โดย นายหิ่งห้อย
ไม่ว่าสังคมจะเรียกกลุ่มนิติราษฎร์ว่า “กลุ่มนักวิชาการ” หรือ “กลุ่มการเมือง” ที่ออกมาเคลื่อนไหวโดยมีเป้าหมายทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าคนกลุ่มนี้ซึ่งมี ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์สอนกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแกนนำ มีความกล้าหาญที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ค่อนข้างอ่อนไหวในสังคมไทย
เพียงแต่การแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่มิได้คำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและรากเหง้าหรือความเป็นมาของสังคมไทย เพราะข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ล้วนเป็นการลอกเลียนแบบต่างประเทศ ซึ่งยังไม่เหมาะสมกับสังคมไทยแทบทั้งสิ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันสูงสุด ซึ่งมีความเป็นมาผูกพันกับคนไทยเป็นเวลายาวนาน และคนไทยยังเคารพเทิดทูนไว้เหนือชีวิต จึงทำให้กลุ่มนิติราษฎร์ถูกต่อต้านจากกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ ข้อเสนอการปฏิรูปศาลยุติธรรมที่กลุ่มนิติราษฎร์เห็นว่า สถาบันตุลาการมิได้ยึดโยงกับประชาชน เพราะมิได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยก็เช่นกัน
ที่กลุ่มนิติราษฎร์ได้เสนอแนวคิดให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อผู้บริหารสูงสุดของทุกชั้นศาลต่อสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภาเพื่อให้การรับรองก่อนที่จะมีการแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งนั้น
ก็เป็นการลอกเลียนแบบระบบศาลที่ใช้ในบางประเทศซึ่งมีวิวัฒนาการของระบบการเมือง การปกครอง สภาพสังคม และความเป็นมาของผู้ใช้อำนาจตุลาการที่แตกต่างจากประเทศไทยเช่นกัน
เชื่อว่า แม้แต่ชาวบ้านธรรมดาๆ ที่ไม่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลไปร่ำเรียนวิชากฎหมายจากต่างประเทศก็ย่อมทราบดีว่า หากนำข้อเสนอดังกล่าวของกลุ่มนิติราษฎร์มาใช้กับสังคมไทย ศาลยุติธรรมไทยย่อมไม่มีความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี
และผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมก็คงจะไม่ต่างไปจากข้าราชการประจำในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่จะต้องคอยเงี่ยหูฟังคำสั่งจากฝ่ายการเมือง ก่อนที่จะมีคำพิพากษาในคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับนักการเมือง หรือคดีอื่น ๆ ที่นักการเมืองต้องการแทรกแซงคดีความในศาล
จึงเห็นได้ว่า ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ในประเด็นดังกล่าวมิได้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน แต่จะเป็นประโยชน์แก่นักการเมืองที่ต้องการแทรกแซงอำนาจตุลาการมากกว่า
บ้านเมืองไทยทุกวันนี้ อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติแทบจะไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารได้เลย เพราะนักการเมืองผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารเป็นผู้คุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
หากต้องให้อำนาจตุลาการอยู่ภายใต้อำนาจฝ่ายบริหารอีก แทนที่การเคลื่อนไหวผลักดันของกลุ่มนิติราษฎร์จะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่กลับจะได้ระบอบเผด็จการสมบูรณ์แบบโดยนักการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
ผมเห็นว่า แม้ในปัจจุบันผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมมิได้มีความยึดโยงกับภาคประชาชนโดยตรง แต่ก็มีกรรมการตุลาการ 2 คน ซึ่งมาจากการสรรหาของวุฒิสภาร่วมกับกรรมการตุลาการที่มาจากการเลือกตั้งจากผู้พิพากษาทำหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
โดยคณะกรรมการตุลาการมีอำนาจในการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายและลงโทษทางวินัยแก่ผู้พิพากษาทุกตำแหน่งอยู่แล้ว
การเปลี่ยนแปลงในสถาบันตุลาการมิใช่เป็นสิ่งต้องห้าม และก็มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะๆ เพื่อให้สถาบันตุลาการมีความมั่นคง เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง
ผมไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการบางกลุ่มที่ไปเรียนรู้ระบบตุลาการในต่างประเทศเพียงไม่กี่ปี แล้วจินตนาการเอาว่าระบบตุลาการในประเทศนั้น ๆ เป็นระบบที่ดี แล้วเสนอแนะให้นำมาใช้กับสังคมไทย โดยไม่ศึกษาความเป็นมาของขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละสังคมให้ลึกซึ้งเสียก่อน
อนี่ง เมื่อปี 2547 ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ก็เคยแสดงความเห็นไว้ในหนังสือ “รู้ทันทักษิณ 2” วิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญปี 2540 เกี่ยวกับการสรรหาองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีใจความสำคัญสรุปได้ว่า
“บุคคลที่ทำหน้าที่ในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีที่มาจากการสรรหาของฝ่ายการเมือง จึงถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซงและครอบงำ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรมได้ ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในบ้านเมือง”
จึงน่าสงสัยว่า เหตุใด ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คนเดียวกันนี้กลับเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปศาลยุติธรรม โดยให้คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อประธานศาลทุกชั้นศาลเพื่อให้รัฐสภารับรองก่อนแต่งตั้ง
อันเป็นข้อเสนอใหม่ที่เปิดโอกาสให้นักการเมืองแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรมได้โดยง่าย
เชื่อว่า หากฝ่ายการเมืองพิจารณาแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญให้มีการปฏิรูปศาลยุติธรรมตามข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ จะมีผู้พิพากษาและประชาชนผู้รักความเป็นธรรมร่วมกันออกมาคัดค้านอย่างถึงที่สุดอย่างแน่นอน
ผมมีข้อเสนอต่อกลุ่มนิติราษฎร์ให้ใช้ความรู้ทางวิชาการและความกล้าหาญในการแก้ปัญหาอันเป็นรากเหง้าของปัญหาทั้งปวงในสังคมไทย นั่นก็คือปัญหาการคอร์รัปชั่นในวงราชการและการเมืองไทย ซึ่งยังไม่เห็นการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้
คงเห็นแต่เพียงการเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการลบล้างคดีคอร์รัปชั่น ซึ่งศาลยุติธรรมได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว โดยอ้างว่าศาลหยิบยกกฎหมายซึ่งออกในสมัยที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจมาใช้ในการตัดสินคดี
ทั้งๆ ที่ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นต้นเหตุปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมไทย และเป็นต้นเหตุของการใช้เป็นข้ออ้างทุกครั้งที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองบ้านเมือง และข้ออ้างดังกล่าวก็เป็นความจริงที่คนในสังคมไทยรับรู้
ผมเองก็ไม่ต้องการเห็นการปฏิวัติยึดอำนาจไม่ว่ากรณีใดๆ เพราะไม่เกิดผลดีแก่ประเทศชาติและประชาชน แต่ก็ไม่ต้องการเห็นระบอบเผด็จการในรูปแบบประชาธิปไตยจอมปลอม ที่หลายๆ ฝ่ายพยายามเรียกร้องเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่มเช่นกัน
กลุ่มนิติราษฎร์จึงควรล้มเลิกความคิดในการเคลื่อนไหวขอแก้กฎหมายเกี่ยวกับสถาบันสูงสุดและการปฏิรูปศาลเพื่อเพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่ายการเมือง แล้วหันมาเคลื่อนไหวต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างเอาการเอางาน
หากสามารถทำได้ผล ก็เชื่อว่ากลุ่มนิติราษฎร์จะได้รับการสรรเสริญจากคนส่วนใหญ่ทุกกลุ่มในสังคมไทย มิใช่ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และจะสามารถแก้ปัญหาการปฏิวัติยึดอำนาจได้อย่างถาวรอีกด้วย
ไม่ว่าสังคมจะเรียกกลุ่มนิติราษฎร์ว่า “กลุ่มนักวิชาการ” หรือ “กลุ่มการเมือง” ที่ออกมาเคลื่อนไหวโดยมีเป้าหมายทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าคนกลุ่มนี้ซึ่งมี ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์สอนกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแกนนำ มีความกล้าหาญที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ค่อนข้างอ่อนไหวในสังคมไทย
เพียงแต่การแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่มิได้คำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและรากเหง้าหรือความเป็นมาของสังคมไทย เพราะข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ล้วนเป็นการลอกเลียนแบบต่างประเทศ ซึ่งยังไม่เหมาะสมกับสังคมไทยแทบทั้งสิ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันสูงสุด ซึ่งมีความเป็นมาผูกพันกับคนไทยเป็นเวลายาวนาน และคนไทยยังเคารพเทิดทูนไว้เหนือชีวิต จึงทำให้กลุ่มนิติราษฎร์ถูกต่อต้านจากกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ ข้อเสนอการปฏิรูปศาลยุติธรรมที่กลุ่มนิติราษฎร์เห็นว่า สถาบันตุลาการมิได้ยึดโยงกับประชาชน เพราะมิได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยก็เช่นกัน
ที่กลุ่มนิติราษฎร์ได้เสนอแนวคิดให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อผู้บริหารสูงสุดของทุกชั้นศาลต่อสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภาเพื่อให้การรับรองก่อนที่จะมีการแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งนั้น
ก็เป็นการลอกเลียนแบบระบบศาลที่ใช้ในบางประเทศซึ่งมีวิวัฒนาการของระบบการเมือง การปกครอง สภาพสังคม และความเป็นมาของผู้ใช้อำนาจตุลาการที่แตกต่างจากประเทศไทยเช่นกัน
เชื่อว่า แม้แต่ชาวบ้านธรรมดาๆ ที่ไม่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลไปร่ำเรียนวิชากฎหมายจากต่างประเทศก็ย่อมทราบดีว่า หากนำข้อเสนอดังกล่าวของกลุ่มนิติราษฎร์มาใช้กับสังคมไทย ศาลยุติธรรมไทยย่อมไม่มีความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี
และผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมก็คงจะไม่ต่างไปจากข้าราชการประจำในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่จะต้องคอยเงี่ยหูฟังคำสั่งจากฝ่ายการเมือง ก่อนที่จะมีคำพิพากษาในคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับนักการเมือง หรือคดีอื่น ๆ ที่นักการเมืองต้องการแทรกแซงคดีความในศาล
จึงเห็นได้ว่า ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ในประเด็นดังกล่าวมิได้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน แต่จะเป็นประโยชน์แก่นักการเมืองที่ต้องการแทรกแซงอำนาจตุลาการมากกว่า
บ้านเมืองไทยทุกวันนี้ อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติแทบจะไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารได้เลย เพราะนักการเมืองผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารเป็นผู้คุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
หากต้องให้อำนาจตุลาการอยู่ภายใต้อำนาจฝ่ายบริหารอีก แทนที่การเคลื่อนไหวผลักดันของกลุ่มนิติราษฎร์จะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่กลับจะได้ระบอบเผด็จการสมบูรณ์แบบโดยนักการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
ผมเห็นว่า แม้ในปัจจุบันผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมมิได้มีความยึดโยงกับภาคประชาชนโดยตรง แต่ก็มีกรรมการตุลาการ 2 คน ซึ่งมาจากการสรรหาของวุฒิสภาร่วมกับกรรมการตุลาการที่มาจากการเลือกตั้งจากผู้พิพากษาทำหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
โดยคณะกรรมการตุลาการมีอำนาจในการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายและลงโทษทางวินัยแก่ผู้พิพากษาทุกตำแหน่งอยู่แล้ว
การเปลี่ยนแปลงในสถาบันตุลาการมิใช่เป็นสิ่งต้องห้าม และก็มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะๆ เพื่อให้สถาบันตุลาการมีความมั่นคง เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง
ผมไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการบางกลุ่มที่ไปเรียนรู้ระบบตุลาการในต่างประเทศเพียงไม่กี่ปี แล้วจินตนาการเอาว่าระบบตุลาการในประเทศนั้น ๆ เป็นระบบที่ดี แล้วเสนอแนะให้นำมาใช้กับสังคมไทย โดยไม่ศึกษาความเป็นมาของขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละสังคมให้ลึกซึ้งเสียก่อน
อนี่ง เมื่อปี 2547 ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ก็เคยแสดงความเห็นไว้ในหนังสือ “รู้ทันทักษิณ 2” วิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญปี 2540 เกี่ยวกับการสรรหาองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีใจความสำคัญสรุปได้ว่า
“บุคคลที่ทำหน้าที่ในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีที่มาจากการสรรหาของฝ่ายการเมือง จึงถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซงและครอบงำ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรมได้ ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในบ้านเมือง”
จึงน่าสงสัยว่า เหตุใด ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คนเดียวกันนี้กลับเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปศาลยุติธรรม โดยให้คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อประธานศาลทุกชั้นศาลเพื่อให้รัฐสภารับรองก่อนแต่งตั้ง
อันเป็นข้อเสนอใหม่ที่เปิดโอกาสให้นักการเมืองแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรมได้โดยง่าย
เชื่อว่า หากฝ่ายการเมืองพิจารณาแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญให้มีการปฏิรูปศาลยุติธรรมตามข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ จะมีผู้พิพากษาและประชาชนผู้รักความเป็นธรรมร่วมกันออกมาคัดค้านอย่างถึงที่สุดอย่างแน่นอน
ผมมีข้อเสนอต่อกลุ่มนิติราษฎร์ให้ใช้ความรู้ทางวิชาการและความกล้าหาญในการแก้ปัญหาอันเป็นรากเหง้าของปัญหาทั้งปวงในสังคมไทย นั่นก็คือปัญหาการคอร์รัปชั่นในวงราชการและการเมืองไทย ซึ่งยังไม่เห็นการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้
คงเห็นแต่เพียงการเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการลบล้างคดีคอร์รัปชั่น ซึ่งศาลยุติธรรมได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว โดยอ้างว่าศาลหยิบยกกฎหมายซึ่งออกในสมัยที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจมาใช้ในการตัดสินคดี
ทั้งๆ ที่ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นต้นเหตุปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมไทย และเป็นต้นเหตุของการใช้เป็นข้ออ้างทุกครั้งที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองบ้านเมือง และข้ออ้างดังกล่าวก็เป็นความจริงที่คนในสังคมไทยรับรู้
ผมเองก็ไม่ต้องการเห็นการปฏิวัติยึดอำนาจไม่ว่ากรณีใดๆ เพราะไม่เกิดผลดีแก่ประเทศชาติและประชาชน แต่ก็ไม่ต้องการเห็นระบอบเผด็จการในรูปแบบประชาธิปไตยจอมปลอม ที่หลายๆ ฝ่ายพยายามเรียกร้องเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่มเช่นกัน
กลุ่มนิติราษฎร์จึงควรล้มเลิกความคิดในการเคลื่อนไหวขอแก้กฎหมายเกี่ยวกับสถาบันสูงสุดและการปฏิรูปศาลเพื่อเพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่ายการเมือง แล้วหันมาเคลื่อนไหวต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างเอาการเอางาน
หากสามารถทำได้ผล ก็เชื่อว่ากลุ่มนิติราษฎร์จะได้รับการสรรเสริญจากคนส่วนใหญ่ทุกกลุ่มในสังคมไทย มิใช่ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และจะสามารถแก้ปัญหาการปฏิวัติยึดอำนาจได้อย่างถาวรอีกด้วย