ASTVผู้จัดการรายวัน-ธพ.ตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงแผนฉุกเฉินรับมือวิกฤตน้ำมัน หลังราคาโลกพุ่งจากความตึงเครียดกรณีอิหร่าน ลั่นหากเกิดขึ้นพร้อมงัดมาตรการใช้ทันที ทั้งเรื่องลดสต็อกและงดส่งออก ขณะที่การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงม.ค.55มูลค่าพุ่งทะลุ 1 แสนล้านบาท หลังน้ำมันดีดตัวแรง คาดมี.ค.นำเข้าแอลพีจี 1.8 แสนตัน กองทุนฯ ส่อชดเชย 5,000 ล้านบาท
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธพ.ได้ตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงแผนฉุกเฉิน ซึ่งตนเป็นประธาน เพื่อติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันใกล้ชิด รวมถึงการให้ผู้ค้าน้ำมันรายงานปริมาณสต็อกน้ำมันทุกวัน เพื่อที่จะกำหนดแผนรับมือ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกที่ขณะนี้เกิดความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ
“เราเองก็เตรียมพร้อมอยู่ คาดว่าน้ำมันดิบคงไม่ต่ำกว่า 110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์อิหร่านเป็นหลักว่าจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด แต่ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินจริงๆ เครื่องมือส่วนที่ธพ.รับผิดชอบสำคัญก็คือการผ่อนผันในเรื่องการเก็บสำรองหรือสต็อกน้ำมันที่กำหนดให้สำรองทั้งน้ำมันดิบและสำเร็จรูปไว้ใช้รวม 36 วันลงมา และการห้ามส่งออกน้ำมันออกนอกราชอาณาจักร“นายวีระพลกล่าว
สำหรับการใช้พลังงานภาพรวมของไทยขณะนี้ เดือนม.ค.2555 มีการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงรวมอยูที่ 9.6 แสนบาร์เรลต่อวันเพิ่มขึ้นจากธ.ค.2554 ประมาณ 23% มูลค่านำเข้า 105,179 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 26% เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับขึ้นสูงเฉลี่ยดูไบที่ 109.53 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยการใช้แอลพีจีเดือนม.ค.2555 อยู่ที่ 5.9 แสนตันต่อเดือนโดยเพิ่มขึ้นจากภาคปิโตรเคมี 18% ภาคขนส่งโต 6% เนื่องจากแอลพีจียังมีราคาถูกกว่าน้ำมันมาก แม้ว่าราคาภาคขนส่งจะปรับขึ้นไป 2 ครั้งรวมเพียง 82 สตางค์ต่อลิตรเท่านั้น ส่วนครัวเรือนลดลง 2%
สำหรับการนำเข้าแอลพีจีเดือนม.ค.2555อยู่ที่ 1.13 แสนตันต่อเดือน ทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีการจ่ายชดเชยจำนวน 2,223 ล้านบาท ก.พ.นำเข้าที่ 1.6 แสนตันต่อเดือน เนื่องจากโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 หยุดซ่อม และคาดว่ามี.ค.โรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 1 และโรงกลั่นไทยออยล์หยุดซ่อม จะทำให้การนำเข้าจะสูงถึง 1.8 แสนตันต่อเดือนประกอบกับราคาแอลพีจีตลาดโลกเพิ่มสูงกว่า 1,100 เหรียญสหรัฐต่อตัน จึงคาดว่ากองทุนฯ ต้องจ่ายชดเชยสูงในระดับ 5,000 ล้านบาท
“ปั๊มแอลพีจีล่าสุด ณ เดือนม.ค.2555 มีทั้งสิ้น 1,038 แห่ง จากม.ค.2554 อยู่ที่ 998 แห่ง ถือยังเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเพราะราคาน้ำมันที่แพง แม้ว่าขึ้นราคาแอลพีจีขนส่ง แต่ราคาก็ยังถูกกว่าเบนซินหลายเท่าตัว ส่วนเบนซิน 91 นั้น การใช้ก็เพิ่มขึ้นมากเพราะส่วนต่างราคาไม่จูงใจให้ใช้แก๊สโซฮอล์”นายวีระพลกล่าว
ทั้งนี้ การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน เดือนม.ค.2555 อยู่ที่ 20.4 ล้านลิตรต่อวันลดลงจากธ.ค.2554 จำนวน 1 ล้านลิตรต่อวันสาเหตุจากราคาที่สูงขึ้นจากการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และก.พ.2555 (1-18ก.พ.) การใช้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 21.3 ล้านลิตรต่อวันเนื่องจากราคายังไม่สูงมากเมื่อเทียบกับม.ค. ส่วนการใช้ดีเซล เดือนม.ค.ปรับลดลงจากธ.ค. 3 ล้านลิตรต่อวันอยู่ที่ 54.7 ล้านลิตรต่อวัน ผลจากราคาที่สูงขึ้นทั้งตลาดโลกและการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ส่วนการใช้เดือนก.พ.2555 (1-18ก.พ.) อยู่ที่ 57.9 ล้านลิตรต่อวัน เพราะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร ส่วนการใช้เอ็นจีวีเดือนม.ค.2555 อยู่ที่ 5.8 ล้านกิโลกรัมต่อวันเพิ่มขึ้นจากธ.ค.10% เป็นผลจากราคาที่ยังคงต่ำอยู่ในระดับ 9.50 บาทต่อกก.
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธพ.ได้ตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงแผนฉุกเฉิน ซึ่งตนเป็นประธาน เพื่อติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันใกล้ชิด รวมถึงการให้ผู้ค้าน้ำมันรายงานปริมาณสต็อกน้ำมันทุกวัน เพื่อที่จะกำหนดแผนรับมือ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกที่ขณะนี้เกิดความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ
“เราเองก็เตรียมพร้อมอยู่ คาดว่าน้ำมันดิบคงไม่ต่ำกว่า 110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์อิหร่านเป็นหลักว่าจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด แต่ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินจริงๆ เครื่องมือส่วนที่ธพ.รับผิดชอบสำคัญก็คือการผ่อนผันในเรื่องการเก็บสำรองหรือสต็อกน้ำมันที่กำหนดให้สำรองทั้งน้ำมันดิบและสำเร็จรูปไว้ใช้รวม 36 วันลงมา และการห้ามส่งออกน้ำมันออกนอกราชอาณาจักร“นายวีระพลกล่าว
สำหรับการใช้พลังงานภาพรวมของไทยขณะนี้ เดือนม.ค.2555 มีการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงรวมอยูที่ 9.6 แสนบาร์เรลต่อวันเพิ่มขึ้นจากธ.ค.2554 ประมาณ 23% มูลค่านำเข้า 105,179 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 26% เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับขึ้นสูงเฉลี่ยดูไบที่ 109.53 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยการใช้แอลพีจีเดือนม.ค.2555 อยู่ที่ 5.9 แสนตันต่อเดือนโดยเพิ่มขึ้นจากภาคปิโตรเคมี 18% ภาคขนส่งโต 6% เนื่องจากแอลพีจียังมีราคาถูกกว่าน้ำมันมาก แม้ว่าราคาภาคขนส่งจะปรับขึ้นไป 2 ครั้งรวมเพียง 82 สตางค์ต่อลิตรเท่านั้น ส่วนครัวเรือนลดลง 2%
สำหรับการนำเข้าแอลพีจีเดือนม.ค.2555อยู่ที่ 1.13 แสนตันต่อเดือน ทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีการจ่ายชดเชยจำนวน 2,223 ล้านบาท ก.พ.นำเข้าที่ 1.6 แสนตันต่อเดือน เนื่องจากโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 หยุดซ่อม และคาดว่ามี.ค.โรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 1 และโรงกลั่นไทยออยล์หยุดซ่อม จะทำให้การนำเข้าจะสูงถึง 1.8 แสนตันต่อเดือนประกอบกับราคาแอลพีจีตลาดโลกเพิ่มสูงกว่า 1,100 เหรียญสหรัฐต่อตัน จึงคาดว่ากองทุนฯ ต้องจ่ายชดเชยสูงในระดับ 5,000 ล้านบาท
“ปั๊มแอลพีจีล่าสุด ณ เดือนม.ค.2555 มีทั้งสิ้น 1,038 แห่ง จากม.ค.2554 อยู่ที่ 998 แห่ง ถือยังเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเพราะราคาน้ำมันที่แพง แม้ว่าขึ้นราคาแอลพีจีขนส่ง แต่ราคาก็ยังถูกกว่าเบนซินหลายเท่าตัว ส่วนเบนซิน 91 นั้น การใช้ก็เพิ่มขึ้นมากเพราะส่วนต่างราคาไม่จูงใจให้ใช้แก๊สโซฮอล์”นายวีระพลกล่าว
ทั้งนี้ การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน เดือนม.ค.2555 อยู่ที่ 20.4 ล้านลิตรต่อวันลดลงจากธ.ค.2554 จำนวน 1 ล้านลิตรต่อวันสาเหตุจากราคาที่สูงขึ้นจากการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และก.พ.2555 (1-18ก.พ.) การใช้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 21.3 ล้านลิตรต่อวันเนื่องจากราคายังไม่สูงมากเมื่อเทียบกับม.ค. ส่วนการใช้ดีเซล เดือนม.ค.ปรับลดลงจากธ.ค. 3 ล้านลิตรต่อวันอยู่ที่ 54.7 ล้านลิตรต่อวัน ผลจากราคาที่สูงขึ้นทั้งตลาดโลกและการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ส่วนการใช้เดือนก.พ.2555 (1-18ก.พ.) อยู่ที่ 57.9 ล้านลิตรต่อวัน เพราะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร ส่วนการใช้เอ็นจีวีเดือนม.ค.2555 อยู่ที่ 5.8 ล้านกิโลกรัมต่อวันเพิ่มขึ้นจากธ.ค.10% เป็นผลจากราคาที่ยังคงต่ำอยู่ในระดับ 9.50 บาทต่อกก.