การเทกโอเวอร์ธุรกิจ เป็นดีลที่เราได้เห็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายรายเริ่มนำมาใช้มากขึ้นตั้งแต่ปีทีผ่านมา เหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งคือเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจ และเพื่อกระจายความเสี่ยงไม่พึ่งพิงรายได้จากธุรกิจเพียงธุรกิจเดียว **วันนี้..ก็มีอีกหนึ่งบริษัทที่ออกมาลงทุนข้ามประเทศเช่นกัน ...นั่นคือ บมจ.น้ำประปาไทย (TTW) นั่นเอง**
**“โดยทั่วไปหากเราไม่ทำอะไรเพิ่มเติม จากธุรกิจหลักคือน้ำประปาของเรา ก็สามารถเติบโตได้ปีละ 7-8% อยู่แล้ว แต่ด้วยที่ผ่านมาตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มดำเนินธุรกิจเราก็เติบโตปีละ10กว่า% คณะกรรมการบริษัทจึงมีการพูดคุยกันเพื่อหาแนวทางการเติบให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เราไม่ต้องไปลงทุนเพิ่มก็ได้ แค่จ้างพนักงานออกไปบางส่วนเพื่อลดต้นทุนก็โตได้แล้ว แต่นี่ไม่ใช่หลักการของเรา”** สมโพธิ ศรีภูมิ กรรมการผู้จัดการ TTW กล่าวให้เหตุผลในค่ำคืนวันที่ 10 ก.พ. หลังจากที่ตีตั๋วบินตาม ทัพสื่อมวลชนและคณะผู้บริหาร มานครเวียงจันทร์
**เมื่อเป็นเช่นนั้น และเพื่อให้สามารทำได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ TTW จึงมีการศึกษาลู่ทางการลงทุนด้านอื่นนอกเหนือจากธุรกิจหลัก...และสุดท้ายก็ได้ข้อสรุป คือการลงทุนซื้อหุ้นของ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด จำนวน 30% ของหุ้นทั้งหมด จากบริษัท ช. การช่าง (CK)มูลค่าประมาณ 2,700 ล้านบาท เพื่อให้มีส่วนร่วมในการรับรู้ผลตอบแทนจากการผลิตและจำหน่ายไปไฟฟ้า 615 เมกะวัตต์ ณ เขื่อนน้ำงึม 2 ภายใต้สัมปทานจากประเทศลาวเป็นเวลา 27 ปี วัตถุประสงค์เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้ากลับมาขายให้ประเทศไทยเพียงอย่างเดียว**
ทั้งนี้ เขื่อนน้ำงึม 2 ภายใต้การบริการของ CK Power ใช้เงินลงทุน 3 หมื่นล้านบาท โรงไฟฟ้าพลังน้ำดังกล่าวได้ส่งขายให้ การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อัตราหน่วยละ 2 บาท เริ่มการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าอย่างเป็นทางการเมื่อ 26 มีนาคม 2554 สำหรับช่วงที่เกิดพายุ 4-5 ลูกติดต่อกันใรปีก่อน ทำให้ปริมาณน้ำมากกว่าปกติ ก็ส่งผลให้เขื่อนสามารถผลิตกระแสไฟให้ กฟผ. ได้มากถึง 2.2 พันล้านหน่วย หรือทำให้มีรายได้กว่า 4,000 ล้านบาท และโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะใช้เวลาที่จะถึงจุดคุ้มทุนประมาณ 12 ปี
**“เดิมรายได้หลักของTTW 95-96% มาจากการขายน้ำให้กับการประปาส่วนภูมิภาค ธุรกิจอื่นเรามีรายได้ประมาณ 4-5%ต่อปี แต่ในอนาคตเป้าหมายที่เราต้องการคือมีรายได้จากธุรกิจอื่นขยับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 35% และรายได้จากธุรกิจอยู่ที่ 65% ซึ่งปีนี้บริษัทจะเริ่มมีการรับรู้กำไรจากโครงการน้ำงึม 2 จำนวน 190 ล้านบาท อีกทั้งแม้ช่วงกลางปีนี้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการส่งเสริมการลงทุนของ BOI จะหมดอายุลง แต่บริษัทจะได้รับประโยชน์จากอัตราภาษีนิติบุคคลที่ลดลงจาก 30% เหลือ 23% มาทดแทน”**
นั่นจึงเป็นที่มาของแผนลงทุน 5 ปี(2555 – 2559) ของ น้ำประปาไทย ที่จะลงทุนประมาณ 19,000 – 20,000 ล้านบาท หรือลงทุนโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 5,000บาท แต่ในปีนี้ผู้บริหารยอมรับว่า บริษัทจะใช้เงินลงทุนราว 6,000 – 7,000 พันล้านบาท เนื่องจากต้องมีการเพิ่มเงินลงทุน ซีเค พาวเวอร์ ให้เป็น 45% และส่วนที่เหลือจะนำใช้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาที่โรงงานที่ จ.ปทุมธานี เป็น 4.5-4.8 แสนลูกบาศก์เมตร จากปัจจุบันที่ผลิตอยู่ 3.8 แสนลูกบาศก์เมตร รวมทั้งจะมีการลงทุนธุรกิจพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่นพลังงาน ลม , แสงอาทิตย์ หรือ ขยะ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการศึกษา
**“ถึงแม้ว่าปีนี้เราจะใช้งบประมาณลงทุนที่สูง แต่เราก็ตั้งเป้ารายได้เพิ่มขึ้นเป็น 7,800 ล้านบาท จากปีก่อนที่คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 4,600 ล้านบาท หรือมีรายได้เติบโตเฉลี่ยปีละ 15%”**
โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้จะมาจากแผนการออกหุ้นกู้มูลค่า 3,500 ล้านบาท อายุ 7 ปี และ 10 ปี เพื่อนำไปทดแทนหุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนด ซึ่งได้เริ่มดำเนินการเสนอขายแล้ว หลังได้มีการโรดโชว์ข้อมูลไปแล้วเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ขณะที่ แนวโน้มของธุรกิจหลัก บริษัทคาดว่าปริมาณการใช้น้ำในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 8,000,000 – 10,000,000 ล้านลูกบาศก์เมตรเนื่องจากปัจจัยความต้องการในการบริโภคของลูกค้า และมีการปรับราคาขายน้ำประปาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกว่า 3% ตามอัตราเงินเฟ้อที่ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นด้วยถือเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้เป้าการเติบโตของ TTW
**“ที่ผ่านมา เรามีค่าเฉลี่ยการจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นปีละไม่ต่ำ 70% ซึ่งถือว่ามากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ว่าจะไม่ต่ำกว่า 50% ปีต่อๆไปเราก็ต้องการให้เป็นเช่นนี้ ซึ่งแม้จะมีการลงทุนเพิ่มในธุรกิจใหม่ แต่เราไม่มีแผนที่จะเพิ่มทุน”**
เมื่อเร็วๆนี้ ทริสเรทติ้ง จำกัด จัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันวงเงินไม่เกิน 3,500 ล้านบาทของ TTW ที่ระดับ “AA-” พร้อมทั้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันชุดปัจจุบันของบริษัทที่ระดับ “AA-” โดยแนวโน้มอันดับเครดิตยังคง “Stable” หรือ “คงที่” ซึ่งอันดับเครดิตสะท้อนถึงสถานะของบริษัทในการเป็นผู้ให้บริการน้ำประปาภาคเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตลอดจนกระแสเงินสดที่แน่นอนจากสัญญาขายน้ำขั้นต่ำระยะยาว และความสม่ำเสมอของความต้องการน้ำประปา จากธุรกิจน้ำประปามีความเสี่ยงในการดำเนินงานในระดับต่ำ
**ส่วนแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงการคาดการณ์ว่าบริษัทจะสามารถรักษาสถานะผู้นำในการเป็นผู้ให้บริการน้ำประปาภาคเอกชนและคงความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเอาไว้ได้ **
ภาพรวม TTW มีโรงผลิตน้ำประปา 3 โรงซึ่งให้บริการน้ำประปาในพื้นที่ 3 เขตคือ เขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม-สมุทรสาคร เขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน บริษัทให้บริการน้ำประปาแก่ กปภ. ภายใต้สัญญาซื้อขายน้ำประปาอายุ 25 ปีซึ่งจะหมดสัญญาในปี 2566 และอายุ 30 ปีซึ่งจะหมดสัญญาในปี 2577 นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับสิทธิในการผลิต จำหน่าย และให้บริการน้ำประปา รวมทั้งให้บริการบำบัดน้ำเสียในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินระยะเวลา 30 ปีด้วย โดยสิทธิดังกล่าวจะหมดอายุในปี 2582 ดังนั้น กปภ. จึงเป็นลูกค้ารายใหญ่เพียงรายเดียวซึ่งรายได้จาก กปภ. มีสัดส่วน 94% ของรายได้รวมของบริษัทในปี 2554
**ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายอยู่ในระดับสูงที่ประมาณ 79%-81% กระแสเงินสดของบริษัทอยู่ที่ระดับประมาณ 3,000 ล้านบาทในช่วงปี 2553-2554 ในขณะที่เงินกู้รวมลดลงเล็กน้อยจากระดับ 11,368 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2553 เป็น 11,136 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2554 ตามกำหนดการชำระคืนหนี้ แต่อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 26.1% ในปี 2553 เป็น 26.9% ในปี 2554 โดยที่อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 54.4% ณ สิ้นปี 2553 เป็น 52.2% ณ สิ้นปี 2554**
สำหรับการลงทุนซื้อหุ้นของ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด จำนวน 30% ของหุ้นทั้งหมด มูลค่าประมาณ 2,700 ล้านบาท และแผนที่จะจะซื้อหุ้นจำนวน 45% ของหุ้น ทริสเรทติ้งคาดว่าระดับเงินกู้ยืมของบริษัทจะไม่ต่ำไปกว่าปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เพราะหากเงินกู้ยืมของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและคงอยู่ในระดับสูงก็จะเป็นปัจจัยลบต่อเครดิต
**ทั้งนี้ โดยภาพรวมแล้ว การเติบโตของTTWในอนาคต ปัจจัยที่จะช่วยผลักดันรายได้ให้ขยายตัว 15% ต่อปีตามเป้าที่ผู้บริหารวางไว้นั้น คงหนีไม่พ้นการเดินหน้าเพิ่มสัดส่วนรายได้ผ่านการลงทุนด้วยการผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งน่าจะเป็นการลงทุนผ่านการช่วยเหลือหรืออาศัยความสัมพันธ์ในฐานะบริษัทลูกของ บมจ.ช.การช่าง เป็นใบเบิกทางเข้าลงทุนร่วมกับบริษัทในสเครือ เพราะเมื่อหากพิจารณาแผนการลงทุน 5 ปี เฉลี่ยปีละ 5,000 ล้านบาท เงินลงทุนจำนวนมากน่าจะถูกใช้ไปกับการเข้าร่วมถือหุ้นบริษัทในเครือเดียวกันที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน ซึ่งยังมีแผนพัฒนาและลงทุนเพิ่มในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ในโครงการเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าหลายโครงการในลาว
นี่คือสิ่งที่น่าสนใจ สำหรับผู้ลงทุนเพราะเป็นที่รู้อยู่แก่ใจกันดีว่า พลังงานหลักที่ผลิตมาจากก๊าซธรรมชาติ นับวันยิ่งลดน้อยลงไปทุกที ดังนั้นพลังงานที่ได้มาในรูปพลังงานทดแทน ผ่านพลังน้ำ พลังแสงอาทิตย์ และพืชผลทางการเกษตร จะได้รับการตอบรับมากขึ้น และเมื่อTTW เข้ามามีส่วนร่วมในตลาดนี้ ย่อมหมายถึงโอกาสในการสร้างรายได้จำนวนมากกลับคืนมาจากการลงทุนผ่านสายสัมพันธ์ในเครือ
อีกทั้ง ปริมาณความต้องการบริโภคน้ำที่มีแต่ปรับตัวขึ้น ตามปริมาณประชากร และการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรืออุตสาหกรรม ของธุรกิจหลักของบริษัท แม้มีการลงทุนไม่มากเท่าการลงทุนผลิตพลังงาน แต่ดีมานต์จากธุรกิจนี้แทบหาคำว่าถดถอยไม่เจอ...นี่จึงเป็น2ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนรายได้ของบริษัทให้เติบโตได้ตามเป้าหมายของผุ้บริหาร ที่ต้องการเติบโตผ่านน้ำ แต่ไม่ต้องผ่านการเพิ่มทุน**
**“โดยทั่วไปหากเราไม่ทำอะไรเพิ่มเติม จากธุรกิจหลักคือน้ำประปาของเรา ก็สามารถเติบโตได้ปีละ 7-8% อยู่แล้ว แต่ด้วยที่ผ่านมาตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มดำเนินธุรกิจเราก็เติบโตปีละ10กว่า% คณะกรรมการบริษัทจึงมีการพูดคุยกันเพื่อหาแนวทางการเติบให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เราไม่ต้องไปลงทุนเพิ่มก็ได้ แค่จ้างพนักงานออกไปบางส่วนเพื่อลดต้นทุนก็โตได้แล้ว แต่นี่ไม่ใช่หลักการของเรา”** สมโพธิ ศรีภูมิ กรรมการผู้จัดการ TTW กล่าวให้เหตุผลในค่ำคืนวันที่ 10 ก.พ. หลังจากที่ตีตั๋วบินตาม ทัพสื่อมวลชนและคณะผู้บริหาร มานครเวียงจันทร์
**เมื่อเป็นเช่นนั้น และเพื่อให้สามารทำได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ TTW จึงมีการศึกษาลู่ทางการลงทุนด้านอื่นนอกเหนือจากธุรกิจหลัก...และสุดท้ายก็ได้ข้อสรุป คือการลงทุนซื้อหุ้นของ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด จำนวน 30% ของหุ้นทั้งหมด จากบริษัท ช. การช่าง (CK)มูลค่าประมาณ 2,700 ล้านบาท เพื่อให้มีส่วนร่วมในการรับรู้ผลตอบแทนจากการผลิตและจำหน่ายไปไฟฟ้า 615 เมกะวัตต์ ณ เขื่อนน้ำงึม 2 ภายใต้สัมปทานจากประเทศลาวเป็นเวลา 27 ปี วัตถุประสงค์เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้ากลับมาขายให้ประเทศไทยเพียงอย่างเดียว**
ทั้งนี้ เขื่อนน้ำงึม 2 ภายใต้การบริการของ CK Power ใช้เงินลงทุน 3 หมื่นล้านบาท โรงไฟฟ้าพลังน้ำดังกล่าวได้ส่งขายให้ การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อัตราหน่วยละ 2 บาท เริ่มการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าอย่างเป็นทางการเมื่อ 26 มีนาคม 2554 สำหรับช่วงที่เกิดพายุ 4-5 ลูกติดต่อกันใรปีก่อน ทำให้ปริมาณน้ำมากกว่าปกติ ก็ส่งผลให้เขื่อนสามารถผลิตกระแสไฟให้ กฟผ. ได้มากถึง 2.2 พันล้านหน่วย หรือทำให้มีรายได้กว่า 4,000 ล้านบาท และโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะใช้เวลาที่จะถึงจุดคุ้มทุนประมาณ 12 ปี
**“เดิมรายได้หลักของTTW 95-96% มาจากการขายน้ำให้กับการประปาส่วนภูมิภาค ธุรกิจอื่นเรามีรายได้ประมาณ 4-5%ต่อปี แต่ในอนาคตเป้าหมายที่เราต้องการคือมีรายได้จากธุรกิจอื่นขยับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 35% และรายได้จากธุรกิจอยู่ที่ 65% ซึ่งปีนี้บริษัทจะเริ่มมีการรับรู้กำไรจากโครงการน้ำงึม 2 จำนวน 190 ล้านบาท อีกทั้งแม้ช่วงกลางปีนี้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการส่งเสริมการลงทุนของ BOI จะหมดอายุลง แต่บริษัทจะได้รับประโยชน์จากอัตราภาษีนิติบุคคลที่ลดลงจาก 30% เหลือ 23% มาทดแทน”**
นั่นจึงเป็นที่มาของแผนลงทุน 5 ปี(2555 – 2559) ของ น้ำประปาไทย ที่จะลงทุนประมาณ 19,000 – 20,000 ล้านบาท หรือลงทุนโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 5,000บาท แต่ในปีนี้ผู้บริหารยอมรับว่า บริษัทจะใช้เงินลงทุนราว 6,000 – 7,000 พันล้านบาท เนื่องจากต้องมีการเพิ่มเงินลงทุน ซีเค พาวเวอร์ ให้เป็น 45% และส่วนที่เหลือจะนำใช้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาที่โรงงานที่ จ.ปทุมธานี เป็น 4.5-4.8 แสนลูกบาศก์เมตร จากปัจจุบันที่ผลิตอยู่ 3.8 แสนลูกบาศก์เมตร รวมทั้งจะมีการลงทุนธุรกิจพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่นพลังงาน ลม , แสงอาทิตย์ หรือ ขยะ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการศึกษา
**“ถึงแม้ว่าปีนี้เราจะใช้งบประมาณลงทุนที่สูง แต่เราก็ตั้งเป้ารายได้เพิ่มขึ้นเป็น 7,800 ล้านบาท จากปีก่อนที่คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 4,600 ล้านบาท หรือมีรายได้เติบโตเฉลี่ยปีละ 15%”**
โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้จะมาจากแผนการออกหุ้นกู้มูลค่า 3,500 ล้านบาท อายุ 7 ปี และ 10 ปี เพื่อนำไปทดแทนหุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนด ซึ่งได้เริ่มดำเนินการเสนอขายแล้ว หลังได้มีการโรดโชว์ข้อมูลไปแล้วเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ขณะที่ แนวโน้มของธุรกิจหลัก บริษัทคาดว่าปริมาณการใช้น้ำในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 8,000,000 – 10,000,000 ล้านลูกบาศก์เมตรเนื่องจากปัจจัยความต้องการในการบริโภคของลูกค้า และมีการปรับราคาขายน้ำประปาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกว่า 3% ตามอัตราเงินเฟ้อที่ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นด้วยถือเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้เป้าการเติบโตของ TTW
**“ที่ผ่านมา เรามีค่าเฉลี่ยการจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นปีละไม่ต่ำ 70% ซึ่งถือว่ามากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ว่าจะไม่ต่ำกว่า 50% ปีต่อๆไปเราก็ต้องการให้เป็นเช่นนี้ ซึ่งแม้จะมีการลงทุนเพิ่มในธุรกิจใหม่ แต่เราไม่มีแผนที่จะเพิ่มทุน”**
เมื่อเร็วๆนี้ ทริสเรทติ้ง จำกัด จัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันวงเงินไม่เกิน 3,500 ล้านบาทของ TTW ที่ระดับ “AA-” พร้อมทั้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันชุดปัจจุบันของบริษัทที่ระดับ “AA-” โดยแนวโน้มอันดับเครดิตยังคง “Stable” หรือ “คงที่” ซึ่งอันดับเครดิตสะท้อนถึงสถานะของบริษัทในการเป็นผู้ให้บริการน้ำประปาภาคเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตลอดจนกระแสเงินสดที่แน่นอนจากสัญญาขายน้ำขั้นต่ำระยะยาว และความสม่ำเสมอของความต้องการน้ำประปา จากธุรกิจน้ำประปามีความเสี่ยงในการดำเนินงานในระดับต่ำ
**ส่วนแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงการคาดการณ์ว่าบริษัทจะสามารถรักษาสถานะผู้นำในการเป็นผู้ให้บริการน้ำประปาภาคเอกชนและคงความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเอาไว้ได้ **
ภาพรวม TTW มีโรงผลิตน้ำประปา 3 โรงซึ่งให้บริการน้ำประปาในพื้นที่ 3 เขตคือ เขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม-สมุทรสาคร เขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน บริษัทให้บริการน้ำประปาแก่ กปภ. ภายใต้สัญญาซื้อขายน้ำประปาอายุ 25 ปีซึ่งจะหมดสัญญาในปี 2566 และอายุ 30 ปีซึ่งจะหมดสัญญาในปี 2577 นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับสิทธิในการผลิต จำหน่าย และให้บริการน้ำประปา รวมทั้งให้บริการบำบัดน้ำเสียในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินระยะเวลา 30 ปีด้วย โดยสิทธิดังกล่าวจะหมดอายุในปี 2582 ดังนั้น กปภ. จึงเป็นลูกค้ารายใหญ่เพียงรายเดียวซึ่งรายได้จาก กปภ. มีสัดส่วน 94% ของรายได้รวมของบริษัทในปี 2554
**ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายอยู่ในระดับสูงที่ประมาณ 79%-81% กระแสเงินสดของบริษัทอยู่ที่ระดับประมาณ 3,000 ล้านบาทในช่วงปี 2553-2554 ในขณะที่เงินกู้รวมลดลงเล็กน้อยจากระดับ 11,368 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2553 เป็น 11,136 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2554 ตามกำหนดการชำระคืนหนี้ แต่อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 26.1% ในปี 2553 เป็น 26.9% ในปี 2554 โดยที่อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 54.4% ณ สิ้นปี 2553 เป็น 52.2% ณ สิ้นปี 2554**
สำหรับการลงทุนซื้อหุ้นของ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด จำนวน 30% ของหุ้นทั้งหมด มูลค่าประมาณ 2,700 ล้านบาท และแผนที่จะจะซื้อหุ้นจำนวน 45% ของหุ้น ทริสเรทติ้งคาดว่าระดับเงินกู้ยืมของบริษัทจะไม่ต่ำไปกว่าปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เพราะหากเงินกู้ยืมของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและคงอยู่ในระดับสูงก็จะเป็นปัจจัยลบต่อเครดิต
**ทั้งนี้ โดยภาพรวมแล้ว การเติบโตของTTWในอนาคต ปัจจัยที่จะช่วยผลักดันรายได้ให้ขยายตัว 15% ต่อปีตามเป้าที่ผู้บริหารวางไว้นั้น คงหนีไม่พ้นการเดินหน้าเพิ่มสัดส่วนรายได้ผ่านการลงทุนด้วยการผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งน่าจะเป็นการลงทุนผ่านการช่วยเหลือหรืออาศัยความสัมพันธ์ในฐานะบริษัทลูกของ บมจ.ช.การช่าง เป็นใบเบิกทางเข้าลงทุนร่วมกับบริษัทในสเครือ เพราะเมื่อหากพิจารณาแผนการลงทุน 5 ปี เฉลี่ยปีละ 5,000 ล้านบาท เงินลงทุนจำนวนมากน่าจะถูกใช้ไปกับการเข้าร่วมถือหุ้นบริษัทในเครือเดียวกันที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน ซึ่งยังมีแผนพัฒนาและลงทุนเพิ่มในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ในโครงการเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าหลายโครงการในลาว
นี่คือสิ่งที่น่าสนใจ สำหรับผู้ลงทุนเพราะเป็นที่รู้อยู่แก่ใจกันดีว่า พลังงานหลักที่ผลิตมาจากก๊าซธรรมชาติ นับวันยิ่งลดน้อยลงไปทุกที ดังนั้นพลังงานที่ได้มาในรูปพลังงานทดแทน ผ่านพลังน้ำ พลังแสงอาทิตย์ และพืชผลทางการเกษตร จะได้รับการตอบรับมากขึ้น และเมื่อTTW เข้ามามีส่วนร่วมในตลาดนี้ ย่อมหมายถึงโอกาสในการสร้างรายได้จำนวนมากกลับคืนมาจากการลงทุนผ่านสายสัมพันธ์ในเครือ
อีกทั้ง ปริมาณความต้องการบริโภคน้ำที่มีแต่ปรับตัวขึ้น ตามปริมาณประชากร และการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรืออุตสาหกรรม ของธุรกิจหลักของบริษัท แม้มีการลงทุนไม่มากเท่าการลงทุนผลิตพลังงาน แต่ดีมานต์จากธุรกิจนี้แทบหาคำว่าถดถอยไม่เจอ...นี่จึงเป็น2ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนรายได้ของบริษัทให้เติบโตได้ตามเป้าหมายของผุ้บริหาร ที่ต้องการเติบโตผ่านน้ำ แต่ไม่ต้องผ่านการเพิ่มทุน**