วานนี้ ( 31 ม.ค.) นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายจะจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ได้รับผละกระทบจากเหตุความไม่สงบภาคใต้ในหลักเกณฑ์เดียวกับกับผู้ชุมนุมทางการเมืองที่ได้ศพละ 7.75 ล้านบาทว่า เป็นเรื่องที่ชาวบ้านไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะมีความจริงใจที่จะดำเนินการอย่างแท้จริง เนื่องจากการเยียวยาด้วยเงิน 7.75 ล้านบาทมีการกำหนดตัวเลขออกมาก่อนหลักเกณฑ์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง และมีคำถามว่าชีวิตคนควรที่จะมีค่าเท่าเทียมกันหรือไม่ และการที่รัฐบาลตั้งโจทย์โดยการใช้เงินเป็นตัวตั้งก็ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
ดังนั้น คณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระ ตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ที่เป็นผู้เสนอเรื่องนี้ต้องตอบคำถามให้ได้ว่ามาตรฐานการดูแลของรัฐต่อประชาชนมีบรรทัดฐานอย่างไร เพราะหากอ้างว่าผู้ชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์เม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมาควรได้รับการเยียวยาเพราะรัฐไม่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้ประชาชนได้ ชาวบ้านในพื้นที่ภาคใต้ก็อยู่ในเกณฑ์ที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลความปลอดภัยได้เช่นเดียวกัน
“ไม่ว่าจะใช้เงินจำนวนเท่าไหร่ก็ไม่ตอบโจทย์ในเรื่องการสร้างความสงบและความปรองดองได้ตราบใดที่ความเป็นธรรมยังไม่เกิด และควรต้องถามเจ้าของเงินที่เป็นผู้เสียภาษีด้วยว่า การใช้เงินของรัฐบาลเป็นไปอย่างถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ แม้ว่าความตายไม่สามารถแลกได้ด้วยเงิน แต่รัฐบาลต้องไม่มีหลายมาตรฐานในการกำหนดราคาชีวิตมนุษย์ ซึ่งจะเป็นการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งไม่จบสิ้น แนวทางปรองดองที่แท้จริงคือ สร้างความเป็นธรรมมีบรรทัดฐานในการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นคำตอบ และจริงจังกับการดำเนินคดีเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำผิดกฎหมายแทนการปกป้อง จึงจะตอบโจทย์การแก้ปัญหาได้ แต่ขณะนี้ความเป็นธรรมในภาคใต้ยังไม่เกิด มีเรื่องเยียวยา ไม่เสมอภาคมาซ้ำเติมอีก ยิ่งทำให้เป็นห่วงว่ารัฐบาลจะมีความยากลำบากมากขึ้นในการดูแลปัญหาความไม่สงบในภาคใต้” นางอังคณากล่าว
วันเดียวกันนายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมายื่นเอกสารต่อศาลปกครองเพิ่มเติม เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาคดีภายหลังได้ยื่นคำร้องให้ศาลไต่สวน กรณีที่คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติเงินชดเชยเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง เป็นจำนวนเงินสูงถึงรายละ 7.75 ล้านบาท สำหรับเอกสารที่นำมาขณะนี้ประกอบด้วยกฎการจ่ายเงินให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ตั้งแต่สมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลังจากที่ยืนยันว่า ไม่ได้ขัดขวางการเยียวยาของรัฐบาล แต่เห็นว่าการชดเชยครั้งนี้ ไม่เสมอภาค และควรจะชดเชยให้ทั่วถึง พร้อมยกตัวอย่างการเสียชีวิตของน้องฟลุ๊ค ที่ศาลชั้นต้นตัดสินแล้วว่า เกิดจากความประมาทของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการเสียชีวิตจากเหตุปะทะ 4 ศพ ที่ จ.ปัตตานี หากพิสูจน์แล้วว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ก็ควรจ่ายเงินชดเชยมากกว่า ส่วนเอกสารที่นำมา หากเปรียบเทียบกัน จะพบว่า แต่ละรัฐบาลนั้นใช้หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยา อาทิ การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรและกลุ่มคนเสื้อแดง ในปีที่ผ่านมา เป็นจำนวนเงินที่ใกล้เคียงกัน แม้กระทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เคยรับปากว่า จะจ่ายเงินเยียวยาให้กับญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ รายละ 6.5 ล้านบาท แต่ก็ได้จ่ายค่าเยียวยารายละ 6-7 แสนบาทเท่านั้น และเมื่อเปรียบกับมติคณะรัฐมนตรี ที่ออกมาก็ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติและไม่มีระเบียบรองรับที่ชัดเจน
นายสาธิต กล่าวว่า ศาลปกครองยังไม่ได้ระบุวันนัดไต่สวนคดี ซึ่งการเดินทางมาครั้งนี้ เป็นเพียงการเดินทางยื่นเอกสารเพิ่มเติมตามหนังสือคำสั่ง เพื่อความสมบูรณ์ของผู้ฟ้อง
ดังนั้น คณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระ ตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ที่เป็นผู้เสนอเรื่องนี้ต้องตอบคำถามให้ได้ว่ามาตรฐานการดูแลของรัฐต่อประชาชนมีบรรทัดฐานอย่างไร เพราะหากอ้างว่าผู้ชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์เม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมาควรได้รับการเยียวยาเพราะรัฐไม่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้ประชาชนได้ ชาวบ้านในพื้นที่ภาคใต้ก็อยู่ในเกณฑ์ที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลความปลอดภัยได้เช่นเดียวกัน
“ไม่ว่าจะใช้เงินจำนวนเท่าไหร่ก็ไม่ตอบโจทย์ในเรื่องการสร้างความสงบและความปรองดองได้ตราบใดที่ความเป็นธรรมยังไม่เกิด และควรต้องถามเจ้าของเงินที่เป็นผู้เสียภาษีด้วยว่า การใช้เงินของรัฐบาลเป็นไปอย่างถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ แม้ว่าความตายไม่สามารถแลกได้ด้วยเงิน แต่รัฐบาลต้องไม่มีหลายมาตรฐานในการกำหนดราคาชีวิตมนุษย์ ซึ่งจะเป็นการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งไม่จบสิ้น แนวทางปรองดองที่แท้จริงคือ สร้างความเป็นธรรมมีบรรทัดฐานในการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นคำตอบ และจริงจังกับการดำเนินคดีเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำผิดกฎหมายแทนการปกป้อง จึงจะตอบโจทย์การแก้ปัญหาได้ แต่ขณะนี้ความเป็นธรรมในภาคใต้ยังไม่เกิด มีเรื่องเยียวยา ไม่เสมอภาคมาซ้ำเติมอีก ยิ่งทำให้เป็นห่วงว่ารัฐบาลจะมีความยากลำบากมากขึ้นในการดูแลปัญหาความไม่สงบในภาคใต้” นางอังคณากล่าว
วันเดียวกันนายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมายื่นเอกสารต่อศาลปกครองเพิ่มเติม เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาคดีภายหลังได้ยื่นคำร้องให้ศาลไต่สวน กรณีที่คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติเงินชดเชยเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง เป็นจำนวนเงินสูงถึงรายละ 7.75 ล้านบาท สำหรับเอกสารที่นำมาขณะนี้ประกอบด้วยกฎการจ่ายเงินให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ตั้งแต่สมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลังจากที่ยืนยันว่า ไม่ได้ขัดขวางการเยียวยาของรัฐบาล แต่เห็นว่าการชดเชยครั้งนี้ ไม่เสมอภาค และควรจะชดเชยให้ทั่วถึง พร้อมยกตัวอย่างการเสียชีวิตของน้องฟลุ๊ค ที่ศาลชั้นต้นตัดสินแล้วว่า เกิดจากความประมาทของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการเสียชีวิตจากเหตุปะทะ 4 ศพ ที่ จ.ปัตตานี หากพิสูจน์แล้วว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ก็ควรจ่ายเงินชดเชยมากกว่า ส่วนเอกสารที่นำมา หากเปรียบเทียบกัน จะพบว่า แต่ละรัฐบาลนั้นใช้หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยา อาทิ การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรและกลุ่มคนเสื้อแดง ในปีที่ผ่านมา เป็นจำนวนเงินที่ใกล้เคียงกัน แม้กระทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เคยรับปากว่า จะจ่ายเงินเยียวยาให้กับญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ รายละ 6.5 ล้านบาท แต่ก็ได้จ่ายค่าเยียวยารายละ 6-7 แสนบาทเท่านั้น และเมื่อเปรียบกับมติคณะรัฐมนตรี ที่ออกมาก็ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติและไม่มีระเบียบรองรับที่ชัดเจน
นายสาธิต กล่าวว่า ศาลปกครองยังไม่ได้ระบุวันนัดไต่สวนคดี ซึ่งการเดินทางมาครั้งนี้ เป็นเพียงการเดินทางยื่นเอกสารเพิ่มเติมตามหนังสือคำสั่ง เพื่อความสมบูรณ์ของผู้ฟ้อง