ASTVผู้จัดการรายวัน-แบงก์ชาติจับตาเงินทุนไหลเข้าช่วงนี้เป็นพิเศษ ยอมรับเงินร้อนไหลเข้ามาหาผลตอบแทนระยะสั้นมากขึ้น โดยเฉพาะเงินลงทุนในตลาดพันธบัตรอายุสั้นๆ ระบุเงินบาทแข็งค่าเร็วในช่วง 1-2 วันนี้ เฉลี่ยแข็งค่าประมาณ 10 สตางค์ต่อวัน แนะผู้นำเข้าหรือนักลงทุนไทยควรซื้อเงินตราต่างประเทศเก็บไว้ เพราะเป็นจังหวะดีที่ต้นทุนดอกเบี้ยในต่างประเทศถูกและค่าเงินบาทไทยแข็ง
นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้ธปท.กำลังจับตาเงินทุนไหลเข้าอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเงินลงทุนในตลาดพันธบัตรอายุสั้น เนื่องจากขณะนี้เริ่มเห็นมีเงินร้อนไหลเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อหวังผลตอบแทนระยะสั้น ซึ่งในบางต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซียกำหนดให้ไม่มีการขายพันธบัตรให้ต่างชาติแล้ว เพราะห่วงว่าจะเป็นแหล่งเงินทุนของต่างชาติไหลเข้ามาเก็งกำไร ฉะนั้นตอนนี้ธปท.พยายามดูว่าเงินทุนไหลเข้ามาเกิดจากความตั้งใจเข้ามาลงทุนจริงๆ หรือเป็นช่องทางเข้ามาหาผลประโยชน์การเก็งกำไรหรือไม่
ทั้งนี้ ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เงินทุนเคลื่อนย้ายมีทั้งไหลเข้าและไหลออก ถือว่าค่อนข้างสมดุล แต่เมื่อ 1-2 วันที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป ซึ่งเฉลี่ยแข็งค่าประมาณ 10 สตางค์ต่อวัน เนื่องจากมีข่าวดีเรื่องข้อตกลงการช่วยเหลือกรีซมีความชัดเจนขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติคาดว่าโอกาสกรีซผิดนัดชำระหนี้น้อยลง จึงส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามาในประเทศภูมิภาคเอเชีย ซึ่งรวมถึงไทยด้วย เพื่อวิ่งหาการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า ฉะนั้นเมื่อมีข่าวมาจากหลากหลายแหล่งก็กดดันให้เงินบาทค่อนข้างแกว่งพอสมควร
“ขณะนี้ ธปท.มีการดูแลค่าเงินบาทในหลายระดับ ซึ่งทุกประเทศต่างดูแลไม่ให้ค่าเงินผันผวนหรือเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป และเห็นว่าผู้ประกอบการไทยก็มีความยืดหยุ่นมากขึ้น จึงเห็นว่าเป็นจังหวะที่ดีในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่างประเทศถูกและค่าเงินแข็งค่าควรมีการทยอยซื้อเงินตราต่างประเทศเก็บไว้ เพื่อผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์จากการนำเข้าสินค้าและนักลงทุนไทยนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศช่วงนี้”
รองผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า เงินบาทไม่ได้แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคนี้ แต่เป็นการแข็งค่าในทุกประเทศแถบภูมิภาคนี้ อาทิ ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียแข็งค่า 8% ริงกิตของมาเลเซีย 5% เงินบาทไทย 4% ดอลลาร์สิงคโปร์ 3% เกาหลีแข็งค่า 2-3% เป็นต้น ซึ่งบางประเทศในภูมิภาคนี้ก็เริ่มมีการใช้มาตรการดูแลเงินไหลเข้ามากขึ้นเมื่อสกุลเงินประเทศนั้นๆ แข็งค่าต่อเนื่อง
แต่ในส่วนของไทยมองว่าเงินบาทขึ้นหรือลงยังมีราคาเป็นตัวปรับที่ดีอยู่และเงินบาทมีความยืดหยุ่นมากขึ้นต่างกับปี 40 ที่มีการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่
สำหรับเงินประกันภัยจากต่างประเทศเข้ามาไทยแล้ว 4,000 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีทั้งการแลกเป็นเงินบาท เพื่อใช้จ่ายในประเทศและบางส่วนนำเงินตราต่างประเทศที่ได้ไปนำเข้าสินค้า เครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อชดเชยส่วนที่เสียหายหรือนำเข้าสินค้าใหม่ๆ เข้ามา และคาดว่าในระยะต่อไปเงินประกันจะเข้ามาเล็กๆ น้อยๆ ทำให้แรงกดดันเงินบาทแข็งจากเงินไหลเข้าส่วนนี้น้อยลงไป ขณะที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนเข้าตลาดหุ้นไทย 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ส่วนการลงทุนในพันธบัตรมีปริมาณมากกว่า.
นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้ธปท.กำลังจับตาเงินทุนไหลเข้าอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเงินลงทุนในตลาดพันธบัตรอายุสั้น เนื่องจากขณะนี้เริ่มเห็นมีเงินร้อนไหลเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อหวังผลตอบแทนระยะสั้น ซึ่งในบางต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซียกำหนดให้ไม่มีการขายพันธบัตรให้ต่างชาติแล้ว เพราะห่วงว่าจะเป็นแหล่งเงินทุนของต่างชาติไหลเข้ามาเก็งกำไร ฉะนั้นตอนนี้ธปท.พยายามดูว่าเงินทุนไหลเข้ามาเกิดจากความตั้งใจเข้ามาลงทุนจริงๆ หรือเป็นช่องทางเข้ามาหาผลประโยชน์การเก็งกำไรหรือไม่
ทั้งนี้ ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เงินทุนเคลื่อนย้ายมีทั้งไหลเข้าและไหลออก ถือว่าค่อนข้างสมดุล แต่เมื่อ 1-2 วันที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป ซึ่งเฉลี่ยแข็งค่าประมาณ 10 สตางค์ต่อวัน เนื่องจากมีข่าวดีเรื่องข้อตกลงการช่วยเหลือกรีซมีความชัดเจนขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติคาดว่าโอกาสกรีซผิดนัดชำระหนี้น้อยลง จึงส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามาในประเทศภูมิภาคเอเชีย ซึ่งรวมถึงไทยด้วย เพื่อวิ่งหาการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า ฉะนั้นเมื่อมีข่าวมาจากหลากหลายแหล่งก็กดดันให้เงินบาทค่อนข้างแกว่งพอสมควร
“ขณะนี้ ธปท.มีการดูแลค่าเงินบาทในหลายระดับ ซึ่งทุกประเทศต่างดูแลไม่ให้ค่าเงินผันผวนหรือเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป และเห็นว่าผู้ประกอบการไทยก็มีความยืดหยุ่นมากขึ้น จึงเห็นว่าเป็นจังหวะที่ดีในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่างประเทศถูกและค่าเงินแข็งค่าควรมีการทยอยซื้อเงินตราต่างประเทศเก็บไว้ เพื่อผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์จากการนำเข้าสินค้าและนักลงทุนไทยนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศช่วงนี้”
รองผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า เงินบาทไม่ได้แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคนี้ แต่เป็นการแข็งค่าในทุกประเทศแถบภูมิภาคนี้ อาทิ ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียแข็งค่า 8% ริงกิตของมาเลเซีย 5% เงินบาทไทย 4% ดอลลาร์สิงคโปร์ 3% เกาหลีแข็งค่า 2-3% เป็นต้น ซึ่งบางประเทศในภูมิภาคนี้ก็เริ่มมีการใช้มาตรการดูแลเงินไหลเข้ามากขึ้นเมื่อสกุลเงินประเทศนั้นๆ แข็งค่าต่อเนื่อง
แต่ในส่วนของไทยมองว่าเงินบาทขึ้นหรือลงยังมีราคาเป็นตัวปรับที่ดีอยู่และเงินบาทมีความยืดหยุ่นมากขึ้นต่างกับปี 40 ที่มีการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่
สำหรับเงินประกันภัยจากต่างประเทศเข้ามาไทยแล้ว 4,000 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีทั้งการแลกเป็นเงินบาท เพื่อใช้จ่ายในประเทศและบางส่วนนำเงินตราต่างประเทศที่ได้ไปนำเข้าสินค้า เครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อชดเชยส่วนที่เสียหายหรือนำเข้าสินค้าใหม่ๆ เข้ามา และคาดว่าในระยะต่อไปเงินประกันจะเข้ามาเล็กๆ น้อยๆ ทำให้แรงกดดันเงินบาทแข็งจากเงินไหลเข้าส่วนนี้น้อยลงไป ขณะที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนเข้าตลาดหุ้นไทย 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ส่วนการลงทุนในพันธบัตรมีปริมาณมากกว่า.