ได้อ่านข่าวที่สื่อมวลชนรายงาน กรณีนายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าตัวโครงสร้างองค์กรต่างๆ ไม่เป็นปัญหา แต่การวางโครงสร้าง การเข้าสู่อำนาจ และการตรวจสอบต้องทำใหม่ นายวัฒนา กล่าวว่า ดุลอำนาจ การเข้าสู่อำนาจ การตรวจสอบนั่นเรื่องใหญ่ที่สุดแล้ว ไม่งั้นมันถูกใช้เป็นเครื่องมือนำมาซึ่งความขัดแย้ง องค์กรไหนที่ตรวจสอบยาก เช่น ทหารสุดท้ายจะกลายเป็นแดนสนธยา
ส่วนกรณีที่ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยเสนอโละองค์กรอิสระให้เหลือแค่กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ป.ป.ช. และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นายวัฒนา กล่าวว่าควรจะเหลือเท่าที่จำเป็น และยังกล่าวอีกว่า ศาลรัฐธรรมนูญกับศาลปกครอง ก็ไม่จำเป็นใช้ศาลฎีกาแล้วเปิดแผนกขึ้นมาก็ได้ เวลามีคดีก็ส่งเขา และคัดผู้พิพากษาขึ้นมาใช้ผู้พิพากษาเป็นแผนกได้ เช่น แผนกคดีเลือกตั้งไม่จำเป็นต้องมีศาลเลือกตั้งเลย เพราะไม่มีคดีเกิดขึ้นทุกวัน ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่มีคดีทุกวัน ใช้แผนกของศาลฎีกาก็ได้
ผู้สื่อข่าวยังรายงานอีกว่า คำสัมภาษณ์ของนายวัฒนาดังกล่าวสอดคล้องกับท่าทีของเขาในระหว่างการอภิปรายในวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 โดยเสนอให้ควรปรับปรุง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยอ้างว่าขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น รายละเอียดปรากฏในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555
เมื่อพิจารณาจากรายงานข่าวดังกล่าวและคำอภิปรายของบุคคลผู้นี้แล้ว ก็จะเห็นเจตนารมณ์ของพรรคเพื่อไทยและเจ้าของพรรค คือ ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นอย่างดี เพราะสิ่งที่พูดและแสดงออกในขณะนี้เป็นเหตุผลและทิศทางที่สอดคล้องต้องกันของทักษิณ และสมุนบริวารของเขา ที่มีความไม่พอใจต่อกลไกและระบอบการตรวจสอบที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มาโดยตลอด ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วองค์กรอิสระทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น กกต. ป.ป.ช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ เหล่านี้ล้วนมีที่มาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 อันเป็นฉบับที่พวกทักษิณ และพรรคเพื่อไทยเรียกร้องให้นำมาใช้ทั้งฉบับแทนรัฐธรรมนูญปี 2550 หาได้มีอำนาจหน้าที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่อย่างใด
เพียงแต่องค์กรอิสระทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2550 มีที่มาและการสรรหาตุลาการหรือคณะกรรมการองค์กรอิสระทั้งหลาย ปลอดพ้นจากอำนาจทางการเมืองเท่านั้น คือรัฐธรรมนูญปี 2550 ให้การสรรหาบุคคลผู้เข้าดำรงตำแหน่งในศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่างๆ เหล่านั้น ให้มีกรรมการสรรหาประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครอง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้าน และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคนเป็นกรรมการทำหน้าที่สรรหาเท่านั้น
แต่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 กรณีศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 257) กรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลฎีกา คณบดีคณะนิติศาสตร์เลือกกันเองให้เหลือ 4 คน คณบดีคณะรัฐศาสตร์เลือกกันเองให้เหลือ 4 คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละ 1 คน เลือกกันเองให้เหลือ 4 คน เป็นกรรมการ หรือกรณีการสรรหากรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปี 2540 (มาตรา 138) ก็มีกระบวนการสรรหาที่ให้อำนาจฝ่ายการเมืองเข้าครอบงำ
ในทำนองเดียวกัน เมื่อองค์กรอิสระทั้งหลายตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ฝ่ายการเมืองมิอาจเข้าครอบงำแทรกแซงได้โดยง่าย ย่อมทำให้กลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองโดยองค์กรอิสระทั้งหลาย โดยเฉพาะศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญมีความเข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้มีอำนาจและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งหลายไม่พอใจ และต้องการทำลายขบวนการตรวจสอบขององค์กรอิสระทั้งหลายเหล่านั้นลงเสีย เพื่อให้กลับไปมีสภาพที่เป็นองค์กร ไม่มีความเป็นอิสระ ตกอยู่ภายใต้การครอบงำแทรกแซงของฝ่ายการเมืองได้ ดังเช่นยุคสมัยที่ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเขาสามารถครอบงำและแทรกแซงองค์กรอิสระทั้งหลายจนอ่อนแอไร้ประสิทธิภาพ ไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจคดโกงทุจริต และประพฤติมิชอบของนักการเมืองได้เลยอันเป็นที่มาแห่งความชั่วร้ายของ “ระบอบทักษิณ” จนนำมาสู่วิกฤตการเมืองของประเทศ ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
มีปัญหาที่ต้องพิจารณาและน่าขบคิดอย่างยิ่งว่าเหตุผลที่พรรคเพื่อไทย และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ ที่มีเจตนาจะล้มล้างศาลและองค์กรอิสระทั้งหลายกระทั่งลามปามไปถึงจะเข้าไปควบคุมตรวจสอบครอบงำแทรกแซงกองทัพและศาลยุติธรรม ดังปรากฏข้อเท็จจริงที่เผยให้เห็นธาตุแท้ของพวกเขา จากคำสัมภาษณ์ คำปราศรัย การอภิปรายแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะของทักษิณและพวกเสื้อแดง กลุ่ม 111 คน และล่าสุดคือคำสัมภาษณ์ของนายวัฒนา พวกเขาคิดและทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนหรือไม่ หรือโดยเจตนาจะกระทำเพื่อประโยชน์ของใคร ประชาชนทั้งหลายคงคิดและพิจารณาได้ไม่ยาก
ความจริงแล้วหากพิจารณาด้วยเหตุและผลอันเป็นความจริงที่ประจักษ์ ปัญหาของประเทศชาติบ้านเมืองไม่ได้เกิดจากศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระทั้งหลายเหล่านั้นแต่อย่างใด ในบรรดาองค์กรทางอำนาจที่เป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยของปวงชนคือ อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ องค์กรตัวแทนอำนาจอธิปไตยของปวงชนที่มีปัญหามากที่สุดก่อให้เกิดวิกฤตกับชาติบ้านเมือง ฉุดรั้งประเทศให้จมปลักอยู่กับความล้าหลัง เหลวแหลก ยากจน ด้อยพัฒนา เต็มไปด้วยปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงอยู่ในขณะนี้ ล้วนมีต้นตอและสาเหตุมาจากฝ่ายบริหารที่ประพฤติผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ กระทำการทุจริต ประพฤติมิชอบใช้อำนาจหน้าที่โดยขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย
ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติก็เป็นเพียงสภาตรายาง ใช้เสียงข้างมากลากถูกันไป ยกมือปกป้อง และรับรองการกระทำของฝ่ายบริหาร หรือออกกฎหมายตราพระราชบัญญัติที่เอื้อประโยชน์ให้กับพรรคและพวกตัวเองที่เป็นฝ่ายบริหาร ไม่นับรวมพฤติกรรมส่วนตัวของเหล่าบรรดา ส.ส.ในสภาที่มีแต่เรื่องเสื่อมเสียไม่เหมาะสมในฐานะตัวแทนของปวงชนชาวไทยแต่อย่างใด กระบวนการเข้าสู่อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ล้วนแต่มาด้วยความไม่โปร่งใส ฉ้อฉล ใช้เล่ห์เพทุบาย โกงทุจริตการเลือกตั้งมาโดยผิดกฎหมายทั้งสิ้น
ระบบพรรคการเมือง เป็นเพียงบริษัทการเมืองจำกัด ที่มีเถ้าแก่นายทุนเจ้าของพรรคเป็นผู้บงการและสั่งการทั้งสิ้น ส.ส.ไม่ใช่ตัวแทนของปวงชนชาวไทย ส่วนนายกรัฐมนตรีก็มิใช่ได้รับเลือกมาโดยตรงจากประชาชนทั้งประเทศ เป็นเพียงบุคคลที่มาจาก ส.ส.เขตใดเขตหนึ่ง และเป็นบุคคลที่นายทุนเจ้าของพรรคกำหนดชี้นิ้วสั่งการได้
เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมของระบอบการเมือง โดยเฉพาะองค์กรตัวแทนอำนาจอธิปไตยจากทั้ง 3 ฝ่ายแล้ว ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารต่างหากที่สมควรได้รับการรื้อ ล้ม ล้าง ยุบหรือเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่องค์กรศาล ตุลาการ หรือองค์กรอิสระอื่นใด เพราะองค์กรเหล่านั้นมิได้เป็นปัญหาของชาติดั่งที่นักการเมือง และพรรคการเมืองเพื่อไทย ตะโกนป่าวร้องอยู่ในขณะนี้ พฤติกรรมของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย นายวัฒนา เมืองสุข ผู้นี้ ไม่ต่างอะไรกับ“ขโมยร้องจับขโมย หรือโจรร้องให้จับโจร” นั่นเอง
ส่วนกรณีที่ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยเสนอโละองค์กรอิสระให้เหลือแค่กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ป.ป.ช. และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นายวัฒนา กล่าวว่าควรจะเหลือเท่าที่จำเป็น และยังกล่าวอีกว่า ศาลรัฐธรรมนูญกับศาลปกครอง ก็ไม่จำเป็นใช้ศาลฎีกาแล้วเปิดแผนกขึ้นมาก็ได้ เวลามีคดีก็ส่งเขา และคัดผู้พิพากษาขึ้นมาใช้ผู้พิพากษาเป็นแผนกได้ เช่น แผนกคดีเลือกตั้งไม่จำเป็นต้องมีศาลเลือกตั้งเลย เพราะไม่มีคดีเกิดขึ้นทุกวัน ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่มีคดีทุกวัน ใช้แผนกของศาลฎีกาก็ได้
ผู้สื่อข่าวยังรายงานอีกว่า คำสัมภาษณ์ของนายวัฒนาดังกล่าวสอดคล้องกับท่าทีของเขาในระหว่างการอภิปรายในวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 โดยเสนอให้ควรปรับปรุง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยอ้างว่าขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น รายละเอียดปรากฏในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555
เมื่อพิจารณาจากรายงานข่าวดังกล่าวและคำอภิปรายของบุคคลผู้นี้แล้ว ก็จะเห็นเจตนารมณ์ของพรรคเพื่อไทยและเจ้าของพรรค คือ ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นอย่างดี เพราะสิ่งที่พูดและแสดงออกในขณะนี้เป็นเหตุผลและทิศทางที่สอดคล้องต้องกันของทักษิณ และสมุนบริวารของเขา ที่มีความไม่พอใจต่อกลไกและระบอบการตรวจสอบที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มาโดยตลอด ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วองค์กรอิสระทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น กกต. ป.ป.ช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ เหล่านี้ล้วนมีที่มาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 อันเป็นฉบับที่พวกทักษิณ และพรรคเพื่อไทยเรียกร้องให้นำมาใช้ทั้งฉบับแทนรัฐธรรมนูญปี 2550 หาได้มีอำนาจหน้าที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่อย่างใด
เพียงแต่องค์กรอิสระทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2550 มีที่มาและการสรรหาตุลาการหรือคณะกรรมการองค์กรอิสระทั้งหลาย ปลอดพ้นจากอำนาจทางการเมืองเท่านั้น คือรัฐธรรมนูญปี 2550 ให้การสรรหาบุคคลผู้เข้าดำรงตำแหน่งในศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่างๆ เหล่านั้น ให้มีกรรมการสรรหาประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครอง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้าน และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคนเป็นกรรมการทำหน้าที่สรรหาเท่านั้น
แต่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 กรณีศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 257) กรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลฎีกา คณบดีคณะนิติศาสตร์เลือกกันเองให้เหลือ 4 คน คณบดีคณะรัฐศาสตร์เลือกกันเองให้เหลือ 4 คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละ 1 คน เลือกกันเองให้เหลือ 4 คน เป็นกรรมการ หรือกรณีการสรรหากรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปี 2540 (มาตรา 138) ก็มีกระบวนการสรรหาที่ให้อำนาจฝ่ายการเมืองเข้าครอบงำ
ในทำนองเดียวกัน เมื่อองค์กรอิสระทั้งหลายตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ฝ่ายการเมืองมิอาจเข้าครอบงำแทรกแซงได้โดยง่าย ย่อมทำให้กลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองโดยองค์กรอิสระทั้งหลาย โดยเฉพาะศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญมีความเข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้มีอำนาจและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งหลายไม่พอใจ และต้องการทำลายขบวนการตรวจสอบขององค์กรอิสระทั้งหลายเหล่านั้นลงเสีย เพื่อให้กลับไปมีสภาพที่เป็นองค์กร ไม่มีความเป็นอิสระ ตกอยู่ภายใต้การครอบงำแทรกแซงของฝ่ายการเมืองได้ ดังเช่นยุคสมัยที่ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเขาสามารถครอบงำและแทรกแซงองค์กรอิสระทั้งหลายจนอ่อนแอไร้ประสิทธิภาพ ไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจคดโกงทุจริต และประพฤติมิชอบของนักการเมืองได้เลยอันเป็นที่มาแห่งความชั่วร้ายของ “ระบอบทักษิณ” จนนำมาสู่วิกฤตการเมืองของประเทศ ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
มีปัญหาที่ต้องพิจารณาและน่าขบคิดอย่างยิ่งว่าเหตุผลที่พรรคเพื่อไทย และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ ที่มีเจตนาจะล้มล้างศาลและองค์กรอิสระทั้งหลายกระทั่งลามปามไปถึงจะเข้าไปควบคุมตรวจสอบครอบงำแทรกแซงกองทัพและศาลยุติธรรม ดังปรากฏข้อเท็จจริงที่เผยให้เห็นธาตุแท้ของพวกเขา จากคำสัมภาษณ์ คำปราศรัย การอภิปรายแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะของทักษิณและพวกเสื้อแดง กลุ่ม 111 คน และล่าสุดคือคำสัมภาษณ์ของนายวัฒนา พวกเขาคิดและทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนหรือไม่ หรือโดยเจตนาจะกระทำเพื่อประโยชน์ของใคร ประชาชนทั้งหลายคงคิดและพิจารณาได้ไม่ยาก
ความจริงแล้วหากพิจารณาด้วยเหตุและผลอันเป็นความจริงที่ประจักษ์ ปัญหาของประเทศชาติบ้านเมืองไม่ได้เกิดจากศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระทั้งหลายเหล่านั้นแต่อย่างใด ในบรรดาองค์กรทางอำนาจที่เป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยของปวงชนคือ อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ องค์กรตัวแทนอำนาจอธิปไตยของปวงชนที่มีปัญหามากที่สุดก่อให้เกิดวิกฤตกับชาติบ้านเมือง ฉุดรั้งประเทศให้จมปลักอยู่กับความล้าหลัง เหลวแหลก ยากจน ด้อยพัฒนา เต็มไปด้วยปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงอยู่ในขณะนี้ ล้วนมีต้นตอและสาเหตุมาจากฝ่ายบริหารที่ประพฤติผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ กระทำการทุจริต ประพฤติมิชอบใช้อำนาจหน้าที่โดยขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย
ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติก็เป็นเพียงสภาตรายาง ใช้เสียงข้างมากลากถูกันไป ยกมือปกป้อง และรับรองการกระทำของฝ่ายบริหาร หรือออกกฎหมายตราพระราชบัญญัติที่เอื้อประโยชน์ให้กับพรรคและพวกตัวเองที่เป็นฝ่ายบริหาร ไม่นับรวมพฤติกรรมส่วนตัวของเหล่าบรรดา ส.ส.ในสภาที่มีแต่เรื่องเสื่อมเสียไม่เหมาะสมในฐานะตัวแทนของปวงชนชาวไทยแต่อย่างใด กระบวนการเข้าสู่อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ล้วนแต่มาด้วยความไม่โปร่งใส ฉ้อฉล ใช้เล่ห์เพทุบาย โกงทุจริตการเลือกตั้งมาโดยผิดกฎหมายทั้งสิ้น
ระบบพรรคการเมือง เป็นเพียงบริษัทการเมืองจำกัด ที่มีเถ้าแก่นายทุนเจ้าของพรรคเป็นผู้บงการและสั่งการทั้งสิ้น ส.ส.ไม่ใช่ตัวแทนของปวงชนชาวไทย ส่วนนายกรัฐมนตรีก็มิใช่ได้รับเลือกมาโดยตรงจากประชาชนทั้งประเทศ เป็นเพียงบุคคลที่มาจาก ส.ส.เขตใดเขตหนึ่ง และเป็นบุคคลที่นายทุนเจ้าของพรรคกำหนดชี้นิ้วสั่งการได้
เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมของระบอบการเมือง โดยเฉพาะองค์กรตัวแทนอำนาจอธิปไตยจากทั้ง 3 ฝ่ายแล้ว ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารต่างหากที่สมควรได้รับการรื้อ ล้ม ล้าง ยุบหรือเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่องค์กรศาล ตุลาการ หรือองค์กรอิสระอื่นใด เพราะองค์กรเหล่านั้นมิได้เป็นปัญหาของชาติดั่งที่นักการเมือง และพรรคการเมืองเพื่อไทย ตะโกนป่าวร้องอยู่ในขณะนี้ พฤติกรรมของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย นายวัฒนา เมืองสุข ผู้นี้ ไม่ต่างอะไรกับ“ขโมยร้องจับขโมย หรือโจรร้องให้จับโจร” นั่นเอง