ASTVผู้จัดการรายวัน – “แกรมมี่” ปรับทิศถูกทางลม ส่งธุรกิจเพลงรุ่ง ปีก่อนกำไรพุ่ง 76% มุ่งต่อยอดรายได้ใน 3 ทาง ทั้ง ออนกราวด์ ออนแอร์ และออนไลน์ ปีนี้บุกโฮมคาราโอเกะเต็มสูบ เล็งผุดจีเอ็มเอ็ม ยูทูป ล่าสุดทุ่ม 100 ล้านบาท เปิดตัวช่อง “GMM Music”
นายกริช ทอมมัส รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานธุรกิจเพลง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจเพลงใหม่ รับกับกระแสดิจิตอลในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พร้อมโมเดลการดำเนินธุรกิจต้นน้ำ คือ ธุรกิจเพลงตั้งแต่กลางปี 2553 ที่ผ่านมา ส่งผลให้กำไรจากกลุ่มธุรกิจเพลงในปี 2554 มีการเติบโตสูงถึง 76% แม้จะมีปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นก็ตาม โดยยกำไรที่เพิ่มขึ้นมาจากหลายส่วน โดยเฉพาะในเรื่องของการที่แกรมมี่นำคอนเท้นต์ในรูปแบบเอ็มพี3 เข้ามาในตลาด พร้อมจำหน่ายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น พบว่ายอดขายเติบโตเป็น 2 เท่าจากที่ตั้งเป้าไว้ที่ 1 ล้านแผ่น
ส่วนแผนในปีนี้พร้อมที่จะต่อยอดสร้างรายได้จากธุรกิจเพลงมากยิ่งขึ้น มุ่งเน้น 3 ส่วน คือ ออนแอร์ ออนกราวด์ และออนไลน์ ล่าสุดได้จับมือกับทาง บริษัท ทีเจ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศเกาหลีที่มีโนวฮาว์ด้านเทคโนโลยีคาราโอเกะ ซึ่งทางทีเจ ได้นำเทคโนโลยีผลิตเครื่องคาราโอเกะให้ทางเอเจ และโซเค่น ส่วนคอนเท้นต์เพลงนั้นได้ร่วมกับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่ในปีนี้จะมุ่งขายคอนเท้นต์คาราโอเกะมากยิ่งขึ้น โดยลูกค้าสามารถนำกล่องฮาร์ดดิสจากตัวเครื่องคาราโอเกะ ไปอัพเพลงคาราโอเกะเพิ่มได้ตามร้านเพลงต่างๆเช่น ดีเอ็นเอ และอิมเมจิ้น ได้ตลอด ตั้งเป้าว่าในปีนี้จะมีรายได้ถึง 100 ล้านบาท จากการขายคอนเท้นต์คาราโอเกะ
นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในส่วนของmp3อย่างต่อเนื่อง โดยจะจัดทำคอนเท้นต์เอ็มพี3 ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น ขณะที่ยอดขายจากฟิสิเคิลหรือแผ่นซีดีเพลงนั้น ยอดขายเริ่มกลับมาดีขึ้น มาจากกลุ่มศิลปินดังๆที่มีแฟนคลับหนาแน่น เป็นหลัก
นายกริช กล่าวต่อว่า ในความเป็นจริง หากภาครัฐเข้ามาดูแลในเรื่องของลิขสิทธิ์ และแก้กฎหมายในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงการจัดจำหน่ายอย่างจริงจัง จะเป็นส่วนเสริมให้ธุรกิจเพลงเติบโตได้อีกมาก รวมถึงการนำกฎหมายในเรื่องของการดาวน์โหลดในระบบออนไลน์หรืออินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้อย่างในประเทศเกาหลี จะช่วยให้อุตสาหกรรมเพลงกลับมาเติบโตได้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เริ่มเข้าไปรุกและศึกษาธุรกิจเพลงจากต่างประเทศ พบว่า ช่องทางออนไลน์เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยต่อยอดรายได้จากธุรกิจเพลงได้เป็นอย่างดี ล่าสุดกำลังเจรจากับทางยูทูป ในการที่จะจัดทำช่อง GMM YOUTUBE ขึ้น ซึ่งหากเกิดขึ้นได้จริง จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดรายได้จากการหาสปอนเซอร์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมั่นใจว่า สามารถสร้างให้เกิดเพจวิว หรือการรับชมได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านเพจวิวต่อปีได้
ล่าสุดทางบริษัทได้ทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท ในการเปิดตัวช่องเพลง “Gmm Music” เพื่อต้องการต่อยอดกลุ่มธุรกิจเพลง ที่ปัจจุบันผลิตออกมามากขึ้น ไม่ต่ำกว่า 700 เพลงต่อปี และเพื่อเป็นเวทีในการเปิดรับคนเบื้องหน้าและเบื้องหลังเข้าสู่วงการเพลงมากขึ้น รวมถึงเป็นช่องทางในการค้นหาศิลปินหน้าใหม่เข้าสู่วงการต่อไป ซึ่งจะเริ่มออกอากาศตั้งแต่ 1 มี.ค.นี้ เป็นต้นไป โดยรายได้ยังมาจากสปอนเซอร์ชิปเป็นหลัก คาดว่าในปีแรกจะมีรายได้ราว 50-60 ล้านบาท พร้อมส่งให้รายได้รวมของกลุ่มธุรกิจเพลงในสิ้นปีนี้ น่าจะมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 5% จากที่ทำได้ในปีก่อน จากฐานรายได้ราว 2,000 กว่าล้านบาทได้
นายกริช ทอมมัส รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานธุรกิจเพลง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจเพลงใหม่ รับกับกระแสดิจิตอลในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พร้อมโมเดลการดำเนินธุรกิจต้นน้ำ คือ ธุรกิจเพลงตั้งแต่กลางปี 2553 ที่ผ่านมา ส่งผลให้กำไรจากกลุ่มธุรกิจเพลงในปี 2554 มีการเติบโตสูงถึง 76% แม้จะมีปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นก็ตาม โดยยกำไรที่เพิ่มขึ้นมาจากหลายส่วน โดยเฉพาะในเรื่องของการที่แกรมมี่นำคอนเท้นต์ในรูปแบบเอ็มพี3 เข้ามาในตลาด พร้อมจำหน่ายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น พบว่ายอดขายเติบโตเป็น 2 เท่าจากที่ตั้งเป้าไว้ที่ 1 ล้านแผ่น
ส่วนแผนในปีนี้พร้อมที่จะต่อยอดสร้างรายได้จากธุรกิจเพลงมากยิ่งขึ้น มุ่งเน้น 3 ส่วน คือ ออนแอร์ ออนกราวด์ และออนไลน์ ล่าสุดได้จับมือกับทาง บริษัท ทีเจ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศเกาหลีที่มีโนวฮาว์ด้านเทคโนโลยีคาราโอเกะ ซึ่งทางทีเจ ได้นำเทคโนโลยีผลิตเครื่องคาราโอเกะให้ทางเอเจ และโซเค่น ส่วนคอนเท้นต์เพลงนั้นได้ร่วมกับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่ในปีนี้จะมุ่งขายคอนเท้นต์คาราโอเกะมากยิ่งขึ้น โดยลูกค้าสามารถนำกล่องฮาร์ดดิสจากตัวเครื่องคาราโอเกะ ไปอัพเพลงคาราโอเกะเพิ่มได้ตามร้านเพลงต่างๆเช่น ดีเอ็นเอ และอิมเมจิ้น ได้ตลอด ตั้งเป้าว่าในปีนี้จะมีรายได้ถึง 100 ล้านบาท จากการขายคอนเท้นต์คาราโอเกะ
นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในส่วนของmp3อย่างต่อเนื่อง โดยจะจัดทำคอนเท้นต์เอ็มพี3 ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น ขณะที่ยอดขายจากฟิสิเคิลหรือแผ่นซีดีเพลงนั้น ยอดขายเริ่มกลับมาดีขึ้น มาจากกลุ่มศิลปินดังๆที่มีแฟนคลับหนาแน่น เป็นหลัก
นายกริช กล่าวต่อว่า ในความเป็นจริง หากภาครัฐเข้ามาดูแลในเรื่องของลิขสิทธิ์ และแก้กฎหมายในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงการจัดจำหน่ายอย่างจริงจัง จะเป็นส่วนเสริมให้ธุรกิจเพลงเติบโตได้อีกมาก รวมถึงการนำกฎหมายในเรื่องของการดาวน์โหลดในระบบออนไลน์หรืออินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้อย่างในประเทศเกาหลี จะช่วยให้อุตสาหกรรมเพลงกลับมาเติบโตได้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เริ่มเข้าไปรุกและศึกษาธุรกิจเพลงจากต่างประเทศ พบว่า ช่องทางออนไลน์เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยต่อยอดรายได้จากธุรกิจเพลงได้เป็นอย่างดี ล่าสุดกำลังเจรจากับทางยูทูป ในการที่จะจัดทำช่อง GMM YOUTUBE ขึ้น ซึ่งหากเกิดขึ้นได้จริง จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดรายได้จากการหาสปอนเซอร์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมั่นใจว่า สามารถสร้างให้เกิดเพจวิว หรือการรับชมได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านเพจวิวต่อปีได้
ล่าสุดทางบริษัทได้ทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท ในการเปิดตัวช่องเพลง “Gmm Music” เพื่อต้องการต่อยอดกลุ่มธุรกิจเพลง ที่ปัจจุบันผลิตออกมามากขึ้น ไม่ต่ำกว่า 700 เพลงต่อปี และเพื่อเป็นเวทีในการเปิดรับคนเบื้องหน้าและเบื้องหลังเข้าสู่วงการเพลงมากขึ้น รวมถึงเป็นช่องทางในการค้นหาศิลปินหน้าใหม่เข้าสู่วงการต่อไป ซึ่งจะเริ่มออกอากาศตั้งแต่ 1 มี.ค.นี้ เป็นต้นไป โดยรายได้ยังมาจากสปอนเซอร์ชิปเป็นหลัก คาดว่าในปีแรกจะมีรายได้ราว 50-60 ล้านบาท พร้อมส่งให้รายได้รวมของกลุ่มธุรกิจเพลงในสิ้นปีนี้ น่าจะมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 5% จากที่ทำได้ในปีก่อน จากฐานรายได้ราว 2,000 กว่าล้านบาทได้