ASTVผู้จัดการรายวัน-บ.ประกันชีวิตโวยคปภ.โคกค่าฟีโหด วอนปรับเกณฑ์ใหม่ลดต้นทุน-เพิ่มความเป็นธรรม หลังกฎเดิมเอื้อประโยชน์แบงก์รัฐมากกว่า ระบุการเก็บค่าธรรมเนียมปัจจุบันทำให้คปภ.มีรายได้เพิ่มแล้ว 400 ล้านบาทต่อปี แต่ต้นทุนของบริษัทประกันชีวิตพุ่งต่อเนื่อง
แหล่งข่าวจากวงการประกันชีวิต เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลให้ธนาคารพาณิชย์ทำการส่งเงินสมทบให้กับสถาบันคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 0.4% ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ต่างจากสถาบันการเงินของรัฐที่ไม่ต้องนำส่งเงินเพิ่มในส่วนนี้ ซึ่งปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตเกิดกรณีที่คล้ายกันคือการเก็บค่าธรรมเนียมในระดับสูงที่เอื้อประโยชน์แก่สถาบันการเงินของภาครัฐมากกว่า
ทั้งนี้ เรื่องนี้ถือว่าบริษัทประกันชีวิตเสียเปรียบ เมื่อเทียบกับธนาคารออมสิน ที่เวลาออกกรมธรรม์ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับคปภ. นอกจากนี้ธนาคารออมสินก็ไม่ต้องส่งค่าธรรมเนียม 0.3%จากเบี้ยประกันปีแรกให้คปภ. ไม่ต้องมีการตั้งสำรอง ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎ RBC ในขณะที่พนักงานธนาคารออมสินขายประกันชีวิตได้ โดยที่ไม่ต้องขอสอบรับใบอนุญาตจากคปภ.ทำให้ต้นทุนดำเนินงานของธนาคารออมสินต่ำกว่าบริษัทประกันชีวิต ทั้งๆ ที่อยู่ภายใต้กระทรวงการคลังเหมือนกัน
“บริษัทประกันชีวิตเข้าใจว่าการที่ธนาคารออมสินดำเนินการต่างๆได้เพราะอยู่ภายใต้กฎหมายคนละฉบับกับบริษัทประกันชีวิต แต่ทั้งธนาคารออมสินและบริษัทประกันชีวิตก็อยู่ภายใต้กระทรวงการคลังเหมือนกัน ก็ควรที่จะต้องปรับปรุงให้มีมาตรฐานเดียวกัน ไม่ควรเลือกปฏิบัติหรือดับเบิ้ลแสตนดาร์ดอย่างนี้ เรื่องนี้ได้มีการพูดคุยกันมานานแล้ว แต่ก็ไม่มีใครกล้าที่จะนำเสนอต่อคปภ.และไม่กล้าที่จะนำมาหารือในสมาคมประกันชีวิต เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อการออกกรมธรรม์ใหม่ของบริษัทประกันชีวิต”
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า ปัจจุบันการเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทประกันชีวิตถือว่าอยู่ในระดับที่สูง โดย บริษัทประกันชีวิต ต้องส่งค่าธรรมเนียม0.3%จากการเสนอขายประกันชีวิตรายใหม่ หรือ ต้องเสียค่าธรรมเนียม0.3%ของเบี้ยปีแรก หากเป็นเบี้ยประกันที่จ่ายครั้งเดียว หรือ ซิงเกิ้ลพรีเมี่ยมต้องส่งค่าธรรมเนียมในอัตรา 0.15% ให้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) และต้องส่งค่าธรรมเนียมของเบี้ยปีต่ออายุให้คปภ.ในอัตรา 0.15% ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนการดำเนินงานเช่นกัน
“ค่าธรรมเนียมดังกล่าวในอดีตได้ประเมินกันว่าจะอยู่ที่ประมาณ 100-200 ล้านบาท ต่อปี ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวน่าจะเพียงพอต่อการบริหารงานของคปภ. แต่ปรากฏว่า ณ ปัจจุบันคปภ.มีรายได้ดังกล่าวประมาณ 600 ล้านบาทต่อปี แสดงให้เห็นว่าคปภ.เก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทประกันชีวิตได้มากกว่าเดิมหลายเท่าจากที่เคยวางแผนเอาไว้ ดังนั้นคปภ.ควรพิจารณาให้เหมาะสมเป็นธรรมกับบริษัทประกันชีวิต เพราะฉะนั้นควรลดค่าธรรมเนียมเหล่านี้ลง”
นอกจากนี้บริษัทประกันชีวิต ยังมีภาระต้นทุนที่เพิ่มจากการใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ ที่จะนำมาใช้อีกด้วย และยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการนำกฎเกณฑ์ใหม่ของคปภ. เช่น การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง หรือ RBC และมีการตั้งสำรองอีกด้วย
แหล่งข่าวจากวงการประกันชีวิต เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลให้ธนาคารพาณิชย์ทำการส่งเงินสมทบให้กับสถาบันคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 0.4% ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ต่างจากสถาบันการเงินของรัฐที่ไม่ต้องนำส่งเงินเพิ่มในส่วนนี้ ซึ่งปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตเกิดกรณีที่คล้ายกันคือการเก็บค่าธรรมเนียมในระดับสูงที่เอื้อประโยชน์แก่สถาบันการเงินของภาครัฐมากกว่า
ทั้งนี้ เรื่องนี้ถือว่าบริษัทประกันชีวิตเสียเปรียบ เมื่อเทียบกับธนาคารออมสิน ที่เวลาออกกรมธรรม์ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับคปภ. นอกจากนี้ธนาคารออมสินก็ไม่ต้องส่งค่าธรรมเนียม 0.3%จากเบี้ยประกันปีแรกให้คปภ. ไม่ต้องมีการตั้งสำรอง ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎ RBC ในขณะที่พนักงานธนาคารออมสินขายประกันชีวิตได้ โดยที่ไม่ต้องขอสอบรับใบอนุญาตจากคปภ.ทำให้ต้นทุนดำเนินงานของธนาคารออมสินต่ำกว่าบริษัทประกันชีวิต ทั้งๆ ที่อยู่ภายใต้กระทรวงการคลังเหมือนกัน
“บริษัทประกันชีวิตเข้าใจว่าการที่ธนาคารออมสินดำเนินการต่างๆได้เพราะอยู่ภายใต้กฎหมายคนละฉบับกับบริษัทประกันชีวิต แต่ทั้งธนาคารออมสินและบริษัทประกันชีวิตก็อยู่ภายใต้กระทรวงการคลังเหมือนกัน ก็ควรที่จะต้องปรับปรุงให้มีมาตรฐานเดียวกัน ไม่ควรเลือกปฏิบัติหรือดับเบิ้ลแสตนดาร์ดอย่างนี้ เรื่องนี้ได้มีการพูดคุยกันมานานแล้ว แต่ก็ไม่มีใครกล้าที่จะนำเสนอต่อคปภ.และไม่กล้าที่จะนำมาหารือในสมาคมประกันชีวิต เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อการออกกรมธรรม์ใหม่ของบริษัทประกันชีวิต”
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า ปัจจุบันการเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทประกันชีวิตถือว่าอยู่ในระดับที่สูง โดย บริษัทประกันชีวิต ต้องส่งค่าธรรมเนียม0.3%จากการเสนอขายประกันชีวิตรายใหม่ หรือ ต้องเสียค่าธรรมเนียม0.3%ของเบี้ยปีแรก หากเป็นเบี้ยประกันที่จ่ายครั้งเดียว หรือ ซิงเกิ้ลพรีเมี่ยมต้องส่งค่าธรรมเนียมในอัตรา 0.15% ให้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) และต้องส่งค่าธรรมเนียมของเบี้ยปีต่ออายุให้คปภ.ในอัตรา 0.15% ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนการดำเนินงานเช่นกัน
“ค่าธรรมเนียมดังกล่าวในอดีตได้ประเมินกันว่าจะอยู่ที่ประมาณ 100-200 ล้านบาท ต่อปี ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวน่าจะเพียงพอต่อการบริหารงานของคปภ. แต่ปรากฏว่า ณ ปัจจุบันคปภ.มีรายได้ดังกล่าวประมาณ 600 ล้านบาทต่อปี แสดงให้เห็นว่าคปภ.เก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทประกันชีวิตได้มากกว่าเดิมหลายเท่าจากที่เคยวางแผนเอาไว้ ดังนั้นคปภ.ควรพิจารณาให้เหมาะสมเป็นธรรมกับบริษัทประกันชีวิต เพราะฉะนั้นควรลดค่าธรรมเนียมเหล่านี้ลง”
นอกจากนี้บริษัทประกันชีวิต ยังมีภาระต้นทุนที่เพิ่มจากการใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ ที่จะนำมาใช้อีกด้วย และยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการนำกฎเกณฑ์ใหม่ของคปภ. เช่น การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง หรือ RBC และมีการตั้งสำรองอีกด้วย