ASTVผู้จัดการรายวัน-กลุ่มปกป้องสิทธิ์คนขับแท็กซี่เล็งยื่นฟ้อง"ปู-ครม." สัปดาห์หน้า ฐานขึ้นราคา NGV–LPG ไม่โปร่งใส ขณะที่เครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่กทม. ยันไม่เกี่ยวกัน เผยเจรจาพลังงานได้ข้อยุติแล้ว ให้ขึ้น 6 บาทต่อกก. โดย 2 บาทแรกใช้บัตรส่วนลด ปตท. 2 บาทถัดมาแท็กซี่รับแลกขึ้นค่าโดยสาร 5% และ 2 บาทสุดท้ายพลังงานหางบหนุน
นายสมบุญ จรรยาเลิศ ประธานกลุ่มปกป้องสิทธิ์คนขับรถแท็กซี่ เปิดเผยว่า ทางกลุ่มฯ เตรียมยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กระทรงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อศาลปกครองภายในสัปดาห์หน้า หลังปล่อยให้ราคาก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ (NGV) และก๊าซหุงต้ม (LPG) ปรับราคาเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา โดย NGV ปรับขึ้น 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม (กก.) และ LPG ปรับขึ้นอีก 75 สตางค์ต่อกก.
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและครม.เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงจากการออกกฎให้กระทรวงคมนาคมสั่งให้รถแท็กซี่เปลี่ยนมาใช้ NGV ทั้งหมด ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า คำสั่งดังกล่าวไม่โปร่งใส เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกตั้งเงื่อนไขว่า เจ้าของรถที่ต้องเปลี่ยนระบบต้องนำรถไปตรวจสอบสภาพกับบริษัทเอกชน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายปีละ 400 บาท ทำให้ทางกลุ่มตัดสินใจยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
“นายกฯ และครม.บริหารจัดการผิดพลาดในการแก้ปัญหาด้วยการขึ้นราคา NGV และ LPG ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น”นายสมบุญกล่าว
นายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เครือข่ายฯ ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องแต่อย่างใด เพราะเห็นว่าไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน เพราะการฟ้องต้องใช้เวลา จึงเห็นว่าการเจรจาเป็นวิธีดีสุดและล่าสุดจากการหารือกับคณะทำงานทบทวนการปรับราคาเอ็นจีวีรถแท็กซี่ มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานวันที่ 7
ก.พ. ได้ข้อสรุปถึงแนวทางการปรับราคา NGV แล้ว
โดยการปรับราคา NGV จะเป็นไปตามกรอบเดิมตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กพช.) โดยทะยอยขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ต่อกก.จนครบ 6 บาทต่อกก. ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มปรับแล้วเดือนแรกเมื่อ 16 ม.ค. 50 สตางค์ต่อกก. โดย 2 บาทต่อกก.แรก(ม.ค.-เม.ย.55) ปตท.จะรับภาระด้วยการออกบัตรส่วนลดราคาให้ ส่วน 2 บาทต่อกก. (พ.ค.-ส.ค.55) แท็กซี่จะรับภาระการจ่าย แต่มีเงื่อนไขว่าให้กรมการขนส่งทางบกที่มาร่วมประชุมด้วยครั้งนี้รับไปพิจารณาจะปรับขึ้นค่าโดยสารให้ 5% และส่วนที่เหลือ 2 บาทต่อกก. (ก.ย.-ธ.ค.55) กระทรวงพลังงานจะรับหน้าที่จัดหางบประมาณมาดำเนินการโดยไม่เกี่ยวข้องกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
“ทั้งหมดถือว่าสรุป แต่จะยุติหรือไม่อยู่ที่จะต้องนำเสนอแนวทางทั้งหมดให้กพช. อนุมัติ ซึ่งหากเห็นชอบตามนี้ ก็ถือว่ายุติ โดยงบประมาณเราเองก็ไม่ทราบว่าที่สุดรัฐบาลจะสรรหาอย่างไรมา แต่กระทรวงพลังงานก็ได้ตกลงแล้ว”นายวิฑูรย์กล่าว
นายสมบุญ จรรยาเลิศ ประธานกลุ่มปกป้องสิทธิ์คนขับรถแท็กซี่ เปิดเผยว่า ทางกลุ่มฯ เตรียมยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กระทรงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อศาลปกครองภายในสัปดาห์หน้า หลังปล่อยให้ราคาก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ (NGV) และก๊าซหุงต้ม (LPG) ปรับราคาเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา โดย NGV ปรับขึ้น 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม (กก.) และ LPG ปรับขึ้นอีก 75 สตางค์ต่อกก.
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและครม.เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงจากการออกกฎให้กระทรวงคมนาคมสั่งให้รถแท็กซี่เปลี่ยนมาใช้ NGV ทั้งหมด ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า คำสั่งดังกล่าวไม่โปร่งใส เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกตั้งเงื่อนไขว่า เจ้าของรถที่ต้องเปลี่ยนระบบต้องนำรถไปตรวจสอบสภาพกับบริษัทเอกชน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายปีละ 400 บาท ทำให้ทางกลุ่มตัดสินใจยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
“นายกฯ และครม.บริหารจัดการผิดพลาดในการแก้ปัญหาด้วยการขึ้นราคา NGV และ LPG ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น”นายสมบุญกล่าว
นายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เครือข่ายฯ ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องแต่อย่างใด เพราะเห็นว่าไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน เพราะการฟ้องต้องใช้เวลา จึงเห็นว่าการเจรจาเป็นวิธีดีสุดและล่าสุดจากการหารือกับคณะทำงานทบทวนการปรับราคาเอ็นจีวีรถแท็กซี่ มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานวันที่ 7
ก.พ. ได้ข้อสรุปถึงแนวทางการปรับราคา NGV แล้ว
โดยการปรับราคา NGV จะเป็นไปตามกรอบเดิมตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กพช.) โดยทะยอยขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ต่อกก.จนครบ 6 บาทต่อกก. ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มปรับแล้วเดือนแรกเมื่อ 16 ม.ค. 50 สตางค์ต่อกก. โดย 2 บาทต่อกก.แรก(ม.ค.-เม.ย.55) ปตท.จะรับภาระด้วยการออกบัตรส่วนลดราคาให้ ส่วน 2 บาทต่อกก. (พ.ค.-ส.ค.55) แท็กซี่จะรับภาระการจ่าย แต่มีเงื่อนไขว่าให้กรมการขนส่งทางบกที่มาร่วมประชุมด้วยครั้งนี้รับไปพิจารณาจะปรับขึ้นค่าโดยสารให้ 5% และส่วนที่เหลือ 2 บาทต่อกก. (ก.ย.-ธ.ค.55) กระทรวงพลังงานจะรับหน้าที่จัดหางบประมาณมาดำเนินการโดยไม่เกี่ยวข้องกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
“ทั้งหมดถือว่าสรุป แต่จะยุติหรือไม่อยู่ที่จะต้องนำเสนอแนวทางทั้งหมดให้กพช. อนุมัติ ซึ่งหากเห็นชอบตามนี้ ก็ถือว่ายุติ โดยงบประมาณเราเองก็ไม่ทราบว่าที่สุดรัฐบาลจะสรรหาอย่างไรมา แต่กระทรวงพลังงานก็ได้ตกลงแล้ว”นายวิฑูรย์กล่าว