ศูนย์ข่าวภูเก็ต-จังหวัดภูเก็ตสั่งท้องถิ่นสำรวจอาคารเลี้ยงนกนางแอ่นทั่วทั้งจังหวัด ก่อนกำหนดพื้นที่เลี้ยงที่ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและนักท่องเที่ยว หลังหอการค้าร้องเรียนการเลี้ยงนกนางแอ่นสวนทางกับธุรกิจท่องเที่ยว
วานนี้ (9 ก.พ.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาตามร้องเรียนเรื่องผู้ประกอบการอาชีพเลี้ยงนกนางแอ่น ครั้งที่ 1/2555 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งโยธาธิการและผังเมือง ธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ต ตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ปศุสัตว์ เทศบาลนครภูเก็ต หอการค้า เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือถึงแนวทางในการควบคุมดูแลไม่ให้การเลี้ยงนกนางแอ่น ส่งผลกระทบต่อประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ภูเก็ต เพราะเห็นว่าภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว การเลี้ยงนกนางแอ่นเป็นกิจการที่สวนทางกับการท่องเที่ยว
ทั้งนี้สืบเนื่องจากหอการค้าภูเก็ตได้รับการร้องเรียนจากสมาชิก ว่ามีการเลี้ยงนกนางแอ่นหลายพื้นที่ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและนักท่องเที่ยวในบริเวณดังกล่าว หอการค้าจังหวัดภูเก็ตจึงได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต (กรอ.จังหวัดภูเก็ต) ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2554
ที่ประชุมฯได้พิจารณาเห็นว่า การดัดแปลงอาคารเพื่อเลี้ยงนกนางแอ่น ทำให้เกิดมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ และเป็นพาหะนำโรคเกิดกับมนุษย์อย่างน้อย 11 โรค กรอ.จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหาตามข้อร้องเรียนผู้ประกอบการอาชีพเลี้ยงนกนางแอ่นขึ้น เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียน รวมทั้งศึกษาประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการควบคุมต่อไป
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้มีการพิจารณาประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่จะสามารถนำมาควบคุมการเลี้ยงนกนางแอ่นไม่ให้ส่งผลกระทบทั้งด้านเสียง อากาศ และสุขภาพของประชาชนและนักท่องเที่ยวโดยรวม ซึ่งมีกฎหมายหลายฉบับที่สามารถควบคุมได้ เช่น พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร กฎหมายของทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขภาพประชาชน และในส่วนของท้องถิ่นเองก็สามารถออกประกาศเป็นเทศบัญญัติได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า จังหวัดควรที่จะกำหนดโซนสำหรับการเลี้ยงนกนางแอ่น ให้อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวและประชาชน เพราะอาชีพเลี้ยงนกนางแอ่นสามารถทำรายได้สูงให้แก่ผู้เลี้ยง ซึ่งจะมีการกำหนดโซนอีกครั้งหนึ่ง แต่ในเบื้องต้นให้จังหวัดทำหนังสือแจ้งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วทั้งจังหวัด ให้พิจารณาถึงการอนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อเลี้ยงนกนางแอ่นอย่างรอบคอบ โดยให้นำกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาพิจารณาด้วย และกรณีที่มีการดัดแปลงอาคารที่อยู่อาศัยเพื่อเลี้ยงนกนางแอ่นให้ท้องถิ่นดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
รวมทั้งให้ท้องถิ่นเข้าสำรวจว่าขณะนี้มีการสร้างอาคารเพื่อเลี้ยงนกแล้วมากน้อยแค่ไหน ที่บริเวณใดบ้าง นำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนของจุดที่มีการเลี้ยงแล้วว่าจะควบคุมดูแลไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนและนักท่องเที่ยว และรายใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นว่าจะดำเนินการอย่างไร ไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคต
สำหรับการเลี้ยงนกนางแอ่น ก่อนหน้านี้จังหวัดภูเก็ตได้รับการร้องเรียนจากประชาชนและผู้ประกอบการในบริเวณหลังโรงแรมมนตรีมาแล้ว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่แก้ไขปัญหา และขณะนี้ธนารักษ์พื้นที่ได้สั่งให้ผู้เช่าอาคารรื้ออาคารที่ต่อเติมเพื่อเลี้ยงนกนางแอ่นออกทั้งหมดแล้ว
ในเบื้องต้นการสร้างอาคารเพื่อเลี้ยงนกนางแอ่นในภูเก็ตมีประมาณ 3-4 แห่ง เช่น ที่บริเวณแหลมหงา เกาะสิเหร่ ในพื้นที่ต.รัษฎา และที่บริเวณใกล้ๆตลาดนัดนาบอน ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต เป็นต้น
วานนี้ (9 ก.พ.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาตามร้องเรียนเรื่องผู้ประกอบการอาชีพเลี้ยงนกนางแอ่น ครั้งที่ 1/2555 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งโยธาธิการและผังเมือง ธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ต ตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ปศุสัตว์ เทศบาลนครภูเก็ต หอการค้า เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือถึงแนวทางในการควบคุมดูแลไม่ให้การเลี้ยงนกนางแอ่น ส่งผลกระทบต่อประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ภูเก็ต เพราะเห็นว่าภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว การเลี้ยงนกนางแอ่นเป็นกิจการที่สวนทางกับการท่องเที่ยว
ทั้งนี้สืบเนื่องจากหอการค้าภูเก็ตได้รับการร้องเรียนจากสมาชิก ว่ามีการเลี้ยงนกนางแอ่นหลายพื้นที่ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและนักท่องเที่ยวในบริเวณดังกล่าว หอการค้าจังหวัดภูเก็ตจึงได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต (กรอ.จังหวัดภูเก็ต) ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2554
ที่ประชุมฯได้พิจารณาเห็นว่า การดัดแปลงอาคารเพื่อเลี้ยงนกนางแอ่น ทำให้เกิดมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ และเป็นพาหะนำโรคเกิดกับมนุษย์อย่างน้อย 11 โรค กรอ.จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหาตามข้อร้องเรียนผู้ประกอบการอาชีพเลี้ยงนกนางแอ่นขึ้น เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียน รวมทั้งศึกษาประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการควบคุมต่อไป
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้มีการพิจารณาประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่จะสามารถนำมาควบคุมการเลี้ยงนกนางแอ่นไม่ให้ส่งผลกระทบทั้งด้านเสียง อากาศ และสุขภาพของประชาชนและนักท่องเที่ยวโดยรวม ซึ่งมีกฎหมายหลายฉบับที่สามารถควบคุมได้ เช่น พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร กฎหมายของทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขภาพประชาชน และในส่วนของท้องถิ่นเองก็สามารถออกประกาศเป็นเทศบัญญัติได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า จังหวัดควรที่จะกำหนดโซนสำหรับการเลี้ยงนกนางแอ่น ให้อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวและประชาชน เพราะอาชีพเลี้ยงนกนางแอ่นสามารถทำรายได้สูงให้แก่ผู้เลี้ยง ซึ่งจะมีการกำหนดโซนอีกครั้งหนึ่ง แต่ในเบื้องต้นให้จังหวัดทำหนังสือแจ้งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วทั้งจังหวัด ให้พิจารณาถึงการอนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อเลี้ยงนกนางแอ่นอย่างรอบคอบ โดยให้นำกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาพิจารณาด้วย และกรณีที่มีการดัดแปลงอาคารที่อยู่อาศัยเพื่อเลี้ยงนกนางแอ่นให้ท้องถิ่นดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
รวมทั้งให้ท้องถิ่นเข้าสำรวจว่าขณะนี้มีการสร้างอาคารเพื่อเลี้ยงนกแล้วมากน้อยแค่ไหน ที่บริเวณใดบ้าง นำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนของจุดที่มีการเลี้ยงแล้วว่าจะควบคุมดูแลไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนและนักท่องเที่ยว และรายใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นว่าจะดำเนินการอย่างไร ไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคต
สำหรับการเลี้ยงนกนางแอ่น ก่อนหน้านี้จังหวัดภูเก็ตได้รับการร้องเรียนจากประชาชนและผู้ประกอบการในบริเวณหลังโรงแรมมนตรีมาแล้ว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่แก้ไขปัญหา และขณะนี้ธนารักษ์พื้นที่ได้สั่งให้ผู้เช่าอาคารรื้ออาคารที่ต่อเติมเพื่อเลี้ยงนกนางแอ่นออกทั้งหมดแล้ว
ในเบื้องต้นการสร้างอาคารเพื่อเลี้ยงนกนางแอ่นในภูเก็ตมีประมาณ 3-4 แห่ง เช่น ที่บริเวณแหลมหงา เกาะสิเหร่ ในพื้นที่ต.รัษฎา และที่บริเวณใกล้ๆตลาดนัดนาบอน ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต เป็นต้น