรในปีที่ผ่านมาจะปรับตัวดีขึ้นถึง 12.2% ก็ตาม โดยค่าจ้างของลูกจ้างภาคเกษตรเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2554 อยู่ที่ 4,812.6. บาทต่อเดือน หรือคิดเฉลี่ยเป็นวัน มีรายได้วันละ 160.42 บาทเท่านั้น และเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2553 ซึ่งลูกจ้างภาคการเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 4,245.9 บาทต่อเดือนแล้ว เพิ่มขึ้น 556.7 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้น 13% จากปีก่อนหน้า
ขณะที่ลูกจ้างในภาคนอกภาคการเกษตรมีรายได้สูงกว่า โดยค่าจ้างเฉลี่ยทั้งปี ของลูกจ้างนอกภาคการเกษตรเฉลี่ยในปี 2554 อยู่ที่ 10,689.4 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นรายวันได้ค่าจ้างเฉลี่ยวันละ 389.60 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าจ้างเฉลี่ยในปีก่อนหน้าซึ่งมีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 10,069.4 บาทต่อเดือนแล้ว ค่าจ้างในภาคนอกภาคเกษตรในปี 2554 เพิ่มขึ้น 620 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นเพียง 6%เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม จากการติดตามสถานการณ์ค่าจ้างแรงงานพบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมานั้น ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างทั้งในภาคเกษตร และนอกภาคเกษตร รวมกัน ได้ปรับขึ้นมาสูงกว่า 10,000 บาทต่อเดือนเป็นครั้งแรก โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ค่าจ้างเฉลี่ยขึ้นมาอยู่ที่ 10,308.8 บาทต่อเดือน และในไตรมาสที่ 4 ขยับขึ้นมาอีกเล็กน้อย
โดยค่าจ้างเฉลี่ยขึ้นมาอยู่ที่ 10,425.8 บาทต่อเดือน ทำให้คาดว่าในปี 2555 ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างในภาคการเกษตร และนอกภาคการเกษตรของไทยจะสูงกว่า 10,000 บาทต่อเดือนอย่างแน่นอน แต่ ธปท.ประเมินว่า ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงต่อความสามารถในการใช้จ่าย และการชำระหนี้ หากค่าครองชีพในปี 2555 ทียังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นกว่าในปี 2554 ที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อเทียบค่าจ้างแรงงานที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยรายเดือนในปี 2554 เทียบกับรายได้ประชาชาติต่อหัวของคนไทย ประจำ ไตรมาสที่ 4 ของปี ซึ่งสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)ประกาศว่า ประเทศไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคนต่อไตรมาส ที่ 36,211 บาท หรือ 12,070.3 บาทต่อเดือนแล้ว ลูกจ้างในประเทศไทยยังรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำกว่ารายได้ประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างในภาคการเกษตร ซึ่งเงินค่าจ้างที่ได้รับไม่เพียงพอในการดำรงชีพ ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมาในระดับที่สูง
อย่างไรก็ตาม ธปท.ประเมินว่า ในส่วนของการเลิกจ้างแรงงานจากบริษัทที่ประสบปัญหาในช่วงน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่น่าจะมีการกลับมาจ้างแรงงานกลับคืนเกือบทั้งหมด เมื่อภาคอุตสาหกรรมกลับมาใช้กำลังการผลิตเต็มที่เท่ากับก่อนเกิดปัญหาอุทกภัย นอกจากนั้น หากพิจารณาจากตัวเลขการว่างงานที่อยู่ที่ 0.4% ของแรงงานรวมเท่านั้น ยังอยู่ในสภาวะขาดแคลนแรงงาน นอกจากนั้น ในขณะนี้เริ่มเห็นชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาที่เพิ่มขึ้นบ้างแล้ว
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ทำรายงานภาวะการจ้างงาน และค่าจ้างแรงงาน สิ้นปี 2554 ที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณผู้มีงานทำทั้งสิ้น 39,493,700 คน แบ่งเป็นแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมทั้งสิ้น 16,798,000 คน และแรงงานที่อยู่นอกภาคเกษตร 22,695,700 คน ซึ่งส่วนนี้เป็นภาคอุตสาหกรรม 5,207,000 คน ภาคก่อสร้าง 1,821,100 คน ภาคการค้า 5,933,000 คน และภาคบริการ 9,657,000 คน
ขณะที่มียอดผู้ว่างงานเพียง 1,700,000 คน โดยมีผู้ใช้บริการผู้ประกัน กรณีว่างงานทั้งสิ้น 104,182 คน จากปี 2553 ที่มีผู้ใช้บริการกรณีว่างงานทั้งสิ้น 89,965 คน
ทั้งนี้ ธปท.ยังได้รายงานค่าจ้างเฉลี่ยของผู้มีงานทำที่เป็นลูกจ้าง ทั้งในภาคการเกษตร และนอกภาคการเกษตรด้วยว่า ในปี 2554 ลูกจ้างทั้งในภาคการแกษตร และนอกภาคการเกษตร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 9,927.2 บาทต่อเดือนเท่านั้น หรือคิดเป็นค่าจ้างเฉลี่ยต่อวัน 330.9 บาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ซึ่งลูกจ้างมีรายได้ 9,262.2 บาทต่อเดือน เพียง 665 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 7%
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า รายได้ของลูกจ้างในภาคการเกษตรของไทยในปี 2554 ยังคงมีรายได้ต่ำมาก แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรในปีที่ผ่านมาจะปรับตัวดีขึ้นถึง 12.2% ก็ตาม โดยค่าจ้างของลูกจ้างภาคเกษตรเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2554 อยู่ที่ 4,812.6. บาทต่อเดือน หรือคิดเฉลี่ยเป็นวัน มีรายได้วันละ 160.42 บาทเท่านั้น และเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2553 ซึ่งลูกจ้างภาคการเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 4,245.9 บาทต่อเดือนแล้ว เพิ่มขึ้น 556.7 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้น 13% จากปีก่อนหน้า
ขณะที่ลูกจ้างในภาคนอกภาคการเกษตรมีรายได้สูงกว่า โดยค่าจ้างเฉลี่ยทั้งปี ของลูกจ้างนอกภาคการเกษตรเฉลี่ยในปี 2554 อยู่ที่ 10,689.4 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นรายวันได้ค่าจ้างเฉลี่ยวันละ 389.60 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าจ้างเฉลี่ยในปีก่อนหน้าซึ่งมีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 10,069.4 บาทต่อเดือนแล้ว ค่าจ้างในภาคนอกภาคเกษตรในปี 2554 เพิ่มขึ้น 620 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นเพียง 6%เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม จากการติดตามสถานการณ์ค่าจ้างแรงงานพบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมานั้น ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างทั้งในภาคเกษตร และนอกภาคเกษตร รวมกัน ได้ปรับขึ้นมาสูงกว่า 10,000 บาทต่อเดือนเป็นครั้งแรก โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ค่าจ้างเฉลี่ยขึ้นมาอยู่ที่ 10,308.8 บาทต่อเดือน และในไตรมาสที่ 4 ขยับขึ้นมาอีกเล็กน้อย
โดยค่าจ้างเฉลี่ยขึ้นมาอยู่ที่ 10,425.8 บาทต่อเดือน ทำให้คาดว่าในปี 2555 ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างในภาคการเกษตร และนอกภาคการเกษตรของไทยจะสูงกว่า 10,000 บาทต่อเดือนอย่างแน่นอน แต่ ธปท.ประเมินว่า ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงต่อความสามารถในการใช้จ่าย และการชำระหนี้ หากค่าครองชีพในปี 2555 ทียังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นกว่าในปี 2554 ที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อเทียบค่าจ้างแรงงานที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยรายเดือนในปี 2554 เทียบกับรายได้ประชาชาติต่อหัวของคนไทย ประจำ ไตรมาสที่ 4 ของปี ซึ่งสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)ประกาศว่า ประเทศไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคนต่อไตรมาส ที่ 36,211 บาท หรือ 12,070.3 บาทต่อเดือนแล้ว ลูกจ้างในประเทศไทยยังรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำกว่ารายได้ประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างในภาคการเกษตร ซึ่งเงินค่าจ้างที่ได้รับไม่เพียงพอในการดำรงชีพ ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมาในระดับที่สูง
อย่างไรก็ตาม ธปท.ประเมินว่า ในส่วนของการเลิกจ้างแรงงานจากบริษัทที่ประสบปัญหาในช่วงน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่น่าจะมีการกลับมาจ้างแรงงานกลับคืนเกือบทั้งหมด เมื่อภาคอุตสาหกรรมกลับมาใช้กำลังการผลิตเต็มที่เท่ากับก่อนเกิดปัญหาอุทกภัย นอกจากนั้น หากพิจารณาจากตัวเลขการว่างงานที่อยู่ที่ 0.4% ของแรงงานรวมเท่านั้น ยังอยู่ในสภาวะขาดแคลนแรงงาน นอกจากนั้น ในขณะนี้เริ่มเห็นชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาที่เพิ่มขึ้นบ้างแล้ว