ASTV ผู้จัดการรายวัน - หุ้นไทยยังได้รับแรงหนุนจาก Fund Flow ตั้งแต่ปีต่างชาติซื้อสุทธิแล้ว 5.5 หมื่นล้านบาท ภาพรวมระะยกลางดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปต่อ ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดสัปดาห์นี้ ดัชนีอาจแกว่งตัวผันผวน แต่มีโอกาสปรับเพิ่มรับอานิสงส์เงินทุนไหลเข้า แนะจับตาปัญหาหนี้ยุโรปโดยให้แนวรับที่ 1,160-1,147 จุด และแนวต้านที่ 1,180-1,186 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยเม่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(3มี.ค.) ปิดที่ระดับ 1,165.15 จุด เพิ่มขึ้น 0.17 จุด หรือ 0.01% มูลค่าการซื้อขาย 36,891.41 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 1,173.07 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 1,164.14 จุด ภาพรวมดัชนีปรับตัวในกรอบแคบ เนื่องจากได้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านี้ จึงเกิดแรงเทขายทำกำไรบางส่วนออกมา อย่างไรก็ตาม หากเฉพาะปัจจัยกระแสเม็ดเงินจากต่างประเทศ พบว่า ยังไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียต่อเนื่อง โดยวันสุดท้ายของสัปดาห์นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยอีก 3,099.04 ล้านบาท ดันภาพรวมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน นักลงทุนต่างประเทศซื้อสะสมในตลาดหุ้นไทยแล้ว 55,052.75 ล้านบาท
หลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อวันศุกร์ เพิ่มขึ้น 245 หลักทรัพย์ ลดลง 230 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 175 หลักทรัพย์ ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ IVL มูลค่าการซื้อขาย 2,525.14 ล้านบาท ปิดที่ 38.75 บาท ลดลง 1.25 บาท BANPU มูลค่าการซื้อขาย 2,221.00 ล้านบาท ปิดที่ 656.00 บาท เพิ่มขึ้น 8.00 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 2,158.32 ล้านบาท ปิดที่ 365.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท CPF มูลค่าการซื้อขาย 1,754.79 ล้านบาท ปิดที่ 37.25 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง และ DTAC มูลค่าการซื้อขาย 1,400.06 ล้านบาท ปิดที่ 71.75 บาท เพิ่มขึ้น 2.25 บาท
นายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเมื่อวันศุกร์ระหว่างการซื้อขายมีการย่อตัวลงบ้าง มองว่าเป็นไปในทางเทคนิค หลังจากที่ตลาดฯได้ปรับตัวขึ้นมาหลายวันแล้ว ทำให้เกิดแรงขายทำกำไรออกมาบ้าง แต่ทั้งนี้ปัจจัยหลักจาก Flow ยังคงไหลเข้ามาอยู่ ทำให้ตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นเช่นกัน หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯออกมาดี และนักลงทุนกังวลน้อยลงกับสถานการณ์ในยุโรป โดยเรื่องนี้ส่งผลต่อ P/E ตลาดหุ้นไทยขณะนี้ให้ขึ้นมาอยู่ที่ 12 เท่าด้วยเช่นกัน
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ ประเมินว่า ดัชนียังมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้อยู่ แต่เมื่อดัชนีฯขึ้นทะลุจุด High เดิม แล้วอาจปรับตัวลดลงบ้าง แต่ระยะกลางตลาดฯยังน่าจะไปต่อได้อีก หาก Flow ยังดีอยู่ก็อาจทำให้ดัชนีฯขึ้นไปแถว 1,200 จุดต้น ๆ ได้ พร้อมให้แนวรับ 1,148 จุด แนวต้าน 1,175 จุด
ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ดัชนี SET ปรับเพิ่มขึ้น จากมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติมให้กับสถาบันการเงินของธนาคารกลางยุโรป โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,165.15 จุด เพิ่มขึ้น 1.66% จากสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้น 30.11 จุด จากราคาปิดในวันจันทร์ ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 10.27% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 32,364.68 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 295.21 จุด ลดลง 2.03% จากสัปดาห์ก่อน
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 5-9 มี.ค. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ดัชนีอาจแกว่งตัวผันผวน โดยมีโอกาสแกว่งขึ้นจากอานิสงส์เงินทุนไหลเข้า แต่ก็อาจเผชิญการพักฐานจากแรงขายทำกำไร โดยคงต้องจับตาประเด็นหนี้ยุโรปที่จะมีการแลกเปลี่ยนพันธบัตรกรีซ สำหรับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ดัชนีภาคการบริการ (ISM) และการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ทั้งนี้ บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,160 และ 1,147 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,180 และ 1,186 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยเม่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(3มี.ค.) ปิดที่ระดับ 1,165.15 จุด เพิ่มขึ้น 0.17 จุด หรือ 0.01% มูลค่าการซื้อขาย 36,891.41 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 1,173.07 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 1,164.14 จุด ภาพรวมดัชนีปรับตัวในกรอบแคบ เนื่องจากได้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านี้ จึงเกิดแรงเทขายทำกำไรบางส่วนออกมา อย่างไรก็ตาม หากเฉพาะปัจจัยกระแสเม็ดเงินจากต่างประเทศ พบว่า ยังไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียต่อเนื่อง โดยวันสุดท้ายของสัปดาห์นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยอีก 3,099.04 ล้านบาท ดันภาพรวมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน นักลงทุนต่างประเทศซื้อสะสมในตลาดหุ้นไทยแล้ว 55,052.75 ล้านบาท
หลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อวันศุกร์ เพิ่มขึ้น 245 หลักทรัพย์ ลดลง 230 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 175 หลักทรัพย์ ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ IVL มูลค่าการซื้อขาย 2,525.14 ล้านบาท ปิดที่ 38.75 บาท ลดลง 1.25 บาท BANPU มูลค่าการซื้อขาย 2,221.00 ล้านบาท ปิดที่ 656.00 บาท เพิ่มขึ้น 8.00 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 2,158.32 ล้านบาท ปิดที่ 365.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท CPF มูลค่าการซื้อขาย 1,754.79 ล้านบาท ปิดที่ 37.25 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง และ DTAC มูลค่าการซื้อขาย 1,400.06 ล้านบาท ปิดที่ 71.75 บาท เพิ่มขึ้น 2.25 บาท
นายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเมื่อวันศุกร์ระหว่างการซื้อขายมีการย่อตัวลงบ้าง มองว่าเป็นไปในทางเทคนิค หลังจากที่ตลาดฯได้ปรับตัวขึ้นมาหลายวันแล้ว ทำให้เกิดแรงขายทำกำไรออกมาบ้าง แต่ทั้งนี้ปัจจัยหลักจาก Flow ยังคงไหลเข้ามาอยู่ ทำให้ตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นเช่นกัน หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯออกมาดี และนักลงทุนกังวลน้อยลงกับสถานการณ์ในยุโรป โดยเรื่องนี้ส่งผลต่อ P/E ตลาดหุ้นไทยขณะนี้ให้ขึ้นมาอยู่ที่ 12 เท่าด้วยเช่นกัน
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ ประเมินว่า ดัชนียังมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้อยู่ แต่เมื่อดัชนีฯขึ้นทะลุจุด High เดิม แล้วอาจปรับตัวลดลงบ้าง แต่ระยะกลางตลาดฯยังน่าจะไปต่อได้อีก หาก Flow ยังดีอยู่ก็อาจทำให้ดัชนีฯขึ้นไปแถว 1,200 จุดต้น ๆ ได้ พร้อมให้แนวรับ 1,148 จุด แนวต้าน 1,175 จุด
ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ดัชนี SET ปรับเพิ่มขึ้น จากมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติมให้กับสถาบันการเงินของธนาคารกลางยุโรป โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,165.15 จุด เพิ่มขึ้น 1.66% จากสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้น 30.11 จุด จากราคาปิดในวันจันทร์ ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 10.27% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 32,364.68 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 295.21 จุด ลดลง 2.03% จากสัปดาห์ก่อน
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 5-9 มี.ค. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ดัชนีอาจแกว่งตัวผันผวน โดยมีโอกาสแกว่งขึ้นจากอานิสงส์เงินทุนไหลเข้า แต่ก็อาจเผชิญการพักฐานจากแรงขายทำกำไร โดยคงต้องจับตาประเด็นหนี้ยุโรปที่จะมีการแลกเปลี่ยนพันธบัตรกรีซ สำหรับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ดัชนีภาคการบริการ (ISM) และการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ทั้งนี้ บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,160 และ 1,147 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,180 และ 1,186 จุด