ASTVผู้จัดการรายวัน-"กรุงเทพโพลล์" ฉีกหน้ารัฐบาล "ปู" เผยความเสี่ยงคนกรุงยุคนี้ มีปัญหาด้านค่าครองชีพมากที่สุด แถมเป็นเรื่องที่คนอยากให้เร่งแก้ไข "พาณิชย์"เอาแน่ เตรียมประกาศราคาแนะนำจานด่วน 9 ก.พ.นี้ ร้านมิตรธงฟ้า 25-30 บาท ริมทาง 30 บาท ตามฟูดคอร์ท ร้านค้าปลีก อาคารสำนักงาน 35 บาท โดยให้เวลาปรับตัว 1-2 สัปดาห์ ส่วนโพลล์เห็นด้วยคุมจานด่วนไม่เกิน 25-30 บาท
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ดัชนีความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 1,158 คน พบว่า ความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.91 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยคนกรุงเทพฯ รู้สึกเสี่ยงในด้านค่าครองชีพและหนี้สินมากที่สุด 6.75 คะแนน รองลงมา คือ รู้สึกเสี่ยงด้านการเมือง 6.51 คะแนน ด้านชีวิตและทรัพย์สิน 6.19 คะแนน และด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรง 6.08 คะแนน ขณะที่ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความเสี่ยงน้อยที่สุด 4.48 คะแนน
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนม.ค.2554 พบว่า คนกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงลดลงในภาพรวม 0.47 คะแนน และเป็นการลดลงในเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเมืองที่ความเสี่ยงปรับลดลงจาก 7.45 คะแนน มาอยู่ที่ 6.51 คะแนน ขณะที่มีเพียงความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติที่มีคะแนนสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาจาก 5.29 คะแนนเป็น 6.08 คะแนน
สำหรับสิ่งที่คนกรุงเทพฯ ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหามากที่สุด คือ สินค้าราคาแพง ค่าครองชีพสูง ร้อยละ 40.9 รองลงมาคือ ความแตกแยกของคนในชาติ ร้อยละ 22.5 การรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในปี 2555 ร้อยละ 15.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว ของไทย ร้อยละ 8.5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ร้อยละ 8.2 และปัญหาจราจรและการเดินทาง ร้อยละ 4.7
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า เตรียมเสนอให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เห็นชอบการประกาศใช้ราคาแนะนำอาหารสำเร็จรูปจานเดียว เพื่อแก้ปัญหาอาหารจานด่วนราคาแพง โดยจะประกาศใช้ราคาแนะนำได้วันที่ 9 ก.พ.2555 หรืออย่างช้าภายในสัปดาห์นี้ โดยราคาแนะนำจะแยกเป็นร้านในกลุ่มมิตรธงฟ้าไม่เกินจานละ 25-30 บาท ร้านอาหารริมทางทั่วไปไม่เกินจานละ 30 บาท และร้านในศูนย์อาหารตามห้างค้าปลีกสมัยใหม่ หรือโมเดิร์นเทรด อาคารสำนักงานไม่เกินจานละ 35 บาท โดยจะใช้ดูแลเฉพาะอาหารจานเดียว เช่น ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวหมูแดง ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ เป็นต้น
นอกจากนี้ จะประกาศรายละเอียดของต้นทุนอาหารจานด่วนให้ประชาชนรับทราบด้วยว่าอาหารแต่ละชนิดมีต้นทุน และกำไรเท่าไร เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นเครื่องมือตัดสินใจเลือกซื้ออาหารว่าร้านใดขายเหมาะสม หรือราคาแพงเกินไป แต่ในเบื้องต้น กรมฯ จะให้เวลาร้านอาหารได้ปรับตัวในการลดราคาไปก่อน 1-2 สัปดาห์ เพราะบางร้านมีต้นทุนเก่าที่เก็บไว้อยู่แล้ว ส่วนการหารือกับศูนย์อาหารในห้างโมเดิร์นเทรดทั้งหมดยินยอมจะขายในราคาที่กำหนดไม่เกินจาน 35 บาท แต่ต้องใช้เวลาในการปรับลดราคาเช่นกัน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้จ่ายและค่าครองชีพต่อการควบคุมราคาอาหารจานเดียวไม่เกินจานละ25-30 บาท กลุ่มตัวอย่าง 62.7% เห็นด้วย 32.1% ไม่เห็นด้วย และ5.2% ไม่มีความเห็น แต่หากจะปรับขึ้นราคาควรปรับขึ้นให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ โดยไม่เกินจานละ3-5 บาท หรืออาจไม่ต้องปรับขึ้นเลย เพราะขณะนี้ค่าครองชีพของประชาชนสูงอยู่แล้ว ส่วนการดูแลราคาพลังงานในช่วงนี้ กลุ่มตัวอย่าง 67.8% ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะปรับขึ้นอีก 12.1% เห็นด้วยให้ปรับ และ 20.1% ไม่มีความเห็น แต่หากขึ้นราคาจริงควรทยอยปรับขึ้นเพื่อไม่ให้เดือดร้อนหรือขึ้นรวมกันสูงสุดไม่เกิน 2-3บาทต่อลิตร
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ดัชนีความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 1,158 คน พบว่า ความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.91 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยคนกรุงเทพฯ รู้สึกเสี่ยงในด้านค่าครองชีพและหนี้สินมากที่สุด 6.75 คะแนน รองลงมา คือ รู้สึกเสี่ยงด้านการเมือง 6.51 คะแนน ด้านชีวิตและทรัพย์สิน 6.19 คะแนน และด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรง 6.08 คะแนน ขณะที่ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความเสี่ยงน้อยที่สุด 4.48 คะแนน
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนม.ค.2554 พบว่า คนกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงลดลงในภาพรวม 0.47 คะแนน และเป็นการลดลงในเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเมืองที่ความเสี่ยงปรับลดลงจาก 7.45 คะแนน มาอยู่ที่ 6.51 คะแนน ขณะที่มีเพียงความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติที่มีคะแนนสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาจาก 5.29 คะแนนเป็น 6.08 คะแนน
สำหรับสิ่งที่คนกรุงเทพฯ ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหามากที่สุด คือ สินค้าราคาแพง ค่าครองชีพสูง ร้อยละ 40.9 รองลงมาคือ ความแตกแยกของคนในชาติ ร้อยละ 22.5 การรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในปี 2555 ร้อยละ 15.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว ของไทย ร้อยละ 8.5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ร้อยละ 8.2 และปัญหาจราจรและการเดินทาง ร้อยละ 4.7
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า เตรียมเสนอให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เห็นชอบการประกาศใช้ราคาแนะนำอาหารสำเร็จรูปจานเดียว เพื่อแก้ปัญหาอาหารจานด่วนราคาแพง โดยจะประกาศใช้ราคาแนะนำได้วันที่ 9 ก.พ.2555 หรืออย่างช้าภายในสัปดาห์นี้ โดยราคาแนะนำจะแยกเป็นร้านในกลุ่มมิตรธงฟ้าไม่เกินจานละ 25-30 บาท ร้านอาหารริมทางทั่วไปไม่เกินจานละ 30 บาท และร้านในศูนย์อาหารตามห้างค้าปลีกสมัยใหม่ หรือโมเดิร์นเทรด อาคารสำนักงานไม่เกินจานละ 35 บาท โดยจะใช้ดูแลเฉพาะอาหารจานเดียว เช่น ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวหมูแดง ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ เป็นต้น
นอกจากนี้ จะประกาศรายละเอียดของต้นทุนอาหารจานด่วนให้ประชาชนรับทราบด้วยว่าอาหารแต่ละชนิดมีต้นทุน และกำไรเท่าไร เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นเครื่องมือตัดสินใจเลือกซื้ออาหารว่าร้านใดขายเหมาะสม หรือราคาแพงเกินไป แต่ในเบื้องต้น กรมฯ จะให้เวลาร้านอาหารได้ปรับตัวในการลดราคาไปก่อน 1-2 สัปดาห์ เพราะบางร้านมีต้นทุนเก่าที่เก็บไว้อยู่แล้ว ส่วนการหารือกับศูนย์อาหารในห้างโมเดิร์นเทรดทั้งหมดยินยอมจะขายในราคาที่กำหนดไม่เกินจาน 35 บาท แต่ต้องใช้เวลาในการปรับลดราคาเช่นกัน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้จ่ายและค่าครองชีพต่อการควบคุมราคาอาหารจานเดียวไม่เกินจานละ25-30 บาท กลุ่มตัวอย่าง 62.7% เห็นด้วย 32.1% ไม่เห็นด้วย และ5.2% ไม่มีความเห็น แต่หากจะปรับขึ้นราคาควรปรับขึ้นให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ โดยไม่เกินจานละ3-5 บาท หรืออาจไม่ต้องปรับขึ้นเลย เพราะขณะนี้ค่าครองชีพของประชาชนสูงอยู่แล้ว ส่วนการดูแลราคาพลังงานในช่วงนี้ กลุ่มตัวอย่าง 67.8% ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะปรับขึ้นอีก 12.1% เห็นด้วยให้ปรับ และ 20.1% ไม่มีความเห็น แต่หากขึ้นราคาจริงควรทยอยปรับขึ้นเพื่อไม่ให้เดือดร้อนหรือขึ้นรวมกันสูงสุดไม่เกิน 2-3บาทต่อลิตร