ASTVผู้จัดการรายวัน-"บุญทรง"ดิ้นพร่าน หาทางออกดึงราคาอาหารปรุงสำเร็จ เตรียมเปิดร้านอาหารธงฟ้านำร่อง 500 แห่งทั่วประเทศ ขายอาหารจานเดียว 25-30 บาท โวจะเพิ่มเป็น 5,000 แห่งใน 1-2 เดือน เผยร้านร่วมโครงการได้สิทธิซื้อวัตถุดิบ ข้าวสาร น้ำมันพืช เครื่องปรุงรสราคาถูก ชาวบ้านแนะประกาศชื่อร้านให้ชัดอยู่ตรงไหน อย่าทำแค่ปั้นตัวเลขอย่างเดียว ร้านค้าขอให้ช่วยหาวัตถุดิบให้จริงๆ ห้ามโม้ ล่าสุดหาช่องเล่นงานร้านค้าปลีก โยนเป็นต้นเหตุสินค้าแพง
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เตรียมที่จะเปิดตัวโครงการร้านอาหารธงฟ้าทั่วประเทศ 500 แห่ง จำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จไม่เกินจานละ 25-30 บาท มีเป้าหมายเพิ่มร้านอาหารที่ร่วมโครงการธงฟ้าเป็น 5,000 แห่งทั่วประเทศภายใน 1-2 เดือน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ จะมีถึง 1,000 แห่ง เพื่อเป็นการช่วยลดค่าครองชีพประชาชน ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาอาหารปรุงสำเร็จราคาแพง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบความพร้อมร้านอาหารเดิมที่อยู่ในบัญชีของกรมการค้าภายใน
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เป้าหมายร้านอาหารธงฟ้า ไม่เคยมีการระบุหรือมีหลักฐานใดๆ ที่แสดงให้ผู้บริโภคได้รับรู้ว่า ร้านอาหารธงฟ้าที่เข้าร่วมโครงการขายอาหารจานละ 25-30 บาทนั้น ตั้งอยู่ตรงไหนบ้าง และมีจริงตามที่ระบุไว้หรือไม่ เพราะควรจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ เช่น จัดทำลิสต์รายชื่อร้านอาหารธงฟ้าไว้ในเว็บไซต์ของกรมการค้าภายใน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้และตรวจสอบได้ ไม่ใช่มีเพียงแต่ตัวเลขว่ามีร้านค้าเท่านั้นเท่านี้ เพราะเท่ากับเป็นการสร้างตัวเลขลอยๆ เท่านั้น
ส่วนแผนการช่วยลดต้นทุนให้กับร้านอาหารธงฟ้าที่เข้าร่วมโครงการ กรมการค้าภายใน ชี้แจงว่า จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ผลิตสินค้า และองค์การคลังสินค้า (อคส.) เพื่อจัดหาวัตถุดิบประกอบอาหารที่จำเป็น เช่น ข้าวสาร น้ำมันปาล์ม เครื่องปรุงรส รวมถึงข้าวสาร ไปขายให้กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการในราคาพิเศษ โดยเฉพาะข้าวสารจะใช้ข้าวถุงธงฟ้าที่ยังมีเหลือในสต๊อกอีกจำนวนมากออกมาจำหน่ายให้ เพราะข้าวถุงธงฟ้า ขณะนี้ยังไม่ได้กระจายออกไปตามแผน เนื่องจากสถานการณ์ข้าวถุงขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง จึงจะเลือกนำข้าวถุงส่วนนี้มาสนับสนุนโครงการร้านอาหารธงฟ้าก่อน
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามร้านอาหารธงฟ้าที่เคยเป็นเครือข่ายของกรมการค้าภายในเดิม ได้ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมา เคยเข้าร่วมโครงการกับกรมการค้าภายในแล้ว และได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าจะมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น การจัดวัตถุดิบราคาถูกให้ แต่ในทางปฏิบัติ ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือเลย ต้องจัดหาวัตถุดิบมาผลิตอาหารเอง ก็หวังว่า ในครั้งนี้ จะมีการดำเนินการตามที่พูดไว้
สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการร้านอาหารธงฟ้า ก็คือ ผู้ขายอาหารสำเร็จรูปที่ค้าขายเป็นปกติอยู่แล้ว แต่กระทรวงพาณิชย์เข้าไปเสนอให้เข้ามาร่วมโครงการร้านอาหารธงฟ้า ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องขายราคาอาหารสำเร็จรูปจานละ 25-30 บาท หรือตามราคาแนะนำที่กระทรวงฯ ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า กระทรวงพาณิชย์ กำลังติดตามการคิดค่าธรรมเนียมการวางสินค้าในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (โมเดิร์นเทรด) และร้านค้าสะดวกซื้อ เพราะได้รับข้อมูลเบื้องต้นว่า มีการคิดค่าธรรมเนียมมากถึง 40% ของราคาสินค้า ซึ่งหากเป็นจริง ถือว่าเป็นต้นทุนที่สูงมากและเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าแพง
การเข้าไปตรวจสอบการคิดค่าธรรมเนียมการวางสินค้าดังกล่าว เป็นการหาทางออกกรณีผู้บริโภคได้ร้องเรียนถึงปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถบริหารจัดการได้ โดยเป็นการโยนความผิดในเบื้องต้นไปให้กับห้างค้าปลีก และร้านสะดวกซื้อ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำหน่ายในร้านค้าทั่วๆ ไป ก็มีราคาแพงขึ้น ซึ่งเป็นเพราะผู้ผลิตมีการปรับขึ้นราคาสินค้าอย่างต่อเนื่อง แต่กระทรวงพาณิชย์คุมไม่ได้ ยังคงปล่อยให้มีการปรับขึ้นราคา และตามเกมของผู้ผลิตไม่ทัน โดยเฉพาะการใช้วิธีการปรับเปลี่ยนฉลาก ปรับขนาด เพิ่มส่วนผสม แล้วตั้งราคาใหม่ที่แพงขึ้น ทั้งๆ ที่เป็นสินค้ายี่ห้อเดิม
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เตรียมที่จะเปิดตัวโครงการร้านอาหารธงฟ้าทั่วประเทศ 500 แห่ง จำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จไม่เกินจานละ 25-30 บาท มีเป้าหมายเพิ่มร้านอาหารที่ร่วมโครงการธงฟ้าเป็น 5,000 แห่งทั่วประเทศภายใน 1-2 เดือน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ จะมีถึง 1,000 แห่ง เพื่อเป็นการช่วยลดค่าครองชีพประชาชน ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาอาหารปรุงสำเร็จราคาแพง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบความพร้อมร้านอาหารเดิมที่อยู่ในบัญชีของกรมการค้าภายใน
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เป้าหมายร้านอาหารธงฟ้า ไม่เคยมีการระบุหรือมีหลักฐานใดๆ ที่แสดงให้ผู้บริโภคได้รับรู้ว่า ร้านอาหารธงฟ้าที่เข้าร่วมโครงการขายอาหารจานละ 25-30 บาทนั้น ตั้งอยู่ตรงไหนบ้าง และมีจริงตามที่ระบุไว้หรือไม่ เพราะควรจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ เช่น จัดทำลิสต์รายชื่อร้านอาหารธงฟ้าไว้ในเว็บไซต์ของกรมการค้าภายใน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้และตรวจสอบได้ ไม่ใช่มีเพียงแต่ตัวเลขว่ามีร้านค้าเท่านั้นเท่านี้ เพราะเท่ากับเป็นการสร้างตัวเลขลอยๆ เท่านั้น
ส่วนแผนการช่วยลดต้นทุนให้กับร้านอาหารธงฟ้าที่เข้าร่วมโครงการ กรมการค้าภายใน ชี้แจงว่า จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ผลิตสินค้า และองค์การคลังสินค้า (อคส.) เพื่อจัดหาวัตถุดิบประกอบอาหารที่จำเป็น เช่น ข้าวสาร น้ำมันปาล์ม เครื่องปรุงรส รวมถึงข้าวสาร ไปขายให้กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการในราคาพิเศษ โดยเฉพาะข้าวสารจะใช้ข้าวถุงธงฟ้าที่ยังมีเหลือในสต๊อกอีกจำนวนมากออกมาจำหน่ายให้ เพราะข้าวถุงธงฟ้า ขณะนี้ยังไม่ได้กระจายออกไปตามแผน เนื่องจากสถานการณ์ข้าวถุงขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง จึงจะเลือกนำข้าวถุงส่วนนี้มาสนับสนุนโครงการร้านอาหารธงฟ้าก่อน
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามร้านอาหารธงฟ้าที่เคยเป็นเครือข่ายของกรมการค้าภายในเดิม ได้ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมา เคยเข้าร่วมโครงการกับกรมการค้าภายในแล้ว และได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าจะมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น การจัดวัตถุดิบราคาถูกให้ แต่ในทางปฏิบัติ ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือเลย ต้องจัดหาวัตถุดิบมาผลิตอาหารเอง ก็หวังว่า ในครั้งนี้ จะมีการดำเนินการตามที่พูดไว้
สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการร้านอาหารธงฟ้า ก็คือ ผู้ขายอาหารสำเร็จรูปที่ค้าขายเป็นปกติอยู่แล้ว แต่กระทรวงพาณิชย์เข้าไปเสนอให้เข้ามาร่วมโครงการร้านอาหารธงฟ้า ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องขายราคาอาหารสำเร็จรูปจานละ 25-30 บาท หรือตามราคาแนะนำที่กระทรวงฯ ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า กระทรวงพาณิชย์ กำลังติดตามการคิดค่าธรรมเนียมการวางสินค้าในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (โมเดิร์นเทรด) และร้านค้าสะดวกซื้อ เพราะได้รับข้อมูลเบื้องต้นว่า มีการคิดค่าธรรมเนียมมากถึง 40% ของราคาสินค้า ซึ่งหากเป็นจริง ถือว่าเป็นต้นทุนที่สูงมากและเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าแพง
การเข้าไปตรวจสอบการคิดค่าธรรมเนียมการวางสินค้าดังกล่าว เป็นการหาทางออกกรณีผู้บริโภคได้ร้องเรียนถึงปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถบริหารจัดการได้ โดยเป็นการโยนความผิดในเบื้องต้นไปให้กับห้างค้าปลีก และร้านสะดวกซื้อ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำหน่ายในร้านค้าทั่วๆ ไป ก็มีราคาแพงขึ้น ซึ่งเป็นเพราะผู้ผลิตมีการปรับขึ้นราคาสินค้าอย่างต่อเนื่อง แต่กระทรวงพาณิชย์คุมไม่ได้ ยังคงปล่อยให้มีการปรับขึ้นราคา และตามเกมของผู้ผลิตไม่ทัน โดยเฉพาะการใช้วิธีการปรับเปลี่ยนฉลาก ปรับขนาด เพิ่มส่วนผสม แล้วตั้งราคาใหม่ที่แพงขึ้น ทั้งๆ ที่เป็นสินค้ายี่ห้อเดิม