ธปท.เผย เงินประกันน้ำท่วมจากต่างประเทศไหลเข้าไทยแล้ว 1.21 แสนล้านบาท กดดันเงินบาทแข็งค่าเพิ่ม ขณะที่เม็ดเงินร้อนฝั่งยุโรปจ่อเข้าเอเชีย โดยเลือกเข้าลงทุนในตลาดบอนด์ระยะสั้น ยอมรับ ธปท. มีการติดตามใกล้ชิด เพื่อดูว่าเงินเหล่านี้เก็งกำไรมากไปหรือไม่ และจำเป็นต้องทำอะไรหรือไม่
นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เงินประกันของบริษัทประกันภัยน้ำท่วมจากต่างประเทศ ซึ่งไหลเข้ามาชดเชยความเสียหายให้กับบริษัทผู้ประกอบการในไทยเข้ามาแล้ว 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.12 แสนล้านบาท หากคิดอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันที่ระดับ 30.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีส่วนกดดันให้เงินบาทปรับแข็งค่ามากขึ้น จากเดิมที่มีเงินทุนไหลเข้ามาในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรอยู่แล้ว
“เท่าที่ดูเงินประกันภัยน้ำท่วมเข้ามาแล้ว 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่วนที่เหลืออยู่และยังไม่ไหลเข้ามาเพิ่มอีก น่าจะเหลือน้อยลงแล้ว จากนี้ไปน่าจะกดดันค่าเงินบาทให้แข็งค่าน้อยลง ตอนนี้ยอมรับว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเพราะเงินทุนไหลเข้า ซึ่งในจังหวะที่ดอกเบี้ยก็ต่อ คาเงินบาทก็แข็ง น่าจะเป็นโอกาสที่ดี ที่ภาคธุรกิจและนักลงทุนไทยจะออกไปหาผลตอบแทนที่ดีในต่างประเทศหรือนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์มาฟื้นฟูหลังน้ำท่วม”
ทั้งนี้ เงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศจะไหลเข้ามาไทยเพิ่มอีกมากน้อยแค่ไหน ปัจจัยสำคัญน่าจะอยี่ภาวะเศรษบกิจโลก และการแก้ไขปัยหาของกรีซ และกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งธปท.ยังจับตาดูต่อไป ยังไม่มีมาตราการใดออกมาเพิ่มเติมเพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้า
ขณะที่ภาพรวมตลาดการเงินโลก หลังปัญหากรีซคลี่คคลายจากการอัดฉีดสภาพคล่องแก้ปัญหาระยุสั้น ธปท. เชื่อว่า อาจทำให้เม็ดเงินร้อนไหลเข้ามาหาผลตอบแทนที่สูงกว่า และเข้ามาเก็งกำไรในภูมิภาคเอเซียและไทยมากขึ้น โดยเงินร้อนเลือกเข้าลงทุนในตลาดพันธบัตร(บอนด์) ระยะสั้นอายุ 14 วัน อายุ 1 เดือนค่อนข้างมาก ซึ่ง ธปท.อยู่ระหว่างติดตามดูว่าเงินเหล่านี้เก็งกำไรมากไปหรือไม่ และจำเป็นต้องทำอะไรหรือไม่
“ช่วงสับดาห์นี้ ยอมรับว่าเงินไหลเข้ามามากขึ้น ทั้งในตลาดหุ้นที่ตั้งปีถึงตอนนี้ไหลเข้ามาแล้วประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เข้ามาในตลาดพันบอนด์มากกว่า โดยเฉพาะบอนด์ระยะสั้น ซึ่งเรา กำลังจับตามดูว่าเงินเหล่านี้จะเข้ามาเก็งกำไรมากเกินไปหรือเป็นช่องทางในการหาผลประโยชน์อื่นหรือไม่ และยังมีเงินจากการทำประกันในต่างประเทศไหลเข้ามาอีก ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วขึ้น ในช่วง1-2 วันที่ผ่านมา แข็งขึ้นวันละ 10 สตางค์”
โดยค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวที่ระดับ 30.23-30.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ มีทิศทางแข็งค่าขึ้น แต่ยังเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับสกุลในภูมิภาค ไม่ได้แข็งคามากที่สุด โดยต้นปีที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งคาขึ้น 4% เงินรูปีของอินเดียแข็งค่า 8% มาเลเซียแข็งค่า 5% เกาหลีใต้แข็งค่า 2-3%