“ปฏิวัติ” หมายถึงการยึดอำนาจรัฐหรืออำนาจการปกครองประเทศ โดยการใช้กำลังเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เช่น เปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยหรือจากระบอบทุนนิยมไปสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ โดยคณะปฏิวัติเมื่อยึดอำนาจได้ก็จะมีการจัดตั้งรัฐบาลหรือคณะผู้บริหารประเทศขึ้นมาใหม่ ประกาศใช้กฎหมายและรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามแนวทางของคณะปฏิวัติ
ส่วน “รัฐประหาร” หมายถึงการยึดอำนาจ โดยใช้กำลังหรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการล้มล้างอำนาจของรัฐบาลเก่า อาจจะยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไปหรืออาจประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ได้ โดยยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมูลฐานของระบอบการปกครองประเทศ เป็นเพียงการแย่งชิงอำนาจการปกครองประเทศจากคณะบุคคลหนึ่งไปยังคณะรัฐประหาร
นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน มีการปฏิวัติและรัฐประหารรวม 12 ครั้ง มีเหตุการณ์กบฏคือ การปฏิวัติหรือการรัฐประหารที่ล้มเหลวและพ่ายแพ้ ไม่ประสบความสำเร็จและชัยชนะในการกระทำการดังกล่าว ซึ่งเรียกว่าเป็น “กบฏ” รวม 12 ครั้ง คือ
1. กบฏ ร.ศ. 130 2. กบฏบวรเดช (11 ตุลาคม 2576) 3. กบฏนายสิบ (3 สิงหาคม 2478) 4. กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ (29 มกราคม 2482) 5. กบฏเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491) 6. กบฏแบ่งแยกดินแดน (พฤศจิกายน 2491) 7. กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ 2492) 8. กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494) 9. กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน 2497) 10. กบฏ 26 มีนาคม 2520 11. กบฏยังเติร์ก (1-3 เมษายน 2524) 12. กบฏทหารนอกราชการ (9 กันยายน 2528)
รัฐประหาร 12 ครั้ง
1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี
3. รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี
4. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
5. รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
6. รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
7. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี (ตามที่ตกลงกันไว้)
8. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
9. รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี
10. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี
11. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี
12. รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เมื่อดูจากประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย การปฏิวัติหรือการรัฐประหาร ล้วนแต่เกิดขึ้นจากคณะบุคคลที่คิดจะยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมีกำลังทหารและอาวุธเป็นสำคัญ ยังไม่ปรากฏการรัฐประหารโดยนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย ภายใต้การกำกับบงการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายทุนเจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริง ที่เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยวิธีการให้มีคณะบุคคลซึ่งมีอำนาจพิเศษที่เรียกว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
โดยการเลือกตั้งและสรรหาภายใต้การควบคุมกำกับโดยรัฐบาล และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากโดยเด็ดขาดของพรรคเพื่อไทยครั้งนี้ เพื่อให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้แทนรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ทั้งฉบับโดยมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 291 กล่าวคือ มาตรา 291 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้เพียงบางมาตราหรือบางหมวดเท่านั้น และต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมว่ามุ่งประสงค์จะแก้ไขบทบัญญัติมาตราใด ด้วยหลักการและเหตุผลอย่างไรเท่านั้น มิได้ให้อำนาจ ส.ส.หรือรัฐบาลล้มล้างรัฐธรรมนูญโดยแก้ไข ยกเลิก เปลี่ยนแปลงได้ทั้งฉบับแต่อย่างใดไม่
นอกจากนี้ การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ก็มิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 136 (16) โดยการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้กระทำได้เฉพาะการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเท่านั้น มิใช่การจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ เมื่อพิจารณาประกอบกับการที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ผ่านประชามติด้วยเสียงส่วนใหญ่ของคนในประเทศ จำนวน 14.7 ล้านเสียงด้วยแล้ว รัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่มีความชอบธรรม ทั้งในทางการเมืองและในทางกฎหมาย ที่จะเปลี่ยนแปลงล้มล้างรัฐธรรมนูญนี้ได้เลย (อ่านรายละเอียดในบทความของอาจารย์ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ ใน ASTVผู้จัดการ 21 ก.พ. 55)
หากที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาผ่านความเห็นชอบให้รัฐบาลและ ส.ส.พรรคเพื่อไทยดำเนินการล้มล้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แล้วจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ตามแนวทางของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ภายใต้การกำกับบงการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายทุนเจ้าของพรรคการเมืองได้ และโดยที่ประชาชน เจ้าของอำนาจอธิปไตยทั้งหลาย ต่างเพิกเฉยและยินยอมให้พรรคการเมืองเพื่อไทยกระทำการเช่นนี้ได้ ย่อมถือได้ว่านี่คือ “การรัฐประหาร โดยพรรคการเมืองนายทุนสามานย์” มิแตกต่างจากการกระทำของ ฮิตเลอร์ ที่อ้างการเลือกตั้งมาล้มล้างรัฐธรรมนูญและสถาปนาอำนาจเผด็จการของตน เมื่อทักษิณล้มล้างรัฐธรรมนูญเดิม จัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ได้ก็ยึดประเทศไทยได้ ไม่ต่างอะไรกับการรัฐประหารที่ผ่านมาของไทย เพียงแต่มันใช้ทุนแต่ไม่ได้ใช้ปืนเท่านั้นเอง
ส่วน “รัฐประหาร” หมายถึงการยึดอำนาจ โดยใช้กำลังหรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการล้มล้างอำนาจของรัฐบาลเก่า อาจจะยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไปหรืออาจประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ได้ โดยยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมูลฐานของระบอบการปกครองประเทศ เป็นเพียงการแย่งชิงอำนาจการปกครองประเทศจากคณะบุคคลหนึ่งไปยังคณะรัฐประหาร
นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน มีการปฏิวัติและรัฐประหารรวม 12 ครั้ง มีเหตุการณ์กบฏคือ การปฏิวัติหรือการรัฐประหารที่ล้มเหลวและพ่ายแพ้ ไม่ประสบความสำเร็จและชัยชนะในการกระทำการดังกล่าว ซึ่งเรียกว่าเป็น “กบฏ” รวม 12 ครั้ง คือ
1. กบฏ ร.ศ. 130 2. กบฏบวรเดช (11 ตุลาคม 2576) 3. กบฏนายสิบ (3 สิงหาคม 2478) 4. กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ (29 มกราคม 2482) 5. กบฏเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491) 6. กบฏแบ่งแยกดินแดน (พฤศจิกายน 2491) 7. กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ 2492) 8. กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494) 9. กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน 2497) 10. กบฏ 26 มีนาคม 2520 11. กบฏยังเติร์ก (1-3 เมษายน 2524) 12. กบฏทหารนอกราชการ (9 กันยายน 2528)
รัฐประหาร 12 ครั้ง
1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี
3. รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี
4. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
5. รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
6. รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
7. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี (ตามที่ตกลงกันไว้)
8. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
9. รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี
10. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี
11. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี
12. รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เมื่อดูจากประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย การปฏิวัติหรือการรัฐประหาร ล้วนแต่เกิดขึ้นจากคณะบุคคลที่คิดจะยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมีกำลังทหารและอาวุธเป็นสำคัญ ยังไม่ปรากฏการรัฐประหารโดยนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย ภายใต้การกำกับบงการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายทุนเจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริง ที่เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยวิธีการให้มีคณะบุคคลซึ่งมีอำนาจพิเศษที่เรียกว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
โดยการเลือกตั้งและสรรหาภายใต้การควบคุมกำกับโดยรัฐบาล และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากโดยเด็ดขาดของพรรคเพื่อไทยครั้งนี้ เพื่อให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้แทนรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ทั้งฉบับโดยมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 291 กล่าวคือ มาตรา 291 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้เพียงบางมาตราหรือบางหมวดเท่านั้น และต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมว่ามุ่งประสงค์จะแก้ไขบทบัญญัติมาตราใด ด้วยหลักการและเหตุผลอย่างไรเท่านั้น มิได้ให้อำนาจ ส.ส.หรือรัฐบาลล้มล้างรัฐธรรมนูญโดยแก้ไข ยกเลิก เปลี่ยนแปลงได้ทั้งฉบับแต่อย่างใดไม่
นอกจากนี้ การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ก็มิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 136 (16) โดยการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้กระทำได้เฉพาะการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเท่านั้น มิใช่การจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ เมื่อพิจารณาประกอบกับการที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ผ่านประชามติด้วยเสียงส่วนใหญ่ของคนในประเทศ จำนวน 14.7 ล้านเสียงด้วยแล้ว รัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่มีความชอบธรรม ทั้งในทางการเมืองและในทางกฎหมาย ที่จะเปลี่ยนแปลงล้มล้างรัฐธรรมนูญนี้ได้เลย (อ่านรายละเอียดในบทความของอาจารย์ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ ใน ASTVผู้จัดการ 21 ก.พ. 55)
หากที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาผ่านความเห็นชอบให้รัฐบาลและ ส.ส.พรรคเพื่อไทยดำเนินการล้มล้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แล้วจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ตามแนวทางของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ภายใต้การกำกับบงการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายทุนเจ้าของพรรคการเมืองได้ และโดยที่ประชาชน เจ้าของอำนาจอธิปไตยทั้งหลาย ต่างเพิกเฉยและยินยอมให้พรรคการเมืองเพื่อไทยกระทำการเช่นนี้ได้ ย่อมถือได้ว่านี่คือ “การรัฐประหาร โดยพรรคการเมืองนายทุนสามานย์” มิแตกต่างจากการกระทำของ ฮิตเลอร์ ที่อ้างการเลือกตั้งมาล้มล้างรัฐธรรมนูญและสถาปนาอำนาจเผด็จการของตน เมื่อทักษิณล้มล้างรัฐธรรมนูญเดิม จัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ได้ก็ยึดประเทศไทยได้ ไม่ต่างอะไรกับการรัฐประหารที่ผ่านมาของไทย เพียงแต่มันใช้ทุนแต่ไม่ได้ใช้ปืนเท่านั้นเอง