ASTVผู้จัดการรายวัน- "ยิ่งลักษณ์" ยัน "คุมได้" หลังปล่อยน้ำทะลักท่วมอยุธยา ลั่นพื้นที่รองรับน้ำเล็งไว้แล้ว ต้องได้หมด 2 ล้านไร่ ด้านปชป. จวกรัฐไร้ความชัดเจนแผนระบายน้ำ ทำอยุธยาจมน้ำหน้าร้อน เย้ย "ทัวร์นกแก้ว" จะเป็นการ "สร้างความทุกข์ หมดความหวัง" ให้ประชาชน เตือนหากยังปกปิดข้อมูลพื้นที่รับน้ำระวังคนลุกฮือต้านทั้งประเทศ
เมื่อเวลา 16.15 น. วานนี้ (8 ก.พ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลกระทบจากการระบายน้ำ เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนภูมิพล ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม พื้นที่การเกษตร และบ้านเรือนประชาชนใน จ.พระนครศรีอยุธยาว่า เหตุน้ำท่วม เป็นลักษณะของการระบายน้ำตามปกติ ขอเรียนว่า ก่อนหน้านี้เรารักษาระดับน้ำในเขื่อน ให้อยู่ที่ระดับต่ำสุด ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ แต่วันนี้ปรับให้ลดลง เพื่อที่จะรองรับน้ำฝน
อย่างไรก็ตาม จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าไปดูแลในพื้นที่ และคงจะให้นำข้อมูลนี้ประกอบการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทางด้านของกรมชลประทาน ในเรื่องของการปล่อยน้ำ แต่ช่วงนี้มีความจำเป็นที่ต้องค่อยๆ ทยอยปล่อยน้ำทุกวัน และต้องคำนึงถึงผลกระทบด้วย
** "ยิ่งลักษณ์"ยัน"คุมได้"
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีอะไรน่าห่วงหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่เป็นห่วงคะ คิดว่าเป็นเรื่องที่ คุมได้ เดี๋ยวจะให้ชะลอบ้าง เพื่อให้น้ำที่ปล่อยออกมาแล้วนี้ระบายไปก่อน แต่เป็นส่วนที่ดี ที่เราได้มีการระบายน้ำเพื่อไล่น้ำ จะได้รู้ว่ามีผลกระทบส่วนไหนบ้าง จะเร่งหาทางระบายน้ำให้เร็ว
เมื่อถามว่า ประชาชนไม่เข้าใจ กลัวจะเกิดเหตุน้ำท่วมซ้ำอีก น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เราจะระมัดระวัง แต่ขอเรียนว่ามันอยู่ในช่วงที่ปริมาณน้ำที่เราเก็บไว้ ซึ่งจากปกติเคยเก็บไว้ทุกๆ ปี โดยปีที่ผ่านมา มีพายุ และเกิดอุทกภัยเยอะ น้ำก็เก็บในเขื่อนมากกว่าปกติ ประกอบการที่เราต้องเหลือน้ำในเขื่อน วันนี้เราปรับระดับให้ลดลงไปอีก จึงทำให้ต้องระบายน้ำออกทุกวัน อาจะเป็นไปได้ว่า การไหลของน้ำอาจไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ซึ่งจะให้ทางกระทรวงเกษตรฯ ไปดูในจุดที่มีปัญหา และได้รับผลกระทบน้ำท่วม
เมื่อถามว่า ต่อไปนี้ จ.พระนครอยุธยา จะกลายเป็นพื้นที่น้ำท่วมตลอดไปหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า โดยสภาพพื้นที่อยุธยาเป็นที่ลุ่มต่ำ แต่เราต้องแก้ปัญหา ตั้งแต่ต้นทาง อันนี้เป็นโจทย์หนึ่งของภาคทฤษฎี เวลาปฏิบัติก็ต้องปรับ เพราะบางครั้งจากการออกแบบ วางแผน จากการคำนวณ บางทีอาจมีปัจจัยบางอย่างที่ดูไม่ครบ คงจะรับตรงนี้ไปปรับปรุงโดยเร็ว
" ขอเรียนพี่น้องชาวอยุธยา เราจะระมัดระวัง และพยายามให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าไปดูแล ไม่ต้องห่วง คงไม่เกิดน้ำท่วมซ้ำเหมือนปีที่แล้ว"
เมื่อถามต่อว่า จะต้องมีมาตรการเยียวยาเป็นพิเศษในช่วงนี้อีกหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ช่วงนี้จะให้ผู้ว่าฯไปดูแลก่อน
**แก้มลิง 2 ล้านไร่ เล็งไว้แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้พื้นที่แก้มลิง 2 ล้านไร่ รัฐบาลดำเนินการได้กี่เปอร์เซ็นต์แล้ว นายกฯ กล่าวว่า ในแง่ของพื้นที่ ได้มองไว้หมดแล้ว ทั้งนี้ต้องไปทำงานคู่กับจังหวัด ในส่วนของพื้นที่ ที่กระทรวงเกษตรฯ มองกับภาพความเป็นจริงตรงกันหรือไม่ เพราะบางครั้งเราดูจากแผนที่ ดูจากการประมาณการณ์แต่ของจริงก็ต้องไปดูด้วย อันนี้จะอยู่ในช่วงที่เราจะทำแผนร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ยังไงก็ต้องหาให้ครบ 2 ล้านไร่
** น้ำเจ้าพระยาทะลักท่วมอ.เสนา
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ (8 ก.พ.) ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับสูงขึ้น 15-20 ซม. ส่งผลให้บ้านเรือนของประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับผลกระทบบางส่วน โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.บางนมโค ต.สามกอ และ ต.หัวเวียง อ. เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
นายไมตรี ปิตินานนท์ ผอ.โครงการชลประทานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผย ว่า สาเหตุที่ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการระบายน้ำของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ การระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ด้วยความเร็วของน้ำ 770 ลบ.ม. ต่อวินาที ประกอบกับน้ำทะเลหนุน จึงทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองสาขาน้ำสูงขึ้นเล็กน้อย อาจส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่มีบ้านเรือน แปลงพืชสวนบนพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำ ได้รับความเสียหาย
ทางด้านนายวิทยา ผิวผ่อง ผวจ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า น้ำที่ล้นตลิ่งของแม่น้ำน้อย ในพื้นที่ อ.เสนา ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะ อ.เสนา เป็นพื้นที่รับน้ำอยู่แล้วตามแผนของจังหวัดที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้กำลังเร่งสำรวจขุดคลองใหม่ เป็นระยะทางยาว 4 กม. เพื่อกำหนดทิศทางน้ำให้ไปลงในพื้นที่ทุ่งนา โดยจะช่วยในการแบ่งรับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี
**ชาวบ้านเชื่อปีนี้น้ำท่วมรุ่นแรงกว่าเดิม
นายลำยอง สัญญสาล อายุ 71 ปี อยู่บ้านแลขที่ 12 หมู่ 1 ต.บางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ตนรู้สึกงงกับน้ำท่วมทั้งๆ ที่น้ำเพิ่งจะแห้งไปเมื่อเดือนสองเดือนที่แล้ว เกิดมาก็ไม่เคยพบเคยเห็นน้ำท่วมในหน้าร้อน ดูแล้วปี 2555 สงสัยน้ำจะท่วมบ้านทั้งปี"
นายย่อน ภิญญกิจ อายุ 83 ปีอยู่บ้านเลขที่ 46 หมู่ 8 ต.หัวเวียง อ.ฌสนา จ.พระนครศรีอยุธยา บอกว่า ตอนนี้อายุมากแล้วและป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโต เวลาเดินไปไหนมาไหนลำบากต้องหิ้วถุงปัสสาวะไปด้วย ยิ่งน้ำท่วมลำบากใหญ่ ต้องพายเรือ ต้องถือถุงปัสสาวอีกลำบากมาก พืชผักที่ปลูกไว้กินยังไม่ทันโตก็มาถูกน้ำท่วมสียหายอีกแล้ว
นางพเยาว์ ภิญญกิจ อายุ 59 ปี อยู่บ้านเลขที่ 59 หมู่ 8 ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ปกติน้ำเดือนนี้ยังไม่มาแต่จู่ๆ เมื่อ 4-5 วันนี้ น้ำขึ้นจนกระทั่งเมื่อวานนี้ น้ำไหลเข้าท่วมบ้านสูง 10-20 ซ.ม.
"บ้านฉันถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว พื้นดินยังไม่ทันแห้งเลยก็มาถูกน้ำท่วมซ้ำอีก จึงต้องขนของหนีน้ำท่วมที่อยู่ใต้ถุนชั้นล่างขึ้นมาไว้ชั้นบน"
**นครสวรรค์เตรียมพื้นที่แก้มลิง
นายวิศาล วสุนธาราพร ผอ.โครงการชลประทานนครสวรรค์ กล่าวว่า ขณะนี้ เขื่อนภูมิพล ยังคงพร่องน้ำลงท้ายเขื่อนเต็มขีดความสามารถ 63 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อรองรับปริมาณน้ำใหม่ ทำให้มวลน้ำไหลลงท้ายเขื่อน สู่ลุ่มน้ำปิงที่ จ.นครสวรรค์ โดยโครงการชลประทานนครสวรรค์ ได้เตรียมพื้นที่แก้มลิงไว้ 3 แห่ง คือที่บึงบอระเพ็ด, ที่อ.เก้าเลี้ยว-ชุมแสง และที่อ.โกรกพระ-พยุหะคีรี
นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งจุดวัดระดับน้ำเพิ่มอีก 14 จุด ตั้งแต่จุดรับน้ำแม่น้ำปิงที่อ.บรรพตพิสัย และแม่น้ำน่าน ตั้งแต่อ.ชุมแสง เข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ไปจนถึงจ.ชัยนาท เพื่อให้มีความชัดเจนในการชี้วัดระดับน้ำอย่างถูกต้องแม่นยำ ก่อนจะแจ้งเตือนประชาชน นอกจากนี้ ยังเตรียมขุดลอกบึงบอระเพ็ด เพื่อใช้เป็นแก้มลิง รองรับมวลน้ำที่ไหลบ่าลงมาด้วย
** "มาร์ค"เย้ยตั้งทีมใหม่แต่งานไม่คืบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีน้ำท่วมในพื้นที่ จ.อยุธยา ว่า มีการชี้แจงว่าไม่ได้เกิดจากการระบายน้ำในเขื่อน ซึ่งก็ต้องตรวจสอบโดยปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะที่ จ.อยุธยา เท่านั้น แต่ที่ จ.นครสวรรค์บางส่วน ก็มีปัญหาด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า ยังไม่มีการเรียนรู้จากปีที่แล้ว เพราะในภาวะที่รัฐบาลกำลังจะพร่องน้ำ น่าจะเป็นโอกาสในการซักซ้อมว่า เวลามีการระบายน้ำ จะมีวิธีการเตือนประชาชนอย่างไร ว่าพื้นที่ไหนจะได้รับผลกระทบ และจะดูแลอย่างไร ถ้าตรงนี้ยังทำไม่ได้ ถึงเวลาที่น้ำมา รัฐบาลอาจไม่สามารถควบคุมการระบายน้ำได้ ก็จะซ้ำรอยปีที่แล้ว รวมถึงความพยายามที่บอกว่า การตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่จะทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ ก็คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย เพราะมีกรรมการเพิ่มขึ้นอีกสองชุด ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนมากมาย ที่สำคัญคือหลายกลไก เป็นกลไกที่ต้องถอดฝ่ายการเมืองออก ไม่ใช่ใส่ฝ่ายการเมืองเข้าไป
"ขณะนี้ยังมองไม่เห็นว่าองค์กรที่ตั้งขึ้นมาใหม่ มีความแตกต่างจาก ศปภ.อย่างไร ผมเข้าใจว่า มีการทิ้งท้ายว่า จะมีการแก้ไขกฎหมาย จึงไม่รู้ว่าจะแก้ให้เปลี่ยนแปลงแค่ไหน แต่ในขณะนี้การตัดสินใจก็ไม่ได้อยู่ที่นายกฯ เพราะยังมีคณะกรรมการหลายชุดเข้ามาเกี่ยวข้อง มี กยน. เป็นที่ปรึกษา มี กบอ. เป็นผู้ไปปฏิบัติ ซึ่งยังไม่ได้ทำให้เกิดความกระชับขึ้นมา และจะติดตามการลงพื้นที่ ของนายกฯ สัปดาห์หน้า ว่ารัฐบาลตอบได้หรือยังว่า ฟลัดเวย์อยู่ตรงไหน จะแก้ปัญหาอย่างไร แต่ละจังหวัด ที่จะไปเยี่ยมจะแตกต่างจากปีที่แล้วอย่างไร จะเยียวยาประชาชนอย่างไร ถ้าชัดเจน ก็ถือว่ามีความก้าวหน้าในการป้องกัน แต่ถ้าไม่สามารถบอกได้ ก็เท่ากับว่า ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** ไม่ควรปกปิดข้อมูลพื้นที่รับน้ำ
ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวด้วยว่า การปกปิดข้อมูลพื้นที่รับน้ำของรัฐบาล จะไม่เป็นผลดีต่อการแก้ไขปัญหา เพราะถ้าไม่บอกประชาชน ก็จะไม่มีทางบริหารได้สำเร็จ หรือจะรอให้น้ำมา แล้วจึงค่อยบอกสถานที่ว่าที่ไหนจะเป็นฟลัดเวย์ นายกฯ ไม่ควรอ้างเรื่องกลัวถูกต่อต้าน จึงไม่บอกข้อมูลกับประชาชน เพราะต้องแจ้งประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐบาล ว่าจะได้รับการชดเชยเยียวยาอย่างไร เพื่อให้เกิดการยอมรับ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการบริหาร จัดการ
แต่ถ้ารัฐบาลยังบอกว่า ถ้ามีคนคัดค้านจะไม่บอกข้อมูล ก็บริหารจัดการไม่ได้ วิธีการบริหารแบบนี้ ขัดกับหลักความโปร่งใส ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของธรรมาภิบาลภาครัฐ และการที่อ้างว่าจะเปิดเผยพื้นที่รับน้ำ เมื่อลงพื้นที่แล้วนั้น จะยิ่งทำให้เกิดปัญหามากขึ้น เพราะเวลาทำความเข้าใจน้อยลง ยิ่งถ้าน้ำมาแล้ว ก็จะยิ่งคุยกันไม่ได้
**"ทัวร์นกแก้ว" นำทุกข์มาให้
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการลงพื้นที่สำรวจลุ่มน้ำ ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ในวันที่ 13-17 ก.พ.นี้ว่า การตะลอนทัวร์นกแก้ว ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ในการดูแผนต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำนั้น มีการระบุว่า จะเป็นทัวร์สร้างความสุข สร้างความหวัง ซึ่งต้องทำอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชน ไม่ใช่ทำเหมือนบางระกำโมเดล ที่หลังจากนายกฯ ลงพื้นที่ ประกาศโครงการแล้วทำให้น้ำท่วมทั้งประเทศ คนไทยระกำกันทั้งประเทศ และไม่เห็นด้วยที่นายกฯ ยังไม่ยอมเปิดเผยพื้นที่รับน้ำ แต่อ้างว่าจะไปเปิดเผยหลังจากลงพื้นที่แล้ว ซึ่งจะยิ่งทำให้การเดินทางของนายกฯครั้งนี้ "เป็นการสร้างความทุกข์ หมดความหวังกันทั้งประเทศ " เพราะทุกพื้นที่ ที่นายกฯ จะเดินทางไปนั้น จะถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำ โดยที่ยังไม่มีการประกาศมาตรการเยียวยา และแผนการระบายน้ำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ เท่ากับว่า ทัวร์นกแก้วคราวนี้ คือการเดินทางไปบอกความทุกข์กับชาวบ้าน ว่าบ้านไหนจะต้องถูกทำเป็นอ่างเก็บน้ำ ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เป็นการลงพื้นที่ไปบอกข่าวร้ายกับประชาชน ในทุกๆจังหวัด ที่นายกฯ เดินทางไปตลอดทัวร์นี้
** เตือนประชาชนจะลุกฮือต้าน
นายชวนนท์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนสูงถึง 90 % ซึ่งรัฐบาลควรประกาศแผนการระบายน้ำให้ประชาชนได้รับทราบ รวมถึงระบุพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบเพื่อให้มีการเตรียมความพร้อม ในการรับมือ เนื่องจากเป็นเรื่องที่สามารถคาดการณ์ได้ว่า จะมีการระบายน้ำอย่างไร ปริมาณน้ำเท่าไร เส้นทางน้ำจะไปในทิศทางไหน ใช้ระยะเวาเดินทางไปยังแต่ละพื้นที่อย่างไร พื้นที่ไหนจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง แต่จนถึงขณะนี้ รัฐบาลกลับไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ จนทำให้คนอยุธยา จมน้ำในหน้าร้อนไปเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งการที่รัฐบาลอ้างว่า จะแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ โดยมีการตั้งคณะกรรมการจำนวนมาก ซึ่งตนคิดว่านายกฯ คงจำไม่ได้แล้วว่ามีทั้งหมดกี่ชุด ซึ่งหากยังบริหารน้ำแบบไร้แผน ปกปิดข้อมูลกับประชาชน ตนเชื่อว่า แผนของรัฐบาลจะไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน จึงขอเตือนให้รัฐบาลรีบแก้ไข ก่อนที่ประชาชนจะลุกขึ้นมาต่อต้านกันทั้งประเทศ
**จัด"ตลาดนัดการเงิน"ช่วยผู้เดือดร้อน
นายไชยา พรหมมา ประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันทางการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว จัดกิจกรรมตลาดนัดการเงิน เพื่อผู้ประสบอุทกภัย ในวันที่ 11-12 ก.พ.นี้ เวลา 10.00- 18.00 น. โดยภายในงานจะมีธนาคารเอกชน และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐฯ ร่วมกันเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือประชาชน และผู้ประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วม และบริการจากธนาคารชั้นนำมากมาย อาทิ เช่น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ฯลฯ
เมื่อเวลา 16.15 น. วานนี้ (8 ก.พ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลกระทบจากการระบายน้ำ เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนภูมิพล ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม พื้นที่การเกษตร และบ้านเรือนประชาชนใน จ.พระนครศรีอยุธยาว่า เหตุน้ำท่วม เป็นลักษณะของการระบายน้ำตามปกติ ขอเรียนว่า ก่อนหน้านี้เรารักษาระดับน้ำในเขื่อน ให้อยู่ที่ระดับต่ำสุด ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ แต่วันนี้ปรับให้ลดลง เพื่อที่จะรองรับน้ำฝน
อย่างไรก็ตาม จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าไปดูแลในพื้นที่ และคงจะให้นำข้อมูลนี้ประกอบการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทางด้านของกรมชลประทาน ในเรื่องของการปล่อยน้ำ แต่ช่วงนี้มีความจำเป็นที่ต้องค่อยๆ ทยอยปล่อยน้ำทุกวัน และต้องคำนึงถึงผลกระทบด้วย
** "ยิ่งลักษณ์"ยัน"คุมได้"
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีอะไรน่าห่วงหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่เป็นห่วงคะ คิดว่าเป็นเรื่องที่ คุมได้ เดี๋ยวจะให้ชะลอบ้าง เพื่อให้น้ำที่ปล่อยออกมาแล้วนี้ระบายไปก่อน แต่เป็นส่วนที่ดี ที่เราได้มีการระบายน้ำเพื่อไล่น้ำ จะได้รู้ว่ามีผลกระทบส่วนไหนบ้าง จะเร่งหาทางระบายน้ำให้เร็ว
เมื่อถามว่า ประชาชนไม่เข้าใจ กลัวจะเกิดเหตุน้ำท่วมซ้ำอีก น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เราจะระมัดระวัง แต่ขอเรียนว่ามันอยู่ในช่วงที่ปริมาณน้ำที่เราเก็บไว้ ซึ่งจากปกติเคยเก็บไว้ทุกๆ ปี โดยปีที่ผ่านมา มีพายุ และเกิดอุทกภัยเยอะ น้ำก็เก็บในเขื่อนมากกว่าปกติ ประกอบการที่เราต้องเหลือน้ำในเขื่อน วันนี้เราปรับระดับให้ลดลงไปอีก จึงทำให้ต้องระบายน้ำออกทุกวัน อาจะเป็นไปได้ว่า การไหลของน้ำอาจไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ซึ่งจะให้ทางกระทรวงเกษตรฯ ไปดูในจุดที่มีปัญหา และได้รับผลกระทบน้ำท่วม
เมื่อถามว่า ต่อไปนี้ จ.พระนครอยุธยา จะกลายเป็นพื้นที่น้ำท่วมตลอดไปหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า โดยสภาพพื้นที่อยุธยาเป็นที่ลุ่มต่ำ แต่เราต้องแก้ปัญหา ตั้งแต่ต้นทาง อันนี้เป็นโจทย์หนึ่งของภาคทฤษฎี เวลาปฏิบัติก็ต้องปรับ เพราะบางครั้งจากการออกแบบ วางแผน จากการคำนวณ บางทีอาจมีปัจจัยบางอย่างที่ดูไม่ครบ คงจะรับตรงนี้ไปปรับปรุงโดยเร็ว
" ขอเรียนพี่น้องชาวอยุธยา เราจะระมัดระวัง และพยายามให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าไปดูแล ไม่ต้องห่วง คงไม่เกิดน้ำท่วมซ้ำเหมือนปีที่แล้ว"
เมื่อถามต่อว่า จะต้องมีมาตรการเยียวยาเป็นพิเศษในช่วงนี้อีกหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ช่วงนี้จะให้ผู้ว่าฯไปดูแลก่อน
**แก้มลิง 2 ล้านไร่ เล็งไว้แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้พื้นที่แก้มลิง 2 ล้านไร่ รัฐบาลดำเนินการได้กี่เปอร์เซ็นต์แล้ว นายกฯ กล่าวว่า ในแง่ของพื้นที่ ได้มองไว้หมดแล้ว ทั้งนี้ต้องไปทำงานคู่กับจังหวัด ในส่วนของพื้นที่ ที่กระทรวงเกษตรฯ มองกับภาพความเป็นจริงตรงกันหรือไม่ เพราะบางครั้งเราดูจากแผนที่ ดูจากการประมาณการณ์แต่ของจริงก็ต้องไปดูด้วย อันนี้จะอยู่ในช่วงที่เราจะทำแผนร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ยังไงก็ต้องหาให้ครบ 2 ล้านไร่
** น้ำเจ้าพระยาทะลักท่วมอ.เสนา
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ (8 ก.พ.) ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับสูงขึ้น 15-20 ซม. ส่งผลให้บ้านเรือนของประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับผลกระทบบางส่วน โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.บางนมโค ต.สามกอ และ ต.หัวเวียง อ. เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
นายไมตรี ปิตินานนท์ ผอ.โครงการชลประทานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผย ว่า สาเหตุที่ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการระบายน้ำของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ การระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ด้วยความเร็วของน้ำ 770 ลบ.ม. ต่อวินาที ประกอบกับน้ำทะเลหนุน จึงทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองสาขาน้ำสูงขึ้นเล็กน้อย อาจส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่มีบ้านเรือน แปลงพืชสวนบนพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำ ได้รับความเสียหาย
ทางด้านนายวิทยา ผิวผ่อง ผวจ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า น้ำที่ล้นตลิ่งของแม่น้ำน้อย ในพื้นที่ อ.เสนา ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะ อ.เสนา เป็นพื้นที่รับน้ำอยู่แล้วตามแผนของจังหวัดที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้กำลังเร่งสำรวจขุดคลองใหม่ เป็นระยะทางยาว 4 กม. เพื่อกำหนดทิศทางน้ำให้ไปลงในพื้นที่ทุ่งนา โดยจะช่วยในการแบ่งรับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี
**ชาวบ้านเชื่อปีนี้น้ำท่วมรุ่นแรงกว่าเดิม
นายลำยอง สัญญสาล อายุ 71 ปี อยู่บ้านแลขที่ 12 หมู่ 1 ต.บางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ตนรู้สึกงงกับน้ำท่วมทั้งๆ ที่น้ำเพิ่งจะแห้งไปเมื่อเดือนสองเดือนที่แล้ว เกิดมาก็ไม่เคยพบเคยเห็นน้ำท่วมในหน้าร้อน ดูแล้วปี 2555 สงสัยน้ำจะท่วมบ้านทั้งปี"
นายย่อน ภิญญกิจ อายุ 83 ปีอยู่บ้านเลขที่ 46 หมู่ 8 ต.หัวเวียง อ.ฌสนา จ.พระนครศรีอยุธยา บอกว่า ตอนนี้อายุมากแล้วและป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโต เวลาเดินไปไหนมาไหนลำบากต้องหิ้วถุงปัสสาวะไปด้วย ยิ่งน้ำท่วมลำบากใหญ่ ต้องพายเรือ ต้องถือถุงปัสสาวอีกลำบากมาก พืชผักที่ปลูกไว้กินยังไม่ทันโตก็มาถูกน้ำท่วมสียหายอีกแล้ว
นางพเยาว์ ภิญญกิจ อายุ 59 ปี อยู่บ้านเลขที่ 59 หมู่ 8 ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ปกติน้ำเดือนนี้ยังไม่มาแต่จู่ๆ เมื่อ 4-5 วันนี้ น้ำขึ้นจนกระทั่งเมื่อวานนี้ น้ำไหลเข้าท่วมบ้านสูง 10-20 ซ.ม.
"บ้านฉันถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว พื้นดินยังไม่ทันแห้งเลยก็มาถูกน้ำท่วมซ้ำอีก จึงต้องขนของหนีน้ำท่วมที่อยู่ใต้ถุนชั้นล่างขึ้นมาไว้ชั้นบน"
**นครสวรรค์เตรียมพื้นที่แก้มลิง
นายวิศาล วสุนธาราพร ผอ.โครงการชลประทานนครสวรรค์ กล่าวว่า ขณะนี้ เขื่อนภูมิพล ยังคงพร่องน้ำลงท้ายเขื่อนเต็มขีดความสามารถ 63 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อรองรับปริมาณน้ำใหม่ ทำให้มวลน้ำไหลลงท้ายเขื่อน สู่ลุ่มน้ำปิงที่ จ.นครสวรรค์ โดยโครงการชลประทานนครสวรรค์ ได้เตรียมพื้นที่แก้มลิงไว้ 3 แห่ง คือที่บึงบอระเพ็ด, ที่อ.เก้าเลี้ยว-ชุมแสง และที่อ.โกรกพระ-พยุหะคีรี
นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งจุดวัดระดับน้ำเพิ่มอีก 14 จุด ตั้งแต่จุดรับน้ำแม่น้ำปิงที่อ.บรรพตพิสัย และแม่น้ำน่าน ตั้งแต่อ.ชุมแสง เข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ไปจนถึงจ.ชัยนาท เพื่อให้มีความชัดเจนในการชี้วัดระดับน้ำอย่างถูกต้องแม่นยำ ก่อนจะแจ้งเตือนประชาชน นอกจากนี้ ยังเตรียมขุดลอกบึงบอระเพ็ด เพื่อใช้เป็นแก้มลิง รองรับมวลน้ำที่ไหลบ่าลงมาด้วย
** "มาร์ค"เย้ยตั้งทีมใหม่แต่งานไม่คืบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีน้ำท่วมในพื้นที่ จ.อยุธยา ว่า มีการชี้แจงว่าไม่ได้เกิดจากการระบายน้ำในเขื่อน ซึ่งก็ต้องตรวจสอบโดยปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะที่ จ.อยุธยา เท่านั้น แต่ที่ จ.นครสวรรค์บางส่วน ก็มีปัญหาด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า ยังไม่มีการเรียนรู้จากปีที่แล้ว เพราะในภาวะที่รัฐบาลกำลังจะพร่องน้ำ น่าจะเป็นโอกาสในการซักซ้อมว่า เวลามีการระบายน้ำ จะมีวิธีการเตือนประชาชนอย่างไร ว่าพื้นที่ไหนจะได้รับผลกระทบ และจะดูแลอย่างไร ถ้าตรงนี้ยังทำไม่ได้ ถึงเวลาที่น้ำมา รัฐบาลอาจไม่สามารถควบคุมการระบายน้ำได้ ก็จะซ้ำรอยปีที่แล้ว รวมถึงความพยายามที่บอกว่า การตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่จะทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ ก็คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย เพราะมีกรรมการเพิ่มขึ้นอีกสองชุด ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนมากมาย ที่สำคัญคือหลายกลไก เป็นกลไกที่ต้องถอดฝ่ายการเมืองออก ไม่ใช่ใส่ฝ่ายการเมืองเข้าไป
"ขณะนี้ยังมองไม่เห็นว่าองค์กรที่ตั้งขึ้นมาใหม่ มีความแตกต่างจาก ศปภ.อย่างไร ผมเข้าใจว่า มีการทิ้งท้ายว่า จะมีการแก้ไขกฎหมาย จึงไม่รู้ว่าจะแก้ให้เปลี่ยนแปลงแค่ไหน แต่ในขณะนี้การตัดสินใจก็ไม่ได้อยู่ที่นายกฯ เพราะยังมีคณะกรรมการหลายชุดเข้ามาเกี่ยวข้อง มี กยน. เป็นที่ปรึกษา มี กบอ. เป็นผู้ไปปฏิบัติ ซึ่งยังไม่ได้ทำให้เกิดความกระชับขึ้นมา และจะติดตามการลงพื้นที่ ของนายกฯ สัปดาห์หน้า ว่ารัฐบาลตอบได้หรือยังว่า ฟลัดเวย์อยู่ตรงไหน จะแก้ปัญหาอย่างไร แต่ละจังหวัด ที่จะไปเยี่ยมจะแตกต่างจากปีที่แล้วอย่างไร จะเยียวยาประชาชนอย่างไร ถ้าชัดเจน ก็ถือว่ามีความก้าวหน้าในการป้องกัน แต่ถ้าไม่สามารถบอกได้ ก็เท่ากับว่า ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** ไม่ควรปกปิดข้อมูลพื้นที่รับน้ำ
ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวด้วยว่า การปกปิดข้อมูลพื้นที่รับน้ำของรัฐบาล จะไม่เป็นผลดีต่อการแก้ไขปัญหา เพราะถ้าไม่บอกประชาชน ก็จะไม่มีทางบริหารได้สำเร็จ หรือจะรอให้น้ำมา แล้วจึงค่อยบอกสถานที่ว่าที่ไหนจะเป็นฟลัดเวย์ นายกฯ ไม่ควรอ้างเรื่องกลัวถูกต่อต้าน จึงไม่บอกข้อมูลกับประชาชน เพราะต้องแจ้งประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐบาล ว่าจะได้รับการชดเชยเยียวยาอย่างไร เพื่อให้เกิดการยอมรับ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการบริหาร จัดการ
แต่ถ้ารัฐบาลยังบอกว่า ถ้ามีคนคัดค้านจะไม่บอกข้อมูล ก็บริหารจัดการไม่ได้ วิธีการบริหารแบบนี้ ขัดกับหลักความโปร่งใส ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของธรรมาภิบาลภาครัฐ และการที่อ้างว่าจะเปิดเผยพื้นที่รับน้ำ เมื่อลงพื้นที่แล้วนั้น จะยิ่งทำให้เกิดปัญหามากขึ้น เพราะเวลาทำความเข้าใจน้อยลง ยิ่งถ้าน้ำมาแล้ว ก็จะยิ่งคุยกันไม่ได้
**"ทัวร์นกแก้ว" นำทุกข์มาให้
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการลงพื้นที่สำรวจลุ่มน้ำ ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ในวันที่ 13-17 ก.พ.นี้ว่า การตะลอนทัวร์นกแก้ว ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ในการดูแผนต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำนั้น มีการระบุว่า จะเป็นทัวร์สร้างความสุข สร้างความหวัง ซึ่งต้องทำอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชน ไม่ใช่ทำเหมือนบางระกำโมเดล ที่หลังจากนายกฯ ลงพื้นที่ ประกาศโครงการแล้วทำให้น้ำท่วมทั้งประเทศ คนไทยระกำกันทั้งประเทศ และไม่เห็นด้วยที่นายกฯ ยังไม่ยอมเปิดเผยพื้นที่รับน้ำ แต่อ้างว่าจะไปเปิดเผยหลังจากลงพื้นที่แล้ว ซึ่งจะยิ่งทำให้การเดินทางของนายกฯครั้งนี้ "เป็นการสร้างความทุกข์ หมดความหวังกันทั้งประเทศ " เพราะทุกพื้นที่ ที่นายกฯ จะเดินทางไปนั้น จะถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำ โดยที่ยังไม่มีการประกาศมาตรการเยียวยา และแผนการระบายน้ำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ เท่ากับว่า ทัวร์นกแก้วคราวนี้ คือการเดินทางไปบอกความทุกข์กับชาวบ้าน ว่าบ้านไหนจะต้องถูกทำเป็นอ่างเก็บน้ำ ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เป็นการลงพื้นที่ไปบอกข่าวร้ายกับประชาชน ในทุกๆจังหวัด ที่นายกฯ เดินทางไปตลอดทัวร์นี้
** เตือนประชาชนจะลุกฮือต้าน
นายชวนนท์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนสูงถึง 90 % ซึ่งรัฐบาลควรประกาศแผนการระบายน้ำให้ประชาชนได้รับทราบ รวมถึงระบุพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบเพื่อให้มีการเตรียมความพร้อม ในการรับมือ เนื่องจากเป็นเรื่องที่สามารถคาดการณ์ได้ว่า จะมีการระบายน้ำอย่างไร ปริมาณน้ำเท่าไร เส้นทางน้ำจะไปในทิศทางไหน ใช้ระยะเวาเดินทางไปยังแต่ละพื้นที่อย่างไร พื้นที่ไหนจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง แต่จนถึงขณะนี้ รัฐบาลกลับไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ จนทำให้คนอยุธยา จมน้ำในหน้าร้อนไปเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งการที่รัฐบาลอ้างว่า จะแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ โดยมีการตั้งคณะกรรมการจำนวนมาก ซึ่งตนคิดว่านายกฯ คงจำไม่ได้แล้วว่ามีทั้งหมดกี่ชุด ซึ่งหากยังบริหารน้ำแบบไร้แผน ปกปิดข้อมูลกับประชาชน ตนเชื่อว่า แผนของรัฐบาลจะไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน จึงขอเตือนให้รัฐบาลรีบแก้ไข ก่อนที่ประชาชนจะลุกขึ้นมาต่อต้านกันทั้งประเทศ
**จัด"ตลาดนัดการเงิน"ช่วยผู้เดือดร้อน
นายไชยา พรหมมา ประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันทางการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว จัดกิจกรรมตลาดนัดการเงิน เพื่อผู้ประสบอุทกภัย ในวันที่ 11-12 ก.พ.นี้ เวลา 10.00- 18.00 น. โดยภายในงานจะมีธนาคารเอกชน และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐฯ ร่วมกันเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือประชาชน และผู้ประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วม และบริการจากธนาคารชั้นนำมากมาย อาทิ เช่น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ฯลฯ