อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
รู้สึกเป็นห่วงกับมาตรการ “แจกถุงยางอนามัย” ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ใช้ผู้รู้ผู้มีสติปัญญาไตร่ตรองใคร่ครวญอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันเยาวชนให้ห่างไกลจากโรคอันเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ โดยใช้งบประมาณกว่า 60 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์นี้
อ้างอิงข้อมูลจากเอแบคโพล เผยผลสำรวจวันวาเลนไทน์ เกี่ยวกับเรื่องการสำรวจสถานการณ์ทางเพศของเยาวชนไทยในวันวาเลนไทน์ เมื่อปีกลาย กรณีศึกษาตัวอย่างเยาวชนอายุ 12-24 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,256 ตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 97.3 ทราบว่าวันวาเลนไทน์ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี และร้อยละ 2.7 ไม่ทราบ
ทั้งนี้ร้อยละ 60.5 คิดว่าวันวาเลนไทน์ไม่ได้เป็นวันพิเศษอะไร แต่ร้อยละ 39.5 คิดว่าเป็นวันพิเศษสำหรับตัวเอง สิ่งที่น่าพิจารณา คือ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.4 ระบุเคยมีประสบการณ์ในการมีเพศสัมพันธ์ร่วมหลับนอนกับคนอื่น ในขณะที่ร้อยละ 70.6 ระบุยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ และผลสำรวจยังพบอีกว่า ร้อยละ 16.9 ระบุมีโอกาสมากถึงมากที่สุดจะมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ (อาทิ กับคนรู้จัก คู่รัก แฟน สามี/ภรรยา เป็นต้น) ร้อยละ 70.4 ระบุ น้อยถึงเป็นไปไม่ได้เลย และร้อยละ 12.7 ระบุปานกลาง
สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ระบุการให้คำแนะนำเพื่อน หากทราบว่าเพื่อนถูกแฟนชักชวนให้มีเพศสัมพันธ์ด้วยนั้น พบว่า ร้อยละ 36.2 แนะนำว่าควรรักนวลสงวนตัว เป็นแค่แฟน อย่างไรก็ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กันก่อนแต่งงาน รองลงมาร้อยละ 34.8 แนะนำว่าเป็นแฟนกันแล้ว อาจมีเพศสัมพันธ์กันได้ แต่ต้องรู้จักป้องกันตนเอง (ยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย) ร้อยละ 18.0 แนะนำว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติ (เป็นสิทธิส่วนตัว) ร้อยละ 7.0 ให้ปฏิเสธ และควรเลิกคบกับแฟน และร้อยละ 4.0ระบุอื่นๆ อาทิ ปฏิเสธ และเป็นเพื่อนกันดีกว่า ตามลำดับ
นัยสำคัญของผลการสำรวจดังกล่าว ยังสะท้อนให้เห็นว่าเยาวชนในระหว่างอายุ 12-24 ปีนั้น ยังมีจิตสำนึกรักนวลสงวนตัวมากกว่าที่จะเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ เป็นเรื่องอันเหมาะสม ผู้เขียนเป็นห่วงมาตรการทางสาธารณสุข ที่มองว่าวันวาเลนไทน์ เป็นแค่เพียงเรื่องเพศและการแก้ไขปัญหาปลายเหตุให้กับเยาวชน เช่นมาตรการที่คิดว่าเป็นรูปธรรมอย่างการแจกถุงยางอนามัย เป็นต้น (ซึ่งไม่แน่ใจว่าการรณรงค์แจกถุงยาง จะเป็นการส่งเสริมให้เพิ่มการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยจากโรคและการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ หรือเพื่อการขายถุงยางอนามัยของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่)
หากจะสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดในทางปรัชญาการป้องกันตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับเยาวชนในลักษณะ “คุณธรรมแห่งชาติ” เป็นต้น ควรจะเป็นมาตรการที่ยั่งยืนและได้ผลกว่าการแจกถุงยางอนามัยที่เสี่ยงสองแง่สามง่าม ทำให้มองได้หลายมิติ
หลักคิดและสิ่งเตือนใจสำหรับเยาวชน คือ ควรสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจของตนให้เข้มแข็ง รักอย่างมีสติสัมปชัญญะ แยกแยะให้ออกระหว่างความรักกับความต้องการทางเพศที่เป็นอารมณ์ชั่ววูบครั้งคราว รวมทั้งการดูแลเอาใจใส่จากสถาบันครอบครัว อันเป็นยารักษาโรคความรักอย่างดีเยี่ยม
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
รู้สึกเป็นห่วงกับมาตรการ “แจกถุงยางอนามัย” ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ใช้ผู้รู้ผู้มีสติปัญญาไตร่ตรองใคร่ครวญอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันเยาวชนให้ห่างไกลจากโรคอันเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ โดยใช้งบประมาณกว่า 60 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์นี้
อ้างอิงข้อมูลจากเอแบคโพล เผยผลสำรวจวันวาเลนไทน์ เกี่ยวกับเรื่องการสำรวจสถานการณ์ทางเพศของเยาวชนไทยในวันวาเลนไทน์ เมื่อปีกลาย กรณีศึกษาตัวอย่างเยาวชนอายุ 12-24 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,256 ตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 97.3 ทราบว่าวันวาเลนไทน์ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี และร้อยละ 2.7 ไม่ทราบ
ทั้งนี้ร้อยละ 60.5 คิดว่าวันวาเลนไทน์ไม่ได้เป็นวันพิเศษอะไร แต่ร้อยละ 39.5 คิดว่าเป็นวันพิเศษสำหรับตัวเอง สิ่งที่น่าพิจารณา คือ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.4 ระบุเคยมีประสบการณ์ในการมีเพศสัมพันธ์ร่วมหลับนอนกับคนอื่น ในขณะที่ร้อยละ 70.6 ระบุยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ และผลสำรวจยังพบอีกว่า ร้อยละ 16.9 ระบุมีโอกาสมากถึงมากที่สุดจะมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ (อาทิ กับคนรู้จัก คู่รัก แฟน สามี/ภรรยา เป็นต้น) ร้อยละ 70.4 ระบุ น้อยถึงเป็นไปไม่ได้เลย และร้อยละ 12.7 ระบุปานกลาง
สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ระบุการให้คำแนะนำเพื่อน หากทราบว่าเพื่อนถูกแฟนชักชวนให้มีเพศสัมพันธ์ด้วยนั้น พบว่า ร้อยละ 36.2 แนะนำว่าควรรักนวลสงวนตัว เป็นแค่แฟน อย่างไรก็ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กันก่อนแต่งงาน รองลงมาร้อยละ 34.8 แนะนำว่าเป็นแฟนกันแล้ว อาจมีเพศสัมพันธ์กันได้ แต่ต้องรู้จักป้องกันตนเอง (ยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย) ร้อยละ 18.0 แนะนำว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติ (เป็นสิทธิส่วนตัว) ร้อยละ 7.0 ให้ปฏิเสธ และควรเลิกคบกับแฟน และร้อยละ 4.0ระบุอื่นๆ อาทิ ปฏิเสธ และเป็นเพื่อนกันดีกว่า ตามลำดับ
นัยสำคัญของผลการสำรวจดังกล่าว ยังสะท้อนให้เห็นว่าเยาวชนในระหว่างอายุ 12-24 ปีนั้น ยังมีจิตสำนึกรักนวลสงวนตัวมากกว่าที่จะเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ เป็นเรื่องอันเหมาะสม ผู้เขียนเป็นห่วงมาตรการทางสาธารณสุข ที่มองว่าวันวาเลนไทน์ เป็นแค่เพียงเรื่องเพศและการแก้ไขปัญหาปลายเหตุให้กับเยาวชน เช่นมาตรการที่คิดว่าเป็นรูปธรรมอย่างการแจกถุงยางอนามัย เป็นต้น (ซึ่งไม่แน่ใจว่าการรณรงค์แจกถุงยาง จะเป็นการส่งเสริมให้เพิ่มการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยจากโรคและการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ หรือเพื่อการขายถุงยางอนามัยของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่)
หากจะสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดในทางปรัชญาการป้องกันตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับเยาวชนในลักษณะ “คุณธรรมแห่งชาติ” เป็นต้น ควรจะเป็นมาตรการที่ยั่งยืนและได้ผลกว่าการแจกถุงยางอนามัยที่เสี่ยงสองแง่สามง่าม ทำให้มองได้หลายมิติ
หลักคิดและสิ่งเตือนใจสำหรับเยาวชน คือ ควรสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจของตนให้เข้มแข็ง รักอย่างมีสติสัมปชัญญะ แยกแยะให้ออกระหว่างความรักกับความต้องการทางเพศที่เป็นอารมณ์ชั่ววูบครั้งคราว รวมทั้งการดูแลเอาใจใส่จากสถาบันครอบครัว อันเป็นยารักษาโรคความรักอย่างดีเยี่ยม