ASTVผู้จัดการรายวัน - ก.ล.ต. ลงโทษเพิกถอน "มาริศวน์ ท่าราบและบุริม ชมภูพล" จากการเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นเวลา 10 ปี หลังสอบพบ ปฏิบัติงานบกพร่องอย่างร้ายแรง ในการ
จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียล คอมเพล็กซ์ หรือ TU-PF ทั้งปกปิดอำพรางการทำธุรกรรม และเอื้อประโยชน์พรรคพวก ส่งผลให้ผู้ถือหน่วยเสียหาย จ่อส่งฟันอาญาต่อไป
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ได้พิจารณาลงโทษเพิกถอนนายมาริศวน์ ท่าราบ (ชื่อเดิมนายมาริษ ท่าราบ) และนายบุริม ชมภูพล จากการเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยกำหนดระยะเวลารับพิจารณาคำขอความเห็นชอบครั้งต่อไป
เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 เนื่องจากพบว่าปฏิบัติงานบกพร่องอย่างร้ายแรงในการ
จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียล คอมเพล็กซ์ (ทียูโดมฯ) หรือ TU-PF เป็นเหตุ
ให้กองทุนดังกล่าวและผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับความเสียหายอย่างมาก
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่านายมาริศวน์ และนายบุริม ซึ่งทำหน้าที่ผู้จัดการกองทุน ที ยู โดม
ในช่วงปี 2549-2552 และ 2551-2552 ตามลำดับ ทำการปกปิดอำพรางการทำธุรกรรมซึ่งขัดกับกฎหมาย
และเงื่อนไขการลงทุนที่กำหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุน ไม่วิเคราะห์ต้นทุนและประโยชน์ที่ได้รับ
ของแต่ละทางเลือกก่อนตัดสินใจปรับเปลี่ยนแบบการก่อสร้าง คัดเลือกบริษัทเข้ามาดำเนินงานก่อสร้าง
อย่างไม่โปร่งใส ไม่ตรวจตราทรัพย์สินให้ครบถ้วนก่อนรับมอบจากผู้ให้เช่า รวมทั้งไม่จัดให้มีเอกสาร
หลักฐานหรือสัญญาเพื่อให้สามารถตรวจสอบความเหมาะสมของการทำธุรกรรมและเพื่อป้องกันความเสี่ยง
ที่อาจเกิดขึ้นกับกองทุน
นอกจากนี้ ยังพบว่านายมาริศวน์ ได้อนุมัติการจ่ายเงินของกองทุนอย่างไม่สมเหตุผล
และเงินดังกล่าวถูกโอนต่อให้แก่นายบุริม ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุน โดยไม่มีหลักฐานสนับสนุนเหตุในการ
รับเงิน การกระทำดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง และมีการบริหารจัดการ
กองทุนที่หละหลวม ซึ่งผิดวิสัยของผู้ประกอบวิชาชีพพึงกระทำเป็นอย่างมาก และทำให้เกิดความเสียหาย
แก่ทรัพย์สินของกองทุนเป็นอย่างมาก
โดยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2554 บริษัทจัดการได้พิจารณาจ่ายเงินชดเชยความเสียหายเนื่องจากการกระทำข้างต้นให้แก่กองทุน ที ยู โดม เป็นเงิน 100 ล้านบาทแล้ว
ก.ล.ต. จึงได้ลงโทษนายมาริศวน์ และนายบุริม โดยการเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และจะรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบ
เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ซึ่งรวมถึงกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ครั้งต่อไป
เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 นอกจากนี้ ก.ล.ต. จะพิจารณาดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง
กับบุคคลทั้งสองต่อไป
รายงานข่าวระบุเพิ่มเติมว่า รายละเอียดข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่า ขณะเกิดเหตุนายมาริศวน์ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจัดการ พร้อมกับทำหน้าที่ผู้จัดการกองทุน ที ยู โดม ด้วย และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2551 บริษัทจัดการได้แต่งตั้งนายบุริมเป็นผู้จัดการกองทุน ที ยู โดม เพิ่มอีก 1 คน โดยในการบริหารจัดการ
กองทุน ที ยู โดม นายมาริศวน์ เป็นผู้สั่งการและเป็นผู้ลงนามในเอกสารต่าง ๆ ที่มีผลผูกพันกองทุน
ดังกล่าว และมีนายบุริมเป็นผู้ช่วยดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการกองทุน ที ยู โดม
ซึ่งบุคคลทั้งสองได้ทำให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ ก.ล.ต. เคยลงโทษภาคทัณฑ์ นายมาริษ ท่าราบ ในฐานะกรรมการผู้จัดการและผู้จัดการกองทุน ที ยู โดม
เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 พร้อมทั้งเปรียบเทียบปรับเป็นจำนวนเงิน 231,750 บาท
กรณีจัดการให้กองทุน ที ยู โดม ผูกพันในข้อตกลงที่จะเช่าทรัพย์สินซึ่งจะปลูกสร้างบนที่ดินซึ่งในขณะนั้น
ผู้ให้เช่าไม่ได้มีกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งไม่เป็นไปตามนโยบายที่โครงการจัดการกองทุนรวมกำหนดไว้ รวมทั้งได้ยินยอมให้มีการแก้ไขสัญญาการจ่ายเงินค่าสิทธิการเช่า อันเป็นการดำเนินการที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากโครงการที่แจ้งต่อผู้ลงทุน และทำให้กองทุนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น รวมทั้งสูญเสียรายได้จากการ
นำเงินที่ไม่ควรต้องจ่ายดังกล่าวไปจัดหาผลประโยชน์ตามวิธีการที่กำหนด (รายละเอียดตามข่าว ก.ล.ต.
ฉบับที่ 73/2552 วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2552)
สำหรับบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุน ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนเช่นกัน สำนักงานได้ลงโทษเปรียบเทียบปรับบริษัทจัดการ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 และ 22 กรกฎาคม 2553
เป็นเงินรวม 2,749,000 บาท และเปรียบเทียบปรับผู้ดูแลฯ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 เป็นเงิน 421,650 บาท รวมทั้งเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 ได้มีหนังสือสั่งการให้บริษัทจัดการและผู้ดูแลฯ ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของระบบการควบคุมภายในโดยเร่งด่วน โดยปัจจุบันบริษัทจัดการและผู้ดูแลฯ ได้ปรับปรุง
แก้ไขระบบงานแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากออกจากวงการกองทุนไป นายมาริศวน์ ได้เข้าไปเป็นกรรมการและกรรมการบริหารบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC เมื่อปลายปี 2553 รวมถึงนั่งเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไอเฟค กรีน เพาเวอร์ พลัส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทด้านพลังงานด้วย และ ล่าสุด เมื่อต้นปี 2555 ที่ผ่านมา IFEC ได้รายงานว่า นายมาริศวน์ ท่าราบ กรรมการของบริษัท ได้ขอลาออกจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว เนื่องจากมีภาระกิจอื่น โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา
จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียล คอมเพล็กซ์ หรือ TU-PF ทั้งปกปิดอำพรางการทำธุรกรรม และเอื้อประโยชน์พรรคพวก ส่งผลให้ผู้ถือหน่วยเสียหาย จ่อส่งฟันอาญาต่อไป
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ได้พิจารณาลงโทษเพิกถอนนายมาริศวน์ ท่าราบ (ชื่อเดิมนายมาริษ ท่าราบ) และนายบุริม ชมภูพล จากการเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยกำหนดระยะเวลารับพิจารณาคำขอความเห็นชอบครั้งต่อไป
เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 เนื่องจากพบว่าปฏิบัติงานบกพร่องอย่างร้ายแรงในการ
จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียล คอมเพล็กซ์ (ทียูโดมฯ) หรือ TU-PF เป็นเหตุ
ให้กองทุนดังกล่าวและผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับความเสียหายอย่างมาก
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่านายมาริศวน์ และนายบุริม ซึ่งทำหน้าที่ผู้จัดการกองทุน ที ยู โดม
ในช่วงปี 2549-2552 และ 2551-2552 ตามลำดับ ทำการปกปิดอำพรางการทำธุรกรรมซึ่งขัดกับกฎหมาย
และเงื่อนไขการลงทุนที่กำหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุน ไม่วิเคราะห์ต้นทุนและประโยชน์ที่ได้รับ
ของแต่ละทางเลือกก่อนตัดสินใจปรับเปลี่ยนแบบการก่อสร้าง คัดเลือกบริษัทเข้ามาดำเนินงานก่อสร้าง
อย่างไม่โปร่งใส ไม่ตรวจตราทรัพย์สินให้ครบถ้วนก่อนรับมอบจากผู้ให้เช่า รวมทั้งไม่จัดให้มีเอกสาร
หลักฐานหรือสัญญาเพื่อให้สามารถตรวจสอบความเหมาะสมของการทำธุรกรรมและเพื่อป้องกันความเสี่ยง
ที่อาจเกิดขึ้นกับกองทุน
นอกจากนี้ ยังพบว่านายมาริศวน์ ได้อนุมัติการจ่ายเงินของกองทุนอย่างไม่สมเหตุผล
และเงินดังกล่าวถูกโอนต่อให้แก่นายบุริม ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุน โดยไม่มีหลักฐานสนับสนุนเหตุในการ
รับเงิน การกระทำดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง และมีการบริหารจัดการ
กองทุนที่หละหลวม ซึ่งผิดวิสัยของผู้ประกอบวิชาชีพพึงกระทำเป็นอย่างมาก และทำให้เกิดความเสียหาย
แก่ทรัพย์สินของกองทุนเป็นอย่างมาก
โดยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2554 บริษัทจัดการได้พิจารณาจ่ายเงินชดเชยความเสียหายเนื่องจากการกระทำข้างต้นให้แก่กองทุน ที ยู โดม เป็นเงิน 100 ล้านบาทแล้ว
ก.ล.ต. จึงได้ลงโทษนายมาริศวน์ และนายบุริม โดยการเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และจะรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบ
เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ซึ่งรวมถึงกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ครั้งต่อไป
เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 นอกจากนี้ ก.ล.ต. จะพิจารณาดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง
กับบุคคลทั้งสองต่อไป
รายงานข่าวระบุเพิ่มเติมว่า รายละเอียดข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่า ขณะเกิดเหตุนายมาริศวน์ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจัดการ พร้อมกับทำหน้าที่ผู้จัดการกองทุน ที ยู โดม ด้วย และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2551 บริษัทจัดการได้แต่งตั้งนายบุริมเป็นผู้จัดการกองทุน ที ยู โดม เพิ่มอีก 1 คน โดยในการบริหารจัดการ
กองทุน ที ยู โดม นายมาริศวน์ เป็นผู้สั่งการและเป็นผู้ลงนามในเอกสารต่าง ๆ ที่มีผลผูกพันกองทุน
ดังกล่าว และมีนายบุริมเป็นผู้ช่วยดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการกองทุน ที ยู โดม
ซึ่งบุคคลทั้งสองได้ทำให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ ก.ล.ต. เคยลงโทษภาคทัณฑ์ นายมาริษ ท่าราบ ในฐานะกรรมการผู้จัดการและผู้จัดการกองทุน ที ยู โดม
เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 พร้อมทั้งเปรียบเทียบปรับเป็นจำนวนเงิน 231,750 บาท
กรณีจัดการให้กองทุน ที ยู โดม ผูกพันในข้อตกลงที่จะเช่าทรัพย์สินซึ่งจะปลูกสร้างบนที่ดินซึ่งในขณะนั้น
ผู้ให้เช่าไม่ได้มีกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งไม่เป็นไปตามนโยบายที่โครงการจัดการกองทุนรวมกำหนดไว้ รวมทั้งได้ยินยอมให้มีการแก้ไขสัญญาการจ่ายเงินค่าสิทธิการเช่า อันเป็นการดำเนินการที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากโครงการที่แจ้งต่อผู้ลงทุน และทำให้กองทุนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น รวมทั้งสูญเสียรายได้จากการ
นำเงินที่ไม่ควรต้องจ่ายดังกล่าวไปจัดหาผลประโยชน์ตามวิธีการที่กำหนด (รายละเอียดตามข่าว ก.ล.ต.
ฉบับที่ 73/2552 วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2552)
สำหรับบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุน ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนเช่นกัน สำนักงานได้ลงโทษเปรียบเทียบปรับบริษัทจัดการ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 และ 22 กรกฎาคม 2553
เป็นเงินรวม 2,749,000 บาท และเปรียบเทียบปรับผู้ดูแลฯ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 เป็นเงิน 421,650 บาท รวมทั้งเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 ได้มีหนังสือสั่งการให้บริษัทจัดการและผู้ดูแลฯ ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของระบบการควบคุมภายในโดยเร่งด่วน โดยปัจจุบันบริษัทจัดการและผู้ดูแลฯ ได้ปรับปรุง
แก้ไขระบบงานแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากออกจากวงการกองทุนไป นายมาริศวน์ ได้เข้าไปเป็นกรรมการและกรรมการบริหารบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC เมื่อปลายปี 2553 รวมถึงนั่งเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไอเฟค กรีน เพาเวอร์ พลัส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทด้านพลังงานด้วย และ ล่าสุด เมื่อต้นปี 2555 ที่ผ่านมา IFEC ได้รายงานว่า นายมาริศวน์ ท่าราบ กรรมการของบริษัท ได้ขอลาออกจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว เนื่องจากมีภาระกิจอื่น โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา