ASTVผู้จัดการรายวัน - ธนาคารกลางระหว่างไทย-มาเลเซียร่วมลงนามการใช้หลักทรัพย์ข้ามพรมแดนมาเป็นหลักประกันขอสภาพคล่องเงินบาท-เงินริงกิต หวังเชื่อมโยงเศรษฐกิจ การเงิน การค้าในระดับภูมิภาคมากขึ้น ถือเป็นการพัฒนาสภาพคล่องแบบ 2 ขาทั้งฝั่งธนาคารกลางมาเลเซียและไทย ต่างกับสมัยทำกับญี่ปุ่นที่ทำแบบขาเดียว
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ร่วมกับธนาคารกลางประเทศมาเลเซีย (BNM) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงในการใช้หลักทรัพย์ข้ามพรมแดนระหว่างกันเป็นหลักประกันในการปล่อยสภาพคล่อง (Cross-border Collateral Arrangement-CBCA) ซึ่งมีตัวแทนนางเซติ อัคตาร์ อาซิซ ผู้ว่าการ ธนาคารกลางมาเลเซียเป็นผู้ลงนามเพื่อส่งเสริมช่องทางในการเข้าถึงสภาพคล่องของสถาบันการเงินของทั้งสองประเทศ ถือเป็นการสนับสนุนเสถียรภาพการเงินและการจัดการสภาพคล่องได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ BNM กำหนดสามารถนำหลักประกันเป็นเงินบาทหรือตราสารหนี้ของรัฐบาลไทยหรือของธปท.มาขอแลกเป็นสภาพคล่องสกุลเงินริงกิตของประเทศมาเลเซียได้ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินที่อยู่ในไทยที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ธปท.กำหนดก็สามารถนำหลักประกันเป็นเงินสกุลริงกิตหรือตราสารหนี้ของรัฐบาลมาเลเซียหรือของ BNM มาแลกเป็นสภาพคล่องเงินบาทได้เช่นกัน
“กรณีนี้คล้ายกับกรณีที่ลงนามกับธนาคารกลางญี่ปุ่นไปเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งครั้งนั้นมีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่เผชิญอุปสรรคน้ำท่วม จึงเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินทุกสัญชาติที่ดำเนินการอยู่ในไทยสามารถนำหลักทรัพย์รัฐบาลญี่ปุ่นมาวางเป็นหลักประกันแล้วนำมาแลกเป็นเงินสินเชื่อในรูปเงินบาทได้ไม่จำกัดวงเงิน ถือเป็นการทำแบบขาเดียว แต่กรณีจดทะเบียนกับธนาคารกลางมาเลเซียเป็นการพัฒนาทำแบบ 2 ขา ให้ธนาคารกลางทั้ง 2 สามารถรับหลักทรัพย์ข้ามสกุลมาแลกสกุลเงินของประเทศนั้นๆได้"
ผู้ว่าการธปท.กล่าวเพิ่มเติมว่า การใช้หลักทรัพย์ข้ามพรมแดนระหว่างกันเป็นหลักทรัพย์ในการปล่อยสภาพคล่องของธปท.และ BNM จะเป็นรากฐานของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินระหว่างกัน อีกทั้งยังสะท้อนถึงความสำคัญของธนาคารข้ามพรมแดนและบทบาทของธนาคารกลางทั้งสองแห่ ถือเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งที่จะนำไปสู่การบูรณาการด้านการเงินมระดับภูมิภาคและระดับสากล
ด้านผู้ว่าการ BNM กล่าวว่า การลงนามในสัญญาดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างความแข่งแกร่งให้กับการบริหารสภาพคล่องข้ามพรหมแดนระหว่างระบบการเงินของมาเลเซียและไทย พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ การใช้หลักทรัพย์ข้ามพรหมแดนระหว่างกันนี้จะสนับสนุนการขยายตัวทางธุรกิจในระดับภูมิภาคของสถาบันการเงินทั้งสองประเทศ ขณะเดียวกันช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางการเงินในระดับภูมิภาคอีกด้วย .
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ร่วมกับธนาคารกลางประเทศมาเลเซีย (BNM) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงในการใช้หลักทรัพย์ข้ามพรมแดนระหว่างกันเป็นหลักประกันในการปล่อยสภาพคล่อง (Cross-border Collateral Arrangement-CBCA) ซึ่งมีตัวแทนนางเซติ อัคตาร์ อาซิซ ผู้ว่าการ ธนาคารกลางมาเลเซียเป็นผู้ลงนามเพื่อส่งเสริมช่องทางในการเข้าถึงสภาพคล่องของสถาบันการเงินของทั้งสองประเทศ ถือเป็นการสนับสนุนเสถียรภาพการเงินและการจัดการสภาพคล่องได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ BNM กำหนดสามารถนำหลักประกันเป็นเงินบาทหรือตราสารหนี้ของรัฐบาลไทยหรือของธปท.มาขอแลกเป็นสภาพคล่องสกุลเงินริงกิตของประเทศมาเลเซียได้ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินที่อยู่ในไทยที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ธปท.กำหนดก็สามารถนำหลักประกันเป็นเงินสกุลริงกิตหรือตราสารหนี้ของรัฐบาลมาเลเซียหรือของ BNM มาแลกเป็นสภาพคล่องเงินบาทได้เช่นกัน
“กรณีนี้คล้ายกับกรณีที่ลงนามกับธนาคารกลางญี่ปุ่นไปเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งครั้งนั้นมีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่เผชิญอุปสรรคน้ำท่วม จึงเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินทุกสัญชาติที่ดำเนินการอยู่ในไทยสามารถนำหลักทรัพย์รัฐบาลญี่ปุ่นมาวางเป็นหลักประกันแล้วนำมาแลกเป็นเงินสินเชื่อในรูปเงินบาทได้ไม่จำกัดวงเงิน ถือเป็นการทำแบบขาเดียว แต่กรณีจดทะเบียนกับธนาคารกลางมาเลเซียเป็นการพัฒนาทำแบบ 2 ขา ให้ธนาคารกลางทั้ง 2 สามารถรับหลักทรัพย์ข้ามสกุลมาแลกสกุลเงินของประเทศนั้นๆได้"
ผู้ว่าการธปท.กล่าวเพิ่มเติมว่า การใช้หลักทรัพย์ข้ามพรมแดนระหว่างกันเป็นหลักทรัพย์ในการปล่อยสภาพคล่องของธปท.และ BNM จะเป็นรากฐานของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินระหว่างกัน อีกทั้งยังสะท้อนถึงความสำคัญของธนาคารข้ามพรมแดนและบทบาทของธนาคารกลางทั้งสองแห่ ถือเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งที่จะนำไปสู่การบูรณาการด้านการเงินมระดับภูมิภาคและระดับสากล
ด้านผู้ว่าการ BNM กล่าวว่า การลงนามในสัญญาดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างความแข่งแกร่งให้กับการบริหารสภาพคล่องข้ามพรหมแดนระหว่างระบบการเงินของมาเลเซียและไทย พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ การใช้หลักทรัพย์ข้ามพรหมแดนระหว่างกันนี้จะสนับสนุนการขยายตัวทางธุรกิจในระดับภูมิภาคของสถาบันการเงินทั้งสองประเทศ ขณะเดียวกันช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางการเงินในระดับภูมิภาคอีกด้วย .